[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 22 กันยายน 2566 23:24:34



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - คุยกับ ต๋ง-ปูน ทะลุฟ้า เมื่อคนรุ่นใหม่ถูกตัดสินว่าเป็นอันธพาลในสายตาผู้พิพากษ
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 22 กันยายน 2566 23:24:34
คุยกับ ต๋ง-ปูน ทะลุฟ้า เมื่อคนรุ่นใหม่ถูกตัดสินว่าเป็นอันธพาลในสายตาผู้พิพากษา
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2023-09-22 22:41</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ชาลินี ทองยศ : รายงาน</p>
<p>รายงานชิ้นนี้อยู่ภายใต้โครงการ Journalism that Builds Bridges</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ภายใต้การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ผ่านมา แต่ละกลุ่มต่างรวมตัวกันออกมาต่อสู้เรียกร้องต่อต้านรัฐบาลเผด็จการ มีกิจกรรมทางการเมืองเพื่อสื่อนัยสำคัญบางอย่างให้ผู้คนได้ตีความและบอกเล่าปัญหานั้นๆ หลายยุคหลายสมัย</p>
<p>ต่อมาจนถึงช่วงการเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่นับแต่ปี 2563 นั้นการทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ก็เป็นสิ่งที่พวกเขานำมาใช้สื่อสารกับผู้คน ผู้อ่านอาจจะเห็นตามข่าวอยู่บ้างไม่ว่าจะเป็นการปาสีแดงใส่สถานีตำรวจ โดยสีแดงนั้นหมายถึงสีเลือดของผู้คนที่ล้มตายจากโควิด-19 การทำหุ่นศพและนำมาเผา ศพนั้นก็หมายถึงร่างของประชาชนที่ล้มตายจำนวนมากในสถานการณ์โรคระบาด </p>
<p>หรือจะเป็นการนำศาลพระภูมิซึ่งหักแล้วมาตั้งพร้อมกับรูปของเหล่าผู้พิพากษาที่ตัดสินคดีให้ประชาชนติดคุกโดยไม่สนหลักสิทธิเสรีภาพใดๆ สิ่งของ สี การกระทำเหล่านี้มีความเสียดสีกับสถานการณ์ในช่วงนั้นเป็นอย่างดี แม้จะเคลื่อนไหวภายใต้หลักสันติวิธีแต่การต่อสู้เช่นนี้ดูเป็นเรื่องใหม่เพราะหลายครั้งเกิดการถกเถียงกันอย่างมากในสังคมไทย และแน่นอนว่าฝ่ายรัฐซึ่งไม่ถูกใจกับการต่อสู้เรียกร้องจะนำพฤติการณ์ไปตีความและแจ้งข้อหา และหากยิ่งสถานการณ์ทางการเมืองที่รัฐเร่งปราบปรามอย่างหนัก การนำผู้คนไปจำคุกเพื่อกำราบก็เกิดขึ้นบ่อย</p>
<p>“ศาลอุทธรณ์บอกว่าเรามีลักษณะนิสัยเป็นอันธพาล ไม่กลับใจ เขาใช้คำแบบนี้เลยอ่ะ ซึ่งแบบ เห้ย เรารู้สึกว่ามันไม่ใช่อ่ะ มันเกินไปกับการที่เขาตัดสินเราแค่ตรงนั้น” คำบอกเล่าจากต๋ง เธอเล่าถึงคำพิเคราะห์ของศาลที่มีต่อเธอและเพื่อนๆในการพิพากษายืนต่อคำตัดสินคดีละเมิดอำนาจศาล</p>
<p>หลายครั้งที่ ‘ศาล’ คือคำที่เข้ามาข้องเกี่ยวในขบวนการเคลื่อนไหว นักกิจกรรมหลายรายเดินทางไปศาลเป็นว่าเล่นเพราะต้องไปดำเนินการในคดีที่รัฐกล่าวหา คำว่าฝากชีวิตไว้กับศาลคือไม่เกินจริง คำตัดสินซึ่งถูกตีความโดยผู้พิพากษาไม่กี่คนเป็นสิ่งที่ชี้ชะตาชีวิตของประชาชนที่เห็นต่างจำนวนมากเพราะคำตัดสินเหล่านั้นจะติดตัวพวกเขาไปตลอด เว้นแต่จะมีการนิรโทษกรรมเมื่อเปลี่ยนผู้นำรัฐบาล</p>
