[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 15 กันยายน 2566 07:11:55



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เบื้องหลังของเรื่องเล่า: ‘ป้านก’ นักเก็บสิ่งละอันพันละน้อย ส่งต่อประวัติศาสต
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 15 กันยายน 2566 07:11:55
เบื้องหลังของเรื่องเล่า:  ‘ป้านก’ นักเก็บสิ่งละอันพันละน้อย ส่งต่อประวัติศาสตร์การเมืองประชาชน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-09-14 12:33</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>วรกมล องค์วานิชย์ พิพิธภัณฑ์สามัญชน สัมภาษณ์</p>
<p>รายงานชิ้นนี้อยู่ภายใต้โครงการ Journalism that Builds Bridges</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ในการจัดการพิพิธภัณฑ์นั้น นอกจากผู้ดูแลรักษาสิ่งของที่นำมาจัดนิทรรศการให้ผู้ชมได้เข้าร่วมแล้ว ส่วนสำคัญที่มักถูกละเลยคือผู้บริจาคสิ่งของ โดยเฉพาะพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมสิ่งของจากเหตุการณ์เกี่ยวกับประสบการร์ร่วมของผู้คน เช่น เหตุการณ์สลายการชุมนุม ความรุนแรงโดยรัฐ หรือภัยพิบัติต่างๆ ผู้คนที่รวบรวมสิ่งของในวันเกิดเหตุไว้ก็ถือเป็นประจักษ์พยานที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวในหลายมุมมองได้เช่นกัน</p>
<p>ทั้งนี้ พิพิธภัณฑ์สามัญชน ซึ่งเก็บรวบรวมวัตถุพยานที่เกี่ยวข้องกับประชาชนนั้นก็มีผู้บริจาคสิ่งของคนสำคัญคือ ป้านก (นภัสสรณ์ บุญรีย์) นักกิจกรรมที่ร่วมการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2535 จนถึงปัจจุบัน  โดยสิ่งของหลายอย่าง เช่น เสื้อยืดจากการชุมนุมกปปส.ในปี 2557 ป้ายผ้าจากการชุมนุมเสื้อแดงปี2553  หรือเสื้อของกลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อต้านรัฐประหารปี 2549 เมื่อเวลาผ่านไป เหตุการณ์เหล่านี้ก็เลือนหายจากความทรงจำของหลายคน แต่ก็ยังมีคนกลุ่มหนึ่ง เช่น ป้านก ที่เก็บรักษาสิ่งของไว้ รอวันที่มีใครหรือหน่วยงานใดนำมาใช้เล่าเรื่องราวประวัตศาสตร์ภาคประชาชนอีกครั้ง</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53185487562_f5975533c4_b.jpg" /></p>
<p>เมื่อมีโอกาสพูดคุยกับป้านก ทางผู้สัมภาษณ์มีความสนใจและข้อสงสัยว่าทำไมในระยะเวลาหลายสิบปี ป้ายังเก็บสิ่งของไว้ สิ่งของนั้นมีความสำคัญกับป้านกอย่างไร รวมถึงเก็บรักษาอย่างไร จึงเกิดบทสนานี้ขึ้นมาในร้าน Mc Donald หน้าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">ตอนนี้รู้มาว่าป้านกให้สิ่งของกับพี่แว่น (อานนท์ ชวลาวัณย์ ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์สามัญชน) มาเยอะเลย พี่แว่นกับป้านกไปรู้จักกันได้ยังไงคะ</span></h3>
