[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม => ข้อความที่เริ่มโดย: มดเอ๊ก ที่ 26 มิถุนายน 2559 00:49:27



หัวข้อ: พิธีมนตราภิเษกเพื่อให้มีอายุยืนยาว(พระอาจารย์ลาตรี เคนโปเกเช ญีมาทรักปา ริมโปเช)
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 26 มิถุนายน 2559 00:49:27
https://www.youtube.com/v/17WExvTDMNc

https://www.youtube.com/v/RcFy5jaHRjw

https://www.youtube.com/v/dKnmEpRxcdU

https://www.youtube.com/v/17WExvTDMNc

https://www.youtube.com/v/UGQhoJBos10

https://www.youtube.com/v/RHLaLdjwIks

https://www.youtube.com/v/nzW_Vi_MHkM

พิธีมนตราภิเษกเพื่อให้มีอายุยืนยาว
โดย พระอาจารย์ลาตรี เคนโป เกเช ญีมา ทรักปา ริมโปเช
ณ ศาลาวสุตารา
วันมหาพุทธบูชา ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕

มูลนิธิพันดารา The Thousand Stars Foundation
ศูนย์ปฏิบัติธรรมขทิรวัน หัวหิน
Khadiravana Center (Kundrol Ling)
http://www.facebook.com/1000tara (http://www.facebook.com/1000tara)
http://www.thousand-stars.org (http://www.thousand-stars.org)
http://www.taragreatstupa.org (http://www.taragreatstupa.org)
http://krisadawan.wordpress.com (http://krisadawan.wordpress.com)
__//.\\__


(http://thousandstars.org/wp-content/uploads/2016/01/%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%8D%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%B2.jpg)

พระอาจารย์ลาตรี เคนโป เกเช ญีมา ทรักปา ริมโปเช

พระอาจารย์ญีมาเป็นเจ้าอาวาสผู้ได้รับการถ่ายทอดและเก็บรักษคำสอนของวัดลาตรี เมืองเดเก แคว้นคาม ในทิเบตตะวันออก ท่านเกิดในทิเบตเมื่อปีพ.ศ.๒๕๐๒ และเติบโตในสังคมผู้อพยพชาวทิเบตในประเทศเนปาล บิดาของท่านชื่อลาตรี เกียลเซน ญีมา เป็นผู้ได้รับการถ่ายทอดและเก็บรักษาคำสอนของวัดลาตรีเช่นกัน ท่านเป็นนิรมาณกายของซูลทริมพุนซก ผู้ปฏิบัติธรรมที่ยิ่งใหญ่ของทิเบตตะวันออก เมื่อท่านมีอายุสิบแปดปี ท่านได้ตระหนักว่าท่านมีหน้าที่ที่จะต้องรักษาคำสอนของวัดลาตรี ท่านจึงตัดสินใจบวชเป็นพระภิกษุไปตลอดชีวิตและอุทิศชีวิตเพื่อผู้ปฏิบัติธรรมเพิน อันเป็นต้นกำเนิดของท่าน โดยพระอุปัชฌาย์ของท่านคือสมเด็จพระแมงรี ทรีซินที่สามสิบสาม ประมุขของนิกายเพินซึ่งประทับอยู่ที่วัดแมงรี เมืองดอลันจี ประเทศอินเดีย ท่านได้ศึกษามรรควิถีทั้งสามอันประกอบไปด้วย พระสูตร ตันตระและซกเช็นจากวิทยาลัยสงฆ์ Bon Dialectic School แห่งวัดแมงรี

นอกจากนั้นท่านยังได้ศึกษาการแพทย์ ดาราศาสตร์ และสาขาวิชาอื่นๆที่สำคัญของวัฒนธรรมทิเบต ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ท่านสำเร็จการศึกษาด้วยปริญญา”เกเช” (Geshe) ซึ่งเทียบเท่ากับปริญญาเอกของการศึกษาแบบ21ตะวันตก และในปีเดียวกันนั้นท่านเดินทางกลับไปยังทิเบตเพื่อรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดลาตรี และไปเยี่ยมวัดสำคัญของเพินสามสิบแปดแห่ง เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างวัดเพินในทิเบตและในอินเดีย

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ท่านเดินทางกลับไปยังวัดแมงรี และในปีนั้นสมเด็จองค์ดาไลลามะเสด็จมาเยือนวัดแมงรี และทรงปรึกษาเรื่องระบบการศึกษาของดอลันจีกับสมเด็จพระแมงรีทรีซิน ในโอกาสนั้นสมเด็จแมงรี ทรีซิน ได้ขอพระราชานุญาตเพิ่มชั้นประถมศึกษาที่เจ็ดและแปด ที่โรงเรียน สำหรับเด็กชาวเพินในดอลันจี องค์ดาไลลามะทรงอนุญาต และแสดงความปรารถนาที่จะให้เด็กชาวเพินได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนแห่งนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ หลังจากนั้นกระทรวงการศึกษาของรัฐบาลทิเบตพลัดถิ่นได้มอบเงินจำนวนมาก เพื่อสนับสนุนโครงการขยายชั้นการศึกษานี้

