[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 12 กันยายน 2566 00:42:39



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - We Fair เทียบคำแถลงนโยบายด้านสวัสดิการจาก 3 รัฐบาล 'ยิ่งลักษณ์-ประยุทธ์-เศรษฐา'
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 12 กันยายน 2566 00:42:39
We Fair เทียบคำแถลงนโยบายด้านสวัสดิการจาก 3 รัฐบาล 'ยิ่งลักษณ์-ประยุทธ์-เศรษฐา'
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2023-09-11 18:55</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรมเปรียบเทียบคำแถลงนโยบายด้านสวัสดิการจาก 3 คณะรัฐมนตรี 'ยิ่งลักษณ์ ประยุทธ์ และเศรษฐา'</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe src="https://www.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fwefairwelfare%2Fposts%2Fpfbid02FZjqDTZt3J7VkPQCoEhYLD6aHkWnjduY22oYNr7M2hdVMguRquNcmHqbw985nqVxl&amp;show_text=true&amp;width=500" width="500" height="824" style="border:none;overflow:hidden" scrolling="no" frameborder="0" allowfullscreen="true" allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share"></iframe></p>
<p>11 ก.ย.2566 เครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรมหรือ We Fair (https://www.facebook.com/wefairwelfare/posts/pfbid02FZjqDTZt3J7VkPQCoEhYLD6aHkWnjduY22oYNr7M2hdVMguRquNcmHqbw985nqVxl) โพสต์บทวิเคราะห์เปรียบเทียบคำแถลงนโยบายของรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน เทียบกับ รัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากเอกสารคำแถลงนโยบายของรัฐบาล เศรษฐา ความยาว 52 หน้า สำหรับการแถลงนโยบายรัฐบาล เศรษฐา ต่อรัฐสภาในวันที่ 11 ก.ย. 2566 ได้ปรากฏนโยบายด้านสวัสดิการนโยบายหลัก ได้แก่ เงินดิจิทัลวอลเล็ท 10,000 บาท, การแก้ปัญหาหนี้สิน, การสร้างรายได้ให้กับประชาชน, รวมไปถึงการยกระดับ 30 บาทรักษาทุกโรค</p>
<p>We Fair ระบุว่า เมื่อเปรียบเทียบ คำแถลงนโยบายด้านสวัสดิการของ 3 คณะรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ประยุทธ์ และเศรษฐา ข้อแตกต่างสำคัญ คือ คำแถลงนโยบายของรัฐบาลเศรษฐาและประยุทธ์ อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ต่างจากคำแถลงนโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งทำให้ลักษณะของคำแถลงนโยบาย แตกต่างกันอย่างมีลักษณะเฉพาะ</p>
<p>โดยการเปรียบเทียบคำแถลงนโยบายด้านสวัสดิการ ได้มีประเด็นด้านสวัสดิการในหลายเรื่อง ได้แก่ การศึกษา ค่าแรง สวัสดิการแรงงาน หลักประกันสุขภาพ สวัสดิการผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังมีประเด็น ประกันสังคม สวัสดิการเด็ก สวัสดิการผู้พิการ ขนส่งสาธารณะ ความเท่าเทียมและความหลากหลายทางเพศ ที่อยู่อาศัย ที่ดิน ภาษีและงบประมาณ จากการเปรียบเทียบคำแถลงนโยบายด้านสวัสดิการของ 3 คณะรัฐมนตรี มีข้อสังเกตต่อไปนี้</p>
<p>1) ประเด็นนโยบายสวัสดิการที่ไม่ถูกกล่าวถึง : เมื่อกล่าวถึงสวัสดิการเด็ก จากคำแถลงนโยบายของ 3 คณะรัฐมนตรี พบว่า มีเพียงคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีเศรษฐา ที่ไม่ได้กล่าวถึงสวัสดิการเด็ก แม้ครม.ยิ่งลักษณ์และประยุทธ์กล่าวถึงสวัสดิการเด็ก อย่างไรก็ตามทั้งสอง ไม่ได้กล่าวถึงเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด แม้ว่าจะพึ่งเกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลประยุทธ์ก็ตาม สำหรับสวัสดิการประเด็นประกันสังคม มีเพียงรัฐบาลยิ่งลักษณ์เท่านั้นที่กล่าวถึง ขณะที่รัฐบาลประยุทธ์และรัฐบาลเศรษฐา ไม่ได้กล่าวถึงประกันสังคมแต่ใช้คำกว้างๆ ว่า “สวัสดิการ” โดยที่รัฐบาลประยุทธ์ใช้คำว่า “สวัสดิการและสิทธิประโยชน์” นอกจากนี้รัฐบาลประยุทธ์ เป็นเพียงรัฐบาลเดียวที่ไม่ได้กล่าวถึง ความเท่าเทียมและความหลากหลายทางเพศ และรัฐบาลเศรษฐา เป็นเพียงรัฐบาลเดียวที่ไม่ได้กล่าวถึง สวัสดิการที่อยู่อาศัย</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53180213545_1bb94dd9f2_b.jpg" /></p>
