หัวข้อ: ความทรงจำนอกมิติ : บุพนิมิตเผ่าพันธุ์ใหม่-จากกายและจิตรู้สู่จิตวิญญาณ เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 15:33:54 (http://www.celestial-art.net/wallpaper-digital-art-fractal-cosmic-transformation-apophysis.jpg)
บุพนิมิตเผ่าพันธุ์ใหม่-จากกายและจิตรู้สู่จิตวิญญาณ คอลัมน์ - ความทรงจำนอกมิติ นพ.ประสาน ต่างใจ 14 สิงหาคม 2548 กองบรรณาธิการ เชื่อว่าผู้อ่านของเราทุกคนคงต้องรู้จักธรรมชาติของความเป็นหนึ่งเดียวกันที่ไหลเลื่อนเคลื่อนที่เป็นองค์รวมที่ไล่วนไปตามลำดับเป็นอย่างดี ระหว่างห่วงต่างๆ ของมหาห่วงโซ่แห่งการดำรงอยู่ ที่ผู้เขียนเอามาเขียนตลอดเวลา (the great chain of beings or existence) ระหว่าง สสาร ชีวิต มนุษย์ (และการดำรงอยู่เป็นสังคมของมนุษย์) จิตสำนึกหรือจิตรู้ (conscious mind) และจิตวิญญาณ ซึ่งทุกๆ ห่วงและแต่ละห่วงของมหาห่วงโซ่ล้วนเชื่อมโยงกันอย่างที่จะแยกออกจากกันไม่ได้ ดังนั้น ชื่อของบทความวันนี้ - โดยวลีหลัง - บ่งถึงความหมายว่าจิตจะสามารถมีวิวัฒนาการสู่จิตวิญญาณหรือธรรมจิต (spirituality) ได้ก็ต่อเมื่อรูปกาย รวมทั้งและโดยเฉพาะสมอง (ดู Paul MacLean : The Triune Brain, 1970) ได้วิวัฒนาการมาจนถึงที่สุดแล้ว พร้อมกับวิวัฒนาการของจิตรู้ที่ไล่สูงขึ้นมาด้วย - จากจิตหยาบดิบหรือจิตสัญชาตญาณของสัตว์ สู่จิตอารมณ์ของสัตว์ชั้นสูง และสู่สติปัญญาความฉลาดของเผ่าพันธุ์ตามลำดับ - พร้อมกันนั้น บทความบทนี้ก็ยังต้องการชี้บ่งว่า เป็นเพราะระบบและรูปแบบทางกายภาพของเราและสังคมของเรา ที่ใช้มันมาเพื่อการดำรงอยู่ (existence) - ที่เราคิดว่าจำเป็น และเปลี่ยนแปลงไม่ได้ - ต่างหาก ที่เป็นอุปสรรคต่อวิวัฒนาการของจิต และทำให้จิตไม่สามารถที่จะมีวิวัฒนาการต่อไปตามครรลองของธรรมชาติแห่งความเป็นองค์รวมได้ นั่นคือบทความนี้ จะขยายความคิดของนักคิดระดับโลกจำนวนมากที่เชื่อว่า อารยธรรมที่ตั้งอยู่บนระบบสังคมเศรษฐกิจและการเมืองที่ดั่ง - อีกที - อยู่บนโครงสร้างทางกายภาพ (physicals) เพียงด้านเดียวที่เราใช้เพื่อการดำรงอยู่ของเรามายาวนาน - โดยเฉพาะในช่วง 400 ปีหลังจากยุคฟื้นฟูและยุคแห่งเหตุผล - กำลังจะถึงจุดจบเมื่อถึงเวลาซึ่งก็คือเวลานี้ และเมื่ออุปสรรคที่เกิดจากระบบและโครงสร้างหมดสิ้นไป ต่อไปนับแต่นี้จิตก็จะสามารถวิวัฒนาการไล่สูงขึ้นไปได้ง่าย เมื่อนักคิดระดับนำของโลกมาพบกัน เป็นทรานสแอตแลนติก ไดอะล็อก (transatlantic dialoc) เมื่อช่วงปลายของศตวรรษที่แล้ว รายการสนทนาครั้งนั้นก็มีคนรวบรวมขึ้นมาพิมพ์จำหน่าย หนังสือเล่มนั้นกลายเป็นหนังสือขายดีของปีเริ่มต้นศตวรรษใหม่ที่ผ่านมาสำหรับนักวิชาการส่วนหนึ่ง (Ervin Laszlo, Peter Russell, Stanislav Grof : Consciousness Revolution, 