หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - แกะรอยวิธีคิดรัฐไทยรับมือชุมนุมสาธารณะอย่างไรกับนักกฎหมายชุมนุม เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 15 กันยายน 2566 17:49:32 แกะรอยวิธีคิดรัฐไทยรับมือชุมนุมสาธารณะอย่างไรกับนักกฎหมายชุมนุม
<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2023-09-15 16:14</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>สรวุฒิ วงวศ์ศรานนท์ สัมภาษณ์ </p> <p>เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Protect The Protest ที่ประชาไทร่วมทำกับแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย</p> </div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="summary-box"> <ul> <li style="margin: 0in 0in 8pt;">การจัดการควบคุมดูแลการชุมนุมสาธารณะขึ้นอยู่ระดับความเป็นประชาธิปไตยของแต่ละประเทศเพราะส่งผลต่อการออกมาตรการที่จะรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากน้อยแค่ไหน</li> <li style="margin: 0in 0in 8pt;">แต่ประเทศกึ่งประชาธิปไตยกึ่งอำนาจนิยมอย่างไทยมาตรการที่ออกมามักเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจมากแต่ถูกตรวจสอบน้อย และตำรวจก็สามารถเลือกบทว่าจะเป็นตำรวจในระบอบประชาธิปไตยหรือตำรวจในระบอบอำนาจนิยมก็ได้โดยเลือกใช้มาตรการขึ้นกับเนื้อหาของการชุมนุม</li> <li style="margin: 0in 0in 8pt;">การตรวจสอบของไทยมักจะดูแค่ว่าเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ แต่ไม่ตรวจสอบว่ามาตรการต่างๆ ที่เจ้าหน้าที่ใช้นั้นได้สัดส่วนกับสถานการณ์การชุมนุมหรือไม่ และไม่มีการลงโทษเจ้าหน้าที่ที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย</li> <li style="margin: 0in 0in 8pt;">ทางออกนอกจากจะต้องแก้กฎหมายแล้ว ไทยควรจะต้องถูกตรวจสอบจากกลไกขององค์กรระหว่างประเทศว่าเป็นไปตามมาตรฐานสากลหรือไม่</li> </ul> </div> <p style="margin:0in 0in 8pt">ประชาไทชวน พัชร์ นิยมศิลป อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุยทบทวนถึงการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมาเพื่อสำรวจแนวคิดของเจ้าหน้าที่รัฐไทยในการจัดการกับการชุมนุมสาธารณะช่วง 3 ปีที่ผ่านมาว่าเหมือนหรือต่างอย่างไรกับมาตรฐานสากล ปัจจัยอะไรที่ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้กำลังในการปราบปราบการชุมนุมโดยที่ไม่ต้องถูกตรวจสอบ </p> <p style="margin:0in 0in 8pt"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53188910328_b1f27c6a2f_b.jpg" /></p> <p style="margin: 0in 0in 8pt; text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">พัชร์ นิยมศิลป</span></p> <p style="margin:0in 0in 8pt">พัชร์เล่าว่าเหตุที่ทำให้เขามาสนใจในประเด็นกฎหมายการชุมนุมสาธารณะที่เริ่มมาจากความหงุดหงิดใจเมื่อต้องเจอการวนลูปของสถานการณ์การเมืองไทยร่วมสมัยที่มักเกิดการชุมนุมสาธารณะ ความรุนแรง แล้วก็รัฐประหาร แล้วก็มาชุมนุมใหม่ ก็เกิดคำถามว่าจะออกจากลูปนี้อย่างไร ทำให้ในปี 2558 เขาเลือกไปเรียนกฎหมายต่อที่อังกฤษและได้ทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายชุมนุมกับความเป็นประชาธิปไตยในกลุ่มประเทศที่ยังเป็นประชาธิปไตยแบบลูกผสมกับระบอบอำนาจนิยม (Hybrid Democracy)</p> <p>แต่ในปีเดียวกันกับที่พัชร์ไปเรียนกฎหมายชุมนุมสาธารณะของไทยฉบับแรกก็ถูกประกาศใช้พอดีในช่วงรัฐบาลทหาร แม้ว่าเรื่องกฎหมายการชุมนุมสาธารณะจะเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายเห็นตรงกันว่าควรจะต้องมีแล้วก็มีการคุยเรื่องนี้มานานมากกว่า 10 ปีก่อนที่พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 จะถูกประกาศใช้ และเขาเองก็เคยเป็นคณะกรรมการร่างกฎหมายชุมนุมสาธารณะของ ปปช. มาก่อน แต่สุดท้ายร่างที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ก็เป็นฉบับที่ร่างขึ้นมาโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ</p> <p>แม้ว่ากฎหมายจะออกมาตั้งแต่ปี 2558 แต่ก็ไม่ได้ถูกใช้อย่างจริงจังจนกระทั่ง 2560 ถึงเริ่มมีการยกเลิกประกาศและคำสั่ง หัวหน้า คสช.