[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 14 กรกฎาคม 2566 17:31:56



หัวข้อ: พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๑๑๘ อุปาหนชาดก : ศิษย์แข่งกับอาจารย์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 14 กรกฎาคม 2566 17:31:56

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/13576513404647__500_320x200_.jpg)

พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๑๑๘ อุปาหนชาดก
ศิษย์แข่งกับอาจารย์

          สำนักหัตถีศิลปะ (สอนช้างให้ทำตามครูฝึกได้) เปิดสอนเด็กหนุ่มที่ชอบศิลปะเกี่ยวกับช้าง สอนโดยอาจารย์ผู้มีความเชี่ยวชาญทางด้านนี้เป็นพิเศษ ทุกคนเรียกท่านว่า ทานหัตถาจารย์ ท่านอาจารย์มีศิษย์ผู้หนึ่งซึ่งมีความทะเยอทะยานใฝ่สูง แต่ไม่ดูความสามารถของตัวเองว่ามีแค่ไหน เมื่อเขาเรียนจบจึงขอร้องท่านอาจารย์ให้ช่วยหางานในวังหลวงให้ทำ ท่านอาจารย์ก็รับปากว่าจะฝากงานให้ทำ รุ่งเช้าอาจารย์รีบเข้าเฝ้าพระราชา พระองค์ทรงรับศิษย์ของเขาเข้าทำงาน แต่มีข้อแม้ว่าจะให้เงินเดือนแค่ครึ่งเดียวของท่านอาจารย์
          อาจารย์บอกกับศิษย์ถึงเรื่องเงินเดือน พอเขาได้ฟังกลับไม่พอใจคิดว่าพระราชาลำเอียง อาจารย์จึงไปทูลพระราชาเรื่องเงินเดือนอีกครั้ง พระองค์ทรงไม่ขัดข้อง แต่มีข้อแม้ว่าให้มาประลองกันระหว่างอาจารย์กับศิษย์ว่าใครจะเก่งกว่ากัน ท่านอาจารย์คิดว่าศิษย์ของเราถึงจะมีวิชาเท่าเรา แต่สิ่งที่เราไม่ได้สอน ศิษย์ของเราไม่มีแน่ๆ ก็คือ ไหวพริบปฏิภาน อุบายวิธี พอตกดึกอาจารย์ก็เข้าไปในโรงช้าง เอาช้างมา ๑ เชือก สอนให้ทำกลับวิธีที่จะให้เดินหน้าก็ให้ถอยหลัง ที่จะให้นั่งก็กลับให้ยืน สั่งให้กินน้ำก็จงไม่กิน สอนแบบนี้ตลอดทั้งคืน ช้างก็จดจำได้แม่นยำ ถึงวันประลองชาวบ้านพากันไปดูการแข่งขันครั้งนี้จนลานประลองแน่นขนัด
          เมื่อทั้งสองฝ่ายมาถึงที่นัดหมายแล้ว ศิษย์ขอเป็นฝ่ายแสดงก่อน เขาสั่งช้างให้ทำตามทุกอย่างที่อาจารย์เคยสอน แต่ในทางกลับกันอาจารย์ของเขากลับสั่งให้ช้างทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม สร้างความมหัศจรรย์แก่ชาวบ้านเป็นอันมาก เพราะไม่เคยเห็นใครเก่งแบบนี้มาก่อน ชาวบ้านชอบใจกันใหญ่ ต่างปรับมือส่งเสียงโห่ร้องให้กำลังใจแก่อาจารย์ ส่วนศิษย์ได้แต่นั่งคอตกทำหน้าจ๋อย เพราะหมดปัญญาจะสู้ต่อไป แล้วชาวบ้านเกิดหมั่นไส้ในความจองหองของเขา จึงพากันขว้างปาเอาไม้ทุบตีจนตายในที่ลานประลองนั่นเอง อาจารย์สลดใจยิ่งนัก จึงกราบทูลกับพระราชาว่า “ศิลปะเรียนเพื่อสร้างความสุขแก่ตน แต่บางคนเพื่อสร้างความพินาศ”
   

นิทานชาดกเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“ศิษย์ถึงจะเก่งอย่างไร ก็ไม่อาจสู้ปัญญาของอาจารย์”

พุทธศาสนสุภาษิตประจำเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
ตสฺส สํหีรปญฺญสฺส  วิวโร ชายเต มหา
เมื่ออ่อนปัญญาด้อย ช่องทางรั่วไหลแห่งสมบัติก็เกิดได้มากหลาย (๒๗/๒๑๔๑)

ที่มา : นิทานชาดกจากพระไตรปิฎก : พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ ฉบับสมบูรณ์ จัดพิมพ์เผยแพร่ธรรมโดย ธรรมสภา สถาบันบันลือธรรม