หัวข้อ: อานาปานสติ ใช้ทำจิตให้เป็นสมาธิ เริ่มหัวข้อโดย: Maintenence ที่ 18 ธันวาคม 2558 16:33:16 .
(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRxbqS8XYOvfPIDfm00nnAemrnB3Kckix9S9PS9k3qNzW1afAd-) อานาปานสติ อานาปานสติ สามารถใช้ทำจิตให้เป็นสมาธิ ตั้งแต่ระดับต้นๆ จนถึงระดับสูงละเอียดยิ่งๆ ขึ้นไปได้, และแม้ว่าอานาปานสติสูตร บาลีแปลไทย จะเป็นเรื่องที่มีการเรียนการสอนกันมากอยู่แล้ว ในหมู่ชาวพุทธผู้ใฝ่ศึกษาและปฏิบัติธรรม คือ มีหนังสือ มีเอกสาร รวบรวมประเด็น แง่มุมในการปฏิบัติ รวมถึงอานิสงส์ต่างๆ ของอานาปานสติกันมากอยู่แล้วก็ตาม, คณะศิษย์ผู้จัดทำฯ ก็ได้นำอานาปานสติสูตร บาลีแปลไทย มาลงไว้ ณ ที่นี้ เป็นพิเศษอีกวาระหนึ่งด้วย อานาปานสติสูตร สูตรเต็ม อานาปานสังยุต–สังยุตตนิกาย–มหาวารวรรค อานาปานสฺสติ ภิกฺขเว ภาวิตา พหุลีกตา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา ฯ ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ กถํ ภาวิตา จ ภิกฺขเว อานาปานสฺสติ กถํ พหุลีกตา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา ฯ ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ [เตรียม] อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ อรญฺญคโต วา รุกฺขมูลคโต วา สุญฺญาคารคโต วา ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นิสีทติ ปลฺลงฺกํ อาภุชิตฺวา อุชุ ํ กายํ ปณิธาย ปริมุขํ สตึ อุปฏฺฐเปตฺวา ฯ นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า โส สโตว อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ ฯ เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก [กาย] ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต ทีฆํ อสฺสสามีติ ปชานาติ ทีฆํ วา ปสฺสสนฺโต ทีฆํ ปสฺสสามีติ ปชานาติ ฯ เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว รสฺสํ วา อสฺสสนฺโต รสฺสํ อสฺสสามีติ ปชานาติ รสฺสํ วา ปสฺสสนฺโต รสฺสํ ปสฺสสามีติ ปชานาติ ฯ เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น สพฺพกายปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ สพฺพกายปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา ว่า “เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า” ว่า “เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก” ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา ว่า “เราจักเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า” ว่า “เราจักเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก” [เวทนา] ปีติปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ปีติปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา ว่า “เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า” ว่า “เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก” สุขปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ สุขปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา ว่า “เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า” ว่า “เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก” จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา ว่า “เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า” ว่า “เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก” ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา ว่า “เราจักเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า” ว่า “เราจักเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก” [จิต] จิตฺตปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ จิตฺตปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา ว่า “เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า” ว่า “เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก” อภิปฺปโมทยํ จิตฺตํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ อภิปฺปโมทยํ จิตฺตํ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา ว่า “เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจเข้า” ว่า “เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจออก” สมาทหํ จิตฺตํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ สมาทหํ จิตฺตํ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา ว่า “เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า” ว่า “เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจออก” วิโมจยํ จิตฺตํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ วิโมจยํ จิตฺตํ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา ว่า “เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า” ว่า “เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก” [ธรรม] อนิจฺจานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ อนิจฺจานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา ว่า “เราจักเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า” ว่า “เราจักเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก” วิราคานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ วิราคานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา ว่า “เราจักเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า” ว่า “เราจักเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก” นิโรธานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ นิโรธานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา ว่า “เราจักเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า” ว่า “เราจักเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก” ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา ว่า “เราจักเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า” ว่า “เราจักเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก” [จบ] เอวํ ภาวิตา โข ภิกฺขเว อานาปานสฺสติ เอวํ พหุลีกตา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา ฯ ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่. ที่มา : อานาปานสติสูตร — สํ. ม. ๑๙/(๑๓๑๑)–(๑๓๑๒)/๓๙๖–๓๙๗. หมายเหตุ : จากเชิงอรรถ พระไตรปิฏกฉบับมหาจุฬาฯ ตามอรรถกถาพระสูตร อัสสาสะ หมายถึงหายใจเข้า ปัสสาสะ หมายถึงหายใจออก (อสฺสาโสติ อนฺโตปวิสนนาสิกวาโต. ปสฺสาโสติ พหินิกฺขมนนาสิกวาโต. — ม.ม.อ. ๒/๓๐๕/๑๓๖) ส่วนอรรถกถาพระวินัยกลับกันคือ อัสสาสะ หมายถึงหายใจออก ปัสสาสะ หมายถึงหายใจเข้า (อสฺสาโสติ พหินิกฺขมนวาโต. ปสฺสาโสติ อนฺโตปวิสนวาโต. — วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๖) หมายเหตุ : สำนวนแปลไทย สำนวนแปลไทยของ อานาปานสติสูตร จากพระไตรปิฏกฉบับต่างๆ มีความใกล้เคียงกันมาก แทบจะเรียกได้ว่าเหมือนกัน มีต่างกันก็เพียงการลงรายละเอียดเล็กๆน้อยๆในเรื่องของการเลือกใช้คำไทย เช่น สิกฺขติ ซึ่งแปลว่า ย่อมศึกษา บางแห่งใช้ว่า ย่อมสำเหนียก เป็นต้น สำหรับสำนวนแปลที่นำมาลงในเวปนี้ ใช้จากฐานการแปลของท่านพุทธทาสภิกขุ ในผลงานชุดพระไตรปิฏกแปลไทยของท่าน ซึ่งมีอยู่ 5 เล่ม และเป็นที่รู้จักกันในชื่องานหนังสือพุทธโฆษณ์ชุดจากพระโอษฐ์ หมายเหตุ : การแสดงผลฟอนด์บาลีบนเวป ตัวสูตรที่เป็นพระบาลีที่นำมาลงในที่นี้ นำมาจากต้นฉบับ–พระไตรปิฏกบาลีอักษรไทย–ฉบับสยามรัฐ และเมื่อเป็นการใช้งานเพื่ออ่านบนเวป จึงได้ใช้ตัวอักษร ญ–มีฐาน และ ฐ–มีฐาน แทนที่จะเป็นแบบไม่มีฐานตามแบบฉบับบาลีอักษรไทย ทั้งนี้ ก็เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานส่วนใหญ่เป็นหลัก ซึ่งโดยมากมักจะไม่มีฟอนด์ที่แสดงผลเฉพาะนั้นได้ ( สำหรับผู้ที่อยู่ในแวดวงศึกษาเฉพาะ ก็คงมีความเข้าใจในส่วนนี้อยู่แล้ว หลวงพ่อ ดร.สะอาด ฐิโตภาโส |