ที่มีเรื่องห้ามการชุมนุมทางการเมืองอยู่ไป แต่พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะก็ใช้กันอยู่ได้ไม่นานเมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19 ระบาดรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ก็ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในการควบคุมการชุมนุมแทนอีก พัชร์มองว่าสถานการณ์แบบนี้ทำให้พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ไม่ได้ถูกใช้จนได้เห็นว่าเวิร์คหรือไม่เวิร์ค เพราะระยะเวลาที่มีการใช้กฎหมายฉบับนี้ยังถือว่าน้อย และยังมีคดีที่มีการใช้กฎหมายฉบับนี้ฉบับเดียวก็ยังน้อยอีกทั้งยังไม่มีคำพิพากษาของศาลฎีกาที่จะมาวางแนวการใช้กฎหมายด้วย</p> <p>แต่ที่เขาสนใจศึกษาเรื่องกฎหมายชุมนุมในกลุ่มประเทศที่เป็นกึ่งประชาธิปไตย เพราะในกลุ่มประเทศเหล่านี้มีความเป็นประชาธิปไตยบางอย่างอยู่ แล้วพ่วงกับกลไกที่ไม่เป็นประชาธิปไตยหรืออำนาจนิยมจึงศึกษากรณีของรัสเซียที่มีการใช้กฎหมายชุมุนมสาธารณะและรูปแบบการปฏิบัติของตำรวจกับผู้ชุมนุมเพื่อรักษาเสถียรภาพของรัฐบาล แล้วก็ใช้เรื่องนี้มาเปรียบเทียบกับประเทศในตะวันออกเฉียงใต้คือ ไทย กัมพูชา และมาเลเซีย ก็พบว่าประเทศในกลุ่มนี้มีอาการเดียวกัน</p> <h2><span style="color:#2980b9;">เสรีภาพการชุมนุมในระบอบประชาธิปไตย</span></h2> <p>“เราแสดงตัวนะว่าเป็นประชาธิปไตย แต่จริงๆ โดยเนื้อหามันมีกลไกบางอย่างที่ทำให้ ตำรวจสามารถสวิตช์ได้ระหว่างตำรวจประชาธิปไตยกับตำรวจในอำนาจนิยม ง่ายๆ ก็คือกฎหมายเปิดช่องให้สองมาตรฐานแล้วตำรวจเองก็มีบุคลิกที่สามารถเปลี่ยนไปมาระหว่างมาตรฐานทั้งสองด้วย”</p> <p>พัชร์ชี้ว่ากลไกระหว่างประเทศและในกฎหมายรัฐธรรมนูญของไทยรับรองเฉพาะแค่การชุมนุมสาธารณะที่สงบเท่านั้นและลบการชุมนุมที่มีความรุนแรงออกไปจนหมด เขาอธิบายเรื่องนี้ว่าโดยเริ่มจากอธิบายกลไกในระบบประชาธิปไตยที่ใช้ในการตัดสินปัญหาของบ้านเมืองหรือกดดันรัฐบาลที่ตัวเองเลือกเข้าไปคือการมีส่วนร่วมของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยมีอยู่ 2 ส่วนหลักๆ คือมีการเลือกตั้งตามรอบเมื่อถึงเวลาเลือกตั้งประชาชนต้องไปเลือกตั้งเมื่อถึงเวลารัฐบาลเก่าต้องหมดอายุ ถ้าไม่มีการเลือกตั้งตามรอบก็จะเริ่มไม่เป็นประชิปไตยเพราะอำนาจจต้องคืนสู่ประชาชนให้ประชาชนเลือกเข้าไปใหม่ สองคืออำนาจของประชาชนที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในทางการเมืองตลอดเวลา การมีส่วนร่วมนี้ก็จะมีอยู่ 3 เสรีภาพ</p> <p>หนึ่ง เสรีภาพในการแสดงออก เพื่อที่ประชาชนจะได้บอกว่าต้องการอะไรมีความเห็นอย่างไรเพื่อสร้างแรงกดดันทางสังคมต่อพรรคการเมืองที่ถูกเลือกเข้าไป ประเทศควรจะเป็นอย่างไร รัฐบาลประชิปไตยไม่รับรองสิทธินี้ไม่ได้</p> <p>สอง เสรีภาพในการชุมนุมเพราะเวลาคนตัวเล็กตัวน้อย มีต้นทุนทางสังคมไม่มากพูดคนเดียวเสียงไม่ดังพอ จึงต้องมารวมตัวกันเยอะๆ ยิ่งรวมตัวกันได้มากเท่าไหร่เสียงยิ่งมีพลัง</p> <p>สาม เสรีภาพในการสมาคม เสรีภาพนี้จะทำให้การชุมนุมสาธารณะหรือการเคลื่อนไหวทางสังคมต่างๆ เป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและยาวนานพอที่จะกดดันรัฐบาลได้ ซึ่งความสำคัญของเสรีภาพนี้ก็คือหากมีเพียง 2 เสรีภาพแรกก็จะทำให้การชุมนุมประท้วงเพียงผ่านมาแล้วก็ผ่านไปทำได้แค่ชี้ว่าอะไรคือปัญหา มีอะไรที่ผิดปกติ แต่ไม่สามารถพัฒนาไปสู่กลไกอื่นๆ เช่น การเคลื่อนไหวเพื่อการแก้รัฐธรรมนูญ คณะกรรมการต่างๆ ที่ภาคประชาสังคมสามารถขับดันเป้าหมายระยะยาวหรือความเปลี่ยนแปลงในระยะยาว</p> <p>เสรีภาพในการสมาคมจึงทำให้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมมีประสิทธิภาพมากขึ้น อยู่ได้ยาวนานขึ้น สามารถพัฒนาไปสู่การเคลื่อนไหวในรูปแบบอื่นได้ และเมื่อเกิดการชุมนุมขึ้นมาก็จะมีการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ชุมนุม มีการรวมตัวมีการแบ่งปันข้อมูลกัน ทำให้ความแหลมคมของข้อเรียกร้องก็จะดีขึ้นเมื่อประสบการณ์ของผู้ชุมนุมมีมากขึ้นก็จะกลายเป็นสถาบันขึ้นมา อย่างเช่นกรณีของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือกรณีของกลุ่มคนเสื้อแดง รวมไปถึงสหภาพแรงงานด้วยเพราะการนัดหยุดงานหรือรวมตัวออกไปประท้วงเป็นผลลัพธ์แต่แรงงานจะต้องรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงานขึ้นมาให้ได้ก่อน</p> <p>พัชร์อธิบายต่อว่า ในกฎหมายระหว่างประเทศจึงรวมเสรีภาพทั้งสามอย่างนี้รวมกันเป็นก้อนเดียวกันและรับรองเพียงการชุมนุมที่สงบเท่านั้น เพราะการชุมนุมที่ใช้ความรุนแรงจะตกเข้าสู่ตรรกะอีกชุดหนึ่งก็คือ ถ้าต้องการให้การชุมนุมมีประสิทธิภาพหรือเสียงดังมากขึ้นก็ต้องมีกำลังและจำนวนคนที่เยอะแล้วเมื่อเป็นการชุมนุมที่ใช้ความรุนแรงแล้วจะเป็นการปฏิเสธหรือยับยั้งสิทธิการแสดงออกของคนอื่น</p> <p>“ถ้าอยากเสียงดังคุณก็ตบโต๊ะให้ดังคนอื่นจะได้ไม่พูด ถ้าผมมีกำลังคนเยอะมีความสามารถในการใช้ความรุนแรงได้เยอะ ไอ้คนกลุ่มน้อยๆ จะไม่มีโอกาสได้ชุมนุมเลย เวลาเกิดการชุมนุมขึ้นมาแล้วฉันไม่ชอบฉันจะเอาการชุมนุมของฉันไปถมแล้วพวกนั้นก็จะพูดอะไรไม่ได้ แล้วเมื่อสังคมเป็นแบบนี้แนวคิดเรื่องสังคมประชาธิปไตยก็จะไม่เกิดก็จะมีคนที่พูดได้คนเดียวคือคนที่มีกำลังสูงสุดในรัฐนั้น หรือมีคนจำนวนมากที่มีกำลังพอที่จะไปสร้างการคุกคามคนอื่น ถ้ามองในอีกแง่หนึ่งที่เป็นอำนาจนิยมแบบเต็มที่ตำรวจก็คือตัวนั้น คือคุณจะชุมนุมฉันจัดตำรวจไป 3-4 กองร้อยไปถมพื้นที่ตรงนั้นแล้วคนอื่นก็ใช้อะไรไม่ได้แล้ว”</p> <p style="margin:0in 0in 8pt"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50493851541_f3f252dd34_b.jpg" style="width: 1023px; height: 682px;" /></p> <p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ตำตรวจที่เข้าปิดกั้นแยกราชประสงค์เมื่อวันที่ 16 ต.ค.2563 ทำให้การผู้ชุมนุมไปรวมตัวกันที่แยกปทุมวันที่อยู่ใกล้เคียงก่อนนำไปสู่เหตุการณ์ตำรวจเข้าใช้กำลังสลายการชุมนุมในช่วงค่ำวันเดียวกัน</span></p> <h2><span style="color:#2980b9;">กฎหมายเปิดกว้างให้ใช้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจแต่พร่องการตรวจสอบ</span></h2> <p>แต่สำหรับการปกครองแบบกึ่งประชาธิปไตยกึ่งอำนาจนิยมแบบไทยเรื่องนี้ก็จะซับซ้อนขึ้น คือเมื่อรัฐมีไม้ที่ไว้ใช้ความรุนแรงก็จะมีกฎหมายที่เอื้อให้กับการเอาไม้ไปใช้ด้วย</p> <p>พัชร์กล่าวว่ากลไกของการปกครองแบบผสมจะต้องการมีเลือกตั้งตามรอบเพราะถ้าไม่มีเลือกตั้งตามรอบก็จะกลายเป็นเผด็จการ แต่เมื่อมีการเลือกตั้งตามรอบแล้วก็ต้องมีสิ่งที่รับประกันได้ว่าจะชนะเลือกตั้งอย่างไร จึงมีการสร้างระบบที่เป็นเกราะป้องกัน 2 ส่วน ส่วนแรกคือสร้างเกราะป้องกันในระบบการเลือกตั้งที่ทำอย่างไรก็ได้ให้ดูเป็นการเลือกตั้งที่เป็นธรรมแต่จริงๆ แล้วไม่ยุติธรรมเลย ทำให้พรรคฝ่ายค้านหรือพรรคเล็กที่ต่อให้ชนะเลือกตั้งก็เป็นรัฐบาลไม่ได้</p> <p>แต่ส่วนที่เขาสนใจศึกษาคือส่วนที่สอง คือการสร้างเกราะป้องกันจากการชุมนุมบนถนน เพราะเมื่อระบอบประชาธิปไตยต้องเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและเปิดให้มีการชุมนุมสาธารณะได้ แต่จะเปิดให้มีชุมนุมอย่างไรในขณะที่รัฐสามารถใช้อำนาจตบได้หรือทำให้การชุมนุมไม่กระทบต่อการปกครองของรัฐ รัฐจึงต้องสร้างเครื่องมือพิเศษขึ้นมาผ่านกฎหมาย</p> <p>พัชร์ชี้ว่ากฎหมายในระบอบกึ่งประชาธิปไตยกึ่งอำนาจนิยมนี้จะเปิดให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจได้สูงโดยที่มีการตรวจสอบน้อย