<p>ก็ที่รู้จักกันรู้จักผ่านการเสวนา ป้านกจะไปเข้าร่วมทุกครั้งที่ว่ามีการเสวนา ไม่ว่าจะอาจารย์คนไหนที่อยู่ฝ่ายประชาธิปไตยป้านกจะไป ทำให้ได้รู้จักพี่แว่นตั้งแต่นั้นมา แกก็ถามว่าป้านกมีของอะไรบ้างมั้ยแกจะจัดพิพิธภัณฑ์ อย่างของที่สะสมเกี่ยวกับประชาธิปไตย แล้วป้านกก็มีเก็บไว้เยอะเลยเลยให้เขา</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">ส่วนใหญ่ของที่ป้านกเก็บไว้มีอะไรบ้าง</span></h3>
<p>ก็มีพวกปลอกแขนต้านรัฐประหาร บางทีจะเป็นบัตร บางทีจะเป็นผ้าต้านรัฐประหาร แบ่งเป็นสี ๆ เช่น นักข่าวสีเขียว การ์ดก็เป็นอีกสี ป้านกก็จะไปร่วมอยู่ในเวทีอยู่หลังเวทีอะไรงี้</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">ไปเข้าร่วมมาตลอด หรือสนใจประชาธิปไตยแล้วไปเข้าร่วมตั้งแต่เมื่อไหร่คะ</span></h3>
<p>ตั้งแต่ปี 35 พฤษภาทมิฬ ป้านกก็โดนจับตรงแยกเฉลิมกรุง พอวันที่ 19 ประกาศเคอร์ฟิว ป้านกก็ยังไม่เข้าใจเท่าไหร่ แต่ก็นึกว่าคนออกมาเยอะเขาออกมาทำอะไร ที่มาที่เราไปเข้าร่วมเพราะที่พาต้าไฟไหม้ แล้วของบางส่วนที่ไม่เสียหาย ไม่ชำรุดก็โดนน้ำ เขาเอาลดราคา เราก็พาลูกลูกเพิ่งจะ 5 ขวบ ไปกับแฟนไปซื้อของ ทีนี้ที่สนามหลวงมีเวทีเราก็ไปจอดรถ ไปดูว่า เอ เขาพูดอะไร ไปฟังไปฟังมาก็สนุก วันที่ 2 ก็ไปฟังอีก เขาจัดอยู่หลายวัน แล้วเขาก็ย้ายมาที่จำลอง เรามีลูกอ่อน 5 ขวบ เราไม่ได้ตามมาเลยกลับ มันอยู่หลายวัน </p>
<p>ทีนี้ก็มีเพื่อนที่ทำงานเขามีครูสอนอยู่เซนต์คาเบรียลก็มา เราเลยตามมา มานอนป้องกันจำลองที่ตรงนี้ แล้วทีนี้วันนั้นที่ป้าโดนจับวันที่ 19 ป้าทำงานทำจิวเวลรี่ เด็กที่ทำงานบอกว่าป้าพาไปดูของจริงหน่อย  เราก็พานั่งรถเมล์มาเลยสาย 1 จากสีลมลงที่สนามหลวง ตอนนี้ (ปัจจุบัน) เด็กๆ มันเยอะ แต่สมัยก่อนมันไม่มีมือถือ ใครอยากรู้อะไรมันต้องดูโทรทัศน์ คนต้องนั่งรถมาต้องออกมาเข้าร่วมคนมันถึงเยอะ แต่สมัยนี้เทคโนโลยีมันเยอะ พอเห็นผ่านจอว่ามีม็อบแต่คนมันไม่ออกมาเยอะ เพราะคนดูผ่านโลกโซเชียลเยอะ คนเลยเริ่มน้อยลง ทั้งอากาศร้อน ทั้งเหนื่อย ก็เลยนอนดูส่งกำลังใจจากบ้าน </p>
