[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 20 สิงหาคม 2566 00:07:27



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 'อนุสรณ์ ธรรมใจ' เสนอรัฐไทยต้องเล่นบทนำ-การทูตเชิงรุก สร้างสันติภาพในเมียนม
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 20 สิงหาคม 2566 00:07:27
'อนุสรณ์ ธรรมใจ' เสนอรัฐไทยต้องเล่นบทนำ-การทูตเชิงรุก สร้างสันติภาพในเมียนมา
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2023-08-19 21:00</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก:<span style="color:null;"> อนุสรณ์ ธรรมใจ (ที่มา:</span><span style="color:null;"> เว็บไซต์ สถาบันปรีดี พนมยงค์</span> (https://pridi.or.th/th/content/2023/08/1651)<span style="color:null;">)</span></p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="summary-box">
<ul>
<li>วาระครบรอบ 78 ปี วันสันติภาพไทย สถาบันปรีดีฯ จัดเสวนา "สันติภาพเมียนมา" อนุสรณ์เสนอ รบ.ไทย ใช้การทูตเชิงสร้างสรรค์ เล่นบทบาทนำ เป็นตัวกลางเจรจาหยุดยิง ยั้งวิกฤตสงครามกลางเมืองเมียนมา</li>
<li>อนุสรณ์ เสนอบทบาทนำและแนวทางการทูตต่อรัฐไทย 8 ข้อ เพื่อเป็นแบบอย่างในการสร้างสันติธรรมและประชาธิปไตยในเมียนมา และอาเซียน รวมถึงการแก้ไข รธน.โดยยึดหลัก ปชต. การเรียกร้องให้กองทัพเมียนมา ทำตามฉันทามติอาเซียน 5 ข้อ ประสานกับ UN ให้เข้าคลี่คลายวิกฤตการเมืองพม่า</li>
</ul>
</div>
<p>เมื่อ 16 ส.ค. 2566 เพจเฟซบุ๊ก "สถาบันปรีดี พนมยงค์"  (https://www.facebook.com/pridibanomyonginstitute/videos/1031051784736759)ถ่ายทอดสดติดตามงานเสวนา PRIDI Talks ครั้งที่ 22 ในวาระครบรอบ 78 ปี วันสันติภาพไทย ภายใต้หัวข้อ "บทบาทอาเซียนในการเสริมสร้างสันติภาพในเมียนมา" โดยก่อนเปิดงานเสวนา อนุสรณ์ ธรรมใจ ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันปรีดี พนมยงค์ ได้กล่าวหัวข้อ "บทบาทของไทยในสันติธรรมประชาธิปไตยในเมียนมา และอาเซียน" โดยเสนอแนวทางการทูตต่อรัฐไทย 8 ข้อในการสร้างสันติภาพในเมียนมา หลังจากที่กองทัพพม่าทำรัฐประหารเมื่อ 2 ปีที่แล้ว (2564)</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="314" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/video.php?height=314&amp;href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fpridibanomyonginstitute%2Fvideos%2F1031051784736759%2F&amp;show_text=false&amp;width=560&amp;t=0" style="border:none;overflow:hidden" width="560"></iframe></p>
<div class="note-box">
<h2><span style="color:#2980b9;">รัฐประหารเมียนมาปี 2564</span></h2>
<p>สืบเนื่องจากเมื่อ 1 ก.พ. 2564 กองทัพเมียนมา นำโดย พลเอกอาวุโส มินอ่องหล่าย ผู้บัญชาการสูงสุดแห่งกองทัพเมียนมา ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือน นำโดยพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) โดยอ้างว่าพรรค NLD ทุจริตการเลือกตั้งเมื่อปลายปี 2563 หลังพรรค NLD สามารถชนะการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปลายปี’63 อย่างถล่มทลาย โดยสามารถกวาดที่นั่งในรัฐสภาเมียนมา 396 ที่นั่ง จาก 664 ที่นั่ง </p>
