[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ อนามัย => ข้อความที่เริ่มโดย: sati ที่ 02 กุมภาพันธ์ 2554 09:47:05



หัวข้อ: นอนหลับกับสมอง
เริ่มหัวข้อโดย: sati ที่ 02 กุมภาพันธ์ 2554 09:47:05

(http://learnwhatis.com/wp-content/uploads/2010/08/baby-sleeping.jpg)



ในความหมายทางกายภาพการนอนหลับ หมายถึง

การที่บุคคลหนึ่งอยู่ในสภาวะที่ไม่รู้สึกตัว แต่สามารถถูกปลุกให้ตื่นได้ด้วยการกระตุ้นประสาทสัมผัส เพราะฉะนั้น ถ้าคุณยังรู้สึกตัวอยู่ หรือคุณไม่รู้สึกตัว และไม่สามารถถูกปลุกให้ตื่นได้ (เช่น ตอนเมา-kate) ก็หมายความว่า คุณไม่ได้นอนหลับ
ระดับของการนอน

การนอนแบ่งได้เป็นสองระดับแตกต่างกัน

ระดับแรก

เรียกว่าการหลับลึก การหลับในระดับคลื่นช้า หรือ การหลับแบบ non-REM การนอนหลับในระดับนี้เป็นช่วงที่ร่างกายได้พักผ่อน กิจกรรมของสมองส่วนกลางลดน้อยลง อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันเลือด ระดับการหายใจ และการใช้พลังงานของร่างกายลดลงจากเวลาปกติประมาณ 30%

ระดับที่สอง เรียกว่า

การหลับแบบ REM (Rapid Eyes Movement- การเคลื่อนไหวของดวงตาขณะหลับ ซึ่งสมองสร้างกระแสไฟฟ้าโวลท์ต่ำ แต่มี activity สูง และสั่งการออกมาให้ดวงตาเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว-kate) ซึ่งการนอนหลับในระดับนี้จะมีช่วงของการฝัน และมีการเปลี่ยนแปลงของความดันเลือดและการหายใจ

ผลการศึกษา EEG

(Electroencephalograph-การใช้ electrodes ติดกับหนังศรีษะของผู้นอนเพื่อวัดกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของสมอง-kate) พบว่า ในการนอนหลับระดับนี้ สมองมีกิจกรรมคล้ายกับเมื่อตื่น และการนอนหลับในระดับนี้ ผู้นอนจะรับรู้การกระตุ้นจากภายนอกได้น้อยกว่า (คือ ปลุกให้ตื่นได้ยากกว่านั่นเอง-kate)

การเปลี่ยนระดับการนอนหลับ

ในการนอนหลับ จะมีการเปลี่ยนระดับการหลับทั้งสองระดับไปมาตลอดระยะเวลาของการนอน ในช่วงชั่วโมงแรกของการนอนหลับ จะเป็นการหลับในระดับแรก คือการหลับลึก และต่อมาจะเปลี่ยนเข้าสู่การหลับระดับ REM ซึ่งมีช่วงเวลาสั้นกว่า (ตั้งแต่ประมาณ 5 นาทีขึ้นไป) และเปลี่ยนกลับมาสู่การหลับลึก วนเช่นนี้ตลอดคืน การนอนหลับ 8 ชั่วโมง จะเป็นการหลับในระดับ REM ประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละคน


ที่มา : ที่นี่ดอทคอม
 


หัวข้อ: Re: นอนหลับกับสมอง
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 02 กุมภาพันธ์ 2554 12:45:48
ผมเคยดูสารคดี มีทีมงานวิจัยการนอน ให้กับนักแข่งแล่นเรือรอบโลก

พวกนี้ไม่ได้นอนหลายชั่วโมงเหมือนเรา

เค้านอนยี่สิบนาที ตื่นชั่วโมงครึ่ง นอนสองชั่วโมงครึ่ง ตื่นสามชั่วโมง

คือมีเวลานอนแปลก ๆ ตื่นแปลก ๆ

แต่เค้าวิจัยว่ามันเป็นการนอนที่ให้ผลดีที่สุด

ก็เลยงง ๆ มันดูขัดแย้งกับที่ว่าให้นอนต่อเนื่อง 6-8 ชม.