<p>และในคดีนี้ศาลอุทธรณ์บอกว่าต๋งและเพื่อนๆ ส่อเป็น “อันธพาล”</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53204668177_cc259383d3_o.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ปนัดดา สิริมาศกุล หรือ ต๋ง</span></p>
<p>ปนัดดา สิริมาศกุล หรือ “ปาล์ม” เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี หรือในวงนักเคลื่อนไหวทางการเมืองเราจะรู้จักเธอในชื่อ “ต๋ง” </p>
<p>ต๋งเริ่มเคลื่อนไหวกับกลุ่มทะลุฟ้าเมื่อปี 64 เธอร่วมเคลื่อนไหวเรียกร้องต่อต้านรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา ขณะเดียวกันสถานการณ์ทางการเมืองก็คุกรุ่น มีนักกิจกรรมทางการเมืองและประชาชนหลายรายถูกรัฐจับกุมโดยมิชอบแล้วแจ้งข้อหาพวกเขา ต้องเสียเวลาไปขึ้นศาลและรายงานตัวตามหมาย ถูกจับ ไม่ก็ถูกคุกคามติดตามจากผู้ที่อ้างตนว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ พวกเขาเหล่านั้นเพียงแค่ออกมาวิจารณ์รัฐบาลก็เป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้ </p>
<p>ต๋งคือหนึ่งในคนที่ยืนหยัดเรียกร้องต่อการบริหารงานของรัฐบาลในตอนนั้นและเรียกร้องให้มีการปล่อยเพื่อนเรา และ “คดีความ” คือสิ่งที่ตามมา</p>
<p>“น่าจะสิบกว่าคดี ไม่ก็ 15 เลยนะ ไม่เคยนับเลย นับแล้วรู้สึกปวดหัว ไม่อยากใส่ใจกับมันมาก ก็เลยไม่นับดีกว่า” ต๋งบอกเราเมื่อถามถึงจำนวนคดีที่เธอถูกแจ้งข้อกล่าวหา มันเยอะมากจนเธอไม่อยากใส่ใจ โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นคดีข้อหา พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ.เครื่องเสียง หากฟังจากคำบอกเล่าของเธอส่วนมากจะเป็นคดีที่ออกไปใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุม </p>
<p>“แต่ว่าก็จะมีคดีที่หนักๆหน่อย คือคดีที่ศาลธัญบุรี และคดีที่โดนหน้าพรรคภูมิใจไทย เขาจะพ่วงข้อหาว่าเราเป็นหัวหน้าหรือผู้สั่งการ โทษก็จะสูงกว่าปกติ” ต๋งเล่าต่อ </p>
<p>คดีที่หน้าพรรคภูมิใจไทยที่ต๋งพูดถึงคือ คดีที่กลุ่มทะลุฟ้าจัดกิจกรรมยื่นหนังสือถึงพรรคร่วมรัฐบาล 3 พรรค ได้แก่ พรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคพลังประชารัฐ เพื่อเรียกร้องให้พรรคดังกล่าวถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล เมื่อวันที่ 30 ก.ค. 2564 ด้วยเหตุผลว่ารัฐบาลบริหารงานไม่มีประสิทธิภาพจนผู้คนล้มตายจำนวนมาก แม้ว่าศาลจะให้ประกันตัวในคดีนี้แต่มีเงื่อนไขทั้งให้ติด EM, ห้ามออกนอกเคหสถานช่วงกลางคืน และที่น่าสังเกตคือมีเงื่อนไขห้ามทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์และศาลเสื่อมเสีย ทั้งที่พฤติการณ์ในคดีไม่ได้เกี่ยวข้องกับสถาบันฯ แต่อย่างใด</p>
