หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ก้าวไกล ติง 'ครม.เศรษฐา' นโยบายค้าคาร์บอนเครดิต ไม่แก้ต้นเหตุโลกร้อน เสี่ยง เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 13 กันยายน 2566 09:16:42 ก้าวไกล ติง 'ครม.เศรษฐา' นโยบายค้าคาร์บอนเครดิต ไม่แก้ต้นเหตุโลกร้อน เสี่ยงแย่งยึดที่ดินชุมชนในป่า
<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2023-09-12 21:52</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: ศนิวาร บัวบาน</p> <p>รายงาน: พชร คำชำนาญ</p> </div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>'ศนิวาร' สส.พรรคก้าวไกล ติงนโยบายค้าคาร์บอนเครดิต ครม. เศรษฐา 'ยุติ-ความเป็นธรรม' ชี้ไม่แก้โลกร้อนที่ต้นเหตุ เสี่ยงแย่งยึดที่ดินชุมชนในเขตป่า ย้ำการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต้องทำเร่งด่วน คิดถึงประชาชน-รุกรับปรับตัว-มีธรรมาภิบาล</p> <p> </p> <p>12 ก.ย. 2566 ที่รัฐสภา เกียกกาย มีการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) แถลงนโยบายต่อรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 162 เป็นวันที่สอง โดยมี วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม</p> <p>ศนิวาร บัวบาน สมาชิกสภาผู้แทนราฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้อภิปรายนโยบายของ ครม. เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยชวนมองภาพใหญ่ก่อนว่าประเด็นโลกร้อนในบริบทโลกนั้นเค้าพูดถึงอะไรกัน การแก้ปัญหาโลกร้อนเป็น 1 ใน 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ที่แต่ละประเทศต้องดำเนินการร่วมกัน การจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต้องมีทั้ง 3 เสา ได้แก่ การบรรเทาผลกระทบ (Mitigation) โดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก, การพร้อมรับปรับตัวกับผลกระทบ (Adaptation), และการดำเนินการกับความสูญเสียและความเสียหายหลังจากเกิดภัยพิบัติ (Loss & Damage)</p> <div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53182018392_5fc3cf96c7_b.jpg" /></div> <p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ศนิวาร บัวบาน</span></p> <p>อย่างไรก็ตาม ตัดภาพมาที่ประเทศไทย ขณะที่ทั่วโลกให้ความสำคัญกับทั้ง 3 ด้านไปพร้อมๆ กัน แต่รัฐบาลกลับโฟกัสไปที่เรื่องคาร์บอนเครดิต ซึ่งเป็นการบรรเทาผลกระทบมากกว่าการเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัว (Adaptive capacity) ให้กับประชาชน เป็นที่น่ายินดีที่รัฐบาลชุดนี้ตระหนักดีถึงความท้าทายของความแปรปรวนสภาพอากาศ สภาวะอากาศสุดขั้วคือความเสี่ยง แต่ก็เป็นที่ไม่น่ายินดีที่เรื่องการจัดการกับภัยพิบัติอันใหญ่หลวง เช่น วิกฤตภัยแล้งจากเอลณีโญ่กลับเป็นสิ่งที่รัฐบาลไม่บรรจุไว้ในวาระเร่งด่วน กลายเป็นนโยบายระยะกลาง-ยาว โดยนโยบายเร่งด่วนเน้นแต่เพียงการสร้างรายได้ </p> <p>“นโยบายเร่งด่วนท่านเน้นแต่ สร้างรายได้ รายได้ และรายได้ คือเดี๋ยวก่อน ประชาชนจะสร้างรายได้ได้อย่างไรคะ ถ้าบ้านยังจมน้ำอยู่อย่างนี้ ภัยพิบัติมีแต่จะก่อให้เกิดความสูญเสียนะคะ ย้อนไปดูเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปีที่แล้วค่ะ ที่เราเจอกับ 'ปรากฎการณ์ลานีญ่า' ส่งผลให้ฝนตกหนักมากกว่าปกติ ประเมินความเสียหายสูงถึง 5,000-10,000 ล้านบาท ทำให้ GDP ในไตรมาส 4 ปีที่แล้วโตแค่ 1.4% เท่านั้น ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 3.2% ต่อปี” ศนิวารกล่าว</p> <h2><span style="color:#2980b9;">ติง 'คาร์บอนเครดิต' เกาไม่ถูกที่คัน