ท่านลาตรี ญีมา ทรักปา ริมโปเชได้รับมอบหมายให้ดูแลโครงการนี้ และท่านได้สนับสนุนให้พ่อแม่ชาวเพินทั้งในเนปาล ภูฏาน สิกขิม และอินเดีย ส่งบุตรหลานมาเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ ต่อมาในปีเดียวกันสมเด็จพระแมงรีทรีซินได้ขอให้ท่านจัดตั้งบ้านสำหรับเด็กผู้หญิงกับเด็กผู้ชายที่ดอลันจี ท่านจึงจัดตั้งบ้านที่ต่อมามีชื่อว่า The Bon Children’s Home(BCH) ที่นี่เด็กๆไม่เพียงแต่จะได้รับการศึกษา แต่ยังได้เติบโตร่วมกัน บ้านหลังนี้ได้กลายเป็นบ้านจริงๆของพวกเขาท่านลาตรี ญีมา ทรักปา ริมโปเช ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการบ้านหลังนี้ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน เด็กๆส่วนใหญ่ที่บ้านนี้มาจากชุมชนเพินที่ห่างไกลมากในเนปาล เช่น โดลโปและลู-บลัก ปัจจุบัน BCH มีเด็กอยู่ประมาณ 280 คน และมีอายุตั้งแต่ ๕ ถึง ๒๐ ปี

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ท่านลาตรี ญีมา ทรักปา ริมโปเชได้รับมอบหมายจากสมเด็จพระแมงรีทรีซินให้ตั้งวัดเมินเกียลที่เมืองเดลาดุน ในประเทศอินเดีย บนที่ดินซึ่งเจ้าชายจากแคว้นหลิงซัง แห่งทิเบตตะวันออกเป็นผู้ถวายตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ จนถึงปัจจุบัน ท่านลาตรี ญีมาทรักปา ริมโปเชได้เดินทางไปสหรัฐอเมริกาและประเทศต่างๆในยุโรป เช่น ออสเตรีย ฝรั่งเศส เยอรมนี โปแลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อเผยแพร่ธรรมะของเพินและหาทุนสำหรับ BCH

นอกจากนี้ท่านยังเดินทางไปบรรยายธรรม ณ ธรรมสถานในที่ต่างๆที่ท่านและลูกศิษย์ได้ตั้งขึ้น ในหลายประเทศ เช่น YeruBon Center ที่ลอสแองเจลีส ประเทศสหรัฐอเมริกา Bon ShenLing ที่กรุงมอสโคว์ ประเทศรัสเซียและ Shen Chen Ling BonCenter ที่เวียนนา ประเทศออสเตรีย ท่านได้เผยแพร่คำสอนสำคัญต่างๆของเพิน เช่นการยึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งโพธิจิตการบ่มเพาะความกรุณา การบูชาพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า การบูชาครู(คุรุโยคะ) การปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุการตรัสรู้และ ซกเช็น อันเป็นคำสอนสูงสุดเพื่อการบรรลุพุทธภาวะที่มีการถ่ายทอดทั้งในสายเพิน และสายญิงมาแห่งพุทธศาสนาทิเบต

พระอาจารย์ริงกุ ทุลกุ ริมโปเช

ท่านเกิดเมื่อปี1952 ในแคว้นคาม เขตทิเบตตะวันออก “ริงกุ” เป็นชื่อของชุมชนเผ่าเร่ร่อน ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน “ทุลกุ” เป็นฉายาที่ใช้กับพระอาจารย์ที่ได้รับประกาศว่าได้กลับชาติมาเกิด ส่วนคำว่า “ริมโปเช” เป็นคำเรียกพระอาจารย์ มีความหมายตรงตัวแปลว่า”ผู้ประเสริฐ”ริมโปเชอาศัยอยู่ในทิเบตจนอายุประมาณ 4-5 ปี เมื่อทิเบตเสียเอกราช ท่านจึงลี้ภัยไปอยู่ที่สิกขิม ประเทศอินเดีย

ท่านริงกุ ทุลกุ ริมโปเช ได้รับยกย่องว่าเป็นพระอาจารย์ที่สำคัญของพุทธศาสนาแบบวัชรยาน ท่านสืบคำสอนของนิกายการ์จูปะ และได้เลือกให้เป็นผู้แทนสมเด็จองค์การ์มาปะในยุโรป ท่านได้รับคำสอนจากพระอาจารย์ที่ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 20 ได้แก่ HH the 20 Gyalwang Karmapa และ HH Khentse Rinpoche

ท่านได้ศึกษาที่สถาบันนัมเกียล ซึ่งเป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงระดับโลกที่สนับสนุนนักวิจัยที่มีความสนใจเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรมแบบทิเบต ปัจจุบันท่านได้เดินทางไปเผยแผ่คำสอนทางพระพุทธศาสนารวมถึงคำสอนวิธีการนั่งสมาธิในประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นยุโรป สหรัฐอเมริกา และในเอเชีย ริมโปเชได้เขียนหนังสือคำสอนทางพระพุทธศาสนาอีกจำนวนมากทั้งที่เป็นภาษาทิเบต และภาษาอังกฤษ ท่านเขียนหนังสือในสามยานของพระพุทธศาสนา การฝึกจิตและปรัชญาแบบรีเม(ไม่แห่งแยกนิกาย)

ท่านพูดเสมอว่า เราต้องเปิดใจที่จะเรียนรู้ผู้อื่น และประเพณีทางจิตวิญญาณอื่นเราจึงจะฉลาดขึ้น และมีความเข้าใจอย่างแท้จริงในทางศาสนา

https://www.youtube.com/v/kMxp9b13flk

ประวัติท่านญีมา ริมโปเช

จาก http://thousandstars.org/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C/ (http://thousandstars.org/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C/)