[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 23 สิงหาคม 2566 21:47:39



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เผยปัญหาความถดถอยของชุมชนพุทธชายแดนใต้ จ่อดันฟื้นฟูชุมชนร้างหลังได้รัฐบาลให
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 23 สิงหาคม 2566 21:47:39
เผยปัญหาความถดถอยของชุมชนพุทธชายแดนใต้ จ่อดันฟื้นฟูชุมชนร้างหลังได้รัฐบาลใหม่
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-08-23 20:49</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>มูฮำหมัด ดือราแม รายงาน</p>
<p>ภาพปก รักชาติ สุวรรณ์ คณะทำงานแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พรรคประชาชาติ</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>คณะทำงานแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พรรคประชาชาติ เผย 2 รูปแบบปัญหาคนพุทธชายแดนใต้ทิ้งถิ่น ปัญหาปากท้องและความถดถอยทางวัฒนธรรม เตรียมผลักดันฟื้นฟูชุมชนพุทธร้างหลังได้รัฐบาลใหม่ ย้อนอ่านข้อกังวลของคนพุทธ และข้อเสนอแนะด้านสันติภาพ ความปลอดภัย และความจริงใจของคู่พูดคุยสันติสุข</p>
<p>รักชาติ สุวรรณ์ คณะทำงานแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พรรคประชาชาติ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 19 ส.ค.2566 ได้เป็นตัวแทนพรรคประชาชาติร่วมเป็นวิทยากรเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นฟื้นฟูชุมชนพุทธร้าง-ถดถอยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่โรงแรม ชี.เอส.ปัตตานี จัดโดยสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสมาพันธ์ไทยพุทธจังหวัดชายแดนภาคใต้</p>
<p>ทั้งนี้ เพื่อสร้างพื้นที่ให้ชาวพุทธในชุมชน หมู่บ้านที่มีปัญหาการย้ายถิ่นฐานหรือการทิ้งถิ่น หรือในบางพื้นที่มีแนวโน้มว่าจะย้ายออกจากพื้นที่ เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ตลอดจนหาแนวทางในการให้ความช่วยเหลือและป้องกันการทิ้งถิ่น</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">2 รูปแบบความถดถอยของชุมชนชาวพุทธ</span></h2>
<p>รักชาติ เปิดเผยต่อไปว่า สำหรับรูปแบบถดถอยหรือการทิ้งถิ่นของชุมชนชาวพุทธมี 2 รูปแบบ ได้แก่ หนึ่ง รูปแบบและลักษณะความถดถอยเชิงเศรษฐกิจ ประกอบด้วยปัญหาของชุมชนพุทธที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร เมื่อเกิดปัญหาความไม่สงบในระหว่างการเข้าไปเก็บเกี่ยวผลผลิต ทำให้รู้สึกหวาดกลัว และไม่สามารถประกอบอาชีพได้</p>
<p>สอง รูปแบบความถดถอยในเชิงวัฒนธรรม โดยคนพุทธไม่ได้รับสิทธิต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการได้รับโอกาสที่เท่าเทียมทางการศึกษา หรือ การสอบบรรจุเข้ารับราชการ ยังไม่ได้รับการจัดสรรในสัดส่วนที่เหมาะสม เป็นต้น</p>
<p>“คนพุทธสะท้อนถึงเรื่องที่เรียกร้องมานาน เช่น วันหยุดสารทเดือนสิบ และครัวสากลในโรงพยาบาล ซึ่งภาครัฐยังไม่ได้ดำเนินการแก้ไขให้” รักชาติ กล่าว</p>