<p>แต่ป้าไม่เหนื่อยนะ ก็ออกมาทุกแมตช์เพราะรู้สึกว่าดูเฉยๆ มันไม่ได้ ขึ้นชื่อว่านักประชาธิปไตยก็ต้องไปช่วยเค้า อย่างป้านกทำงาน จะเคลื่อนไหวแต่ละที พอมาปี 49 เนี่ย หูก็ฟังว่าประชาธิปไตยมันคืออะไร ทำไมมันยึดธรรมเนียม ยึดสภา เราก็อยากหาข้อมูล ตอนแรกก็ไปฟังจำลอง ไปฟังสนธิที่สวนลุม เพื่อหาว่าคืออะไร แต่พอไปฟังก็รู้สึกว่ามันไม่ใช่ มันด่า มันขุดโคตรขุดตระกูลเขามาด่าก็รู้สึกว่ามันไม่ใช่ ป้านกก็เลยชวนเพื่อนมาที่สนามหลวง เพราะตอนนั้น PTV ณัฐวุฒิ จตุพร จักรพงษ์ คุณวีระ กำลังจัดตั้งสถานีวิทยุทางโทรศัพท์ PTV แต่ไปตั้งไม่ได้เพราะทหารมาลุย เลยมาตั้งเวทีที่นี่แทน </p>
<p>ป้านกก็มาฟังตั้งแต่คุณณัฐวุฒิยังเป็นโฆษกยังไม่ดัง แล้วรู้สึกว่าเข้าท่า พูดมีลูกล่อลูกชน เมื่อก่อนป้านกทำโอ งานเยอะ แต่พอได้มาฟังก็ไม่มีจิตใจทำงานเพราะใจเรามาอยู่ตรงนี้ เราก็รับผิดชอบในส่วนที่เราเป็นหัวหน้า แต่ไม่ได้ทำโอแล้ว พอเลิกงานก็นั่งแท็กซี่มาทุกวัน สนามหลวงยังเข้าไม่ได้เพราะทหารปิดล้อม เราก็นั่งแท็กซี่มาจากคลองหลอดมาหลังกลาโหม ไม่ตี 1 ตี 2 ก็ไม่กลับบ้านทุกวัน เวทีเลิกเที่ยงคืนเราก็นั่งคุยกันต่อ ถ้าเป็นเสาร์-อาทิตย์ เราก็นั่งคุยกันจนถึงตี 5 จนพระมาบิณฑบาต พอได้นั่งคุยการเมืองก็เริ่มรู้เยอะ คนนู้นคนนี้ก็เป็นครู เป็นตำรวจ เป็นข้าราชการที่เกษียณบ้างก็มานั่งคุยกัน เขาก็จะเล่าย้อนไปสมัยรุ่นเขา รุ่นคนเดือนตุลาบ้าง นั่งเล่าประสบการณ์ให้เราฟัง เราก็ไปเก็บเกี่ยว เวลามีเสวนาเราก็ไปฟัง ที่ทำงานเริ่มมีวิทยุเราก็ฟังข่าว ซื้อหนังสือพิมพ์มาอ่าน</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">แล้วความรู้สึกตั้งแต่แรก ๆ จนกระทั่งเริ่มอินมากขึ้น ความรู้สึกเปลี่ยนไปยังไงบ้าง เช่น ความผูกพัน</span></h3>
<p>ก็ผูกพัน ตอนนั้นนายกทักษิณ คนเขารักมากเพราะทำอะไรก็รุ่งจริง ๆ มีเงินมีทองเก็บเพราะนายกทักษิณ ลูกค้าที่บริษัทก็เยอะ โบนัสเราก็ได้เยอะ เราก็มาช่วยทักษิณนะ มาฟังทุกวันมาซื้อซีดีทุกวัน บางอันยังไม่แกะบางอันก็มีรูปป้านกอยู่ด้วย</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53088638803_eeb4934366_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">นภัสสรร่วมชุมนุมคาร์ม็อบไปที่พรรคเพื่อไทยเมื่อวันที่ 2 ส.ค.2566</span></p>
<h3><span style="color:#2980b9;">อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้เริ่มต้นเก็บของ</span></h3>
<p>ก็ตั้งแต่ตอนนั้นแหละ เขาบอกว่าถ้าเราอยากช่วยกันคนละไม้คนละมืออยากให้คนรู้ เขาก็จะมีหนังสือสนามหลวงเป็นกระดาษ 4 แผ่น ป้านกก็จะหอบกลับบ้านไปโยนให้บ้านนู้นบ้านนี้ ป้านกมีสติ๊กเกอร์ ผ่านรถผ่านตู้โทรศัพท์ก็จะติด </p>
<h3><span style="color:#2980b9;">ทั้งหมดเป็นแนวทางสื่อสารไปในตัวใช่มั้ยคะ</span></h3>
