[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 05 สิงหาคม 2566 00:51:54



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - สภาวะ SANDWICH ของแกนนำพรรครัฐบาลอายุสั้น การสื่อสารที่ต้องปรับปรุงเร่งด่วน
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 05 สิงหาคม 2566 00:51:54
สภาวะ SANDWICH ของแกนนำพรรครัฐบาลอายุสั้น การสื่อสารที่ต้องปรับปรุงเร่งด่วน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2023-08-04 23:50</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ธนัชชนม์ ธนาธิปปริพัฒน์</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>พลันที่พรรคเพื่อไทยแถลงการณ์ ในวันที่ 2 สิงหาคม 2566 และมีเอกสารแถลงการณ์ฉบับเต็ม <a href="#1">[1][/url] เผยแพร่ทั่วไปในโซเชียลมีเดีย ก็เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า โอกาสจัดตั้งรัฐบาลสัญญาประชาคมบนฐานฉันทมติประชาชนคงไม่เกิดโดยง่ายอีกต่อไป พรรคเพื่อไทยในฐานะพรรคฉันทมติลำดับ 2  “ขอถอนตัว” ภายใต้รูปประโยคที่ว่า “ได้ปรึกษาหารือกับพรรคก้าวไกล” ซึ่งเป็นการสื่อสารที่เกิดปัญหาในตัวเอง เห็นจาก Hashtags ที่ติดอันดับใน Twitter ว่า <strong>#เพื่อไทยการละคร #มันจบแล้วครับนาย </strong>สอดรับกับในท้องถนนที่เกิดกระแสตีกลับ จากขบวนขันหมากก็กลายเป็นพรรคก้าวไกลตกพุ่มม่ายขันหมาก แรงกระเพื่อมที่ก่อตัวลักษณะนี้ คาดเดาได้ยากว่า พรรคเพื่อไทยมีการประเมินสถานการณ์เหล่านี้ไว้แค่ไหน เพียงไร ยังเอาอยู่หรือไม่</p>
<p style="margin: 0in 0in 8pt;"> เพราะไม่ว่าความจริง (fact) ของพรรคเพื่อไทยหน้าตาอย่างไร แต่โชคร้ายที่ พ.ศ.2566 โลกที่สื่อเป็นตัวกำหนด (McLuhan’s Laws of Media) ส่งผลอย่างรุนแรงกับพรรค ทำให้ต้องตกอยู่ในสถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออกซ้ำรอยเดิม ซึ่ง The return of history ของประวัติศาสตร์การเมืองไทย 20 ปี กลับมาอีกครั้ง</p>
<p>ถึงวันนี้ ต้องเป็นบทเรียนเสียทีหรือไม่ เรื่องการสื่อสารการเมืองแบบใหม่ เพราะ Digital Footprint ของพรรค (และรวมถึงพรรคร่วมในอนาคตอันใกล้ด้วย) จะกลายเป็นความน่าสะพรึงกลัว (terror) ที่ติดตามหลอกหลอนรัฐบาลอายุสั้นไปตลอดอายุขัย หากอ่านปรากฏการณ์นี้จากทัศนะนักวิชาการ เป็นต้น Zizek (2008) <a href="#2">[2][/url] ก็น่าจะยังรับรองได้ว่า กลุ่มผู้ชุมนุมมีความชอบธรรมที่จะหลอกหลอนและสร้างความน่าสะพรึงกลัวตามที่จำเป็น เพื่อเรียกคืนหลักการที่สูญหายไปของประชาธิปไตย ประเด็น คือ พรรคเพื่อไทยมีการประเมินสถานการณ์เหล่านี้ไว้แค่ไหน เพียงไร เพราะตนเองได้เป็นผู้พรากหลักการนั้นไปเสีย</p>
<p>หากจะทำความเข้าใจพรรคเพื่อไทย ดูเหมือนว่า พรรคจะอยู่ใน Sandwich Generation กล่าวคือตรงกลางระหว่างสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) กับเยาวชนคนวัยทำงานตอนต้น เช่น Gen Z ดังนั้นจึงกลายเป็น “เดอะแบก” ที่เผชิญทั้งแรงกดดันและแรงเสียดทาน ส่งผลให้ บุคคลที่สื่อสารทางการเมือง ในนามพรรค ผู้สนับสนุนพรรค ออกอาการเครียด บริหารจัดการอารมณ์ความรู้สึกได้ไม่ดี และเกิดการแสดงออกที่ส่งผลทางลบต่อภาพรวมของเหตุการณ์ พล็อตเรื่องทำนองนี้ ดูเพื่อไทยการละครแล้วย้อนดูตัว จะพบว่า Sandwich Generation เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ในทุกองค์กร จะมีคนที่เหมือนพรรคเพื่อไทยในวันนี้ ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่ต่างจากรัฐสภา สว. หรือแม้แต่ผู้มีอิทธิพลนอกระบบที่ส่งผลกระทบต่อบริษัท และระดับปฏิบัติงานที่มีความคิดอ่านแบบก้าวไกล ดังนั้น <strong>องค์กร บริษัท หน่วยงานก็ติดกับดักเดียวกับรัฐสภา</strong> เมื่อทุกคนต่างก็ต้องอยู่ในองค์กรลักษณะนั้น ไม่ว่าด้วยอุดมการณ์ ความอยู่รอด ปากท้อง หรืออะไรก็ตามคงปฏิเสธไม่ได้ว่า เราต่างได้ลิ้มรสทั้งแรงกดดันและแรงเสียดทานจากปัญหารูปแบบคล้ายกัน</p>
<p>แต่หลัก คือ เพื่อนในองค์กรที่ต่อสู้เพื่อความถูกต้องอย่างจริงจังจนอาจดูก้าวร้าวรุนแรง (aggressive) ก็เช่นเดียวกับคนที่แบกเอาไว้ที่เต็มไปด้วยการกดข่มและไม่ระบายอารมณ์ ต่างจำเป็นต้องเข้าใจสภาพจิตใจ (mental health)  กันและกัน สำหรับผู้ที่สุขภาพจิตและวุฒิภาวะทางอารมณ์เสียไปแล้ว ความรู้เรื่องสุขภาพจิต (mental health literacy) เป็นเรื่องที่ควรคำนึงถึง---ถึงเวลาแล้วที่สนามการเมืองต้องพูดเรื่องพวกนี้ด้วย</p>
<p>โดยข้อเท็จจริง เสียงสะท้อนจากระบบตัวแทน (representative system) ของรัฐสภาแน่แล้วว่ายังไม่สิ้นสงสัยในรายละเอียดของการเปลี่ยนแปลง ทั้งที่ ออกท่ายอมรับว่า โลกล้วนเปลี่ยนแปลงพลิกผัน จึงยังสามารถอ้างขอเปิดอภิปรายกันได้อย่างไม่รู้จบสิ้น กลายเป็นกลเกม กลหมาก ที่นำไปสู่หมากตาย เพราะมีแนวโน้มตกลงกันไม่ได้ และ “เดอะแบก” จะกลายเป็นกระโถนท้องพระโรง ทุกครั้งไป การเปลี่ยนผ่านที่คาดหวังกัน จึงยังเสี่ยงมากว่า ประเทศไทยจะเดินหน้าไปสู่ประวัติศาสตร์โฉมหน้าใหม่ หรือถอยหลังวนกลับไปตั้งหลักที่ พ.ศ.2475 พ.ศ.2481 พ.ศ.2516 พ.ศ.2519 พ.ศ.2535 พ.ศ.2549 พ.ศ.2553 พ.ศ.2557</p>
<p>จากที่ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็น “เดอะแบก” ที่มีทั้งรอยแผล ความเจ็บปวด รอยน้ำตา ทุกข์ทนจากความไม่เข้าใจของคนทั้งสอง Gen แบบ Sandwich Generation จึงตั้งความหวังไว้สูงมากกับ Change Agent เพราะอยากพ้นจากสภาพนี้แบบฉับพลันทันที  [3] แต่ ณ วันนี้ เส้นทางดังกล่าวเต็มไปด้วยกับระเบิด และค่ายกลนิติสงครามที่ใช้เวลากว่า 10 ปีที่สร้างอย่างค่อยเป็นค่อยไปและเป็นระบบ สำหรับคนที่เพิ่งได้มาเห็นการยุติวงจรนี้ระบบยาวจึงควรเริ่มด้วยการถอดบทเรียน ตกผลึก สะท้อนคิด และมองความเป็นไปได้ใหม่ ๆ การทดลองเหลากลยุทธ์ที่แหลมคม เช่น การยกขันหมาก Car Mob Flash Mob หรือการนำของ บก.ลายจุด ก็เป็นหนึ่งในกลยุทธ์คม ๆ ของช่วงนี้  แต่กระนั้น ยังไม่เพียงพอ <strong>ต้องมุ่งเน้น “วิถีแห่งความแตกต่างหลากหลาย” สร้างกระแสรอง กระแสทางเลือก ให้เกิดขึ้น</strong> ทั้งในรูปของพรรคใหม่และกลุ่มขบวนการใหม่ เหมือนพรรคประชาชาติ พรรคเป็นธรรม พรรคไทยสร้างไทย พรรคเพื่อไทรวมพลัง พรรคเสรีรวมไทย หรือแม้แต่พรรคไทยภักดี ที่แม้จะคล้ายกับคนรุ่นเก่าที่ยังจับทางเด็กรุ่นใหม่ไม่ถูก แต่ก็เป็นคุณกับการเมืองใหม่ เพราะถ้าหลากหลายแท้จริง (ไม่ใช่กลยุทธแตกแบงค์พัน) ก็ย่อมจะคลายเงื่อนทางการเมืองระบบขั้วขัดแย้ง (binary opposite) ที่ครอบงำกรอกหูสังคมไทยมานานผ่านปาก เทคโนแครตและนักวิเคราะห์การเมืองยุคเก่าที่ไม่เปลี่ยนกระบวนทัศน์ ไปสู่ (paradigm-shift) ระบบหลากหลายแนวคิดแบบไม่จำกัดขั้ว ซึ่งจะก่อให้เกิดระบบหลากหลายพรรค (multi-party system) สร้างสภาพความร่วมมือโดยธรรมชาติที่ต้องตกลงร่วมกันเพราะแต่ละพรรคมีแนวทางที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ การเลือกตั้ง พ.ศ.2566 ได้สร้างมาตรฐานที่ดีแล้วด้วยการแถลงลงนาม MOU (แม้จะฉีกไปแล้ว)</p>
<p><strong>ด้วยวิธีนี้เสียงสะท้อนจากระบบตัวแทน (representative system) จากรัฐสภาในอนาคต จึงจะมีพลังเพียงพอที่จะหลุดพ้นจากระบบขั้วขัดแย้ง สิ้นสุดข้ออ้างและวิวาทะ ผลัดสิ่งแปลกปลอมของยุคสมัยด้วยการเลือกตั้งเป็นคราวๆไป --- ภูมิทัศน์ทางการเมืองใหม่จึงพอมีหวังเกิดขึ้นได้</strong></p>
<p>แต่ความพยายามเป็นสถาบันทางการเมือง (institutionalize) ของพรรคการเมืองในระบบขั้วขัดแย้ง จะเป็นสิ่งแปลกปลอมสำหรับภูมิทัศน์ทางการเมืองใหม่นี้หรือไม่ คำตอบคือไม่ เพราะแม้แต่ประชาธิปัตย์ ก็ยังมีโอกาสฟื้นฟูตนเอง ประกอบสร้างตัวตนขึ้นใหม่ (กี่ครั้งก็ได้) และเป็นตัวแสดงที่ยังมีบทบาทในนิเวศทางการเมือง และอาจถูกเลือกหากมีคุณสมบัติเพียงพอให้เลือก เช่นเดียวกับที่ผู้เล่นเกมเลือกตัวละครในเกมน่าสนใจที่ วันนี้ พรรคเพื่อไทยก็จ่อรออยู่ในคิวรื้อสร้าง (re/de-construct) ในโรงจอดเดียวกัน ที่จริงรวมถึงพรรคก้าวไกล ในฐานะที่ Branding ถูก Label ให้เป็นขั้วขัดแย้ง (แม้ตนเองจะปฏิเสธและไม่เต็มใจ) ด้วย</p>
<p> สิ่งแปลกปลอมแท้จริงในโลกหลังปี พ.ศ.2562 เห็นจะเป็น “การสื่อสารการเมืองแบบเก่า” สังเกตว่า เพียง 4 ปีโดยประมาณ การสื่อสารการเมืองแบบก่อนปี พ.ศ. 2562 ถูกปัดทิ้งโดยไม่ไยดี เพิ่มเติมซ้ำด้วยกระแสตีกลับที่รุนแรงจากการขยายตัวตามธรรมชาติของสื่อ เช่น ปรากฏการณ์โหนกระแส ปรากฎการณ์สรยุทธ ปรากฏการณ์จอมขวัญ ปรากฏการณ์จตุพร เร่งปฏิกิริยาด้วยวิถีการตลาดบนแอปพลิเคชั่นที่เน้นการผลิตซ้ำ ประกอบข้อเท็จจริงที่ว่า ประชาชนไทยเสพสื่อโซเชียลมีเดียติดอันดับโลก จึงไม่แปลกที่ได้ยินวาทะของนักวิเคราะห์แม้ยุคเก่าหลายคน ยกเรื่องนี้มาใช้อธิบายการไม่ Landslide ของพรรคเพื่อไทย และปรากฏการณ์แบบนี้ก็ไม่อาจหยุดยั้งได้อีกแล้ว</p>
<p>วิธีการสื่อสารทางการเมืองแบบใหม่ต้องวางธรรมชาติอยู่บนความเข้าใจพฤติกรรมผู้ใช้สื่อเป็นเรื่องที่ทุกพรรคการเมืองแม้ไม่อยากเรียนรู้ก็ต้องเรียนรู้ เพื่อเป็นตัวแสดงทางการเมืองต่อไปไม่ถูกปัดทิ้งหรือลบลงถังขยะ ที่ ณ ตอนนี้ นักการเมืองและพรรคทั้งหลายได้ประสบแล้ว</p>