<p>คณะทำงานแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พรรคประชาชาติ กล่าวว่า พรรคประชาชาติมีนโยบายเรื่องที่ดินทำกิน จึงมีข้อเสนอคนไทยพุทธในเรื่องของการขอใช้ที่ดินเพื่อให้ผู้มีรายได้น้อย ยากจน ทั้งพุทธและมุสลิมได้ใช้ทำกิน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">จัดสรรที่ดินทำกิน ดีกว่าย้ายคนนอกพื้นที่มาอยู่</span></h2>
<p>รักชาติ กล่าวด้วยว่า คนในพื้นที่ทั้งพุทธและมุสลิมที่ไม่มีที่ดินทำกินยังมีอยู่อีกจำนวนมาก การจัดสรรที่ดินของรัฐให้เข้ามาทำกิน โดยไม่ต้องครอบครองหรือซื้อขายได้ ดีกว่าการนำคนนอกพื้นที่ เช่น คนอีสานเข้ามาอยู่อาศัย แต่เป็นไปได้ว่า ตอนแรกๆ ที่มีโครงการ เช่น การทำฟาร์มตัวอย่าง คนในพื้นที่อาจจะไม่สนใจ ภาครัฐจึงต้องเอาคนนอกพื้นที่เข้ามา</p>
<p>คณะทำงานแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พรรคประชาชาติ กล่าวว่า แม้ปัจจุบัน ภาครัฐมีการฟื้นฟูชุมชนชาวพุทธแล้วหลายชุมชน เช่น ชุมชนท่าด่าน ใน อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี โดยสร้างบ้านหรือปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้ใหม่ แต่คนที่ย้ายออกไปก็แล้วก็ยังรู้สึกลำบากใจที่จะกลับเข้าไปอยู่อาศัยตามเดิม ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจเป็นหลัก เนื่องจากหลายคนเมื่อย้ายออกไปแล้ว มีอาชีพที่มีรายได้ดีกว่าหรืออาศัยอยู่ใกล้ที่ทำงานมากกว่า</p>
<p>แนะถอดบทเรียนชุมชนท่าด่าน</p>
<p>รักชาติ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ หากย้ายกลับมาแล้ว ก็ยังต้องเดินทางไปกลับที่ทำงานด้วยรถจักรยานยนต์ซึ่งก็ยังรู้สึกไม่ปลอดภัย บางครอบครัวก็กลับไปนานๆ ครั้ง เพราะไม่มีงานให้ทำ ดังนั้น การฟื้นฟูชุมชนชาวพุทธก็ควรใช้กรณีชุมชนนี้มาถอดบทเรียนด้วย</p>
<p>“ความรู้สึกกลัว หวาดระแวงต่อความรุนแรงยังมีอยู่ แต่ตอนนี้ไม่ใช่ประเด็นหลัก เพราะความสัมพันธ์หลายแห่งก็กลับมาปกติ ยกเว้นเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นกับคนพุทธ ประเด็นหลักตอนนี้คือปัจจัยทางเศรษฐกิจ อาชีพการงาน รายได้ที่มั่นคงเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นคนพุทธหรือมุสลิม แม้แต่เรื่องการพูดคุยก็ยังถือว่าไม่สำคัญเท่าปากท้องของประชาชน” คณะทำงานแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พรรคประชาชาติ กล่าว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">อยากเรียนภาษามลายู เรียนรู้จากคนสยามในมาเลย์</span></h2>
<p>รักชาติ เปิดเผยด้วยว่า อีกประเด็นหนึ่งที่คนพุทธในพื้นที่ให้ความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน ก็คือความต้องการเรียนรู้ภาษามลายู แต่อยากให้นำคนสยามที่อาศัยอยู่ในมาเลเซียมาเป็นคนสอนให้ เพราะเห็นว่าภาษามลายูมีความสำคัญกับพื้นที่ สามารถที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารหรือค้าขายกับคนมาเลเซียได้ และยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดมากขึ้นด้วย บางหมู่บ้านถึงกับมีคนพุทธอยากส่งลูกเข้าไปเรียนโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามด้วย เหตุผลเพราะอยากให้เข้าภาษา ศาสนาและวัฒนธรรมของคนในพื้นที่ที่จะอยู่ร่วมกัน โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องเปลี่ยนศาสนา</p>
