หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - #conforall ทวงถาม กกต.ตรวจสอบรายชื่อเสนอคำถามประชามติ ร่าง รธน.ใหม่ เมื่อไรจะเสร็จสิ้ เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 14 กันยายน 2566 18:51:50 #conforall ทวงถาม กกต.ตรวจสอบรายชื่อเสนอคำถามประชามติ ร่าง รธน.ใหม่ เมื่อไรจะเสร็จสิ้น
<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-09-14 17:50</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: เฟซบุ๊ก iLaw (https://www.facebook.com/iLawClub/posts/pfbid02EExzrFQUxTQbVgnYaokxuVNpV9XS5TJREtQdVvQrncBJTNUJpKzz5MiMCpwDVccdl)</p> </div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="summary-box"> <ul> <li>'เสร็จกี่โมง' #conforall ทวง กกต. ตรวจสอบรายชื่อเสนอคำถามประชามติ ร่าง รธน.ใหม่ของ ปชช.เมื่อไรจะเสร็จสิ้น หลังเครือข่ายยื่นกว่า 2 แสนรายชื่อไปแล้วเมื่อปลาย ส.ค.ที่ผ่านมา</li> <li>กกต.ส่งหนังสือตอบ 'iLaw' ยืนยันของเข้าชื่อเสนอคำถามประชามติของประชาชน ไม่สามารถเข้าชื่อออนไลน์ได้ เนื่องจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่ได้กำหนดไว้ </li> </ul> </div> <p> </p> <p>14 ก.ย. 2566 เพจเฟซบุ๊กของ iLaw (https://www.facebook.com/iLawClub/posts/pfbid02EExzrFQUxTQbVgnYaokxuVNpV9XS5TJREtQdVvQrncBJTNUJpKzz5MiMCpwDVccdl)รายงานวันนี้ (14 ก.ย.) ด้วยว่า เมื่อเวลา 14.00 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ ตัวแทนกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ ยื่นหนังสือทวงถามความคืบหน้าในการตรวจสอบรายชื่อประชาชน 211,904 ชื่อ เสนอคำถามประชามติ #conforall จากภาคประชาชนต่อสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) หลังจากยื่นรายชื่อทั้งหมดตามกระบวนการอย่างถูกต้องเมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2566 </p> <p>แม้กระบวนการตามกฎหมายกำหนดกรอบระยะเวลาให้ กกต. มีเวลาตรวจสอบรายชื่อ 30 วัน ก่อนส่งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา อย่างไรก็ตาม เวลาก็ผ่านมากว่าครึ่งหนึ่งแล้วนับตั้งแต่ที่กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ ได้นำรายชื่อส่งให้ กกต. จึงนำมาสู่การยื่นหนังสือในครั้งนี้เพื่อสอบถาม กกต. ถึงความคืบหน้าและความแน่ชัดว่าจะดำเนินการตรวจสอบเสร็จครบถ้วนอย่างเป็นทางการเมื่อใด</p> <p>แถลงการณ์โดยเครือข่ายภาคประชาชนต่างๆ ในนามของกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ ได้แก่ จีรนุช เปรมชัยพร เครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ (Call) รัชพงษ์ แจ่มจิรไชยกุล ตัวแทนโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) กฤษ แสงสุรินทร์ ตัวแทนกลุ่ม We watch และ ธีรัตม์ พณิชอุดมพัชร์ ตัวแทนคณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.)</p> <p style="text-align: center;"> <iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="868" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2FiLawClub%2Fposts%2Fpfbid02EExzrFQUxTQbVgnYaokxuVNpV9XS5TJREtQdVvQrncBJTNUJpKzz5MiMCpwDVccdl&show_text=true&width=500" style="border:none;overflow:hidden" width="500"></iframe></p> <h2><span style="color:#2980b9;">กกต.ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาทั้งหมด 30 วันในการตรวจสอบรายชื่อ</span></h2> <p>รัชพงษ์ แจ่มจิรไชยกุล ตัวแทนโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) กล่าวถึงกรอบระยะเวลาในการทำงานของ กกต. สำหรับระยะเวลาตามระเบียบของ กกต. เขียนว่ามีเวลา 30 วันในการตรวจสอบรายชื่อทั้งหมด เราได้ยื่นไปเมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2566 จนถึงตอนนี้ผ่านมาครึ่งหนึ่งของ 30 วันแล้ว ซึ่งจริงๆ ทางปฏิบัติ กกต. ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาจนหมด เมื่อประชาชนทำมาหมดแล้ว คีย์ข้อมูลลงบน Excel ส่งให้ กกต. การทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐบาลเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วน การทำให้เร็วจะเป็นประโยชน์ของประชาชน ประเทศชาติ วันนี้เราเลยมาตรวจสอบความคืบหน้าว่า กกต.ดำเนินการถึงไหนแล้ว</p> <h2><span style="color:#2980b9;">เมื่อ ปชช.รวมชื่อไม่ถึงสัปดาห์ กกต.ควรที่จะดำเนินการตรวจสอบให้แล้วเสร็จไวกว่า</span></h2> <p>จีรนุช เปรมชัยพร จากเครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ (Call) กล่าวถึงความคาดหวังในการดำเนินงานของ กกต. ว่า ที่ผ่านมาหลังจากจบแคมเปญผู้คนติดตามถามไถ่ความคืบหน้า จึงเป็นหน้าที่ของกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญต้องมาสอบถามถึงความคืบหน้า เราได้อ่านข่าวได้อ่านบทสัมภาษณ์ของ กกต. ที่จะเร่งดำเนินการให้เสร็จ ซึ่งตอนนี้ผ่านมากว่าครึ่งทางของเดดไลน์แล้ว แม้เราคาดหวังว่าหนึ่งสัปดาห์ควรที่จะเสร็จ </p> <p>จีรนุช เห็นว่า การเรียกร้องให้ กกต.เร่งรัด ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกินเลย เพราะจากการที่รวมรายชื่อประชาชนกว่าสองแสนรายชื่อทางภาคประชาชนรวบรวมได้ภายใน 3 วัน หลังจากได้รายชื่อแล้วจำเป็นต้องคีย์ข้อมูลลง Excel ก็ใช้เวลา 4 วันจากอาสาสมัครทั่วประเทศ ทำให้รายชื่อบรรจุลงในไฟล์สำเร็จเสร็จภายใน 4 วัน นี่คือสิ่งที่ประชาชนทำได้ในส่วนที่เราไม่มีทรัพยากรในขณะที่กกต. เป็นองค์กรอิสระได้งบประมาณจากภาครัฐมีทรัพยากรเต็มที่ เราจึงคาดหวังว่ากกต. จะทำเสร็จโดยไวไม่ต้องรอให้ครบ 30 วัน</p> <h2><span style="color:#2980b9;">ชง ครม. รับคำถามประชามติของ ปชช. ยืนยันเจตจำนงของประชาชน ไม่ต้องรอ กกต.</span></h2> <p>ธีรัตม์ พณิชอุดมพัชร์ ตัวแทนคณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) กล่าวว่าการเข้าชื่อประชามติคนที่มีอำนาจกำหนดสุดท้ายคือครม. ถ้าเราดูนโยบายของพรรคเพื่อไทยช่วงก่อนการเลือกตั้งได้พูดอย่างชัดเจนว่าจะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนเขียนโดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) จากการเลือกตั้ง แต่หลังจากที่เพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคอื่นรวมถึงการแถลงนโยบายที่ผ่านมา มีความไม่ชัดเจนว่าสสร. ที่มาจากการ “จัดตั้ง” หมายความว่าจะมาจากการเลือกตั้งทั้งหมดจริงหรือไม่</p> <p>ธีรัตม์ ย้ำว่า ภาคประชาชนขอยืนยันว่าไม่จำเป็นต้องรอให้กกต. ตรวจเสร็จก็ได้ ครม. สามารถนำไปเป็นคำถามประชามติได้เลย ถ้าครม.ยังไม่มีคำถามที่ชัดเจน ถึงแม้จะคิดคำถามแล้วสังคมอาจจะไม่พอใจก็ได้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหานี้ครม. ควรรับคำถามจากประชาชนนี้ไปเลยให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับและสสร. มาจากการเลือกตั้งของประชาชน </p> <h2><span style="color:#2980b9;">กกต. ควรทบทวนประสิทธิภาพของการทำงาน ต้องไม่ทำให้การมีส่วนร่วมของ ปชช.ล่าช้า</span></h2> <p>กฤษ แสงสุรินทร์ ตัวแทนจาก We watch กล่าวทบทวนเหตุผลที่กลุ่มประชาชนต้องมาในวันนี้ว่า ถึงเราจะพูดไปแล้วว่าส่วนร่วมของประชาชนควรจะต้องง่ายและเร็วที่สุดเพราะประชาชนไม่ได้มีต้นทุนเท่าหน่วยงานรัฐ และกกต.ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ย้อนไปประเด็นที่กกต.ไม่อนุญาตให้ประชาชนลงชื่อออนไลน์เป็นสิ่งที่ไม่ง่ายของประชาชน เราจึงต้องรวบรวมรายชื่อให้ประชาชนที่อาจลงชื่อไปแล้วมาลงในกระดาษอีกรอบเพราะอยากให้เสียงประชาชนไปถึงครม.เร็วที่สุดจึงยอมทำตามที่กกต.