<p>หลังการทำรัฐประหาร ประชาชนชาวพม่าลุกฮือประท้วงอย่างสันติในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ และมีการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์หลายรูปแบบ อาทิ การตีหม้อไล่สิ่งชั่วร้าย การใช้การแสดง Performance Arts การแต่งเพลง การประท้วงโดยใช้ผ้าถุง หรืออื่นๆ เพื่อกดดันให้กองทัพคืนประชาธิปไตยให้ประชาชน และปล่อยตัวสมาชิกพรรค NLD ที่ถูกคุมตัวทั้งหมดอย่างไม่มีเงื่อนไข </p>
<p>อย่างไรก็ตาม กองทัพพม่าเลือกจะเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องของประชาชน และใช้อาวุธสงครามในการปราบผู้ประท้วงจนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก นอกจากนี้ กองทัพพม่ายังเปิดสงครามกลางเมืองกับกองกำลังชาติพันธุ์บริเวณชายแดนฝั่งตะวันออกของเมียนมา โดยกองทัพเมียนมาใช้ยุทธวิธีอันโหดร้ายต่อฝ่ายต่อต้าน ไม่ว่าจะเป็นการเผาบ้านเรือนชาวบ้านเพื่อตัดเสบียงฝ่ายต่อต้าน หรือการโจมตีทางอากาศแบบไม่เลือกเป้าหมาย (Discrimination Attack) ซึ่งผลจากวิธีการดังกล่าวส่งผลให้มีชาวเมียนมากลายเป็นผู้พลัดถิ่นภายใน (IDPs) และผู้ลี้ภัย หลายคนเลือกหนีความตายเข้ามายังเพื่อนบ้านอย่างประเทศไทย</p>
<p>ทั้งนี้ รายงานจากสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองพม่า (https://twitter.com/aapp_burma/status/1692520377006854584) หรือเอเอพีพี ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาชนที่ตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลการจับกุมนักโทษการเมืองพม่า ได้เปิดเผยสถิติบนแพลตฟอร์มทวิตเตอร์ (ชื่อใหม่คือ ‘เอ็กซ์’) เมื่อ 18 ส.ค. 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 2564 จนถึง 18 ส.ค. 2566 มีชาวเมียนมาเสียชีวิตจากเงื้อมมือของกองทัพเมียนมา อย่างน้อย 3,959 ราย และถูกจับกุมโดยข้อหาทางการเมือง อย่างน้อย 24,352 ราย และยังคงถูกควบคุมตัว อย่างน้อย 19,838 ราย </p>
<p style="text-align: center;"> </p>
<blockquote class="twitter-tweet"><p dir="ltr" lang="en" xml:lang="en">DAILY UPDATE 18/08/23 DAY 929</p>
<p>3,959 killed (+10)
24,352 total arrested (+5)
19,838 still detained (+5)</p>
<p>brief https://t.co/Q4bR5waSz1 (https://t.co/Q4bR5waSz1)</p>
<p>arrested https://t.co/p0jxeNOAHS (https://t.co/p0jxeNOAHS)
still detained https://t.co/z2M1vad8Zx (https://t.co/z2M1vad8Zx)
killed https://t.co/Qp1eDlO4Se (https://t.co/Qp1eDlO4Se)
released https://t.co/sEbb7u2aLs (https://t.co/sEbb7u2aLs) pic.twitter.com/6w1YeoaRY3 (https://t.co/6w1YeoaRY3)</p>
<p>— AAPP (Burma) (@aapp_burma) August 18, 2023 (https://twitter.com/aapp_burma/status/1692520377006854584?ref_src=twsrc%5Etfw)</p>
<script async="" src="https://platform.twitter.com/widgets.js" charset="utf-8"></script><p> </p>
<p>นอกจากนี้ รายงานจากศูนย์ตรวจตราผู้พลัดถื่นภายใน  (https://www.internal-displacement.org/countries/myanmar)(Internal Displacement Mornitoring Centre) ระบุว่า นับตั้งแต่ปี 2564 จนถึง 2565 มีจำนวนผู้พลัดถิ่นภายในเพิ่มขึ้นถึง 1.5 ล้านคน โดยปี 2564 มีประมาณ 649,000 คน และปี 2565 เพิ่มขึ้นเป็น 1.5 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นจำนวน 851,000 คนทีเดียว  </p>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">ไทยต้องเล่นบทบาทเชิงรุกในการสร้างสันติภาพในเมียนมา</span></h2>
<p>อนุสรณ์ ธรรมใจ กล่าวถึงความสำคัญของวันสันติภาพไทย และปัญหาวิกฤตการเมืองในเมียนมา โดยประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันปรีดีฯ มองว่าแนวทางการทูตของอาเซียน ที่ไม่แทรกแซงกิจการภายในของสมาชิก (Non-Interference) และการพัวพันอย่างยืดหยุ่น (Felxible Engagement) ส่งผลให้การสร้างเงื่อนไขของการเป็นประชาธิปไตยไม่ใช่ประเด็นสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างไทย อาเซียน กับเมียนมา</p>
<p>อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยยุค พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สงวนท่าทีต่อการกดดันกองทัพเมียนมา ให้หยุดปราบปรามผู้ประท้วง และคืนประชาธิปไตยให้กับประชาชน อีกทั้ง เพิกเฉยต่อบทบาทการทูตเชิงรุกเพื่อให้เกิดการเจรจาสันติภาพ เพื่อช่วยเหลือประชาชนชาวเมียนมา </p>
<p>ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันปรีดีฯ มองว่า การสร้างสันติธรรมและประชาธิปไตยในอาเซียนไม่ใช่เรื่องง่ายนัก และต้องการการช่วยเหลือและสนับสนุนจากไทย อาเซียน และนานาชาติ รวมถึงองค์การสหประชาชาติ โดยอาจจะเริ่มจากการทูตพัวพันอย่างสร้างสรรค์โดยรัฐบาลไทย และอาเซียน ให้เกิดการเจรจาหยุดยิงกันก่อน ซึ่งอนุสรณ์ มองว่าบทบาทของไทยจะมีความสำคัญในการแก้ไขวิกฤตเมียนมา และไทยเคยทำสำเร็จมาแล้วในกัมพูชา ระหว่างที่สงครามอินโดจีนกำลังครุกรุ่น</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53126442792_f111b55cd6_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">อนุสรณ์ ธรรมใจ (ที่มา: เว็บไซต์ สถาบันปรีดี พนมยงค์ (https://pridi.or.th/th/content/2023/08/1651))</span></p>
<p>อนุสรณ์ มองต่อว่า รัฐบาลไทยสามารถสร้างเงื่อนไขให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ และการพัฒนาสมรรถนะการเมืองการปกครอง เพื่อแลกกับการให้เมียนมา กลับคืนสู่ประชาธิปไตย เคารพสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการส่งเสริมให้เกิดเสถียรภาพการปกครองที่ต้องมาพร้อมกับการเมืองที่เปิดกว้าง และการยึดถือชีวิตของมนุษย์ทุกๆ คนว่ามีคุณค่า </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">8 ข้อเสนอทางการทูต เพื่อเป็นแบบอย่างสร้างสันติธรรมและประชาธิปไตยในอาเซียน</span></h2>
<p>อย่างไรก็ตาม อนุสรณ์ มองว่า สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ไทยต้องเป็นแบบอย่างในการสร้างสันติธรรม และประชาธิปไตย พร้อมเสนอแนวทางทางการทูตต่อรัฐบาลไทยจำนวน 8 ข้อ ดังต่อไปนี้ </p>
<p>1. ไทยต้องเป็นแบบอย่างในการสร้างประชาธิปไตย และสันติธรรม โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ยึดถือหลักการประชาธิปไตย เนื้อหาใดที่ขัดแย้งกับหลักการดังกล่าวต้องถูกตัดออก  รวมถึงต้องปลดปล่อยนักโทษทางการเมืองออกจากการจองจำ และยกเลิกกฎหมายที่ละเมิดสิทธิของประชาชนก่อน </p>
<p>2. ไทยควรมีบทบาทนำและเรียกร้องให้รัฐบาลเผด็จการทหารเมียนมา ปฏิบัติตามฉันทามติ 5 ข้อของอาเซียน (5PC) และควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการปรึกษาหารือ เพื่อยุติสงครามกลางเมือง ฟื้นฟูประชาธิปไตย และสันติภาพในเมียนมา</p>
<p>3. ไทยควรสนับสนุนการดำเนินงานของสหประชาชาติ ให้การสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยของเมียนมา และในอาเซียน ที่ยังมีปัญหาประชาธิปไตย และละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่</p>
<p>4. เพิ่มความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประชาชนที่ตกอยู่ในนอันตราย และหลบหนีจากเมียนมา เรียกร้องร่วมกับอาเซียน ให้กองทัพเมียนนมาปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังโดยพลการ และผู้ถูกคุมขังโดยไม่เป็นธรรมทั้งหมด 
 
5. เพิ่มแรงกดดันทางทูตต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ประชุมสมัชชาเพื่อหยุดยั้งการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงในเมียนมา </p>
<p>6. เรียกร้องกดดันให้กองทัพพม่าหยุดปฏิบัติการโจมตีทางอากาศต่อพลเรือน </p>
<p>7. รัฐบาลใหม่ต้องดำเนินการกวดขันตามแนวชายแดน เพื่อยุติการส่งมอบอาวุธ และทรัพยากรอื่นๆ ที่ถูกใช้เพื่อปราบปรามประชาชนและละเมิดสิทธิมนุษยชนของกองทัพเมียนมา รัฐบาลใหม่ของไทยต้องดำเนินการอย่างจริงจังในการปราบปรามขบวนการค้ายาเสพติด ค้าอาวุธที่เจ้าหน้าที่ไทยเข้าไปเกี่ยวข้อง</p>
<p>8. ต้องสร้างเครือข่ายความร่วมมือของขบวนการประชาธิปไตยในภูมิภาคอาเซียน และรักษาเอกภาพของขบวนการประชาธิปไตยภายในแต่ละประเทศ สร้างพลังเครือข่ายร่วมกันในภูมิภาค เพื่อให้ภูมิภาคนี้เป็นภูมิภาคแห่งการเคารพสิทธิมนุษยชน ยึดถือมนุษยธรรม เป็นภูมิภาคที่มีเสถียรภาพ มีความมั่นคงสงบสันติ สิทธิเสรีภาพเบ่งบาน มีความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ และเป็นภูมิภาคของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน</p>
<div class="note-box">
<p>อนึ่ง จุดเริ่มต้นของวันสันติภาพไทย เริ่มขึ้นเมื่อ 78 ปีที่แล้ว หรือ 16 ส.ค. 2488 ช่วงระหว่างเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ปรีดี พนมยงค์ แกนนำคณะราษฎร และขบวนการเสรีไทย ได้ออก "ประกาศสันติภาพ" อันมีใจความสำคัญว่า การประกาศสงครามกับบริเตนใหญ่ และสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2585 ถือเป็น "โมฆะ" และไม่ผูกพันธ์ของประชาชนชาวไทย เนื่องจากเป็นการกระทำที่ผิดจากเจตนารมณ์ของประชาชน และขัดต่อรัฐธรรมนูญ และกฎหมายบ้านเมือง</p>
</div>
<h2> </h2>
<h2> </h2>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ต่างประเทศ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เมียนมา[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พม่า[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">วันสันติภาพไทย[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C-%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%88" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">อนุสรณ์ ธรรมใจ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B5-%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สถาบันปรีดี พนมยงค์[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">อาเซียน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รัฐประหารเมียนมา[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">กองทัพพม่า[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ชายแดนไทย-เมียนมา[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105531