<p>รักชาติ กล่าวว่า ปัญหาต่างๆ ของคนพุทธนั้นจะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการบริหารพรรค และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาชาติก็จำเป็นต้องลงพื้นที่หมู่บ้านคนพุทธ เพื่อรับฟังปัญหา ข้อกังวล นำไปสู่การแก้ไขต่อไป</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ข้อมูลชุมชนคนพุทธย้ายถิ่น</span></h2>
<p>จากฐานข้อมูลเดิมที่มีการเก็บรวบรวมจำนวนครัวเรือนชาวพุทธที่ละทิ้งถิ่นทั้งครอบครัวเนื่องจากปัญหาความไม่สงบตั้งแต่ปี 2547 พบว่ามีจำนวน 102 ครัวเรือนรวม 285 คน เป็นครอบครัวที่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ใน 3 จังหวัด คือ ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส โดยเป็นครอบครัวที่ย้ายออกจากพื้นที่ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาสมากที่สุด 21 ครอบครัว จากพื้นที่ 7 หมู่บ้าน แต่ปัจจุบันจำนวนผู้ที่ทิ้งถิ่นอาจจะมีจำนวนมากกว่านี้เมื่อรวมกับคนที่ไม่ได้ย้ายออกมาทั้งครอบครัว</p>
<p> </p>
<div class="note-box">
<h2><span style="color:#2980b9;">ย้อนอ่านข้อกังวลคนพุทธชายแดนใต้</span></h2>
<h2><span style="color:#2980b9;">ข้อเสนอด้านสันติภาพ ความปลอดภัย และความจริงใจของคู่พูดคุยสันติสุข</span></h2>
<p>ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2566 เครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (B4P) และ กลุ่มจัดตั้งสมาคมเพื่อสันติภาพและการพัฒนา (PDA) ได้ออกข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางด้านอาชีพและการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ในบริบทของการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลาย เพื่อการหนุนเสริมการแก้ไขปัญหา สร้างบรรยากาศในเอื้อต่อการพูดคุย ลดความขัดแย้งทางความรู้สึก โดยนำข้อกังวล ข้อเสนอแนะจากประชาชนและองค์กรภาคประชาสังคมมาจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของกลุ่มชาวไทยพุทธในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้</p>
<p>โดยเป็นข้อเสนอแนะที่มาจากการลงพื้นที่ในจังหวัดยะลา นราธิวาสและปัตตานี รับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีน กลุ่มคนไทยพุทธที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง กลุ่มสตรีพุทธที่ได้รับผลกระทบ กลุ่มสตรีพุทธที่ฝึกอาวุธและผู้นำท้องถิ่น กลุ่มเยาวชน และองค์กรภาคประชาสังคม ต่อประเด็นกระบวนการสันติภาพและการดูแลความปลอดภัยในกลุ่มคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธ</p>
<p>ทั้งนี้ B4P และ PDA ระบุว่า กลุ่มที่เข้าไปรับฟังนั้น ในอดีตเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง มีความรักความสามัคคีกันหมู่พี่น้องคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธ หรือการอยู่ร่วมกันกับคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม (หรือมลายูมุสลิม) ทำให้ไม่อยากย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่น แต่ก็ยังคงมีความหวาดกลัวในการดำรงชีวิต โดยนำข้อกังวลและข้อเสนอแนะเสนอต่อภาครัฐ (กอ.รมน, ศอ.บต.) เพื่อแก้ไขปัญหา รวมทั้งเสนอต่อคณะพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ของทั้งสองฝ่าย(ฝ่ายรัฐและฝ่ายขบวนการ BRN ) และเสนอต่อพรรคการเมือง</p>