ตำรวจจะสามารถคิดมาตรการอะไรออกมาก็ได้หรือวางเกณฑ์อย่างไรก็ได้ที่กฎหมายไม่ได้ห้ามไว้ เมื่อกฎหมายเปิดให้ตำรวจใช้ดุลพินิจได้มากก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้บังคับบัญชาสั่งมาอย่างไร เช่น กรณีการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่เหมือนตีเช็คเปล่าให้กับเจ้าหน้าที่ และพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ยังมีการตรวจสอบที่น้อยโดยตัดอำนาจของศาลปกครองออกแล้วให้คดีอยู่ในศาลยุติธรรมทั้งหมด</p> <p>พัชร์อธิบายว่าตัวศาลปกครองเองถูกออกแบบมาเพราะมองว่าอำนาจรัฐกับประชาชนมีไม่เท่ากัน และเมื่อคดีต้องเข้าสู่ศาลยุติธรรมทำให้ต้นทุนในการสู้คดีของประชาชนสูงขึ้นมากและผู้พิพากษาก็ถูกฝึกมาคนละแบบในเรื่องของการรักษาสิทธิและเสรีภาพ ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมจะมองว่าประชาชนกับรัฐมีสิทธิเท่ากันหมด แต่ศาลปกครองมีมุมมองที่เห็นว่ารัฐมีอำนาจมากกว่า อย่างเช่นเรื่องการพิสูจน์ข้อมูลที่ข้อมูลอยู่ในมือของรัฐหมดประชาชนจะเอาอะไรไปสู้แล้วจะไปเอาข้อมูลมาสู้คดีอย่างไร</p> <p>ดังนั้นแล้วเมื่อรัฐเลือกใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินทำให้การตรวจสอบเกณฑ์การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ทำได้ยากขึ้น เพราะพอเป็นการออกข้อกำหนดตามมาตรา 9 ของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ข้อกำหนดบางฉบับก็ห้ามชุมนุมเลย เช่นห้ามชุมนุมในสถานที่แออัด ซึ่งเป็นการสร้างกลไกบางอย่างเข้าไปข้างใน ถ้าใช้เพื่อป้องกันโควิดก็อาจจะเวิร์คแต่ก็แผงบางอย่างเข้าไปซึ่งก็มีจุดประสงค์เพื่อไม่ให้มีการชุมนุม แต่อะไรเป็นสิ่งยืนยันว่าเขาไม่ได้ห้ามหมด</p> <p>“ถ้าห้ามหมดก็โอเค แต่ผมกำลังบอกว่ามันอยู่ใน Hybrid Regime ไงสามารถสวิตช์ไปสวิตช์มาได้ จะเจออาการแบบนี้ คำถามคือเวลาห้ามเขาเลือกที่จะห้ามตามเนื้อหาหรือห้ามตามรูปแบบที่ออกมาชุมนุม ห้ามรูปแบบยังโอเคนะ เพราะบางรูปแบบมันแฝงด้วยความรุนแรงอยู่ก็เข้าไปห้าม แต่บางทีเป็นการใช้เนื้อหาในการเข้ามาห้ามไง” เขาได้ยกตัวอย่างการกิจกรรม 2 งานที่เป็นการรวมตัวกันในที่สาธารณะเพื่อการแสดงออกเหมือนกันเมื่อวันที่ 28 มี.ค.2564 ที่มีเนื้อหาแตกต่างกันมากแต่อยู่ภายใต้สถานการณ์ที่รัฐประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อควบคุมการระบาดของโควิด-19 เหมือนกัน</p> <p>กรณีแรกคือการชุมนุมของกลุ่มทะลุฟ้าที่ข้างทำเนียบรัฐบาล (https://prachatai.com/journal/2022/03/97908)ที่ออกมาเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษการเมือง เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาต้องลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี และแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 การชุมนุมนี้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดควบคุมฝูงชนเข้าสลายการชุมนุมถึง 2 ครั้งในวันเดียวกันรอบแรกในตอนเช้ามืด และรอบเย็นที่ผู้ชุมนุมมาทำการนอนเฉยๆ (https://prachatai.com/journal/2021/03/92305) ในพื้นที่เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวคนที่ถูกจับกุมในตอนเช้า โดยทั้งหมดนี้เจ้าหน้าที่อ้างว่าการชุมนุมเป็นการฝ่าฝืนประกาศห้ามชุมนุมเพื่อป้องกันการระบาดของโควิด-19</p> <p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/51009281535_1db84f8559_o_d.jpg" style="width: 1280px; height: 960px;" /></p> <p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ผู้ชุมนุมหมู่บ้านทะลุฟ้านอนเฉยๆ เรียกร้องปล่อยตัวเพื่อนที่ถูกจับกุมในตอนเช้า ภาพก่อนที่พวกเขาจะถูกตำรวจ คฝ.