<p>2) ความไม่ชัดเจนและคำสำคัญเปลี่ยนไป ของคำแถลงนโยบายสวัสดิการ : จากคำแถลงนโยบายด้านสวัสดิการของ 3 คณะรัฐมนตรี พบว่า คำแถลงนโยบายของรัฐบาลเศรษฐามีคำแถลงที่ค่อนข้างกว้าง ไม่ชัดเจน เมื่อเทียบกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ตัวอย่างเช่น ประเด็นด้านแรงงาน อธิบายว่า “ทำให้ผู้ใช้แรงงานเข้าถึงระบบสวัสดิการที่เหมาะสม” ซึ่งไม่ชัดเจนว่าจะทำอะไร อีกทั้งนโยบายค่าแรง แม้ตอนประกาศนโยบายการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 600 บาทต่อวันภายในปี 2570 ของพรรคเพื่อไทย 1 ใน 10 นโยบายพลิกฟื้นประเทศ ที่มีการเปิดตัวเป็นนโยบายชุดแรก ๆ ในเดือน ธ.ค. 2565 พบว่า ไม่ปรากฏในเอกสารคำแถลงนโยบาย แต่พบคำว่า “มีเงินเดือนและค่าแรงขั้นต่ำที่เป็นธรรม สอดคล้องและเพียงพอต่อปัจจัยด้านการดำรงชีวิต” ต่างจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไมน้อยกว่า 300 บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท อย่างไรก็ตาม ยังพบคำว่า “ถ้วนหน้า” ในประเด็นหลักประกันสุขภาพในคำแถลงนโยบายรัฐบาลยิ่งลักษณ์ และคำดังกล่าวได้หายไปในสองรัฐบาลถัดมา นอกจากนี้ คำว่า “เบี้ยยังชีพ” และ “หลักประกันสุขภาพ” ที่มีมาก่อนหน้านี้ ไม่พบในคำแถลงนโยบายของรัฐบาลเศรษฐา</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53179967219_a9eecc594a_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53179774521_67ba641d44_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53180213540_0749e1a46b_b.jpg" /></p>
<p>3) คำแถลงนโยบายสะท้อนรูปแบบของการจัดสวัสดิการ :</p>
<p>[รัฐบาลยิ่งลักษณ์] แม้ว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์จะมีนโยบายที่โดดเด่นในการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ทั้งการปรับขึ้นค่าแรง การปรับขึ้นเงินเบี้ยยังชีพ รวมทั้งนโยบายด้านสวัสดิการการศึกษาต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้มีการยกระดับสวัสดิการโดยรัฐเป็นรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า ข้อสังเกตที่เห็นได้ชัด คือนโยบายมาตรการทางภาษี ไม่ว่าจะเป็นการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล มาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสําหรับสิ่งจําเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป มาตรการภาษีส่งเสริมการลงทุน ที่ปรากฎในคำแถลงนโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ และมีประเด็นสำคัญคือ การส่งเสริมใหภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุนภาครัฐ ลักษณะดังกล่าวจึงสะท้อนรูปแบบสวัสดิการที่เป็นแบบเสรีนิยม</p>
<p>[รัฐบาลประยุทธ์] เป็นรัฐบาลที่ใช้คำแถลงนโยบายที่มีคำสำคัญอย่าง “ลดความเหลื่อมล้ำ” “ความเสมอภาค” และ “การปฏิรูประบบภาษี” แต่นโยบายด้านสวัสดิการกลับเป็นการมุ่งเน้นการช่วยเหลือแบบสงเคราะห์พุ่งเป้า พิสูจน์ความยากจน โดยจะมีคำว่า “ผู้ยากไร้, ผู้ด้อยโอกาส, ผู้มีรายได้น้อย, กลุ่มคนยากจน” ที่พบได้ในการขยายคำแถลงนโยบายด้านสวัสดิการของรัฐบาลประยุทธ์ในหลายประเด็น ตัวอย่างเช่น ประเด็นสวัสดิการการศึกษา อธิบายว่า “สนับสนุนเด็กที่มีความสามารถแต่ไม่มีทุนทรัพย์เป็นกรณีพิเศษ” และประเด็นสวัสดิการอื่นๆ อธิบายว่า “มีการลงทุนทางสังคมแบบมุ่งเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนยากจนและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสโดยตรง” ซึ่งได้สะท้อนรูปแบบสวัสดิการอนุรักษนิยมได้อย่างชัดเจน</p>
<p>[รัฐบาลเศรษฐา] ได้มีการใช้คำว่า “สวัสดิการโดยรัฐ” ในคำแถลงนโยบาย ซึ่งนโยบายส่วนใหญ่จะเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่มีการสร้างรายได้ผ่านนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาล ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการกล่าวถึงประเด็นแรงงาน ที่กล่าวว่า “มีเงินเดือนและค่าแรงขั้นต่ำที่เป็นธรรม" สอดคล้องและเพียงพอต่อการดำรงชีวิต พร้อม ๆ กับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ และสามารถทำให้ผู้ใช้แรงงานเข้าถึงระบบสวัสดิการที่เหมาะสม” จากคำแถลงนโยบายดังกล่าว ซึ่งอาจส่งผลกับการปรับลดสวัสดิการจากภาครัฐของประชาชนที่มีอยู่เดิมหรือไม่ อาจจะต้องจับตาดูการจัดสรรงบประมาณและนโยบายที่จะเกิดขึ้นต่อไป</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">แรงงาน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คุณภาพชีวิต[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/we-fair" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">We fair[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%81%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">แถลงนโยบายต่อรัฐสภา[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รัฐสวัสดิการ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/09/105860