<p>โดยกลุ่มคนไทยพุทธกลุ่มต่างๆ มีข้อกังวลและมีข้อเสนอแนะต่อฝ่ายต่างๆ โดยเฉพาะพรรคการเมือง (เสนอก่อนการเลือกตั้งครั้งล่าสุด) โดยสรุป ดังนี้</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ข้อกังวลของคนไทยพุทธต่อสถานการณ์ปัจจุบัน </span></h2>
<p>ได้แก่</p>
<p>• มีตลาดของอิสลามเพิ่มขึ้นมาก ทำให้ผลิตภัณฑ์และผลผลิตทางการเกษตรของชุมชนไทยพุทธไม่สามารถขายได้</p>
<p>• รัฐบาลไม่จริงใจต่อกระบวนการพูดคุยสันติสุข และการพูดคุยนั้นพูดคุยถูกตัวหรือถูกกลุ่มแล้วจริงหรือไม่ นอกจากนี้กองกำลังทั้งสองฝ่ายยังไม่ให้เกียรติคณะพูดคุยด้วย ทำให้ขณะดำเนินการพูดคุยอยู่นั้น ก็ยังมีเหตุการณ์เกิดขึ้นในพื้นที่ และ กระบวนการพูดคุยมีผลประโยชน์มากเกินไปทำให้การพูดคุยไม่คืบหน้า</p>
<p>• กังวลเรื่องการบรรจุภาษามลายูเข้าในหลักสูตรการเรียน และการกำหนดภาษามลายูเป็นภาษาราชการอันดับสอง และคนไทยพุทธมีโอกาสสอบเข้าทำงานได้น้อย เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องของภาษามลายู</p>
<p>ส่วนข้อกังวล หากมีการถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ ได้แก่ กังวลเรื่องความไม่ปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินในเวลากรีดยางพารา และกังวลเรื่องการดำรงชีวิตและการมีขวัญกำลังใจในการใช้ชีวิตประจำวัน</p>
<p>ข้อเสนอต่อพรรคการเมือง และหน่วยงานภาครัฐ สรุปได้ดังนี้</p>
<p>• กระตุ้นราคาเรื่องยางพารา ข้าว และผลผลิตทางการเกษตร ส่งเสริมการตลาดเพื่อรองรับสินค้าและผลผลิตทางการเกษตร รวมถึงผลิตภัณฑ์กลุ่มอาชีพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้</p>
<p>• ให้ความรู้ และอัพเดทสถานการณ์การพูดคุยให้กับชาวบ้านได้รับทราบ และในขณะมีการพูดคุย ทั้งสองฝ่ายควรหยุดการปฏิบัติการทางทหาร และเห็นด้วยหาก BRN จะเข้ามาพูดคุยในพื้นที่อย่างถูกต้องตามกฎหมาย</p>
<p>• สนับสนุนงบประมาณ เพื่อจัดการเรียนการสอนภาษามลายูภายในวัด โดยผู้สอนเป็นคนไทยพุทธ และเป็นการรักษาภาษาถิ่นใต้ของตัวเองด้วย เช่น ภาษาเจ๊ะเห เป็นต้น</p>
<p>• ภาครัฐควรลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนในพื้นที่ในทุกมิติ ไม่ควรบรรจุภาษามลายูในหลักสูตรการเรียนการสอน การสอบเข้าทำงานต้องไม่มีความเหลื่อมล้ำและมีการสอบภาษามลายู</p>
<p>• สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นมุสลิม ควรลงพื้นที่หมู่บ้านคนไทยพุทธด้วย</p>
<p>• รัฐบาลควรนำเยาวชนที่นับถือศาสนาพุทธไปแสวงบุญ ณ ประเทศอินเดียว รัฐบาลหาทุนและโควตาการเรียนให้กับเยาวชนไทยพุทธที่ประเทศอินเดีย</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ข้อกังวลของกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบสตรีชาวไทยพุทธ</span></h2>
<p>• ผู้ได้รับผลกระทบบางรายได้รับผลกระทบตั้งแต่ปี 2555 แต่ไม่ได้รับการช่วยเหลือในเรื่องของเงินจ้างงานเร่งด่วน 4,500 บาท</p>
<p>• ผู้ได้รับผลกระทบบางคนไม่มีญาติพี่น้อง ปัจจุบันอายุมากไม่มีงานทำ เมื่อถูกตัดเงิน ทำให้อยู่อย่างยากลำบากมากขึ้น</p>
<p>• ผู้ได้รับผลกระทบบางรายยังมีอาการทางจิตใจ</p>
<p>• หากต้องถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ กังวลเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และความปลอดภัยในระหว่างการเดินทาง</p>
<p>ข้อเสนอต่อพรรคการเมืองและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้</p>
<p>• ให้มีการทบทวนกรณียกเลิกเงินช่วยเหลือ 4,500 บาท เป็นกรณีไป และตรวจสอบผู้ได้รับผลกระทบที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือเงินจ้างงานเร่งด่วน</p>
<p>• ตรวจสอบผู้ได้รับผลกระทบ กรณีไม่สามารถช่วยเหลือตัวเอง และไม่มีงานทำ ให้มีการฝึกอาชีพให้กับทายาทผู้ได้รับผลกระทบ</p>
<p>• ให้มีการเยียวยาอย่างต่อเนื่อง และให้มีการเยียวยาทางด้านจิตใจของผู้ได้รับผลกระทบ</p>
<p>• อยากให้มีทหารอยู่ดูแลในพื้นที่ และหากจะถอนกำลังทหาร พื้นที่ต้องปลอดภัยแล้วจริง ๆ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ข้อกังวลของกลุ่มสตรีพุทธ (ชรบ., ผู้นำท้องถิ่น)</span></h2>
<p>• ทำไมมีการพูดคุยสันติสุขแล้วยังมีเหตุการณ์อยู่ และไม่มีความรู้เรื่องกระบวนการพูดคุยสันติสุข</p>
<p>ข้อเสนอต่อพรรคการเมืองและหน่วยงานของรัฐ คือ ให้ความรู้กับชาวบ้านในเรื่องของการพูดคุยสันติสุข สร้างความเท่าเทียม และลดความเหลื่อมล้ำของคนในพื้นที่</p>
<p>หากมีการถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ มีข้อกังวล คือ มีความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์ มีความไม่ปลอดภัยในระหว่างออกไปกรีดยาง หรือไม่ปลอดภัยเมื่อเวลากรีดยาง และมีความไม่ปลอดภัยเมื่อเวลาเดินทางออกจากหมู่บ้าน</p>
<p>ข้อเสนอแนะต่อพรรคการเมืองและหน่วยงานของรัฐ คือ ควรมีทหารอยู่ในพื้นที่ จนกว่าจะปลอดภัยแล้วจริง ๆ</p>
<p>หากมีการถอนกำลังทหารจริงๆ รัฐต้องสนับสนุนกองกำลังภาคประชาชน เพื่อดูแลพื้นที่หมู่บ้านของตัวเอง ให้มีกองกำลังประจำถิ่น (อาสาสมัครรักษาดินแดน หรือ อส.) ที่เป็นคนในหมู่บ้านตัวเอง</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ข้อเสนอของสมาคมฟ้าใส ส่งเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชนชายแดนใต้/ กลุ่มเยาวชนต้นกล้าพันธุ์ใหม่ / เครือข่ายเยาวชนจิตอาสาปะนาเระ</span></h2>
<p>ข้อเสนอต่อพรรคการเมืองและหน่วยงานของรัฐ</p>
<p>• สร้างพื้นที่กลาง เพื่อการมีส่วนร่วมระหว่างเยาวชนกับภาครัฐ รับฟังเสียงจากเยาวชนเพื่อนำไปวางนโยบายแก้ปัญหาที่สามารถใช้ได้จริง เพื่อยุติความรุนแรงในสังคมตั้งแต่เรื่องพื้นฐาน</p>
<p>• ควบคุม ดูแล ความปลอดภัยของคนในพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่สาธารณะ เช่น ตลาด ชุมชน สถานที่จัดกิจกรรมต่าง ๆ คงด่านหลักไว้ และลดจำนวนด่านลอย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน ให้มีการถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ ยกเลิกกฎหมายพิเศษในพื้นที่ ปกป้องพลเรือนจากการใช้ความรุนแรง</p>