ไม่แก้ต้นเหตุภาคหลัง</span></h2> <p>สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล กล่าวต่อว่า นายกรัฐมนตรีแถลงว่า "จะสานต่อนโยบาย Carbon Neutrality (ความเป็นกลางทางคาร์บอน) เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำของอาเซียนในด้านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ" โดยประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับที่ 18 ของโลก แต่เป็นประเทศที่มีดัชนีความเสี่ยงต่อผลกระทบจากโลกร้อนเป็นอันดับที่ 9 ของโลก เพราะฉะนั้น เราไม่ได้ปล่อยในอันดับต้นๆ ของโลก แต่เราจะได้รับผลกระทบในอันดับต้นๆ ของโลก แต่นโยบายของรัฐบาลท่านกลับโฟกัสที่การลดก๊าซเรือนกระจกโดยไม่ดูว่าประชาชนที่เดือดร้อนจากผลกระทบดังกล่าวจะพร้อมรับปรับตัวอย่างไร </p> <p>ส่วนเรื่องสร้างรายได้ที่รัฐบาลย้ำนักย้ำหนา ท่านบอกว่า "จะส่งเสริมแนวทางที่สร้างรายได้จากผืนดินและส่งเสริมสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน" หากภาครัฐต้องการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมจริง การปลูกป่าอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป ป่าแต่ละที่จะมีนิเวศน์ที่แตกต่างกัน การปลูกก็ต้องระวังพวกไม้ต่างถิ่น อาจไปทำลายระบบนิเวศน์เดิมของป่าได้ ถ้าเป็นไปได้ แทนที่จะให้ความสำคัญแต่การปลูกใหม่ ควรมีการฟื้นฟูควบคู่ไปด้วยค่ะ ตีขอบเขตให้ชัดเจน และปล่อยให้พื้นที่ "เป็นไปตามธรรมชาติ" นอกจากนั้นเรื่องส่งเสริมให้เจ้าของที่ดินหรือชุมชนโดยรอบได้รับประโยชน์จากการเพิ่มพูนของระบบนิเวศ การขายคาร์บอนเครดิตอย่างยุติธรรม ศนิวารยังย้ำว่าไม่แน่ใจว่าความยุติธรรมนั้นจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่</p> <p>"ประเด็นที่หลายฝ่ายไม่สนับสนุนหรือไม่เห็นด้วยกับแนวทางตลาดคาร์บอนภาคป่าไม้และนโยบาย Carbon Neutrality นั่นคือ 'กลไกการชดเชยและซื้อขายคาร์บอนเครดิตไม่ได้แก้ที่ตันเหตุของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นั่นคือไม่ได้มุ่งไปที่การลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เกือบ 70%ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศมาจากภาคพลังงาน นี่คือ 'การเกาไม่ถูกที่คัน'” ศนิวาร กล่าว</p> <p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53183053290_fb805f84c5_b.jpg" /></p> <h2><span style="color:#2980b9;">คาร์บอนเครดิตเอื้อทุนใหญ่ ยึดทรัพยากรชาวบ้าน</span></h2> <p>สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ล่าสุดเมื่อปลายปีที่แล้ว กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้จัดสรรพื้นที่ดำเนินโครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิตให้ 17 กลุ่มทุนใหญ่ รวมเนื้อที่ทังหมด 4 หมื่นกว่าไร่ ซึ่งครอบคลุมหลายพื้นที่ของทุกจังหวัดที่มีการขึ้นทะเบียนป่าชุมชน คือการฟอกเขียวระดับ Mega-projects คือป่าชุมชนเหล่านี้เป็นป่าที่มีความสมบูรณ์อยู่แล้ว แต่เอกชนกำลังเข้าไปแย่งยึดทรัพยากรที่ชาวบ้านได้พึ่งพาดูแลรักษามาอย่างช้านาน</p> <p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53183110338_5dc8c3d0ea_b.jpg" /></p> <p>เมื่อมีรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิต ชุมชนที่เป็นผู้รักษาป่ามาตั้งแต่ต้นจะได้รับส่วนแบ่งเพียง 20% ซึ่งหากคิดคำนวณออกมาเป็นตัวเงินแล้ว จะประมาณ 400 กว่าล้านบาทใน 30 ปี ในขณะที่เอกชนจะได้ส่วนแบ่งสูงถึง1,500 ล้านบาท </p> <p>"ท่านคิดว่านี่ยุติธรรมแล้วหรือไม่ ชาวบ้านที่เขาสู้อุตส่าห์ฟื้นฟู ดูแลรักษาป่ามาอย่างยาวนาน แต่อยู่ๆ กลุ่มทุนเหล่านั้นกลับได้ประโยชน์มากว่า