[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ตลาดสด => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 15:25:05



หัวข้อ: "ไม่เชื่ออย่าลบหลู่"
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 15:25:05

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/34758610030015_149640567_1088010271714652_231.jpg)

"ไม่เชื่ออย่าลบหลู่"
การเคารพบูชาเทวดาอารักษ์ แสดงให้เห็นถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนของมนุษย์
ที่มีต่ออำนาจเหนือธรรมชาติ และเป็นสิ่งเดียวที่สามารถควบคุมความอหังการ
ของมนุษย์ได้ดีกว่าระเบียบกฎเกณฑ์ใดๆ

คนโบราณเชื่อว่า มีเทวดา ภูติ ผี และว่ามีอิทธิฤทธิ์ที่จะบันดาลให้ชีวิตทุกข์ยากลำบาก หรือพบกับความสุขสมบูรณ์ได้ จึงสร้างศรัทธา ปลูกฝังความเชื่อนี้ให้ลึกลงไปในสำนึกแก่ลูกหลาน แม้ปัจจุบันนี้วิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์ให้เห็นชัดเจนว่าคติความเชื่อนั้นไม่จริง แต่มนุษย์ก็ยังแสดงออกทางความเชื่อกันอยู่ในชีวิตประจำวันด้วยความสมัครใจ

"ความเชื่อเป็นนามธรรม และเป็นพื้นฐานแห่งการนับถือ" - ความกลัวและความไม่รู้ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็น "อวิชชา" เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความเชื่อ และความเชื่อก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดพิธีกรรมต่างๆ มากมาย
 
มนุษย์ทุกรูปทุกนามมีสัญชาตญาณกลัวภัยอันตรายอยู่แล้ว เมื่ออายตนะทั้ง ๖ ได้สัมผัสสิ่งต่างๆ หรือภาษาทางศาสนาเรียกว่า เกิดจักษุวิญญาณ + การปรุงแต่ง และเมื่อใจคิดตามจินตนาการของตน ประกอบกับมีเหตุการณ์ถูกภยันตรายซึ่งน่าหวาดหวั่นพรั่นพรึงทั้งหลายคุกคาม ความเชื่อที่เป็นรูปธรรมก็เกิดขึ้น ว่าจะต้องมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติอยู่เบื้องหลัง บังคับให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เช่น ฝนตกก็เชื่อว่านาคให้น้ำ  แผ่นดินไหวก็เชื่อว่าปลาอานนท์พลิกตัว  เจ็บไข้ได้ป่วย หาความสบายใจไม่ได้ ก็เชื่อว่าถูกผีทำ

เพื่อให้สิ่งที่ตนคิดว่ามีอยู่จริงนั้นผ่อนคลายความรุนแรงและจะบันดาลความสุขมาให้  จึงเกิดพิธีกรรม ชาวบ้านพากันบวงสรวงเซ่นสังเวยวิญญาณผีหรือเทวดา ด้วยข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน หมาก พลู บุหรี่ หมู ไก่ เป็ด ปู ปลา ผลไม้ อาคารคาวหวาน เป็นต้น ให้เทวดาอารักษ์ วิญญาณผีบรรพบุรุษ มาแก้ไขปัดเป่า มาดูแลทุกข์สุข คุ้มครองบ้านเรือน จนกลายความเชื่อในจารีตประเพณีตกทอดสืบต่อกันมา




หัวข้อ: Re: "ไม่เชื่ออย่าลบหลู่"
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564 16:00:43
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/37679282244708_149825179_1088722071643472_184.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/32209144946601_149070495_1088722028310143_383.jpg)
ต้นโพธิ์ วัดพระธาตุจอมแจ้ง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน

โพธิ์ เป็นต้นไม้คู่บารมีพระพุทธเจ้า มีคุณค่าและมีความสำคัญในประวัติพระพุทธศาสนา
คนสมัยก่อน เมื่อสร้างโบสถ์ กุฎี วิหาร จะปลูกโพธิ์ไว้รอบวัด เพื่อเป็น "โพธิ์รุกขเจดีย์"
ถวายเป็นพุทธบูชา (คำว่า รุกข หมายถึง "ต้นไม้")  เพราะพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใต้ร่มเงา
ของต้นไม้นี้ จึงเรียกว่า "อสัตถพฤกษ์โพธิ์ใบ"

คนในภาคเหนือและภาคอีสาน มีความเชื่อสืบต่อกันมาว่า ต้นโพธิ์เป็นต้นไม้ที่มีความศักดิ์สิทธิ์
เพราะพระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณใต้ต้นไม้นี้  เมื่อมีคนในบ้านเรือนป่วยไข้ กินไม่ได้
นอนไม่หลับ ร่างกายผอมเหลือง ถือว่าธาตุขันธ์ไม่ปกติ ให้จัดแต่งขันข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน
หมากพลู บุหรี่ กับไม้คูณ หรือไม้เสา ยาววา หรือสองวา แล้วนิมนต์เจ้าอาวาสให้ช่วยสงเคราะห์
ทำพิธีปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บ...เจ้าอาวาสพร้อมด้วยพระสงฆ์ ๔ รูปร่วมในพิธี ให้ผู้ป่วยไหว้พระรับศีล
แล้วสวดชุมนุมเทวดา ขอให้เทวดาซึ่งรักษาต้นโพธิ์ช่วยให้อาการป่วยจงบรรเทา และให้ผู้ป่วยมีอายุ
ยืนยาวต่อไป ต่อจากนั้นนำไม้เสานั้นไปค้ำต้นโพธิ์ไว้ เป็นการเสร็จพิธีค้ำโพธิ์ พระสงฆ์อนุโมทนาจบ
ให้ตัวผู้ป่วยกรวดน้ำที่ต้นโพธิ์นั้น


(http://www.sookjai.com/external/lampang/sookjai029.jpg)

(http://www.sookjai.com/external/lampang/sookjai030.jpg)
ภาพ : ไม้ค้ำโพธิ์ วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง

ไม้ค้ำสรี (อ่านว่า “ไม้ก๊ำสะหลี” หรือ “ไม้ค้ำสะหลี”) หรือ ไม้ค้ำโพธิ์
การแห่ไม้ค้ำสรี หรือการแห่ไม้ค้ำต้นโพธิ์ หรือพระศรีมหาโพธิ์ เป็นพิธีกรรมที่ขยายจากการที่ชาวบ้าน
นำไม้ค้ำที่ตนได้จัดทำไปค้ำที่ต้นโพธิ์ ไม้ค้ำดังกล่าวอาจได้มาจากไม้ง่าม ที่ใช้ในพิธีสืบชาตา หรือไม้ค้ำ
ที่จัดหาขึ้นเป็นพิเศษ เนื่องในการถวายทานในเทศกาลสงกรานต์ การที่ได้นำเอาไม้ค้ำไปค้ำที่ต้นโพธิ์นี้
อาจเป็นสัญลักษณ์ว่าผู้นั้นมีส่วนในการค้ำชูพระพุทธศาสนาให้มั่นค ง พบว่าต้นโพธิ์ที่มีไม้ค้ำมากที่สุด
คือ ต้นโพธิ์ที่วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง