[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 08 สิงหาคม 2566 00:51:37



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - พนักงานกวาด กทม.วัย 45 ปี ลงชิงผู้แทนบุคลากรฯ ประกาศจุดยืนยกระดับสวัสดิการลูกจ้
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 08 สิงหาคม 2566 00:51:37
พนักงานกวาด กทม.วัย 45 ปี ลงชิงผู้แทนบุคลากรฯ ประกาศจุดยืนยกระดับสวัสดิการลูกจ้างทุกกลุ่มงาน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2023-08-07 22:26</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: โชติกา ยุภิญโญ (ที่มา: สหภาพคนทำงาน)</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>'โชติกา ยุภิญโญ' พนักงานกวาดขยะ กทม. วัย 45 ปี สมัครเลือกตั้งเป็นผู้แทนบุคลากรกรุงเทพมหานคร หวังผลักดันนโยบายสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลกลุ่มเกษียณอายุราชการ ปรับฐานเงินเดือนลูกจ้างทุกกลุ่มงาน และเพิ่มอัตราบรรจุงาน ยกระดับสวัสดิการ </p>
<p> </p>
<p>จากกรณีที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดรับสมัคร ผู้ลงชิงตำแหน่งผู้แทนบุคลากร กทม. ระหว่าง 3-4 และ 7 ส.ค. 2566 เพื่อเข้าไปเสนอหรือผลักดันนโยบายต่างๆ เกี่ยวกับแรงงาน สวัสดิการของคนทำงาน และหลังจากนั้น บุคลาการจำนวนกว่า 4 หมื่นกว่าคนจาก 50 เขต เลือกตั้งในวันที่ 30 ส.ค. 2566 </p>
<p>โดยเมื่อ 3 ส.ค.ที่ผ่านมา ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า โชติกา ยุภิญโญ พนักงานทั่วไปกวาด ลูกจ้างประจำ บ.2 เขตยานนาวา ได้เข้ามาลงสมัครเลือกตั้ง ตัวแทนบุคลากรกรุงเทพมหานคร หลังสมัครเลือกตั้งผู้แทนบุคลากรฯ โชติกา ยุภิญโญ ได้ให้สัมภาษณ์ โดยเธอประกาศจุดยืนว่าจะขอเข้าไปผลักดันสวัสดิการ และคุณภาพชีวิตของลูกจ้างทุกกลุ่มงาน </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53100170218_7d879d8b17_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">โชติกา ยุภิญโญ (ถ่ายโดย สหภาพคนทำงาน)</span></p>
<p>สำหรับตำแหน่งผู้แทนบุคลากรกรุงเทพมหานคร เป็นคณะกรรมการที่จะนำนโยบาย และก็ข้อเสนอของลูกจ้างขึ้นมาเขียนนโยบาย และเสนอผู้ใหญ่ให้เข้าไปอยู่ในญัตติของกรุงเทพมหานคร</p>
<p>สำหรับนโยบายในใจของโชติกา ผู้ผ่านประสบการณ์ทำงานมากว่า 25 ปี ในตำแหน่งพนักงานกวาดของ กทม. ระบุว่า เธออยากผลักดันนโยบายค่ารักษาพยาบาลของลูกจ้างที่เกษียณอายุงานไปแล้ว ถ้าโดนตัดสิทธิ์ก็จะต้องกลับไปใช้บัตรทอง หรือบัตร 30 รักษาทุกโรค ซึ่งเธออยากให้ผู้ที่ทำงานจนเกษียณได้สิทธิรักษาค่าพยาบาลอย่างเดิมมากกว่า</p>
<p>โชติกา อายุ 45 ปี ระบุต่อว่า นโยบายที่สอง เธออยากให้ลดอายุงานของลูกจ้างที่จะได้รับบำเหน็จ หรือบำนาญ จาก 25 ปีถึงจะได้บำเหน็จรายเดือน เหลือ 10 ปี เท่ากับข้าราชการสังกัด กทม. โดยเธอมองว่าอายุงาน 25 ปี มันนานเกินไป บางคนอายุ 40 ปี แล้วยังไม่ได้รับบรรจุงาน หรือบางคนทำงานมาตั้งแต่ปี 2549 หรือ 14 ปีที่แล้วยังไม่ได้บรรจุงานเลย ก็เลยอยากผลักดันพนักงานประจำที่มีอายุงานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ให้ได้รับบำเหน็จบำนาญรายเดือน เป็นยกระดับเท่าเทียมข้าราชการ </p>
<p>พนักงานกวาด กทม. ระบุต่อว่า นโยบายต่อมา เธออยากให้ลูกจ้างชั่วคราวที่อายุงาน 8 ปีที่ยังไม่ได้บรรจุ เธออยากผลักดันให้ลูกจ้างชั่วคราวได้รับการบรรจุมากขึ้น โดยหากมีอายุงาน 3 ปีขึ้นไปให้ได้รับการบรรจุเป็นลูกจ้างประจำ </p>
<p>โชติกา ระบุต่อว่า สำหรับการบรรจุงาน เปรียบได้เหมือนกับการผ่านโปรฯ จากลูกจ้างชั่วคราว ได้ยกระดับเป็นพนักงานประจำ การเป็นพนักงานประจำจะทำให้ได้สวัสดิการการรักษาพยาบาลครอบคลุมสามี-ภรรยา และบิดา-มารดาของพนักงานประจำ หรือสามารถเบิกค่าเล่าเรียนได้ แต่ถ้าเป็นลูกจ้างชั่วคราวเวลาไปรักษาพยาบาลต้องสำรองเงินตัวเองจ่ายล่วงหน้า และเบิกตามหลัง ซึ่งการรอเบิกเงินอาจต้องใช้เวลานานถึง 3 เดือน </p>