ให้เหตุผลต่างๆ มา เราจึงมีความคาดหวังว่ากระบวนการเหล่า 2-3 วันก็เสร็จ แต่พอได้สอบถามก็พบว่ากกต.ต้องไปแบ่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบอีกแล้วจึงมารวมกัน ซึ่งทำให้เกิดคำถามตามมาถึงประสิทธิภาพในการทำงานของกกต.และขอยืนยันว่าหากกกต.ให้ลงชื่อออนไลน์ตั้งแต่แรกก็จะเป็นการสะดวกทั้งต่อประชาชนและการดำเนินงานของ กกต. </p> <h2><span style="color:#2980b9;">กกต.ตอบชัดแล้ว เข้าชื่อออนไลน์ไม่ได้ เหตุ กม.ไม่ได้กำหนด</span></h2> <p>14 ก.ย. 2566 เพจเฟซบุ๊กกลุ่มสาธารณะ 'iLaw (https://www.facebook.com/iLawClub/posts/pfbid02J2v3pRSah9eBrCP7dRdumhRRLUZahtz3VsWmrUrXViJtPzV8xK1PkWxyGtQGLtB8l)' (โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน) ระบุว่า เรื่องนี้เริ่มมาจากการที่กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ จัดกิจกรรม #conforall รวบรวมรายชื่อประชาชนให้ครบ 50,000 ชื่อ เพื่อเสนอคำถามสำหรับการทำประชามติ เรื่องการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ต่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ https://ilaw.or.th/node/6612 (https://ilaw.or.th/node/6612) จึงได้ติดต่อสอบถามไปยังสำนักงานกกต. ทางโทรศัพท์ว่า การเข้าชื่อต้องดำเนินการแบบใดบ้าง</p> <p style="text-align: center;"> <iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="774" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2FiLawClub%2Fposts%2Fpfbid02J2v3pRSah9eBrCP7dRdumhRRLUZahtz3VsWmrUrXViJtPzV8xK1PkWxyGtQGLtB8l&show_text=true&width=500" style="border:none;overflow:hidden" width="500"></iframe></p> <p>แต่ กกต.ยังไม่ตอบคำถามทางโทรศัพท์ และพยายามหาวันนัดหมายพูดคุยเรื่อยมา จนกระทั่งประชาชนเข้าชื่อกันได้เกิน 50,000 รายชื่อแล้ว จึงได้มีโอกาสประชุมร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ กกต. และได้รับแจ้งว่า การเข้าชื่อไม่สามารถทำผ่านระบบออนไลน์ได้</p> <p>นอกจากประชาชนจะต้องลงชื่อบนกระดาษแล้ว ยังต้องสแกนเอกสารทั้งหมดเป็นไฟล์ ‘PDF’ และกรอกข้อมูลที่ประชาชนเข้าชื่อบนกระดาษกลับเป็นไฟล์ดิจิทัล เพื่อนำส่งให้ กกต. ตรวจสอบความถูกต้อง </p> <p>ตัวแทนไอลอว์ ได้เห็นถึงความไม่สมเหตุสมผลของการปฏิบัติในเรื่องนี้ซึ่งสร้างภาระให้การเข้าชื่อของประชาชนมาจนเกินไป จึงได้ขอให้ทาง กกต. ออกคำสั่งหรือคำอธิบายเรื่องดังกล่าวเป็นเอกสาร แต่ทางสำนักงาน กกต. ไม่ออกเอกสารใดๆ รับรองให้ ทางไอลอว์ จึงทำหนังสือโต้แย้งขอให้ทบทวนความเห็นเรื่องการเข้าชื่อเสนอคำถามประชามติทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 23 ส.ค. 2566 ส่งไปยังสำนักงาน กกต. https://ilaw.or.th/node/6632 (https://ilaw.or.th/node/6632)</p> <p>จนกระทั่งวันที่ 12 ก.ย. 2566 สำนักงาน กกต. จึงทำหนังสือตอบกลับมายังไอลอว์ และยืนยันอย่างเป็นทางการอีกครั้งว่าการเข้าชื่อเพื่อเสนอคำถามประชามติ ไม่สามารถทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ เรื่องจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องมิได้กำหนดไว้</p> </div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">กกต.[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เข้าชื่อเสนอคำถามประชามติ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ร่างรัฐธรรมนูญใหม่[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/conforall-0" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">conforall[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/ilaw" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">iLaw[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div> https://prachatai.com/journal/2023/09/105901 |