<p>ใช่ ๆ พอเรามาทำงานลักษณะนี้เราก็ว่าทำไงถึงจะสื่อสารคนได้เยอะ ๆ เวลาไปฟังอาจารย์มีเอกสารประกอบ เราก็จะเอาไปหย่อนบ้านนู้นบ้านนี้ แล้วก็มีการพูดคุยช่วยเหลือให้เป็นประชาธิปไตย เช่น ทักษิณเขาบริหารงานมาดีแล้วมายึดอำนาจเขา มันไม่ถูกอย่างงี้ จนปี 53 ป้านกโดนออกจากงาน ตอนที่เสื้อแดงเขาไปราชประสงค์ตอนที่โดนยิงเยอะ ๆ เราก็มานอนที่นี่อยู่ประจำ ปกติก็จะไม่นอนนะแต่พอโดนออกจากงานแล้วก็เครียด สมัยก่อนลูกชายก็ขึ้นเวทีด้วย แม่อยู่บนเวทีเขาก็อยู่บนเวทีกับแม่ ก็ซึมซับกันมา พอเข้ามหาลัยเพื่อนเขาเห็นออกโทรทัศน์อยู่กับพวกแกนนำบ่อย เขาเลยเริ่มถอยออกมา สมัยก่อนเป็นเสื้อแดงก็กลัวว่าจบไปทำงานแล้วจะมีภาพไม่ดีแล้วจะลำบาก หนังสือก็เริ่มเก็บตั้งแต่โน้นแหละ พอไปสนามหลวงทุกวัน PTV(ช่องยูทูปที่บันทึกการปราศรัยการชุมนุมทางการเมืองและงานเสวนาวิชาการ)  ก็จะทำเป็นซีดีทุกวัน ประมาณ 5-7 แผ่นแล้วแต่วัน เราก็ช่วยเขาอุดหนุน </p>
<h3><span style="color:#2980b9;">มีสิ่งที่ชอบซื้อเก็บเป็นพิเศษมั้ยคะ เช่น พี่แว่นจะชอบเก็บเสื้อ</span></h3>
<p>เสื้อนี่ป้านกก็มี ใครทำมามันก็เป็นเสื้อแดงเหมือนกันเราก็ซื้อไว้แต่ละรุ่น ได้ใส่ทุกตัวแล้วก็เก็บไว้ ตีนตบมือตบอะไรก็ซื้อเก็บไว้ตั้งแต่อยู่สนามหลวง จนป้านกไปลุยกับพวกสนธิก็โดนถ่ายรูปไปติดไว้ว่าถ้าเจอผู้หญิงพวกนี้ให้ตีจนหมอบ เราก็ไม่กล้าไป บางวันเราแอบไปตรงคลองใกล้ UN แต่เราก็ไม่ได้เข้าใกล้ ไปนั่งฟัง ถ้าตรวจบัตรก็ไม่เข้าไป เราดูในโทรทัศน์เห็นคนก็เยอะ เราก็แอบมาฟังใกล้เวที แอบมาดู ๆ แล้วก็กลับออกไป อย่างพวกของบริจาค จะเข้าไปเราก็ต้องให้เนียนเลยต้องซื้อพวกนกหวีดบ้าง ห้อยคอ ก็ซื้อมา</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53185487567_ebae89463b_b.jpg" /></p>
<h3><span style="color:#2980b9;">เล่าให้ฟังได้ไหม ว่ามีการเกือบถูกจับหรือว่าต้องทำยังไงบ้างในการเนียนเข้าไปในม็อบอีกฝั่ง</span></h3>
<p>มีทั้งเดินเข้าไปเฉย ครั้งหนึ่งที่เขาเคลื่อนขบวน ที่คุณวิภูแถลง แกก็บอกว่าอยากได้ซีดีที่พวกนี้ทำออกมา ป้านกทำงานอยู่สีลม พวกนี้เขามาใกล้ ๆ เราก็ไปแต่ไม่ได้เพราะเขาแจกหมด เขาบอกให้เราไปเอาที่ธรรมเนียบ ใครจะกล้าไป วันหลังก็หามาจนได้เลยเอาไปให้พวกแกนนำ</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">เหมือนเป็นคนล่าของ?</span></h3>