<p>• มีเวทีพูดคุยของชาวไทยพุทธ มุสลิม โดยเยาวชนมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อการลดความรุนแรงในพื้นที่ สร้างความร่วมมือ สร้างความสัมพันธ์และสร้างการมีส่วนร่วมให้กับคนในพื้นที่ทุกภาคส่วน สร้างความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลายทางเชื้อชาติและความคิดที่แตกต่าง</p>
<p>• ภาครัฐ และBRN ควรมีการพูดคุยกันให้มากขึ้น เพื่อลดการใช้อาวุธ ทั้งสองฝ่ายควรทำตามข้อตกลงที่ได้พูดคุยบนเวทีเจรจา มีเวทีให้ทั้งภาครัฐ และ BRN ได้ปรึกษาหาแนวทางสร้างความปลอดภัยให้กับทุกฝ่าย คนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการพูดคุย เจรจา นำไปสู่การเกิดสันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ และมีการถ่ายทอดสดในเวทีพูดคุยเจรจา เพื่อให้พื้นที่ได้รับทราบ</p>
<p>• รับรองความปลอดภัยเมื่อมีการเปิดเวทีแสดงความคิดเห็นของคนในพื้นที่ สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับเด็ก เยาวชนในการแสดงออกทางการเมืองอย่างสร้างสรรค์ เยาวชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ และร่วมกันแสดงความคิดเห็นในการออกแบบสังคม และไม่อยากให้เจ้าหน้าที่พกพาอาวุธเวลาลงไปในชุมชนหรือทำกิจกรรมกับเด็ก</p>
<p>• ภาครัฐควรมีการประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนอย่างถูกต้อง ไม่บิดเบือน</p>
<p>• ควรมีผู้นำที่มีแนวคิดใหม่ๆ ในการพัฒนาพื้นที่อย่างเหมาะสม</p>
<p>• ทุกภาคส่วนร่วมกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อย่างจริงจัง</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ข้อกังวลของกลุ่มจัดตั้งสมาคมเพื่อสันติภาพและการพัฒนา (Peace and Development Association) PDA</span></h2>
<p>ข้อกังวลต่อกระบวนการสันติภาพ ได้แก่ ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนไม่ถูกหยิบยกมาพูดคุยในเวทีพูดคุยสันติสุข มีการถูกคุกคามของนักปกป้องสิทธิ</p>
<p>• กรอบการเจรจาของทั้งสองฝ่ายไม่ชัดเจน ทำให้ชาวบ้านหรือคนในพื้นที่ไม่รู้ถึงประเด็นสารัตถะของการพูดคุย</p>
<p>• มีการใช้กำลังทางทหารของทั้งสองฝ่าย ในระหว่างการพูดคุยทำให้เห็นถึงคณะพูดคุยของทั้งสองฝ่ายไม่สามารถคุมกองกำลังทหารในพื้นที่ได้</p>
<p>ข้อเสนอแนะ ต่อเจ้าหน้าที่รัฐและตัวแทนคู่เจรจาทุกฝ่าย</p>
<p>• หยิบยกประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนมาเป็นหนึ่งในประเด็นการเจรจา ไม่คุกคามนักกิจกรรม และนักปกป้องสิทธิ</p>
<p>• สร้างความเท่าเทียมในการมีส่วนร่วมในการเจรจาโดยทุกฝ่าย รวมถึงนักกิจกรรมการเมือง และภาคประชาสังคม</p>
<p>• สร้างพื้นที่ปลอดภัยในการพูดคุย</p>
<p>• ภาคประชาสังคมควรเพิ่มการสื่อสารแก่ประชาชนโดยไม่มีการชี้นำ</p>
<p>• ผลักดันให้กระบวนการสันติภาพเป็นวาระแห่งชาติ ตั้งคณะกรรมาธิการ เพื่อศึกษา และติดตามกระบวนการพูดคุยสันติสุข</p>
<p>• ภาคประชาสังคมนอก สล.3 มีส่วนร่วม “แผนปฏิบัติการร่วมเพื่อสร้างสันติสุขแบบองค์รวม” หรือ Joint Comprehensive Plan towards Peace (JCPP) เพื่อเป็นแนวทางขับเคลื่อนการพูดคุย</p>
<p>ข้อเสนอต่อพรรคการเมือง ได้แก่</p>
<p>• เข้ามามีส่วนร่วมในการพูดคุยด้วยผ่านการตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อศึกษาปัญหาความขัดแย้ง • ผู้เจรจาต้องมีการรับรองความปลอดภัยจากกลไกรัฐสภา</p>
<p>• พิจารณาออก พ.ร.บ.การสร้างสันติภาพ</p>
<p>• ทบทวนกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับหลักการใช้กำลังและอาวุธปืน และแก้ไขให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ</p>
<p>• เปิดทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนนโยบายด้านเศรษฐกิจและสังคม และสามารถเข้าถึงทรัพยากรอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม</p>
<p>• จัดสรรสวัสดิการแก่ประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้ในการเดินทางมาทำงานนอกพื้นที่ รวมถึงการทำงานที่ประเทศมาเลเซีย เพื่อคุ้มครองสิทธิแรงงานและลดการทำงานอย่างผิดกฎหมาย</p>
<p>• รับรองสิทธิชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม รวมถึงในกรณีของชุมนุมที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนา</p>
<p>ข้อเสนอต่อกองกำลังติดอาวุธทั้งสองฝ่าย (เจ้าหน้าที่รัฐ และกลุ่มติดอาวุธที่ไม่ใช่รัฐ) คือ ยุติการปฏิบัติการใด ๆ ที่อาจส่งผลต่อพลเรือน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ผู้หญิง เด็ก ชาวไทยพุทธ และกลุ่มเปราะบางอื่น ๆ</span></h2>
<p>มีข้อกังวลและข้อเสนอแนะ ดังนี้  </p>
<p>• ชาวไทยพุทธในพื้นที่มีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพอย่างจำกัด สถานการณ์ความรุนแรงยังทำให้เกิดหญิงหม้าย แม่เลี้ยงเดี่ยว เด็กกำพร้า และผู้สูงอายุจำนวนมาก ส่งผลต่อโครงสร้างสังคมโดยรวม</p>
<p>• กลุ่มชุมชนชาวพุทธรู้สึกไม่ปลอดภัย ตกเป็นเหยื่อจากการถูกเอาคืน นักการเมืองไม่เคยลงพื้นที่ในชุมชนชาวพุทธ และไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนการทำงานจากแหล่งทุน</p>
<p>ข้อเสนอแนะ ต่อ เจ้าหน้าที่รัฐ</p>
<p>• สนับสนุนการมีส่วนร่วมของกลุ่มเปราะบางทุกกลุ่ม (พุทธ มุสลิม) ในกระบวนการต่าง ๆ รวมถึงกระบวนการสันติภาพ</p>
<p>• สนับสนุนความเท่าเทียมลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ ให้การคุ้มครองและช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ</p>
<p>• สนับสนุนกระบวนการเยียวยาที่ต่อเนื่อง เท่าเทียม และครอบคลุมทุกมิติ โดยรวมถึงผลกระทบทางด้านสังคมและจิตใจ (social-psychosocial support)</p>
</div>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สังคม[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ความมั่นคง[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รักชาติ สุวรรณ์[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ชุมชนพุทธ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ชายแดนใต้[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ปาตานี[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105594