[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน => ข้อความที่เริ่มโดย: sati ที่ 28 ธันวาคม 2553 08:23:08



หัวข้อ: มาอย่างไร ไปอย่างนั้น
เริ่มหัวข้อโดย: sati ที่ 28 ธันวาคม 2553 08:23:08

(http://www.212cafe.com/boardvip/user_board/cm99/picture/01101_53.jpg)

คนเราจะดีหรือชั่วขึ้นอยู่กับการกระทำของตนเป็นสำคัญ ไม่มีใครหรืออะไรที่จะมาดลบันดาลให้เราเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ได้ ความโชคร้ายหรือโชคดีของชีวิตก็เช่นเดียวกัน ไม่ได้มีใครกำหนดให้เรา แต่เราเป็นผู้กำหนดเองทั้งสิ้น ด้วยการกระทำต่างๆ ของเราเอง ผู้ฉลาดจึงเลือกทำแต่กรรมดี ส่วนคนโง่ย่อมทำความชั่ว เพราะไม่รู้ ไม่เข้าใจ ในความเป็นไปของกฎแห่งกรรม

ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่ง ของคนผู้มีปัญญา ที่เข้าใจกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ และได้ปฏิบัติต่อธรรมชาติอย่างถูกต้อง จนได้รับผลดีมีความสุขตามกฎเกณฑ์นั้น ถึงแม้พวกเขาจะสูญเสียบุคคลผู้เป็นที่รักที่สุดในชีว ิต แต่ก็สามารถมีรอยยิ้มได้อย่างเต็มใบหน้า เพราะปัญญาที่เข้าใจกฎเกณฑ์ของธรรมชาติอย่างแท้จริงน ี่เอง

เรื่องมี อยู่ว่า ครั้งพุทธกาลอุบาสกคนหนึ่งอาศัยอยู่ใน กรุงสาวัตถี เขามีบุตรชายผู้เป็นที่รักมาก แต่จู่ๆ บุตรของเขาก็เสียชีวิตลง เขาจึงเศร้าโศกเสียใจมาก ได้แต่ร้องไห้รำพึงรำพันถึงลูกจนไม่เป็นอันกินอันนอน

พระศาสดาเสด็จ ออกจากพระมหากรุณาสมาบัติ และทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุตามปกติ และทรงเห็นอุบาสกนั้น พอรุ่งเช้าพระองค์จึงทรงอุ้มบาตรเสด็จไปยังบ้านของเข า แล้วได้ประทับยืนอยู่ที่หน้าบ้าน เมื่ออุบาสกทราบว่าพระศาสดาเสด็จมา จึงรีบออกไปนิมนต์ให้เสด็จเข้าไปในบ้าน

พระองค์ตรัสกับอุบาสกนั้นว่า

"ดูก่อนอุบาสก ทำไมหน้าตาของท่านจึงดูเศร้าโศกเหลือเกิน"

เขา จึงกราบทูลพระพุทธองค์ว่า ลูกที่เขารักมากได้ตายจากไปแล้ว จึงเศร้าโศกเสียใจเพราะคิดถึงลูก ครั้นพระศาสดาได้ฟังแล้ว จึงคิดที่จะทำความเศร้าโศกของอุบาสกให้บรรเทาลง จึงตรัสว่า

"ชื่อ ว่าสิ่งที่มีการแตกทำลาย เป็นธรรมดาย่อมจะแตกทำลายไป ชื่อว่าสิ่งที่มีการพินาศไป เป็นธรรมดาย่อมจะพินาศไป สิ่งที่มีการแตกและการพินาศไปนั้น จะมีแก่คนผู้เดียวเท่านั้นก็หามิได้ จะมีในหมู่บ้านเดียวเท่านั้น ก็หามิได้ ชื่อว่าสภาวธรรม คือ ความไม่ตายย่อมไม่มีในภพทั้งสาม ในจักรวาลอันหาประมาณมิได้ แม้สังขารอย่างหนึ่งซึ่งสามารถดำรงอยู่โดยภาวะนั้นเท ่านั้น ชื่อว่าเที่ยงยั่งยืนย่อมไม่มี สัตว์ทั้งปวงมีความตายเป็นธรรมดา สังขารทั้งหลายมีการแตกสลายไปเป็นธรรมดา"