1999) น่าเสียดายที่หนังสือเล่มนี้ไม่มีขายในบ้าน เรา บังเอิญผู้เขียนกับหมอประเวศ วะสี ต่างก็ได้ก๊อบปี้ของหนังสือนี้มาคนละเล่มโดยการอนุเคราะห์ของเพื่อนที่เป็นสมาชิกของกลุ่ม "จิตวิวัฒน์" อีกคนหนึ่ง เดวิด สปิลเลน เป็นผู้ก๊อบปี้มาให้ จิตวิวัฒน์ได้นำไปก๊อบปี้ต่อที่ผู้อ่านท่านใดที่สนใจก็อาจไปขอยืมอ่านได้จากห้องสมุด "รุ่งอรุณ" ที่ถนนสาทร ผู้เขียนเคยยกบางส่วนบางตอนมาเล่าไว้ในคอลัมน์นี้อย่างน้อยก็สามสี่ครั้งแล้ว วันนี้จะขอนำข้อสรุปข้อหนึ่งของนักคิดที่ยิ่งใหญ่ - ทั้งสามที่ต่างเป็นนักวิทยาศาสตร์เลื่องชื่อ ในสายงานของตนมาใช้อีกครั้ง - จริงๆ แล้ว ชื่อของบทความนี้ ผู้เขียนได้มาจากการสรุปใจความของส่วนนำของหนังสือเล่มนั้น ตามที่ผู้เขียนเข้าใจ ข้อสรุปมีว่า อารยธรรม "สมัยใหม่" ของสังคมโลกานุวัตรกำลังถึงจุดจบ แต่นั่นคือความวิกฤติ วิกฤตการณ์จากสองมูลเหตุที่เกิดจากความคิดความเคยชินของเรา ประการแรก ด้วยความคิดและด้วยวิทยาศาสตร์กายภาพ เราเชื่อมั่นว่าระบบต่างๆ ที่เราสร้างขึ้นมาเพื่อสนองตอบต่อความจริงทางโลก (ที่มีเท่าตาเห็นและที่ประสาทสัมผัสภายนอกบอกเรา) นั้นเป็นสิ่งที่เปลี่ยนไม่ได้ ประการที่สอง จากความคิดที่สรุปเช่นนั้นทำให้เรามาสงสัยต่อไปว่า หากระบบที่เราใช้อยู่เกิดมีปัญหา ต่อไปนี้เราควรดำรงชีวิตและนำพาสังคมของเราต่อไปอย่างไรดี ในเมื่อขณะนี้ เราไม่สามารถที่จะใช้ชีวิตแบบนี้ได้อีกต่อไปโดยไม่ก่อความล่มสลายหายนะอย่างใหญ่หลวงให้กับเราทั้งหมดโดยรวม - ไม่ว่าจากภัยพิบัติธรรมชาติ และ/หรือจากความไม่สงบในที่นั่นและที่นี่ เช่น การก่อการร้าย สงคราม การอพยพลี้ภัย ฯลฯ ความไม่อาจดำรงอยู่ต่อไปด้วยวิถีที่เรารู้จัก และเคยชินจะเป็นเรื่องใหม่สิ่งท้าทายใหม่ๆ ที่เผ่าพันธุ์ของเราไม่ได้เตรียมตัวหรือคิดมาก่อน ต่อไปนี้ เราทำอะไรอย่างเดิม หาทางแก้ไขชีวิตเดิมๆ ไม่ได้อีกแล้ว เราจะ "ไปให้ไกลไปให้ถึง พัฒนาอย่างยั่งยืน" เช่นเราจะคิดผลิตสินค้าให้เพิ่มขึ้นและหวังว่าจีดีพีจะเพิ่มขึ้นเพื่อให้คนจนพอมีกินแต่คนรวยรวยมากขึ้น - คงทำไม่ได้อีก จะฝันเห็นนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวบ้านเรามากๆ โดยให้เขาเชื่อเราว่าสึนามิที่มาแบบไม่รู้ตัว ไม่มีทางเกิดขึ้นมาอีก - คงทำไม่ได้อีก เราคงไม่สามารถแม้จะวางแผนสร้างถนนสร้างเขื่อนหรือตัดต้นไม้ไปกี่ต้นหรือจะปลูกทดแทนกี่ต้น หรือทำอย่างอื่นแบบที่เราเคยทำได้อีกต่อไป เมื่อทำแบบเก่าก็ไม่ได้หรือคิดแก้วิกฤติใหม่ด้วยวิธีที่เคยใช้แก้ก็ไม่ได้ เราจึงมีเส้นทางที่เหลือเพียงอย่างเดียวที่ตัวเราเองแต่ละคน นั่นคือเราเองที่จะต้องเปลี่ยนแปลง ในความเห็นของนักวิทยาศาสตร์ระดับนำที่มาพบกันดังกล่าว พวกเขาล้วนเชื่อว่า อารยธรรมของเรา - ระบบสังคมเศรษฐกิจการเมือง - ได้มาถึงจุดจบแล้วจริงๆ ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขายังเชื่อว่า มนุษยชาติกำลังเผชิญหน้ากับความล่มสลายที่ยิ่งใหญ่แบบที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์จริงๆ ด้วยข้อเท็จจริงเช่นที่กล่าวมานี้ เราจะทำอย่างไร? ถึงจะอยู่รอดจากภัยพิบัติเหล่านั้น? หากเส้นทางมีเพียงอย่างเดียวอย่างว่า เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างไร? นั่น แท้ที่จริงแล้วเป็นเรื่องสองเรื่องสองประการที่อาจเกี่ยวเนื่องเป็นเหตุปัจจัยกันโดยตรงก็ได้ หรือไม่เกี่ยวกันในฐานะเป็นเหตุปัจจัยกันเลยก็ได้ แต่มูลเหตุอาจเป็นทั้งสองโดยสืบเนื่องกันมาในด้านลึก - เรื่องของจิตวิญญาณ - ดังที่ผู้เขียนยืมเอามาเขียน (จากนักคิดอีกหลายๆ คน) ซึ่งในความเห็นของผู้เขียนดังที่เขียนและพูดมาตลอด ทั้งสองประการ - ภัยพิบัติต่างๆ ที่นำมาซึ่งจุดจบแห่งอารยธรรมและนำพาความล่มสลายแทบเท่า "ระดับโลก (massextinction)" อย่างหนึ่งกับการเปลี่ยนแปลงตัวเอง (transformation) ของปัจเจกบุคคล พร้อมๆ กับส่งอิทธิพลให้คนทั่วไปจำนวนมากจำนวนหนึ่งเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย อีกประการหนึ่ง ทั้งหมดนี้ชี้บ่งกำเนิดการของ "สังคมที่ยั่งยืน" ที่มีจิตวิญญาณเป็นพื้นฐานของมนุษยชาติทั่วทั้งโลก จากข้อมูลหลากหลายที่เคยเอามาเขียนไปมากแล้ว ผู้เขียนกับนักคิดส่วนหนึ่งเชื่อว่า วิวัฒนาการของจิตวิญญาณจะเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2013 - ราว 8 ปีจากวันนี้ เป็นต้นไป บทความนี้จะเน้นถึงการเปลี่ยนแปลงตัวเองจากภายใน - จากกาย (วัฒนธรรมหลงรูป) สู่จิตรู้ (ระบบเศรษฐกิจโลกานุวัตร) และสุดท้ายสู่จิตวิญญาณ (หรือธรรมจิต) อย่างไร? (http://www.nwcreations.com/images/gallery/Transformation_Awakening.jpg) ก่อนการเปลี่ยนแปลง (transformation) ดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นในหรือหลังช่วงปี 2013 คือช่วงเวลาแห่งวิกฤตการณ์นานัปการที่เกิดจากสภาวะล่มสลายของโลกธรรมชาติที่ได้ค่อยๆ ทวีความร้ายแรงขึ้นมาเรื่อยๆ ดังที่เราทุกคนต่างก็ได้เห็นกันในระดับหนึ่งตั้งแต่ช่วงหลังของทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมา นั่นเป็นทศวรรษที่มีสภาพโลกร้อนอย่างที่สุดและร้อนยาวนานที่สุด และหลังจากนั้น สภาพโลกธรรมชาติก็เปลี่ยนไปอย่างชัดแจ้งพร้อมๆ กับความถี่และความรุนแรงของภัยพิบัติธรรมชาติ เป็นต้นว่าน้ำท่วมฉับพลันที่จีนในช่วงรอยต่อของศตวรรษ เป็นต้นว่าเฮอริเคนและทอร์นาโดที่มีจำนวนมากขึ้นและรุนแรงมากขึ้นที่อเมริกา เป็นต้นว่า คลื่นความร้อนที่คร่าชีวิตชาวฝรั่งเศสไปเป็นเรือนหมื่นคนเมื่อสามปีก่อน เป็นต้นว่า แผ่นดินไหวในที่ต่างๆ ที่เกิดบ่อยขึ้นและหนักหน่วงยิ่งขึ้นกระทั่งเกิดเป็นคลื่นสึนามิที่คร่าชีวิตมนุษย์ไปกว่า 250,000 