[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ อนามัย => ข้อความที่เริ่มโดย: ใบบุญ ที่ 29 สิงหาคม 2558 05:23:57



หัวข้อ: คนไทยวัยสูงอายุร้อยละ 95 เสี่ยงเป็นโรคงูสวัด
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 29 สิงหาคม 2558 05:23:57
.

(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRKWbf8oGiW58toqYGs9poc_LwP0mKXBihg2EQuduCXxZFeZhyEog)

วัยสูงอายุเสี่ยงเป็นงูสวัด
ควรฉีดวัคซีนป้องกัน

หลายๆ คนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับโรคงูสวัดมาบ้าง แต่ข้อมูลที่ได้มานั้นจริงเท็จแค่ไหน เพราะเราทุกคนเสี่ยงเป็นโรคงูสวัดได้ทั้งนั้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่ต้องทุกข์ทรมานจากอาการปวดของโรค และบางรายอาจเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่างๆ

ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา ให้ความรู้ในหัวข้อ "ความจริงที่ควรรู้....งูสวัด ภัยเงียบในผู้สูงอายุ" ว่า โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อ ไวรัสวาริเซลล่า ซอสเตอร์ (varicella zoster virus) ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคสุกใส ดังนั้น ผู้ที่เคยมีประวัติเป็นโรคอีสุกอีใสจึงเสี่ยงเป็นโรคงูสวัดได้ทุกคน

โดยเชื้อไวรัสซอสเตอร์สามารถติดต่อผ่านทางการหายใจ และสัมผัสตุ่มน้ำใสโดยตรง ซึ่งเมื่อหายจากโรคอีสุกอีใสแล้ว เชื้อไวรัสจะหลบซ่อนอยู่ในปมประสาทของร่างกายนานหลายปี จนเมื่อภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ เชื้อจะกระจายตามแนวเส้นประสาททำให้เกิดผื่นคัน แล้วเป็นตุ่มใสเรียงเป็นแนวยาว กลายเป็นโรคงูสวัด ในสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยโรคงูสวัดกว่า 1 ล้านรายต่อปี และร้อยละ 70 ของผู้ป่วยมีอายุเกิน 50 ปี คนไทยวัยสูงอายุร้อยละ 95 จึงเสี่ยงเป็นโรคงูสวัด

อาการของโรคเริ่มจากปวดแสบร้อนบริเวณชายโครง แขน หลังจากนั้น 2-3 วัน จะมีผื่นแดงขึ้นบริเวณที่ปวด แล้วกลายเป็นตุ่มน้ำใส เมื่อหายแล้วอาจยังมีอาการปวดตามแนวเส้นประสาทเรื้อรัง บางรายอาจมีไข้ด้วย

"สิ่งที่น่าห่วงคือภาวะแทรกซ้อน โดยพบอาการปวดเรื้อรังในร้อยละ 50 ของผู้ป่วยที่มีอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป และมากกว่าร้อยละ 70 ในผู้ป่วยอายุ 70 ปีขึ้นไป ยิ่งอายุมากยิ่งเป็นรุนแรง

อาการปวดแทรกซ้อนและปวดเรื้อรัง สร้างผลกระทบแก่ผู้ป่วยมาก บางคนไม่สามารถขยับร่างกายได้ และอาจเรื้อรังเป็นปี บางรายซึมเศร้า ไม่อยากเข้าสังคม"

แนวทางการป้องกันควรเริ่มจากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ หากอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ควรฉีดวัคซีนป้องกันโดยเฉพาะผู้ที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส แต่วัคซีนดังกล่าวไม่สามารถใช้รักษาโรคงูสวัดได้ และควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง

วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด ไม่ใช่วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส และวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคงูสวัดได้ วัคซีนป้องกันโรคงูสวัดฉีดเพียง 1 เข็ม ป้องกันได้ 10 ปี

นอกจากนี้ ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ที่เป็นโรคมะเร็ง เด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคไตวายเรื้อรัง เสี่ยงต่อการติดเชื้อและเป็นโรคงูสวัดได้ง่าย ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงจากผู้ป่วยโรคงูสวัด แยกสิ่งของเครื่องใช้ หลีกเลี่ยงการสัมผัสตุ่มน้ำหรือแผลของผู้ป่วย