ที่อยู่รายรอบเข้าจับกุมตัว</span></p> <p>กรณีที่สองที่เกิดขึ้นในวันเดียวกัน มีกลุ่มประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมสวมชุดไทยเล่นเซิร์ฟสเก็ต (https://www.youtube.com/watch?v=m0sx8ed5NGc)ในกิจกรรม “รัตนโกเซิร์ฟ” ที่จัดขึ้นที่บริเวณลานคนเมืองหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานครและเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ระยะทางกว่า 4 กิโลเมตรซึ่งอยู่ไม่ไกลจากพื้นที่ชุมนุมหมู่บ้านทะลุฟ้า โดยในงานดังกล่าวมีทั้งดารานักร้อง นักการเมือง เข้าร่วมและมีหน่วยงานรัฐร่วมสนับสนุนด้วย เช่น กระทรวงวัฒนธรรม จากรายงานข่าวระบุว่ามีคนเข้าร่วม 300 คนและภาพที่ปรากฏออกมามีผู้เข้าร่วมจำนวนมากไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัยขณะทำกิจกรรม อย่างไรก็ตามแม้จะถูกวิจารณ์เรื่องแต่เรื่องนี้จบลงเพียงการแถลงชี้แจงของสองผู้จัดอย่าง อภิสิทธิ์ โอภาสเอี่ยมลิขิต หรือ “โจอี้ บอย” และวทันยา วงษ์โอภาสี (https://www.prachachat.net/social-media-viral/news-638362) ที่ตอนนั้นยังเป็น ส.ส.ของพรรคพลังประชารัฐอยู่ว่ามีการป้องกันการระบาดของโรคแล้วและมีความจำเป็นต้องถอดหน้ากากเพราะเป็นกิจกรรมกีฬาอีกทั้งได้ขออนุญาตจัดกับ ศบค.แล้ว</p> <p>“ทำไมสองกลุ่มนี้ถูกดูแลไม่เหมือนกัน ถ้าเราไปดูก็จะเจอว่าคนจัดมันคนละพวกกันเนื้อหาที่แสดงออกมันคนละเนื้อหากัน รูปแบบไม่เหมือนกัน แต่ถ้ามองในมุมของการป้องกันโรคมันควรจะมีมาตรฐานใกล้ๆ กันนะ ถ้าเกิดมันไม่มีมาตรฐานก็เป็นหน้าที่รัฐในการเข้าไปจัดการให้มันมีมาตรฐาน”</p> <p>นอกจากนั้นเขายังยกกรณีที่กลุ่มเยาวชนปลดแอกนัดชุมนุมกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยแล้วก็มีผู้ชุมนุมของอีกฝ่ายที่มาจัดชุมนุมต่อต้านการชุมนุมของเยาวชนปลดแอกแต่สุดท้ายแล้วกลับมีคนที่ถูกดำเนินคดีอยู่แค่มวลชนฝั่งเดียว ซึ่งทำให้เห็นว่าถ้าเป็นการชุมนุมที่มาเชียร์สนับสนุนรัฐ รัฐก็จะให้จัดได้แต่ถ้ามาชุมนุมคัดค้านรัฐก็จะดำเนินคดี ไปจนถึงการออกข้อกำหนดที่ยกเว้นให้กับการจัดกิจกรรมรวมกลุ่มที่รัฐอนุญาต (https://covid.phatthalung.go.th/files/com_announce2/2021-04_38098e6cb6c38d9.PDF)ได้ ซึ่งก็ทำให้มีคำถามตามมาว่าแล้วถ้าเป็นกิจกรรมที่รัฐจัดอย่างเช่นการจัดคนมาต้อนรับนายกรัฐมนตรีหรือมีการจัดรับขบวนเสด็จก็จัดได้ใช่หรือไม่</p> <p>“ถ้าตอบโดยเมคเซนซ์คือถ้ารับเสด็จแล้วไม่ติดโรคเหรอ มันก็ติด ฉะนั้นเมื่อเป็นการรวมกลุ่มประชาชนคุณก็เอามาตรการเข้าไปใส่”</p> <p style="margin:0in 0in 8pt"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50476222457_2f04cac255_b.jpg" /></p> <p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">กลุ่มคนเสื้อเหลืองที่มารอรับเสด็จในหลวงรัชกาลที่ 10 ที่มารวมตัวกันที่วงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อ </span><span style="color:#e67e22;">14 ต.ค.256</span> (https://prachatai.com/journal/2020/10/89940)<span style="color:#e67e22;">3 ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่กลุ่มราษฎรนัดรวมตัวชุมนุมในบริเวณเดียวกัน </span></p> <p>พัชร์เห็นว่าถ้ารัฐจะอ้างเรื่องการควบคุมโรคก็ควรจะต้องใช้มาตรการเดียวกัน แต่พฤติกรรมการเลือกใช้กฎหมายแบบนี้ถือเป็นเรื่องไม่พึงประสงค์ในกฎหมายเพราะเมื่อออกกฎหมายมาแล้วก็ควรต้องใช้เกณฑ์เดียวกันทั้งหมด เจ้าหน้าที่จะเลือกใช้กฎหมายไม่เหมือนกันแบบนี้ไม่ได้</p> <p>พัชร์ย้ำว่าตามหลักในระบอบประชาธิปไตยรัฐจะต้องทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยมีการคุ้มครองเสรีภาพเสรีภาพการแสดงออก เสรีภาพในการชุมนุมและเสรีภาพในการรวมกลุ่ม เพื่อทำให้ประชาชนสามารถรวมกลุ่มและออกมาเรียกร้องได้โดยการเรียกร้องดังกล่าวต้องเป็นไปโดยสงบปราศจากอาวุธ และต้องมีมาตรการทางกฎหมายทำให้เกิดความสงบ</p> <p>ดังนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงมีหน้าที่ 2 อย่างคือจะต้องอำนวยความสะดวกไม่แทรกแซงการชุมนุมที่สงบและต้องคุ้มครองผู้ชุมนุมที่ชุมนุมโดยสงบ แต่ถ้าเกิดเหตุการณ์รุนแรงตำรวจก็ต้องเข้ามาทำให้สงบโดยการจำกัดตัวคนที่ใช้ความรุนแรงให้ยุติการกระทำและแยกคนที่ใช้ความรุนแรงออกไปจากพื้นที่</p> <p>“ถ้ามีความรุนแรงอยู่ที่เดียวกับความสงบอยู่ ตำรวจต้องคั่นระหว่างกลางแล้วก็ใช้กำลังกับคนที่กำลังใช้ความรุนแรง”</p> <h2><span style="color:#2980b9;">มาตรการของเจ้าหน้าที่ได้สัดส่วนหรือไม่</span></h2> <p>พัชร์กล่าวว่าในประเด็นการใช้กำลังของเจ้าหน้าที่นั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลการชุมนุมสาธารณะ ซึ่งจะมีมาตรฐานของการใช้กำลังอยู่ แต่โดยหลักแล้วจะใช้กำลังกับการชุมนุมที่สงบไม่ได้ จะใช้กำลังได้แต่การชุมนุมที่ไม่สงบ</p> <p>การจะใช้กำลังต้องจำเป็นและได้สัดส่วน ทำให้ต้องมาพิจารณาบทบาทของตำรวจต่อว่าการใช้กำลังนั้นเหมาะสมกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นหรือไม่ และมีความจำเป็นต้องสลายการชุมนุมตั้งแต่ต้นหรือไม่</p> <p>อย่างไรก็ตามในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามักจะได้เห็นว่าหลายครั้งการใช้กำลังของเจ้าหน้าที่เป็นผลสืบต่อเนื่องกันมาจากสถานการณ์ที่ผู้ชุมนุมเดินขบวนเพื่อไปสถานที่เป้าหมายเช่น ทำเนียบหรือบ้านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่ถูกเจ้าหน้าที่ตั้งด่านสกัดกั้นทำให้ฝั่งผู้ชุมนุมเองก็พยายามจะฝ่าไปจนสุดท้ายเกิดความชุลมุนขึ้นมาแล้วเจ้าหน้าที่ก็ใช้กำลังกับผู้ชุมนุม</p> <p>พัชร์มองประเด็นนี้ว่าตำรวจทำให้เกิดความรุนแรงในการชุมนุมสาธารณะเองไม่ได้ แต่ตำรวจในระบอบแบบ Hybrid Regime มักจะกลายเป็นตัวจุดความรุนแรงขึ้นมา และเมื่อเกิดความรุนแรงขึ้นมาตำรวจก็ไม่ได้แยกว่าจะสลายใคร</p> <p>พัชร์อธิบายว่าการตั้งกำลังของตำรวจต้องทำไปเพื่อให้การชุมนุมทำได้โดยสะดวกและสงบไปพร้อมกับทำให้คนที่ไม่ได้ร่วมชุมนุมได้รับผลกระทบน้อยที่สุด แม้ว่าการชุมนุมโดยสงบจะทำให้เกิดผลกระทบกับคนอื่นอยู่บ้างเพราะว่าไม่มีทางที่จะทำให้การชุมนุมโดยสงบไม่เกิดผลกระทบกับคนอื่นเลยเพราะเท่ากับทำให้เสรีภาพในการชุมนุมเกิดขึ้นไม่ได้</p> <p>“คุณไปตะโกนกลางทุ่งนา หรือจัดชุมนุมกลางทุ่งนาคิดว่าไม่กระทบกับใครแล้วนะ แต่ถามว่าผู้ชุมนุมไปยังไง ถ้าไปจากเมืองต้องใช้ถนนไปใช่ไหม? แล้วคนที่อยู่ระหว่างถนนเส้นนั้นได้รับผลกระทบมั้ย? ก็กระทบอยู่ดี คนมารวมตัวกันมันวุ่นวายโดยสภาพอยู่แล้ว ดังนั้นหน้าที่ของตำรวจในเรื่องนี้คือเข้ามาอำนวยความสะดวก”</p> <p>พัชร์ย้อนกลับมาในกรณีการชุมนุมของ REDEM ในช่วงปี 2564 ที่ผู้ชุมนุมเดินผ่านไปทางบ้านประยุทธ์ที่อยู่ข้างในกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ (ร.1 รอ.) ถนนวิภาวดีรังสิตว่าปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ในการรับมือผู้ชุมนุมครั้งนั้นต้องพิจารณาถึงว่าการชุมนุมได้ทำให้เกิดความวุ่นวายแค่ไหนอย่างไรและมีมูลเหตุให้ต้องตั้งแนวคอนเทนเนอร์และรั้วลวดหนามมากั้นถนนหรือไม่</p> <p>เขามองว่ากรณีนี้พิจารณาได้ง่ายจากในทางกฎหมายเพราะพื้นที่นั้นเป็นเขตทหารที่มีรั้วรอบขอบชิดอยู่แล้วการจะมีภาพว่าผู้ชุมนุมบุกเขตทหารคงเป็นภาพที่เกิดขึ้นได้ยาก อีกทั้งการตั้งรับในพื้นที่ภายในเขตค่ายทหารก็ทำได้ง่ายกว่าการเอาตู้คอนเทนเนอร์มาตั้งกั้นถนนด้านหน้าและวางลวดหนาม</p> <p>“ประชาชนบุกค่ายทหารผมนึกไม่ออกจริงๆ แค่มองเข้าไปในค่ายทหารก็มีรั้วลวดหนาม มีป้อม มีปืน มันไม่เมคเซนส์ที่จะบุกเข้าไป”</p> <p>พัชร์ย้อนกลับมาตั้งคำถามถึงหลักความจำเป็นของการใช้มาตรการวางคอนเทนเนอร์พร้อมลวดหนามนี้ โดยสมมติว่าถ้าปล่อยให้การชุมนุมของ REDEM เดินผ่านไปโดยมีตำรวจอำนวยความสะดวกให้การชุมนุมเดินทางผ่านไปได้ก็จะไม่เกิดความรุนแรงหรือต่อให้ผู้ชุมนุมหยุดอยู่หน้าค่ายเหตุการณ์ก็อาจจะเหมือนการชุมนุมที่หน้ากรมทหารราบที่ 11 เมื่อวันที่ 29 พ.ย.2563 ที่ในเหตุการณ์มีเพียงการปักหลักปราศรัยหรือแม้แต่กรณีที่มีผู้ชุมนุมไปสาดสีปาไข่ที่ ม.