<p>การสื่อสารทางการเมืองแบบใหม่ (new political communication) เป็นสนามใหม่ (new frontier) ณ วันนี้ มีเพียงพรรคก้าวไกลที่เล่นบทบาทในสนามใหม่ ถึงจะไม่สมบูรณ์แบบไร้ที่ติ แต่ก็ทำคะแนนได้ดี สอดคล้องกับที่ประชาชนมีฉันทมติให้ อย่างไรก็ตาม พรรคที่มีฉันทมติอันดับ 2 อย่าง พรรคเพื่อไทยกลับสอบตกไปเรียบร้อย อย่างน้อยจากวิธีที่สื่อสารในแถลงการณ์ ประกอบกับการเสียอาการของเดอะแบก ทำให้พรรคดูแย่ลงมากในโลกทัศน์แบบเกม ROV หากฟังเสียงสะท้อนในโซเชียลมีเดีย และจากท้องถนนประกอบกัน พรรคต้องทบทวนการสื่อสาร เพราะยังคงต้องรับบทบาท “เดอะแบก” เป็น sandwich ที่จะรับทุกแรงกดดันและแรงเสียดทานต่อไปจนกว่าสนามการเมืองใหม่จะเกิด วิธีการหนึ่งที่ดี และคงเป็นทางรอดเดียวในห้วงเวลาสั้น ๆ คือ การแสดงออกถึง “ความเป็นคน” มีความรู้สึก มีเลือดเนื้อ มิได้เป็นอื่น (other) หรือเป็นเครื่องจักรนั่งร้าน</p>
<p><strong>เป็นเพียง “คน” ที่เหมือนทุกคน รู้จักพลาดพลั้ง รู้จักขอโทษ มีวันที่เหวี่ยง วันที่เหนื่อย วันที่ไม่พอใจ เป็นคนที่ไม่ใช่เทวดา อาจทำผิดบางครั้ง แต่ก็ไม่ขลาดเขลาจนยอมทิ้งหลักการได้ทุกเมื่อ</strong></p>
<p>เมื่อเลือกหนทางนี้ กล่าวคือ ไม่เป็นรัฐบาลสัญญาประชาคมบนฐานฉันทมติอีกต่อไปแล้ว พรรคเพื่อไทยในฐานะแกนนำจัดตั้งรัฐบาล จึงมีภาระต้อง <strong>“พิสูจน์ตัวเองอย่างอย่างหนัก”</strong> ต้องไม่ลืมการเป็นรัฐบาลอายุสั้น ที่ตั้งขึ้นเพื่อปรับสมดุลทางการเมืองในภูมิทัศน์ใหม่ สร้างสนามสำหรับการดำรงอยู่ของพรรคกระแสรอง ทดลองสื่อสารการเมืองแบบใหม่ และรับประกันเสียงข้างน้อยทุกเสียง ที่ต้องรวมความถึงเสียงของผู้ชุมนุม เสียงของญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิตจากการชุมนุมในอดีต และที่ไร้เสียงในเรือนจำ</p>
<p><strong>เมื่อไม่รักษาฉันทมติและสัญญาประชาคม จึงต้องพิสูจน์ตัวเองอย่างหนักหลีกเลี่ยงไม่ได้</strong></p>
<p>ถ้ายังออกท่าเป็นรัฐบาลขุนนางจากการเลือกตั้ง (elective aristocracy)</p>
<p>#มันจบแล้วครับนาย </p>
<p><strong>อ้างอิง</strong></p>
<p><a name="1" id="1">[1][/url] https://twitter.com/KhaosodOnline/status/1686641528389918720/photo/2 (https://twitter.com/KhaosodOnline/status/1686641528389918720/photo/2)</p>
<p><a id="2" name="2">[2][/url] Slavoj, Zizek. (2008). In defense of lost cause. NY: Verso, pp. 157-159</p>
<p><a name="3" id="3">[3][/url] https://mgronline.com/daily/detail/9660000048728 (https://mgronline.com/daily/detail/9660000048728)</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทความ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B9%8C-%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ธนัชชนม์ ธนาธิปปริพัฒน์[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เพื่อไทย[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การสื่อสารทางการเมือง[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105325