แล้วทรงยกเทศนามา ตรัสเล่าให้อุบาสกฟังความว่า นานมาแล้ว ในเมืองพาราณสี แคว้นกาสี มีตระกูลพราหมณ์ชื่อว่า ธรรมปาละ ตระกูลนี้เป็นครอบครัวใหญ่ มีพ่อ แม่ ลูกชาย ลูกสาว ลูกสะใภ้ และคนใช้ ทุกคนชอบเจริญมรณานุสสติ ระลึกนึกถึงความตายอยู่ตลอดเวลา เพื่อจะทำให้ตนเองไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต ฉะนั้นหากใครจะออกจากบ้าน จะต้องให้โอวาทคนที่อยู่ในบ้านก่อนแล้วค่อยออกไป

อยู่มาวันหนึ่ง พ่อกับลูกชายจะออกจากบ้านไปไถนา ลูกชายเห็นหญ้า ใบไม้และฟืนแห้งๆ กองรวมกันอยู่ จึงจุดไฟเผา พอไฟลุกไหม้ก็มีงูเห่าตัวหนึ่งเลื้อยออกมาจากกองใบไม ้ เพราะกลัวถูกไฟเผา เขาไม่ทันระวังตัวจึงถูกงูกัด จนขาดใจตาย หลังจากตายแล้วก็ไปเกิดเป็นท้าวสักกเทวราชา

เมื่อพ่อรู้ว่าลูกชายตาย จึงบอกกับบุรุษผู้หนึ่งที่เดินผ่านมาตรงนั้นว่า "สหายเอ๋ย ท่านจงกลับไปบอกภรรยาของเราที่บ้านหน่อยเถิดว่าให้อา บน้ำ นุ่งผ้าขาว แล้วเอาอาหารและดอกไม้ของหอม เป็นต้น ที่สำหรับกินได้คนเดียว แล้วให้รีบมาหาเรา"

บุรุษนั้นก็รีบกลับไปทำตามที่พราหมณ์ธรรมปาละบอก ไว้ และเมื่อภรรยาของเขาพร้อมด้วยบริวารมาถึง ก็ยกศพลูกชายขึ้นวางบนเชิงตะกอนจุดไฟเผา โดยไม่มีความเศร้าโศกเสียใจแต่อย่างใด ทั้งหมดได้ยืนพิจารณาซากศพนั้นว่าเป็นเหมือนกับเผาท่ อนไม้ท่อนหนึ่งเท่านั้น เอง

ลูกชายของเขาที่ไปเกิดเป็นท้าวสักกะนั้น ได้พิจารณาชาติก่อนของตนเอง และบุญที่เคยได้กระทำไว้ จึงทรงคิดที่จะโปรดพวกญาติๆ จึงได้แปลงเป็นพราหมณ์มาในที่นั้นแต่เมื่อเห็นพวกญาต ิไม่ร้องไห้เศร้าโศก เสียใจ จึงถามขึ้นว่า

"คนที่ตายเป็นศัตรูของพวกท่านหรือ?"

เมื่อ ได้รับคำตอบว่าไม่ใช่ศัตรู แต่เป็นลูกชายที่รักมาก ท้าวสักกะก็สงสัย จึงถามต่อไปว่า "หากเขาเป็นคนที่พวกท่านรัก ทำไมเมื่อเขาตาย พวกท่านจึงไม่เศร้าโศกเสียใจเลยล่ะ"

ธรรมปาละผู้เป็นพ่อจึงบอกว่า "ลูก ของเราละร่างกายอันคร่ำคร่าของตนไป ก็เป็นเหมือนกับงูลอกคราบ เมื่อร่างกายใช้สอยไม่ได้แล้ว ถึงแก่ความตายแล้ว ศพนี้ย่อมไม่รับรู้ว่าพวกญาติร้องไห้คร่ำครวญ ฉะนั้น พวกเราจะร้องไห้ เศร้าโศกถึงเขาทำไมกันเล่า เขาเคยทำกรรมใดไว้ เขาก็จะต้องไปตามกรรมที่เขาเคยทำไว้แล้วนั่นเอง"

ท้าวสักกะจึงถามผู้เป็นแม่ว่า "ผู้ตายนั้นเป็นอะไรกับท่านหรือ"

ผู้เป็นแม่ได้ตอบว่า "เขาเป็นลูกชายของฉัน ฉันอุ้มท้องมาถึง ๑๐ เดือน ให้ดื่มน้ำนม ประคบประหงมมือและเท้าจนเขาโตเป็นผู้ใหญ่"

ท้าว สักกะถามต่อไปว่า "บิดาไม่ร้องไห้ เพราะเป็นบุรุษก็ยกไว้ ส่วนมารดาซึ่งโดยปกติมักจะเป็นคนมีจิตใจอ่อนโยนอ่อนไ หวง่าย แล้วทำไมท่านจึงไม่ร้องไห้ล่ะ"