<p>ใช่ ถ้าเค้าบอกว่าอยากได้อันนี้นะ เราก็ไปหาให้อย่างงี้ ก็เหมือนตอนคุณสุชาติ นาคบางไทร(กลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ)อยู่ มันจะมีกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย แล้วก็จะมีหนังสือปกม่วงก็ให้เขาไป เมื่อก่อนเรามีเยอะหนังสือปกม่วง แล้วก็มีพวกจตุคาม กลุ่ม 24 ก็จะมีเต็นท์ของเขา เราก็ไปฟังไปซื้อพวกสติ๊กเกอร์ อันไหนเราอยากจะได้เราก็เก็บซื้อไว้ แล้วก็เก็บไว้ไม่ได้เอาไปแปะ ที่เห็นว่าของที่เก็บมันยังใหม่เพราะป้านกทำจิวเวลรี่แล้วจะมีถุงใส่เพชรพลอย ก็เอามาใส่เก็บแล้วก็ใส่ลังไว้ ถ้าได้อะไรมาก็จะซักแล้วเก็บแพคเอาไว้</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">แล้วในช่วงนั้นมีของเยอะมาก และมีความ Creative มาก มีของชิ้นไหนที่เราเห็นแล้วว้าว เห็นแล้วประทับใจมั้ยคะ </span></h3>
<p>คือเห็นแล้วก็ไม่ได้ว้าวนะ มันก็ไม่ได้แปลกก็เหมือนกัน อย่างตีนตบก็ดูว่าน่าซื้อมั้ย อย่างบางวันเราไม่ได้เอาติดกระเป๋ามาก็ซื้อใหม่ </p>
<h3><span style="color:#2980b9;">ตอนที่เขาสลายการชุมนุมวันที่ 10 เมษา หรือก่อนหน้านั้น อยู่ในเหตุการณ์หรือเปล่า?</span></h3>
<p>อยู่ค่ะอยู่ วันที่เขาสลายการชุมนุม ป้านกออกจากงานแล้วก็จะมาอยู่ที่นี่ ป้านกอยู่หลังเวทีก็จะไปช่วย แกนนำขึ้นเวทีลงมาก็จะเอาผ้าเย็นให้เอาน้ำเสริฟ ทั้งแกนนำและแขกที่ขึ้นเวที วันนั้นเราก็ไปหลังเวทีลูกชายเราก็มาด้วย บางส่วนก็เคลื่อนขบวนไปที่ราชประสงค์ บางส่วนก็อยู่ที่นี่ ตอนนั้นเมธีที่เป็นดาราเขาก็ประกาศว่าขออาสาสมัครเพราะมีการทิ้งกันและมีการทิ้งแก๊สน้ำตาแล้ว จากฮอล์ที่โปรยลงมา เราก็วิ่งตามลูก แล้วมันก็ทิ้งแก๊สน้ำตาลงมา แสบตาไม่ไหวมองไม่เห็นทาง ลูกก็หาน้ำล้างให้แล้วก็ประคองเดิน </p>
<p>เขาก็ยิงกันที่หัวกระจายมีคนโดนเต็มเลย เราก็แน่น อึดอัด หายใจไม่ออก ก็โดนหลายรอบ ตอนปี 49-50 เขาพาเดินไปบ้านเปรม เทเวศร์ เดินไปไม่ถึงก็โดนเขาสลาย ของก็เก็บมา ของทำมา ที่คาดผม ธงเนี่ยเป็นมัดเลย มาทุกวันเขาก็จะแจกละจะเก็บๆ ไว้ ธงมันเยอะเพราะว่าบางทีคนที่มาม็อบเขาไม่กล้าเอากลับ เขากลัวก็เลยม้วนๆ เอาไว้แล้วนั่งรถเมล์กลับบ้าน แล้วเราไม่ทิ้งอะไรหล่นก็เก็บ อะไรเราเอามาหิ้วมาก็เก็บ เป็นคนที่เก็บของ</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">หลังจากนั้นที่มีการสลายแล้วมีการเคลื่อนไหวอีกมั้ย?</span></h3>
<p>มันก็มีตลอดนะ เพราะการเคลื่อนไหวมันไม่หยุด แกนนำอาจจะหยุด แต่พวกป้านกก็มีตั้งกลุ่มขึ้นมาเป็นกลุ่มสตรีเพื่อประชาธิปไตย ก็มีมวลชนเยอะตอนนั้น ก็เคลื่อนไหวกับผู้ชุมนุมและแกนนำหลายคน</p>
<p>ตอนนั้นก็จะมีสถานีวิทยุของแท็กซี่อยู่วิภา ซอย 3 เราก็จะเคลื่อนไหวกับกลุ่มนี้ เขาก็จะส่งมาโทรมาว่าวันนี้มีกิจกรรม เราก็จะทิ้งงานมาครึ่งวันไปเข้าร่วม</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53186263879_6926cdf9e9_b.jpg" /></p>
<h3><span style="color:#2980b9;">ที่มันจะมีหนังสือเป็นเบอร์โทรศัพท์เยอะๆ หรือปล่าวคะ</span></h3>
<p>ตอนนั้นมันมีเยอะนะ แกนนำทุกคนป้านกก็มีเบอร์ ทำตรงนี้มันต้องรู้จัก</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">คิดว่ามันเจ๋งเพราะปัจจุบันก็จะติดต่อผ่านเฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ แต่พอมาเห็นหนังสือที่มีเบอร์แกนนำทุกคนในตอนนั้นเลยรู้สึกว่ามุมนึงคือเจ๋งมาก ๆ แต่อีกมุมก็รู้สึกว่าถ้ามันหลุดไปที่ตำรวจจะทำยังไง</span></h3>
<p>จริง ๆ มันมีหนังสือ King never smiles ป้านกก็สั่งซื้อมานะ 2 เล่ม เขาก็มาตรวจค้น เราก็กังวลว่าจะเอาของไปไว้ที่ไหน เขาบอกว่าของอย่างอื่นไม่เป็นไร แต่ไอหนังสือหนะคนก็ไม่กล้ารับ ก็เลยแช่น้ำไปเลยให้มันเปื่อย ๆ ยุ่ย ๆ เสียดาย อุตส่าห์ซื้อมาอ่านไม่จบ เราก็ไปฟังก็ช่วยๆ ซื้อมา พวกหนังสือต้องห้าม ก็ซื้อช่วยเพื่อน ไม่รู้ยังมีอีกหรือเปล่าตอนนี้</p>
<p>ถ้าพูดถึงจริง ๆ มันสนุกนะการต่อสู้ อย่างตอนพฤกษาทมิฬ นอนบนถนนเดือนพฤษภามันก็ร้อนมาก ปีนั้นเป็นปีที่เขาเผาป้อมตำรวจ เผาเยอะที่สุดเลย เผาแทบทุกป้อมมีที่ไหนก็เผา เราก็โดนจับถอดเสื้อผ้านอนบนถนน ลูกกระสุนเต็มไปหมดเราก็ไม่กล้าเก็บ มันให้นอนแบบผู้ชายหน้าแนบถนน ก็ร้อนหน้าไหม้หมดเลย 4-5 ทุ่มมันปล่อยกลับ มีขอดูบัตรเราก็กลัวจะโดนจับเข้าคุก คลานแบบในหนังก็เคยมาแล้ว ก็เลยไม่ค่อยกลัว มันก็มีมวลชนออกมาเยอะ ก็เลยไม่ค่อยกลัวเท่าไหร่</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">หลังจากนั้นก็กล้ามากขึ้นไรงั้นใช่มั้ย?</span></h3>
<p>เออใช่ ตอนนี้ก็คิดว่าจะไปไหนก็ต้องเขียน ในกระเป๋าป้านกงี้ก็มีป้ายมีไรไปเยอะ หรือว่าวันนี้เค้ามีงานอะไร เราก็จะคิดตามงานว่า เออ เราจะประท้วงเรื่องอะไร เราก็หากระดาษหาอะไรมา เขียน แล้วก็เอาไป ป้าก็จะทำงี้ แล้วก็จะไปเก็บไว้ มีลังก็ก็จะไปเก็บไว้ ปล่อยเพื่อนเรา มีรูปเพนกวิน มีรูปพวกแกนนำเด็ก ๆ อะ แล้วเราก็จะมีไว้อะ เสียบ ๆ ไว้ จบตรงนี้ เออไม่มีไรเราก็เก็บ ถ้ามันมีน้องโดนจับเราก็เออ มันมีใครอีกเราก็จะรื้อออกมางี้</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">แล้วในช่วงรัฐประหารที่ปี 57 ที่เขาห้ามชุมนุม ห้ามจัดกิจกรรม ตอนนั้นเรายังติดต่อกับเพื่อนหรือยังเคลื่อนไหวอะไรไหม</span></h3>