<p>ส่วนอีกหนึ่งคดีที่เธอกล่าวถึง คือคดีที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดอำนาจศาล ซึ่งเป็นคดีที่ผู้เขียนกล่าวถึงในตอนต้น หากกลับไปย้อนดูคดี คดีนี้เป็นคดีที่เกี่ยวโยงสืบเนื่องกัน </p>
<p>2 ส.ค. 2564 กลุ่มทะลุฟ้าได้จัดกิจกรรม “ปล่อยเพื่อนเรามา คืนประชาธิปไตย” ที่หน้าสโมสรตำรวจ ในช่วงบ่ายวันนั้นเองเจ้าหน้าที่ได้ทำการรวบกลุ่มทะลุฟ้าและประชาชน รวม 32 รายโดยมิชอบและถูกพาไปที่หน้า บก.ตชด.ภาค 1 ทั้งที่พวกเขาไม่ได้สร้างความวุ่นวาย ไม่มีอาวุธ ไม่มีความรุนแรง เพียงแค่ไปเรียกร้องให้ตำรวจปล่อยตัวคนขับรถปราศรัยในคาร์ม็อบของกลุ่มราษฎรพร้อมทีมงาน</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53205929044_b3c1c78ab0_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ชุมนุมหน้า ตชด.ภาค 1 เรียกร้องให้ปล่อยตัวทะลุฟ้าและมวลชนที่ถูกจับ</span></p>
<p>ในวันเดียวกันนั้นหลังสมาชิกกลุ่มประชาชนรวม 32 รายถูกเจ้าหน้าที่จับกุมจากการรวมตัวกันทำกิจกรรม ต๋งและเพื่อนๆ รวมทั้งหมด 9 คนได้ไปปราศรัยชุมนุมเรียกร้องให้ปล่อยตัว หนึ่งในนั้นรวมถึง “ปูน” ธนพัฒน์ กาเพ็ง หรือ ปูน ทะลุฟ้าด้วย ขณะนั้นปูนเป็นเยาวชนเรียนอยู่มัธยมปลายเท่านั้นเอง</p>
<p>ในช่วงเวลานั้นนับว่าสถานการณ์ทางการเมืองตึงเครียดมาก ขณะเดียวกันสถาบันตุลาการและเจ้าหน้าที่ตำรวจต่างจับผู้เห็นต่างทางการเมืองเข้าคุกไม่เว้นวันด้วยข้อหาและคดีเกี่ยวเนื่องอย่างที่ต๋งโดน ราวกับว่าฝ่ายรัฐอยากให้พวกเขาหลาบจำ จนต้องสร้างเงื่อนไข เมื่อพวกเขาเหล่านี้ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขก็ใช้เป็นข้ออ้างในการจับเข้าคุก หลังจากวันนั้นมา นักกิจกรรมทั้งหมด 9 คนต่างทยอยถูกศาลจังหวัดธัญบุรีออกหมายจับจากเหตุชุมนุมปราศรัย เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2564 ต๋งและปูนจึงเดินทางไปมอบตัวที่ สภ.คลองห้า โดยมีการตั้งลวดหนามบริเวณหน้าสภ. และมีเจ้าหน้าที่ชุดควบคุมฝูงชนตรึงกำลังอยู่โดยรอบ</p>
<p> “ในสถานการณ์ตอนนั้นอ่ะ พวกเราถูกจับและถูกนำตัวไปที่ใต้ถุนศาล แล้วมันรอนานมากเราถูกขังไว้ในห้อง ถ้าไปศาลเวลาจะมีเหตุการณ์จะต้องคิดคุกเราก็จะต้องนั่งในห้องเวรชี้ ซึ่งปกติเวลาทำการ 4-5 โมงเย็นเราก็จะรู้แล้ว แต่วันนั้นลากยาวมาถึง 6 โมงก็ยังไม่มีวี่แววอะไร เราถามอะไรเขาก็ไม่มีคำตอบให้เรา คือมันนานมากเว้ย มันทำให้เรารู้สึกว่า นี่ไม่ปกติ เพราะเวลาของศาลมันเลยแล้ว ณ ตอนนั้นพวกเราไม่สามารถติดต่ออะไรกับใครได้เลย ทนายก็อยู่ข้างบนห้อง” ต๋งเล่าให้ฟังถึงสถานการณ์ที่เธอกับเพื่อนต้องเผชิญ</p>