พัน 4 พล.1 รอ. ตรงข้ามรัฐสภาก็ยังเป็นกรณีที่นักกิจกรรมบางคนปีนรั้วแล้วโดนทหารดึงเข้าไป แต่ก็ไม่เคยเกิดกรณีที่ผู้ชุมนุมยกพวกเข้าไปบุกค่ายทหาร</p> <p style="margin:0in 0in 8pt"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50659679518_bc02803d0b_b.jpg" style="width: 1024px; height: 768px;" /></p> <p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">การชุมนุมที่กรมทหารราบที่ 11 </span><span style="color:#e67e22;">เมื่อ 29 พ.ย.2563</span> (https://prachatai.com/journal/2020/11/90612)<span style="color:#e67e22;"> </span></p> <p>ทั้งนี้คำถามต่อมาการตั้งแนวกั้นแบบนี้กลายเป็นตัวจุดฉนวนความรุนแรงได้หรือไม่</p> <p>“ถ้าเกิดเขาเดินผ่านหน้าบ้านประยุทธ์ไปเนี่ย มันไม่มีอะไรบอกเลยว่าจะมีความรุนแรงเกิดขึ้น ก็ปล่อยเขาเดินไปดิ แล้วคุณก็จัดระเบียบข้างนอก คุณเอาเครื่องมือป้องกันไปตั้งไว้ทำไมเยอะแยะ เอาคอนเทนเนอร์เอารั้วลวดหนามไปกั้นถนนวิภาวดี กันทางเดินเขาทำไม ถ้าเขาไม่มีเจตนาจะเข้าไปอยู่แล้วคุณไปตั้งด่านไว้ทำไม แล้วทำไมต้องกันข้างนอก เวลากั้นถึงไม่กั้นเข้ามาข้างใน ถ้าต้องการป้องกันการบุกเข้าไปทำไมไม่กั้นรั้วในค่ายทหาร เอาคอนเทนเนอร์เข้าไปปิดในกำแพง”</p> <p><iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="772" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2FiLawClub%2Fposts%2Fpfbid02x88L1RccXE6Zzfk2eMiADGQEdRkkn57oXuFs96ZwNucKnx3P8kYBrNn9SD3Nzopsl&show_text=true&width=500" style="border:none;overflow:hidden" width="500"></iframe></p> <p>พัชร์เทียบกรณีการจัดการป้องกันที่บ้านประยุทธ์กับการจัดการป้องกันของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ต่างกัน ในกรณีของ สตช.เจ้าหน้าที่ไม่ได้ปิดกั้นถนนพระราม 1 แต่ป้องกันข้างในหลังรั้วกำแพงของ สตช.แทนเพื่อกันการขว้างของ ส่วนพระบรมฉายาลักษณ์ถ้าไม่คลุมไว้ก็ถอดออกไปเลย ทำให้เกิดคำถามว่าทำไมกรณีของชุมนุมบ้านประยุทธ์ถึงจัดการแตกต่างกัน เพราะว่าถ้าผู้ชุมนุมเชื่อว่าเขามีสิทธิที่จะเดินเขาก็จะฝ่าก็กลายเป็นการจุดฉนวนให้เกิดการปะทะ</p> <p>เพราะฉะนั้นจึงคำถามตามมาอีกว่ามาตรการต่างๆ ของเจ้าหน้าที่ทั้งการป้องกันและการใช้กำลังเป็นไปตามมาตรฐานสากลหรือไม่ เพราะตามมาตรฐานสากลแล้วจะกำหนดว่าเจ้าหน้าที่จะต้องอำนวยความสะดวก แล้วก็วางข้อจำกัดไว้แล้วก็จะมีการตรวจสอบตามหลังถึงการวางข้อจำกัดดังกล่าว และจะต้องมีการตรวจสอบตามเช็คลิสต์ 3 ข้อ</p> <ol> <li>กฎหมายให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ไว้หรือไม่</li> <li>การดำเนินงานของตำรวจเป็นไปตามจุดประสงค์ของกฎหมายหรือไม่</li> <li>การปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่นั้นได้สัดส่วนหรือไม่</li> </ol> <p>ประเด็นเรื่องกฎหมายให้อำนาจไว้หรือไม่ กรณีของไทยก็อาจจะอ้างว่าใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินอยู่และถูกเอามาใช้แบบครอบจักรวาล</p> <p>ประเด็นที่สอง จุดประสงค์ในการใช้มาตรการเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ อย่างการอ้างใช้มาตรการเพื่อป้องกันโรคระบาดแต่การเอาน้ำไปฉีดเกี่ยวอย่างไรกับจุดประสงค์ของกฎหมายแล้วยิ่งเอาน้ำไปฉีดในช่วงที่โรคกำลังระบาดก็ยิ่งทำให้เชื้อกระจายออกไปมากขึ้นหรือการใช้แก๊สน้ำตาก็ทำให้คนที่โดนต้องถอดหน้ากากออกมาล้างก็ทำให้โรคกระจาย</p> <p>ประเด็นที่สาม เรื่องความได้สัดส่วนนี้ พัชร์ยกตัวอย่างการใช้รถเมล์แดงที่เป็นรถเก่าติดไฟได้ง่ายเพราะมีส่วนประกอบของไม้มาใช้ในการปิดกั้นเส้นทาง ซึ่งก็เคยเห็นกันมาแล้วว่ารถชนิดนี้ถูกเผาได้ง่ายจากเหตุการณ์เมื่อพฤษภาคมปี 2535 ไปจนถึงการใช้รถเมล์ ปอ.