[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 05 ตุลาคม 2564 16:16:46



หัวข้อ: พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๖๕ กุนตินีชาดก : นางนกกระเรียนกับพระราชา
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 05 ตุลาคม 2564 16:16:46


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/13576513404647__500_320x200_.jpg)

พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๖๕ กุนตินีชาดก
นางนกกระเรียนกับพระราชา

          นกกระเรียนตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในแคว้นโกศล วันหนึ่งพระราชาได้สั่งให้นกกระเรียนไปส่งจดหมายให้กษัตริย์อีกเมืองหนึ่ง ครั้นนางนกกระเรียนไปส่งจดหมาย พวกเด็กๆ ในราชสกุลก็พากันมาจับลูกนกกระเรียน ๒ ตัว นำไปเล่นจนลูกนกตาย พอกลับมาถึงเห็นลูกนอนตายอยู่ จึงถามพวกเด็กๆ ว่า “ใครฆ่าลูกเราตาย”
          เด็กๆ เหล่านั้นต่างไม่มีใครยอมรับผิดสักคน ทำให้นกกระเรียนโกรธมาก จึงหลอกเด็กเหล่านั้นไปให้เสือโคร่งกินเสียหมดทุกคน แล้วกลับไปทูลพระราชาว่า “ข้าแต่พระองค์ เด็กๆ ได้ฆ่าลูกของข้าพเจ้าตายหมดแล้ว ข้าพเจ้าโกรธมาก จึงแก้แค้นเด็กพวกนั้นโดยการลวงไปให้เสือกินเช่นกัน ดังนั้น ข้าพระพุทธเจ้าไม่สมควรอยู่ในพระราชวังนี้ พระองค์ทรงพระทัยดีกับข้าพเจ้ามาตลอด แต่เหตุร้ายนี้ก็เกิดขึ้นได้ ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลลาไปอยู่ป่าดีกว่า”
          พระราชาฟังแล้วจึงตรัสว่า “เมื่อมีคนมาทำความชั่วร้ายให้แก่เรา แล้วเราแก้แค้นแล้วรู้สึกดีขึ้น ถือว่าเวรนั้นสงบด้วยการแก้แค้นแล้ว” ฉะนั้น เจ้าอย่าไปเลย
          นกกระเรียนตอบ “เมื่อมิตรภาพของทั้งสองฝ่ายได้ถูกทำลายลงแล้ว ย่อมเชื่อมกันไม่ติด พระองค์อย่าทรงห้ามข้าพเจ้าอีกเลย ข้าพเจ้าขอทูลลา” 
          พระเจ้าโกศลอยากให้นกกระเรียนอยู่ต่อ แล้วตรัสว่า “มิตรภาพที่ถูกตัดขาดจะเชื่อมกันได้เฉพาะนักปราชญ์เท่านั้น แต่คนพาลจะเชื่อมกันไม่ได้ เจ้าจงอยู่ต่อเถิด เจ้านกกระเรียน”
          นางนกกระเรียนยังยืนยันคำเดิม พูดแล้วก็ทูลลา บินเข้าป่าหิมพานต์ไป ไม่กลับหวนมาอีกเลย
 

นิทานชาดกเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“มิตรภาพที่แตกแล้ว ย่อมต่อติดยาก”

พุทธศาสนสุภาษิตประจำเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
สเจปิ สนฺโต วิวทนฺติ ขิปฺปํ สนฺธิยเร ปุน
พาลา ปตฺตาว ภิชฺชนฺติ น เต สมถมชฺฌคูฯ

ถ้าเหล่าสัตบุรุษถกเถียงกัน ไม่ช้าก็จะสมานกันได้
ผิดกับพวกคนพาล ย่อมแตกหักกันไปเลย เหมือนกับบาตรดินแดน สงบกันมิได้เลย (๒๗/๕๔๗)