นางได้ฟังดังนั้น จึงบอกสาเหตุที่ไม่ได้ร้องไห้เพราะลูกตายว่า "ลูกชายของฉัน ฉันไม่ได้เชิญมาก็มาเองจากปรโลก แม้เมื่อจะไปจากมนุษยโลกนี้ ดิฉันก็มิได้อนุญาตให้เขาไปเขามาอย่างใด เขาก็ไปอย่างนั้น ทำไมต้อง ร้องไห้เพราะการเดินทางจากโลกนี้ไปสู่โลกหน้าของเขาด ้วยเล่า ศพของเขาที่ถูกเผาอยู่ ย่อมไม่รู้สึกอะไร เพราะฉะนั้น ฉันจึงไม่ร้องไห้ถึงเขา เขาเคยทำกรรมใดไว้ ย่อมไปตามกรรมที่เขาทำไว้นั่นเอง"

ครั้นท้าวสักกะได้ฟังคำตอบจากแม่แล้ว จึงหันไปถามน้องสาวว่า ไม่รักพี่ชายหรือ หรือจึงไม่เสียใจ นางตอบว่า

"ถ้า ฉันมัวแต่ร้องไห้เสียใจก็จะผ่ายผอม ฉันจะได้ประโยชน์อะไร พวกญาติก็จะพลอยเป็นกังวลไปด้วย พี่ชายของฉันที่ถูกเผาอยู่ ก็ย่อมจะไม่รับรู้ว่าฉันเสียใจเพราะฉะนั้นฉันจึงไม่ร ้องไห้เสียใจถึงเขา"

ท้าวสักกะได้ฟังคำตอบของน้องสาวแล้ว จึงหันไปถามภรรยาในลักษณะเดียวกัน ภรรยาก็ตอบว่า

"ผู้ ใดเศร้าโศกถึงคนที่ตายไปแล้ว ผู้นั้นก็เปรียบเหมือน เด็กทารกร้องไห้ถึงพระจันทร์ที่ลอยอยู่กลางอากาศ ศพของสามีฉันที่กำลังถูกเผาอยู่ ย่อมไม่รับรู้ถึงการร้องไห้คร่ำครวญ ของฉันและญาติๆ เลย ฉะนั้นฉันจึงไม่ร้องไห้เสียใจเลย"

เมื่อฟังคำตอบ จากภรรยาแล้ว จึงหันไปถามคนรับใช้ซึ่งตอบว่า "ฉันไม่ร้องไห้เสียใจ ก็เพราะคิดว่า หม้อน้ำที่แตกแล้ว จะให้ประสานติดกันอีกย่อมเป็นไปไม่ได้"

ท้าว สักกะครั้นได้ฟังถ้อยคำของทุกคนแล้ว จึงมีจิตเลื่อมใส ตรัสว่า "ท่านทั้งหลาย เจริญมรณัสสติดีแล้ว ตั้งแต่นี้ต่อไปพวกท่านไม่ต้องทำไร่ไถนาแล้ว ว่าแล้วก็เนรมิตรบ้านของพวกเขาให้เต็มไปด้วยรัตนะ ๗ ประการ และให้โอวาทว่า

"ท่าน ทั้งหลาย อย่าประมาทในการดำเนินชีวิต จงให้ทาน รักษาศีล ทำอุโบสถกรรม"  และก่อนจะกลับท้าวสักกะ ก็ได้บอกความจริงแก่พวกญาติว่า ท่านก็คือลูกชายของบ้านนี้ที่ตายไปนั่นเอง

ส่วนพวกญาติยังคงขวนขวาย ในการทำบุญให้ทานปฏิบัติธรรมจนตลอดชีวิต และเมื่อทุกคนตายไปก็ไปบังเกิดในเทวโลก เพราะอานุภาพของบุญที่พวกเขาได้สั่งสมไว้แล้วนั่นเอง
.......

ผู้มีปัญญา เมื่อทราบว่าชีวิตเป็นของไม่แน่นอน
จึงไม่ควรประมาทในการดำเนินชีวิต
รีบสั่งสมกรรมดีไว้มากๆ ก่อนที่จะไม่มีโอกาสได้กระทำอีกต่อไป
กรรมดีจะช่วยให้เรามีความสุขทั้งในชาตินี้และชาติต่อ ๆ ไป

(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 93 ส.ค. 51 โดยมาลาวชิโร)