ที่เป็นรถแก๊สที่ระเบิดได้มาใช้ ทั้งที่เจ้าหน้าที่เองก็มีแบริเออร์ที่ปลอดภัยกว่าอยู่แล้วก็ตาม หรือเรื่องการใช้ลวดหนามของเจ้าหน้าที่เองก็ไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่ไม่ให้ใช้ลวดหนามด้วยด้วยเช่นกันเพราะทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ แต่ถ้าจะต้องใช้จริงๆ ก็ต้องเป็นกรณีเกิดจลาจลแล้วเท่านั้น</p> <p style="margin:0in 0in 8pt"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50515766787_89a4ba107d_b.jpg" style="width: 1024px; height: 576px;" /></p> <p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">การชุมนุมของกลุ่มราษฎรเมื่อ 21 ต.ค.2563 ที่บริเวณสะพานชมัยมรุเชษฐ์ </span><span style="color:#e67e22;">แฟ้มภาพ</span> (https://prachatai.com/journal/2020/10/90079)</p> <p>พัชร์ตั้งคำถามว่าการใช้มาตรการต่างๆ ของเจ้าหน้าที่นั้นนอกจากจะไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลแล้วยังกลายตัวจุดฉนวนความไม่พอใจของผู้ชุมนุมด้วยหรือไม่ เพราะเมื่อประชาชนเชื่อว่าเขามีสิทธิ์ที่เดินไปสถานที่นั้นได้โดยสงบแต่เมื่อมีการกั้นเส้นทางไว้ทางเจ้าหน้าที่เองได้คิดถึงสถานการณ์ที่จะเกิดต่อจากนั้นไว้หรือไม่ว่าจะเป็นอย่างไรและจะกลายเป็นว่าฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐเองเป็นคนสร้างเงื่อนไขที่ทำให้เกิดสถานการณ์รุนแรง หรือไม่</p> <p>อย่างไรก็ตาม เมื่อมีมาตรวัดแล้วก็ต้องตรวจสอบว่าเจ้าหน้าที่ได้ทำตามมาตรวัดนั้นหรือไม่</p> <p>พัชร์เห็นว่าในส่วนที่ของประเด็นเรื่องเจ้าหน้าที่ทำหน้าที่ไปตามจุดมุ่งหมายของกฎหมายหรือไม่นั้น บางครั้งศาลที่มีหน้าที่ตรวจสอบครั้งก็ไม่ทำและการที่ศาลไม่ตรวจสอบก็เป็นปัญหา ถึงแม้ว่าในหลายคดีศาลจะตรวจสอบว่าการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ไม่ได้เป็นไปตามจุดประสงค์เรื่องการป้องกันโรคตามข้อกำหนดที่ออกตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ดังนั้นที่ผู้ชุมนุมฝ่าฝืนจึงไม่ผิดและศาลก็มีคำพิพากษาในเรื่องนี้ออกมาบ้างแล้ว แต่ยังมีกรณีที่ศาลพิพากษาหลุดแนวไปเลยคือมองว่าเมื่อจำเลยในคดีไปอยู่ในที่ชุมนุมที่เจ้าหน้าที่ห้ามชุมนุมแล้วจึงถือว่าได้กระทำความผิดแล้ว ในกรณีแบบนี้เท่ากับว่าศาลไม่ได้ทำการตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่เลย</p> <p>แต่พัชร์กล่าวว่าที่ผ่านมาส่วนที่ไม่เคยถูกตรวจสอบโดยศาลเลยคคือ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่มีความจำเป็นและได้สัดส่วนหรือไม่ โดยในการตรวจสอบส่วนนี้คือการดำเนินการของเจ้าหน้าที่จะต้องผ่าน 2 ข้อแรกมาแล้ว</p> <p>“แม้คุณจะทำถูกกฎหมายตามคู่มือและกฎหมายเขียนทุกอย่าง ศาลก็ต้องเข้ามาเช็คอยู่ดีว่ามันจำเป็นมั้ย มันได้สัดส่วนมั้ย ซึ่งตรงนี้เป็นดุลพินิจที่องค์กรตุลาการมาเซ็ตมาตรฐานว่าอย่างไหนถึงเรียกว่าจำเป็น อย่างไหนถึงเรียกว่าได้สัดส่วน”</p> <p>อย่างไรก็ตาม ศาลเองก็มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องตรวจสอบตั้งแต่ก่อนเจ้าหน้าที่จะใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมด้วย จึงเกิดคำถามว่าในกรณีที่เจ้าหน้าที่ใช้กำลังในการสกัดกั้นและสลายขบวนเดินของผู้ชุมนุมนั้นจะต้องมีการขอหมายศาลก่อนหรือไม่</p> <p>พัชร์ตอบในประเด็นนี้ว่าการ “สลายการชุมนุม” คือการทำให้พื้นที่ที่กำหนดไว้ไม่มีผู้ชุมนุมอยู่ สมมติว่ามีคนอยู่ 5 คนชุมนุมอยู่ตามจำนวนที่กฎหมายระบุไว้แล้วมีตำรวจเข้าไปจับทั้งหมดเลย 5 คนก็นับเป็นการสลายการชุมนุม หรือแม้ว่าจะมีผู้ชุมนุมอยู่แค่ 2 คนแล้วตำรวจจับไปหมดเลยเขามองว่าในทางกฎหมายแล้วต้องถือว่าเป็นการสลายการชุมนุมด้วยเช่นกัน และเมื่อถือว่าเป็นการสลายการชุมนุมแล้วเจ้าหน้าที่ก็ต้องไปขอหมายศาลมาก่อน</p> <p>คำถามต่อมาคือแล้วถ้าเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบจะสามารถสลายการชุมนุมได้ตามแผนการใช้กำลังของตำรวจเลยหรือไม่?</p> <p>พัชร์กล่าวว่าถ้ามองตามมุมของผู้ชุมนุมคือถ้าชุมนุมโดยสงบตำรวจจะสลายการชุมนุมได้ก็ต้องไปข |