<p>"ปกติเงินเดือนลูกจ้างชั่วคราวมันน้อยอยู่แล้ว มีเงินเริ่มต้นที่ 8,690 บาทต่อเดือน และถ้าสมมติต้องเจอหมอบ่อยๆ ต้องสำรองออกไปก่อน และมาตั้งงบประมาณเบิกทีหลัง ซึ่งมันได้ช้า … เรารู้ว่าเป็นลูกจ้างชั่วคราวมันลำบากจริงๆ ค่ารักษาพยาบาลของพ่อแม่ก็เช่นกันต้องสำรองออกไปก่อน และค่าเล่าเรียนเบิกไม่ได้เลย และถ้าเรามีลูกเนอะ เราทำงานและไม่ได้บรรจุ ค่าเล่าเรียนลูกเบิกไม่ได้ แต่เรามองพนักงานประจำเบิกได้ แต่ทำไมลูกจ้างชั่วคราวเบิกไม่ได้ ทำงานด้านเดียวกัน กลุ่มเดียวกัน แต่ 2 มาตรฐาน" โชติกา ระบุ </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53100170178_a26deef6c2_b.jpg" /></p>
<p>พนักงาน กทม. ประสบการณ์ทำงานกว่า 25 ปี ระบุต่อว่า นอกจากนึี้ เธออยากให้ปรับฐานวงเงินเดือนของลูกจ้างชั่วคราว และพนักงานประจำ บ.1 บ. 2 และ บ.3 ขยับขึ้นทุกกลุ่มงาน </p>
<p>"ปัญหาจริงๆ ตอนนี้ลูกจ้างประจำเงินเดือนน้อย 8,690 บาท ซึ่งมีแค่นี้จริงๆ ไม่พอใช้จ่ายแน่นอน… แม่บ้านตามโลตัส หรือเซ็นทรัล เงินเดือนยังแพงกว่า ถามว่าพวกพี่ทำงานครึ่งวันจริง แต่ 8 ชั่วโมง เหมือนกัน คือรอบเช้า คือตี 5 เลิกบ่ายโมงเย็น รอบ 2 คือบ่ายโมง เลิก 3 ทุ่ม ทุกคนทำงานหน้าเดียวกัน ทำทุกอย่างเหมือนกันหมด ไม่มีการแบ่งว่าชั่วคราวทำตรงนี้ ประจำทำตรงนี้ ต้องทำงานนี้ ทำเหมือนกันหมด ชั่วคราวทำอาจจะทำหนักกว่าคนที่ประจำ </p>
<p>"ฐานเงินเดือนของลูกจ้างประจำ 8,690 บาทต่อเดือน มันแทบจะใช้ไม่ชนเดือน ไหนจะมีผลกระทบว่าเราต้องรักษาพยาบาล พ่อ-แม่เราอีกในจะค่ากินของเราในแต่ละวัน ซึ่งค่าครองชีพสูงมาก บอกได้เลยว่า 100 บาท คุณซื้อของอาจจะได้กับข้าวแค่อย่างเดียว ซึ่งอันนี้ต้องเข้าใจ เศรษฐกิจ และรัฐบาลแบบนี้ เราต้องเข้าใจนะว่าเราจะซื้อของถูกประเทศไทยไม่มี มันเป็นผลกระทบให้กับลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับเงินเดือนน้อย และมันก็น้อยจริงๆ น้อยสำหรับพวกเรา" โชติกา ระบุ </p>
<p>พนักงานกวาดถนน บ.2 กล่าวต่อว่า ปกติเงินเดือนของลูกจ้างประจำได้ปรับขึ้นประมาณ 2 ครั้งต่อปีตามปีงบประมาณ แต่ละครั้งขึ้นเงินเดือนราว 100-300 บาท (ขึ้นอยู่กับฐานเงินเดือนของแต่ละคน) และขึ้นอยู่กับผู้บังคับบัญชากลุ่มงาน และถ้าเป็นลูกจ้างชั่วคราวจะไม่สามารถลาได้ เพราะถ้าหากใช้สิทธิลาเกิน 15 วัน วันที่ 16 จะโดนหักเงินเดือน </p>
<p>พนักงานกวาด กทม. คนเดิมระบุต่อด้วยว่า สำหรับแผนต่อจากนี้ เธอวางแผนจะลงพื้นที่รับฟังปัญหาให้ได้มากที่สุด เพื่อหาเสียงและรวบรวมความคิดเห็นเพื่อมาทำเป็นนโยบายสำหรับแรงงาน กทม. ต่อไป </p>
<p>เมื่อถามถึงความคาดหวังในการลงสมัคร ผู้แทนบุคลากร กทม. โชติกา มองว่า นโยบายแต่ละนโยบายอาจจะไม่สำเร็จในวาระ 4 ปี ของการดำรงตำแหน่งผู้แทนบุคลากรฯ ซึ่งมีปัจจัยทั้งในเรื่องกระบวนการเสนอนโยบายที่ค่อนข้างยุ่งยาก และมีขั้นตอนจำนวนมากกว่าเรื่องจะส่งถึงผู้ว่าฯ กทม. แต่อย่างไรก็ตาม เธอยังยืนยันว่าจะ "ขอผลักดัน" จนถึงที่สุด 
 </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">แรงงาน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คุณภาพชีวิต[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">กรุงเทพมหานคร[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">กทม.[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พนักงานกวาดถนน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%82%E0%B8%8A%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2-%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B9%82%E0%B8%8D" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">โชติกา ยุภิญโญ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สวัสดิการ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105364