<p>ต๋งเล่าต่อว่า “เรามีโทรศัพท์กันอยู่ 1 เครื่อง ตอนแรกเรายังไม่ได้ไลฟ์สดนะ เราแค่คุยกันกับเพื่อนว่าหากมันเกิดอะไรขึ้นเราต้องสื่อสารกับคนข้างนอกว่ายังไง เราก็คุยกันว่าจะต้องสื่อสารให้มันชัดเจน อย่างนี้นะ 1 2 3 4 เพราะเราอาจจะโดนขังคุกในคืนนี้เลยก็ได้ อาจจะไม่ได้ไปเจอคนข้างนอก ซึ่งเราไม่อยากให้เหตุการณ์นี้ถูกเก็บเงียบ อยากให้สังคมภายนอกรับรู้เพราะมันไม่เป็นธรรม มันคือคดีที่ไม่ปกติอ่ะ แล้วบอกเราเป็นหัวหน้าหรือผู้สั่งการ เรารู้สึกว่ามันเป็นคดีทางการเมือง ด้วยบรรยากาศทางการเมืองที่เข้มข้นมากๆด้วย เรารู้สึกว่าสังคมภายนอกต้องรับรู้ อีกอย่างหนึ่ง ช่วงที่เราเลือกที่จะไลฟ์สดมันเป็นช่วงที่ใกล้เหมือนเหตุการณ์เริ่มตึง เขาเอาตำรวจ เอาเจ้าหน้าที่ คฝ. เข้ามาสังเกตดูเราเรื่อยๆด้วย ตอนแรกมีคำสั่งศาลออกมา แล้วได้ข่าวแวบๆ มาว่าเขาจะเอาตัวเราไปทีละคนๆ ซึ่งพวกเราไม่ยอมรับคำสั่งศาลใช่มั้ย เรารู้สึกว่าเราต้องสื่อสารแบบนี้กับคำข้างนอก เลยมีการไลฟ์สดขึ้นมา วันนั้นเราขอแถลงต่อศาลด้วยนะ ศาลไม่ให้แถลง แล้วเขาปิดไมค์ไปเลย ในเมื่อเขาไม่ให้แถลงเลยมีการขีดเขียนผนังห้อง” </p>
<p>ปูน ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์วันนั้นเช่นกัน เขาเล่าถึงเจตจำนงในการตัดสินใจไลฟ์สดในห้องใต้ถุนวันนั้น</p>
<p>“เรารู้สึกว่ามันน่าจะเป็นสิ่งสุดท้ายที่จะสามารถส่งออกไปให้ภายนอกได้รับรู้ว่า โอเค ตอนนี้เรากำลังจะโดนขังกันแล้วนะ และเราก็ไม่ได้ยินยอม เราจะต่อสู้กับมัน ให้ได้มากที่สุด รู้สึกว่าอยากจะส่งภาพบางภาพให้เพื่อนข้างนอกได้เห็นว่าเพื่อนข้างในที่กำลังจะโดนจับไปถึงแม้ว่าจะเป็นนาทีสุดท้ายแล้วก็ยังสู้ จนสุดจริงๆ ยังไงก็เอาเราไปขังอยู่ดี ไม่กลัวอะไรแล้ว จะโดนอะไรก็มาเถอะ” ปูนกล่าวถึงเหตุการณ์วันนั้น</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53204668187_ca6dfa8048_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ธนพัฒน์ กาเพ็ง หรือ ปูน ทะลุฟ้า</span></p>
<p>จนกระทั่งเหตุการณ์ในวันนั้นเวลาล่วงเลยมาถึงเวลา 21.40 น. คำสั่งศาลออกมาชัดเจนแล้วว่าไม่ให้ประกันตัวผู้ต้องหาในคดีนี้ทั้ง 9 ราย โดยพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่า ตามข้อกล่าวหาผู้ต้องหาได้กระทําการโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง </p>
<p>“วันนั้นนาทีสุดท้ายที่จะต้องไปแล้วอ่ะพวกเราก็ยังคล้องแขนกันเป็นวงกลม พี่ต๋งเป็นผู้หญิงคนเดียวด้วยเนอะ การที่เขาจะเอาเราไปขังมันต้องจินตนาการก่อนเลยว่าเราไม่ควรมาอยู่ตรงนี้ตั้งแต่แรกเพราะว่ามันเป็นการแสดงสิทธิเสรีภาพ ในตอนนั้นแต่ละคนก็ยังไม่ค่อยมีประสบการณ์อะไรเลย ถ้าจะไปอยู่ในเรือนจำก็ไปด้วยกันนี่แหละ 9 คนจะเป็นผู้หญิงจะเป็นผู้ชายจะเป็นอะไรก็ช่างมัน เพราะเราเป็นเพื่อนกันเราอยากอยู่ด้วยกัน ก็เลยคล้องแขนกันไว้ สุดท้ายเจ้าหน้าที่ก็เข้ามาในห้องประมาณครึ่งกองร้อย แล้วก็กระชากแขนเราออก เอาไปขังทีละเซท แล้วก็ค่อยแยกพี่ต๋งไปคนเดียว” ปูนเล่าเหตุการณ์ก่อนถูกนำตัวไปเรือนจำให้เราฟัง ช่วงดึกวันนั้นพวกเขาถูกนำตัวไปเรือนจำทันทีเพราะศาลยกคำร้องขอคัดค้านการฝากขัง พวกเขาจึงถูกขังทั้งที่คดียังไม่มีการตัดสิน</p>
<p>ต่อมาวันที่ 22 พ.ย. 2564 หลังกระบวนการพิจารณาแล้วเสร็จ ศาลชั้นต้นจึงมีคำพิพากษาสั่งลงโทษกักขังเป็นระยะเวลา 10 วัน ทนายความจึงได้ยื่นอุทธรณ์ต่อและเวลาผ่านมาปีกว่าจน 21 มิ.ย. 2566 ที่ผ่านมาศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายืน แต่สิ่งที่ทำให้พวกเขาประหลาดใจ คือคำวินิจฉัยของศาลในคำสั่งฉบับนี้</p>
<p>“…ผู้ถูกกล่าวหาฝ่าฝืนข้อกำหนดศาล ทำลายทรัพย์สินราชการ พฤติกรรมส่อเป็นนักเลงอันธพาล ก่อความเสียหายต่อศาลยุติธรรม ผู้ถูกกล่าวหาถูกดำเนินคดีในความผิดดูหมิ่นศาล, ความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตาม ป.อ. มาตรา 112 และความผิดฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จำนวนมากหลายคดี ส่อว่าไม่มีสำนึกรับผิดชอบ ไม่กลับใจ ไม่มีเหตุให้รอลงอาญา โทษกักขัง 10 วันที่สถานกักขังกลางจังหวัดปทุมธานีเหมาะสมแล้ว ไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม อุทธรณ์ของผู้ถูกกล่าวหาฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน” คือคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ตัดสินการทำอารยะขัดขืนของพวกเขาในวันนั้น</p>
<p>“ทำไมเราถึงอารยะขัดขืน มันเป็นการแสดงออกเดียวที่ทำให้เราสามารถสื่อสารกับคนภายนอกได้ในสถานการณ์ที่เราต้องเผชิญในตอนนั้น แต่กลับกลายเป็นว่าเขาไม่ได้มองถึงเจตนารมย์หรือความจำเป็นของพวกเราเลย เขามองแค่การกระทำของพวกเราที่มันไปเข้าข่ายกฎหมาย เขาเลยบอกว่าเรามีลักษณะนิสัยเป็นอันธพาล ไม่กลับใจ เขาใช้คำแบบนี้เลยอ่ะ ซึ่งแบบ เห้ย เรารู้สึกว่ามันไม่ใช่อ่ะ มันเกินไปกับการที่เขาตัดสินเราแค่ตรงนั้น” ต๋งเล่าให้เราฟังด้วยความโกรธกับคำที่ศาลใช้ตัดสินพวกเขา</p>
<p>“เป็นนักเลงอันธพาล ไม่กลับใจ อันนี้จำแม่นเลย” ต๋งพูดด้วยความผิดหวังเพราะยังหวังว่าถ้าเป็นศาลอุทธรณ์น่าจะมีมุมมองหรือเหตุผลอื่นที่มาประกอบ มองในมุมอื่นต่างจากศาลชั้นต้นบ้าง </p>
<p>“มองในเจตนาของเรา หรือมองสถานการณ์ความเป็นจริงในตอนนั้นว่ารัฐบาลจัดการปัญหาอะไรล้มเหลวหมด มันทำให้ประชาชนเดือดร้อนจริงๆ แล้วการที่เราเลือกที่จะออกไปชุมนุม ออกไปใช้สิทธิของเรา เราก็รู้สึกว่าเราทำได้นะ แล้วเราก็ไปสื่อสารปัญหาตรงนั้นจริงๆ เราหวังว่าเขาจะดูไปถึงเจตนาของเรามากกว่านี้ มันก็เลยงงว่าทำไมถึงยังเลือกที่จะตัดสินตามเดิม ตัดสินตามเดิมไม่เท่าไหร่ แต่เหตุผลประกอบที่เขาพูดกับพวกเรามันทำให้เรารู้สึกว่า เรากลายเป็นคนไม่ดีขนาดนั้นของสังคมนี้ไปแล้วหรอ เป็นอันธพาลอ่ะ ซึ่งแบบเราไม่เข้าใจว่าทำไมผู้พิพากษาถึงมีมุมมองต่อพวกเราแบบนั้นได้ ทั้งๆที่เราไม่ใช่แบบนั้น มันสะท้อนถึงเจตนาของศาลมากกว่าว่ามองเรายังไง เรารู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ไอ้เชี่ย กูแค่ออกไปชุมนุมอ่ะ” ต๋งระบาย</p>