นี่คือความเหลื่อมล้ำที่เห็นได้ชัดเจนมากดิฉันจึงตั้งคำถามว่า การขายคาร์บอนเครดิตอย่างยุติธรรม คือ ยุติธรรมสำหรับใครคะ นายทุน หรือชุมชน" ศนิวาร กล่าว</p> <p>นอกจากนั้น พรรคก้าวไกลยังมองว่า ที่น่าห่วงกังวลมากไปกว่านั้นคือระบบนิเวศธรรมชาติจะถูกลดทอนเป็น "ป่าคาร์บอน" ซึ่งอาจเป็นป่าเชิงเดี่ยว ทำหน้าที่เสมือนถังขยะรองรับก๊าซพิษของภาคอุตสาหกรรม แทนที่จะคงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างที่มันควรจะเป็นคุณค่านิเวศบริการด้านอื่นๆ กลายเป็นเพียงผลประโยชน์ร่วมไป โดยชี้ว่าถ้าการได้มาซึ่งพื้นที่เพื่อปลูกป่าแลกคาร์บอนเครดิตมีความยุติธรรมจริง ชาวบ้านคงไม่ออกมาเรียกร้องกันแบบนี้ และย้ำว่าวิธีแก้ปมปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนนั้นคือติดกระดุมเม็ดแรกให้ถูกก่อนโดยการแก้ปัญหาที่ดินที่เป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน </p> <h2><span style="color:#2980b9;">ย้ำต้องมีมาตรการควบคุมติดตามการซื้อขายคาร์บอนเครดิต</span></h2> <p>ศนิวาร ทิ้งท้ายว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องมีกฎหมายและมาตรการสำหรับควบคุมและติดตามระบบการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ร่าง พ.ร.บ. .การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยควรให้ความสำคัญกับการพร้อมรับปรับตัว พอๆ กับการบรรเทาผลกระทบ การใช้กลไกการตลาดต้องมีธรรมาภิบาล โปร่งใสตรวจสอบได้ การออกแบบโครงสร้างพื้นฐานต้องมีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วิธีการประเมิน EIA ควรคำนึงถึงสถานการณ์สภาพอากาศสุดขั้วด้วย และท้ายที่สุดด้วยเรื่องโลกร้อนเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน (ทั้งภาคเมือง ขนส่ง ผลิตไฟฟ้า ป่าไม้ เกษตร อุตสาหกรรม และการจัดการของเสีย) องค์กรที่กำกับดูแลอาจจำเป็นต้องข้ามกระทรวงเพื่อให้การกำกับดูแลมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงฝากทิ้งท้ายให้กับรัฐบาลว่า กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งอยู่ระดับเดียวกับกรมอื่นๆ นั้นเพียงพอแล้วหรือไม่</p> <p>"เมื่อวานท่านนายกฯ มาแถลงนโยบาย แต่วันนี้ดิฉันและเพื่อนสมาชิกฯ กลับมาอภิปรายให้เก้าอี้ฟังนะคะ ทีมสิ่งแวดล้อม พรรคก้าวไกล หวังว่าท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคนใหม่จะได้มานั่งรับฟังยังไงก็ฝากประธานฯ ผ่านไปยังท่านนายกฯ ผ่านไปยังท่านรมต.ต่อไปด้วยนะคะ ท้ายนี้ ดิฉันและพี่น้องประชาชนก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ครม.นายกฯ เศรษฐา 1 นี้ จะเป็น ดรม. ที่.. ค-คิดถึงประชาชน ร-รุกรับปรับตัวให้ไว และ ม-มีธรรมาภิบาล" สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ทิ้งท้าย</p> </div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คุณภาพชีวิต[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิ่งแวดล้อม[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ศนิวาร บัวบาน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พรรคก้าวไกล[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คาร์บอนเครดิต[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิที่ดินทำกิน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พรรคเพื่อไทย[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%B2-%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เศรษฐา ทวีสิน[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div> https://prachatai.com/journal/2023/09/105877 |