[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ห้องสมุด => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 14 กรกฎาคม 2557 19:09:32



หัวข้อ: สงครามสาม (ก๊ก) พม่า
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 14 กรกฎาคม 2557 19:09:32
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/47054401412606_2.JPG)
จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก

สงครามสาม (ก๊ก) พม่า

พงศาวดารเรื่องไทยรบพม่า พระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ไทยทำสงครามกับพม่า ๑๕ ครั้ง สงครามครั้งที่ ๕ สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพ สงครามครั้งที่ ๑๐ ทรงชนช้างชนะพระมหาอุปราชา

จนถึงสงครามครั้งที่ ๑๓ ทรงตีเมืองหงสาวดีครั้งแรก ต่อเนื่องสงครามครั้งที่ ๑๔ ทรงตีเมืองหงสาวดีครั้งที่ ๒...ผลของสงครามครั้งนี้ พม่าเผาเมืองหงสาวดี ทิ้งเมืองเปล่าไว้ สมเด็จพระนเรศวร ทรงนำทัพตามโจมตีไปถึงเมืองตองอู แต่ก็หักเมืองตองอูไว้ไม่ได้ ต้องถอยทัพกลับ

ผลสะเทือนของสงครามครั้งนี้ ทำให้พม่าแตกแยกกันยาวนาน

ในสงครามครั้งที่ ๑๔ พระเจ้าตองอู ยุยงให้พระเจ้าหงสาวดีเผาเมืองแล้วเอาตัวพระเจ้าหงสาวดีไปเป็นหุ่นเชิดที่ตองอู แต่เมื่อใช้ไม่ได้ดังใจ ก็วางยาพิษปลงพระชนม์

สิ้นพระเจ้าหงสาวดี หัวเมืองมอญหันไปภักดีไทย ไทยใหญ่อย่างเมืองแสนหวี ที่อยู่ใกล้ชายแดนจีน เจ้าคำไข่น้อย ถูกชิงอำนาจหนีมาพึ่งไทย จนเมื่อพระญาติรวมตัวกันชิงอำนาจคืน ก็ขอพระเจ้าคำไข่น้อยไปเป็นพระเจ้าแผ่นดินเหมือนเดิม

เมืองไทยใหญ่ใกล้แสนหวี เช่นเมืองหาง เมืองหน่าย ก็พากันสวามิภักดิ์ไทยตาม

จึงเหลือเมืองใหญ่ในพม่า นับจากตองอู ก็ยังมีเมืองแปร เมืองอังวะ ที่ตั้งหลักคุมเชิงกัน

ย้อนหลังตอนพระเจ้าหงสาวดีทิ้งเมือง หนีพระนเรศวร พระเจ้าน้องยาเธอ นะยองราม หนีไปอยู่เมืองพุกาม เมื่อพระเจ้าหงสาวดีสิ้นพระชนม์ ก็คุมสมัคร พรรคพวกไปยึดเมืองอังวะ

ตอนนั้นอังวะว่างเจ้าเมือง ราษฎรอังวะ รู้ว่านะยองราม เป็นพระราชบุตรของบุเรงนอง ก็นิยมยินดียกเป็นพระเจ้าอังวะ ประกาศตนเป็นอิสระ ไม่ยอมขึ้นแค่ใคร นับเป็นพม่าก๊กหนึ่ง

พระเจ้าแปรประกาศตัวเป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับพระเจ้าอยู่หัวนันทบุเรงมาก่อนหน้า นับเป็นพม่อีกก๊กหนึ่ง

ส่วนพระเจ้าตองอู นับแต่ปลงพระชนม์พระเจ้าหงสาวดี ราษฎรก็คลางแคลงใจ ไม่ค่อยยอมรับนับถือคืออีกก๊กหนึ่ง

สามก๊กพม่า ตั้งท่าชิงชัยกัน เมื่อแปร และตองอู รู้ข่าวว่าราษฎรพม่านิยมยกย่องพระเจ้าอังวะมากกว่า วิตกว่าเมื่ออังวะมีกำลังพลมากก็จะยกทัพมาโจมตี จึงหาโอกาสโจมตีอังวะก่อน

ความจริง พระเจ้าตองอู และพระเจ้าแปร ไม่ค่อยชอบหน้ากัน แต่ความกลัวอังวะ จึงแอบหารือกันวางแผนยกสองทัพ ตองอูนำทัพบก แปรเป็นทัพเรือไปสมทบกัน เข้าโจมตีอังวะพร้อมกัน

ถึงวันยกทัพ เกิดมีนักเลงดีวางแผนฆ่าพระเจ้าแปร พระเจ้าแปรหนีรอดอาวุธผู้ร้าย แต่พลาดท่าไปตกน้ำถึงแก่พิราลัย

พระเจ้าตองอูเห็นว่าเมืองแปรอยู่ใกล้ จึงหันทัพไปตีเมืองแปร แต่ท้าวพระยาข้าราชการ รวมตัวต่อสู้รักษาเมืองเป็นสามารถ พระเจ้าตองอูเอาเมืองแปรไม่ได้ ก็เลิกทัพกลับ

ส่วนเมืองแปรนั้น ผู้ร้ายที่วางแผนฆ่าพระเจ้าแปร ก็ปรากฏตัวที่เมืองแปร และขึ้นครองเมือง

ฝ่ายพระเจ้าอังวะ นับวันก็มีรี้พลมากขึ้น ก็คิดขยายอาณาเขตไปทางไทยใหญ่ ไทยใหญ่ตอนนั้นเป็นประเทศราช ไทยเรียก ๑๙ เจ้าฟ้า เมื่อพระเจ้าหงสาวดีสิ้นอำนาจ ก็ตั้งตัวเป็นอิสระบ้าง ที่ใกล้ไทยก็ขึ้นกับไทยบ้าง

ในจำนวนนี้ มีเมืองแสนหวีและเมืองหน่ายด้วยเมืองไทยใหญ่ กระทั่งเมืองหน่ายยอมขึ้นกับพม่า พระเจ้าอังวะได้ใจ ยกทัพจะไปตีเมืองแสนหวี สมเด็จพระนเรศวรทรงพระพิโรธ สั่งเกณฑ์ทัพ ๑ แสน ยกไปทางเมืองหาง และโปรดให้สมเด็จพระเอกาทศรถ ยกทัพอีก ๑ แสน ไปทางเมืองฝาง นี่คือสงครามครั้งที่ ๑๕ ครั้งสุดท้าย

สมเด็จพระเอกาทศรถ เสด็จถึงเมืองฝางได้ ๓ วัน ก็ทราบข่าวสมเด็จพระนเรศวรเสด็จสวรรคตที่เมืองหาง ณ วันจันทร์ เดือน ๖ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีมะเส็ง (พ.ศ.๒๑๔๘) พระชันษา ๕๐ ปี เสวยราชย์ได้ ๑๕ ปี

พระเจ้าอังวะ ทราบข่าวไทยเลิกทัพ ก็ยกทัพไปตีเมืองแสนหวี เจ้าคำไข่น้อย สู้ไม่ได้ พระเจ้าอังวะชนะศึกก็ยกทัพกลับแต่ก็ถึงพิราลัยระหว่างทา  ราชบุตรองค์ใหญ่ ได้ครองอังวะต่อมา

ขณะนั้น เมืองตองอู เมืองแปร และอังวะ ก็ยังไม่ยอมขึ้นต่อกัน ตั้งท่าคุมเชิงกันต่อไป.
.....ข้อมูล หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