<p>ส่วนปูนก็มีความรู้สึกไม่ต่างจากต๋งนัก “สำหรับเรา เรารู้สึกว่าตอนนั้นบรรทัดฐานที่ศาลเอามาใช้ระหว่างคดีเรากับคดีทั่วๆ ไปมันอาจจะเป็นบรรทัดฐานเดียวกันเนาะ แต่ในความเป็นจริงแล้วเนี่ยคนละพฤติกรรม ในแง่การปฎิบัติมันต่างกันกับคดีทั่วๆไปที่ต้องการให้ทรัพย์สินเสียหาย กับคดีที่เขาลิดรอนอิสรภาพเราโดยบอกว่าเราคือผู้กระทำความผิดทั้งๆที่ยังไม่มีการสืบเสาะใดๆทั้งสิ้น เราเลยรู้สึกว่าด้วยความชอบธรรมที่มันไม่มีตั้งแต่แรกที่เอาพวกเราไปขังอ่ะ มันเลยทำให้กระบวนการอะไรหลายๆอย่างที่เขาพิจารณามากลายเป็นเครื่องมือการให้ฝ่ายนักกิจกรรมเป็นฝ่ายผิดอย่างเดียว” </p>
<p>ในมุมมองของคนทั่วไป หากนึกถึง “ผู้พิพากษา” ก็ต้องคิดว่าเป็นคนที่เที่ยงตรง เที่ยงธรรม เป็นผู้ที่มีอำนาจอย่างมากในการตัดสินชี้ชะตาคนคนหนึ่งได้</p>
<p>“คือเราก็ได้แต่หวังอ่ะเอาจริงๆ มันก็ได้แต่หวังว่าสถาบันตุลาการในประเทศนี้มันจะสร้างความหวังให้เราได้มากกว่านี้ หวังว่าเขาจะมองเห็นเจตนาของพวกเราที่แบบคดีนั้นมันเป็นคดีทางการเมือง มองกลับถึงสาเหตุว่าอะไรที่ทำให้พวกเราแสดงพฤติกรรมแบบนั้น เพราะเรารู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรมเลย ถ้ามองกลับย้อนไปในคดีแรกก่อนจะโดนคดีละเมิดอำนาจศาล พวกเราโดนตัดสินจับคุกทันที เรายังไม่ได้พิสูจน์อะไรเลย เราแค่ไปชุมนุม อยากให้เขามองไปถึงตรงนั้นไม่ใช่แค่ว่ามองเราด้านเดียว แต่เอาเข้าจริงๆ เราไม่รู้เลยว่าเราสามารถหวังกับตุลาการประเทศนี้ได้มากน้อยเท่าไหร่ แต่เราก็ยังหวังอยู่ลึกๆ” ต๋งกล่าวทิ้งท้ายกับความหวังที่มีต่อสถาบันตุลาการ</p>
<p>แม้ในตอนนี้สถานการณ์ทางการเมืองจะไม่เข้มข้นเท่ากับช่วงปี 2564 การชุมนุมจะลดน้อยลง และได้รัฐบาลชุดใหม่จากการเลือกตั้งแล้วแต่ในทางกลับกันก็ยังมีประชาชนและนักกิจกรรมจำนวนมากทีเดียวที่ยังอยู่ในเรือนจำ คดีมาตรา 112 และอีกหลายคดีมีการพิพากษาใช่ช่วงที่ผ่านมาศาลล้วนตัดสินจำคุก บ้างได้ประกันในชั้นอุทธรณ์ แต่หลายรายกลับไม่ได้ประกัน สุดท้ายแล้วศาลตัดสินคดีทางการเมืองด้วย “ความยุติธรรม” จริงหรือไม่ หรือเพียงแค่เป็นกลไกหนึ่งในการ “ยุติความเป็นธรรม” </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B5-%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%A8" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ชาลินี ทองยศ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สื่อสร้างสะพาน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ทะลุฟ้า[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">กระบวนการยุติธรรม[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เสรีภาพการชุมนุม[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เสรีภาพการแสดงออก[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">หมิ่นศาล[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/09/106036