<p>ตอนปี 57 ไปทำอาหารแจกมวลชนละก็ไปทำให้พวกการ์ด ให้แกนนำด้วย คือแกนนำไม่กล้ากินของที่คนเอามาบริจาคให้ ก็คือครั้งหนึ่งพวกแกนนำกินแล้วแบบ น็อคไง คือเขาน่าจะใส่ของมา ตอนนี้ก็คือเราทำเสร็จก็ใส่รถเข็นแล้วก็เอาไปให้เวทีบางส่วน หลังเวทีเขาก็มีทำแต่เขาก็เอาจากเราไปอีกเพราะว่าทั้งนักข่าว ทั้งอะไรก็อยู่ข้างใน ก็ทำได้ 12 วันมั้ง หน้าเวทีเขาก็ยิงกัน เราก็ทำข้าวแจกมวลชน พอจากตรงนั้นเราก็ไม่ได้อะไรแล้ว เราไม่ได้ไปอยู่หน้าเวที คือเรามาช่วยกันทำอาหารแจก ให้การ์ดให้ไรงี้คือมันไม่ค่อยมีคนทำ ส่วนมากเขาอยากอยู่หน้าเวทีกัน เมื่อก่อนป้านกก็อยู่หน้าเวทีแต่ไม่ได้แสดงอะไรออก ก็ไปนั่งฟัง ตอนนี้รู้เยอะละไง ไม่จำเป็นต้องนั่งฟัง มันก็เรื่องเดิม ๆ แบบทุกวันนี้มันเป็นไง เราก็ตามทันละ</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">แล้วได้เก็บของอะไรมาบ้างมั้ยจากการชุมนุมรอบนั้น</span></h3>
<p>รอบนั้นไม่ได้อะไรเลย รอบนั้นป้านกไม่ได้ออกไปไหน ก็คือทำข้าว 4 มื้อเลยนะ ก็วันนึงเนี่ย ทำแกงทำผัดเป็นหลายหม้ออะ แต่ปี 57 ไม่ได้ซื้ออะไร ไม่ได้เดิน เพราะคนทำอาหารก็อยู่ไกล</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">ของที่เยอะที่สุดคือช่วงเสื้อแดงใช่มั้ยคะ?</span></h3>
<p>ใช่ค่ะ ก็ช่วง 52-53 นี่แหละ ปี 51 เริ่มจะมีเสื้อแดงคุณสายันห์ สัญญา นักร้อง แกใส่สีแดงขึ้นเวทีสนามหลวง หลังจากนั้นก็เริ่มใส่สีแดงเรียกร้อง ป้านกก็เริ่มเก็บมา เริ่มซื้อ ๆ มา ปี 52-53 เสื้อจะเยอะมาก</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">ตอนนี้ก็ 10 ปีแล้วนะ ป้านกเก็บของไว้ที่ไหน</span></h3>
<p>ไว้ที่บ้านค่ะ ป้านกจะมีลัง ไม่ว่าจะหนังสือ จะอะไรก็จะใส่ถุงพลาสติกใหญ่เก็บ ๆ ไว้ในลัง มานั่งคิดว่าเสื้อผ้าใส่ไม่ได้แล้วก็ให้เขาไป แต่ก็มีเก็บไว้อย่างละตัว ประมาณนั้น ก็จะมีที่เอาไปให้แว่นทีละ 2-3 ถุงใหญ่ ๆ แต่ว่ามีพวกป้ายที่เอามาชูแว่นก็เอาไปแล้วบ้าง </p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53186447750_1d949aeee4_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพจาก iLaw</span></p>
<h3><span style="color:#2980b9;">ของที่มีเกี่ยวกับพวกเรื่องเสื้อแดงก็จะเกี่ยวกับความสูญเสีย แล้วเวลาเราเห็นของพวกนี้ในบ้านเรารู้สึกยังไง</span></h3>