คน รวมทั้งร่วมหมื่นคนที่ประเทศไทย รวมทั้งโรคระบาดชนิดต่างๆ - หลายต่อหลายโรคเป็นโรคที่เราไม่ได้คาดคิดมาก่อนทั้งสิ้น นั่นเรายังไม่นับวิกฤติน้ำมันและความถดถอยทางเศรษฐกิจที่เริ่มรู้สึกได้ทั่วกันในที่ต่างๆ และนั่นเรายังไม่นับความขัดแย้งทางการเมือง การก่อการร้าย สงครามและความไม่สงบอื่นๆ ในที่ต่างๆ ทั่วโลก โลกเราจะประสบกับสภาพการณ์เช่นนั้น จากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม และการหมดไปของทรัพยากรทั้งหมดจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสถานภาพทางสังคมการเมืองและเศรษฐกิจไปอีกช่วงสั้นๆ ช่วงหนึ่ง และแล้วหลังจากนั้น ภัยธรรมชาติรวมทั้งมหาพิบัติทางภูมิศาสตร์และภูมิดาราศาสตร์ก็จะทยอยปรากฏขึ้นอย่างถี่กระชั้นและรุนแรงอย่างที่ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติไม่เคยมีมาก่อน ดังที่ริชาร์ด ลีกคีย์ ดังที่พอล แอร์ลิช ดังที่สถาบันจับตาโลก ดังที่ซูซาน แดนนอน และนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ ได้เขียนไว้ ตามที่ผู้เขียนนำมาเขียนเล่าและอ้างอิงไว้ผ่านคอลัมน์นี้มาอย่างยาวนาน แต่ดังที่ ปีเตอร์ รัสเซลล์ นักฟิสิกส์จากเคมบริดจ์ที่มาได้ดีทางจิตวิทยาวิจัยศาสตร์ (experimental psychology) ได้กล่าวไว้ในหนังสือที่อ้างแล้วข้างบนนั้นว่า เขาเชื่ออย่างแน่นหนาว่า มนุษยชาติจะประสบภัยพิบัติอย่างสุดแสนจะสาหัสสุดเท่าที่จะคาดคิดได้ โดยเฉพาะความล่มสลายทางวัตถุไปแทบทั้งหมด นั่นคือจุดจบของอารยธรรมตะวันตกโลกานุวัตรที่เริ่มจากความล่มสลายหายนะอย่างรุนแรงของระบบเศรษฐกิจและระบบนิเวศธรรมชาติ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเผ่าพันธุ์ของมนุษย์จะสูญสิ้นไปทั้งหมด แม้ว่านครและเมืองใหญ่ๆ จะร้างผู้คนไปแทบทั้งนั้น แต่เราก็จะมีหย่อมหรือชุมชนน้อยๆ ของมนุษย์อยู่ที่นั่นและที่นี้ สุดท้าย ปีเตอร์ รัสเซลล์ ก็สรุปว่า "นั่นฟังแล้วเหมือนกับว่าผมเป็นคนมองโลกทางด้านร้าย แต่จริงๆ แล้วผมก็ยังมองโลกในด้านดี คือยังมองว่า มนุษยชาติคงไม่สิ้นสูญพันธุ์ไปทั้งหมด...แม้เราจะมีชีวิตอย่างสุดทารุณโหดร้ายจากสภาพการณ์ "ไร้วัตถุ" แต่เราก็จะมีล้นเหลือในทางจิตใจและจิตวิญญาณ...." จริงๆ แล้ว ความคิดเห็นที่กล่าวมาข้างบนนั้นแทบว่าจะมีความเป็นเอกภาพ - โดยหลักการที่ไม่มีใครคัดค้านโต้แย้ง - ระหว่างนักวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ในระดับนำของโลกอย่างแทบไม่มีผู้ยกเว้น นั่นคือมิติแห่งความเปลี่ยนแปลงที่จะมีสามมิติด้วยกัน คือ หนึ่ง การเปลี่ยนพาราไดม์ขององค์ความรู้หรือวิทยาศาสตร์ไปทั้งหมด สอง การเปลี่ยนแปลงทางความคิดและวิธีคิดของสังคม และสาม วิวัฒนาการทางจิตที่จะผ่านพ้นตัวตนสู่จิตวิญญาณหรือธรรมจิตของปวงชนอันประเด็นหลักของบทความนี้ ในหนังสืออีกเล่นหนึ่งของปีเตอร์ รัสเซลล์ (Peter Russell : The Global Brain Awaken, 1995) ปีเตอร์ รัสเซลล์ อ้างผลงานวิจัยหลากหลาย เป็นต้นว่างานวิจัยว่าด้วยผลของการปฏิบัติสมาธิที่เรียกว่า "ผลลัพธ์มหาริชี (maharishi effect)" ที่ชิคาโก ที่บอกว่าสถิติอาชญากรรมใน 11 ตำบล ที่มีคนมาหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของประชากรทำสมาธิรวมกันทุกวันในเวลาหนึ่งปีเต็ม ปรากฏว่าอาชญากรรมมีจำนวนลดลง 8.2% ในขณะที่อีก 11 ตำบลที่มีลักษณะทางสังคมคล้ายๆ กัน แต่ไม่มีการทำสมาธิ อาชญากรรมเพิ่มขึ้น 8.3% และในปี 1993 การทดลองที่ประกอบด้วยผู้ปฏิบัติสมาธิอย่างจริงจังจำนวน 4,000 คนที่วอชิงตันดี.ซี.เป็นเวลาหนึ่งปีเต็ม พบว่าไม่เพียงอาชญากรรมที่ลดลงถึง 18% เท่านั้น แต่เหตุร้ายต่างๆ เช่น แอคซิเดนท์ การเจ็บป่วยฉุกเฉิน การฆ่าตัวตาย ก็ล้วนมีสถิติลดลงมาเช่นเดียวกัน บุพนิมิตเผ่าพันธุ์ใหม่-จากกายและจิตรู้สู่จิตวิญญาณ นักวิทยาศาสตร์ใหม่หลายคน รวมทั้งปีเตอร์ รัสเซลล์ เชื่อว่า การทำสมาธิมีผลอย่างแน่นอนดังนี้ 1.ผลทางด้านจิตวิญญาณจะไม่เพียงได้รับเฉพาะแต่กับผู้ปฏิบัติ แต่สามารถแผ่พลังงานสู่คนอื่นๆ ในชุมชนนั้นๆ ให้มีจิตที่ดีงามด้วย 2.โดยสถิติพบว่า ผลที่เป็นบวกจะปรากฏให้เห็นกับชุมชนนั้น หากอัตราของผู้ทำสมาธิต่อประชากรมีอย่างน้อยหนึ่งเปอร์เซ็นต์ขึ้น 3.พลังงานส่วนหนึ่งชี้บ่งไปทางด้านพลังงานแม่เหล็กที่มีความถี่คลื่น 7.2 เฮิรตซ์ และพลังงานจะเพิ่มเป็นสองเท่าหากมีระยะทางของผู้ทำสมาธิอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมกับการหมุนรอบตัวของโลก 4.ผลของสมาธิอาจมีผลต่อสังคมโลกโดยปฏิกิริยาห่วงโซ่ (chain reaction) หากจำนวนประชากรที่ทำสมาธิมีจำนวนมากพอจนถึง "จุดอันวิกฤติ" (critical mass) เมื่อจิตของทุกคนในสังคมโลกจะเปลี่ยนไปในทันที - เพียงมากหรือน้อย. นักวิทยาศาสตร์ใหม่หลายคน รวมทั้งปีเตอร์ รัสเซลล์ เชื่อว่า การทำสมาธิมีผลอย่างแน่นอนดังนี้ 1.ผลทางด้านจิตวิญญาณจะไม่เพียงได้รับเฉพาะแต่กับผู้ปฏิบัติ แต่สามารถแผ่พลังงานสู่คนอื่นๆ ในชุมชนนั้นๆ ให้มีจิตที่ดีงามด้วย 2.โดยสถิติพบว่า ผลที่เป็นบวกจะปรากฏให้เห็นกับชุมชนนั้น หากอัตราของผู้ทำสมาธิต่อประชากรมีอย่างน้อยหนึ่งเปอร์เซ็นต์ขึ้น 3.พลังงานส่วนหนึ่งชี้บ่งไปทางด้านพลังงานแม่เหล็กที่มีความถี่คลื่น 7.2 เฮิรตซ์ และพลังงานจะเพิ่มเป็นสองเท่าหากมีระยะทางของผู้ทำสมาธิอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมกับการหมุนรอบตัวของโลก 4.ผลของสมาธิอาจมีผลต่อสังคมโลกโดยปฏิกิริยาห่วงโซ่ (chain reaction) หากจำนวนประชากรที่ทำสมาธิมีจำนวนมากพอจนถึง "จุดอันวิกฤติ" (critical mass) เมื่อจิตของทุกคนในสังคมโลกจะเปลี่ยนไปในทันที - เพียงมากหรือน้อย. |