<p>จริง ๆ ป้านกเก็บไว้ เราเห็นเหตุการณ์เราก็ไม่อยากดูเพราะมันก็สะเทือนใจ แต่ที่ซื้อเราก็อยากสนับสนุน ที่เก็บไว้ในลังมันก็อยู่อย่างงั้น ถ้าตายไปก็ไม่มีใครเห็นลูกก็ทิ้งเป็นขยะ พอแว่นมาขอเราก็พูดว่าให้เขาไปอย่างน้อย ๆ คนเสื้อแดง คนอุดมการณ์ได้มาเจอก็ได้รู้สึกเหมือนเรา ที่บ้านเรายังเหลืออยู่นิดนึงใช้ในวานวันรำลึก ป้านกก็ยังมีเก็บไว้</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">พอไปที่งานแล้วเห็นของเราอยู่ในงานจัดแสดงแล้วรู้สึกยังไง</span></h3>
<p>เราก็ดีใจนะว่าเป็นของของเรา เราจำได้ อย่างมือตบเรามีเยอะ เราเห็นมันถูกติดไว้ก็จำของของเราได้ </p>
<p>จนถึงปัจจุบัน เมื่อพิพิธภัณฑ์จัดนิทรรศการ ป้านกก็ยังแวะมาพูดคุยและหยิบสิ่งของติดไม้ติดมือมามอบให้อยู่เรื่อยๆ รวมถึงในวันที่ให้สัมภาษณ์ ป้านกได้ฝากป้ายผ้า “ปล่อยเพื่อนเรา” ที่ได้จากการเรียกร้องสิทธิ์ประกันตัวของนักกิจกรรมหน้าศาลอาญามาให้พิพิธภัณฑ์เก็บรักษาไว้ อีกด้วย</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53186263849_20b875d94b_o.jpg" /></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">วัฒนธรรม[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%A3-%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%A5%E0%B8%B5" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">นภัสสร บุญลี[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พิพิธภัณฑ์สามัญชน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ป้านก[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ชุมนุมทางการเมือง[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ประวัติศาสตร์การเมืองภาคประชาชน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คนเสื้อแดง[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%A0%E0%B8%B2-53" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พฤษภา 53[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%A0%E0%B8%B2-35" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พฤษภา 35[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%AC" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พฤษภาทมิฬ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%8A" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">นปช.[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">อุปกรณ์การชุมนุม[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%9A" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ตีนตบ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/09/105894