[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 02 ตุลาคม 2566 13:42:32



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เปิดชื่อ 99 ‘ป่าชุมชนชายเลน’ จัดสรรให้บริษัทขึ้นทะเบียน ‘ป่าชุมชนคาร์บอน’ กับคำ
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 02 ตุลาคม 2566 13:42:32
เปิดชื่อ 99 ‘ป่าชุมชนชายเลน’ จัดสรรให้บริษัทขึ้นทะเบียน ‘ป่าชุมชนคาร์บอน’ กับคำถามถึงความเป็นธรรม
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2023-10-02 13:18</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ศูนย์สร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา (สจน.) รายงาน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ศูนย์สร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา เผยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ขึ้นทะเบียน ‘ป่าชุมชนคาร์บอน’ กว่า 1.6 แสนไร่ พร้อมจัดสรรให้บริษัท เปิดรายชื่อ ‘ป่าชุมชนชายเลน’ 99 แห่ง ที่จัดสรรให้บริษัท กับคำถามถึงความเป็นธรรม</p>
<p>การจัดการป่าไม้ของรัฐไทยนับตั้งแต่ตั้งกรมป่าไม้ใน พ.ศ. 2439 มีการแปลงป่าไม้ให้เป็นทรัพย์สินของรัฐ และเปิดให้กลุ่มทุนเข้ามาสัมปทานทำไม้ ทำเหมืองแร่ ปลูกพืชเศรษฐกิจ และอื่นๆ ส่งผลให้ ‘ป่าเป็นสินค้าส่งออก’ ในอีกด้านหนึ่งรัฐได้ประกาศเขตป่าทับซ้อนพื้นที่ชุมชน ทำให้ชุมชนที่อยู่มาก่อนกฎหมายกลายเป็นผู้บุกรุกป่านับ 10 ล้านคน และเกิดการไล่รื้อและจับกุมดำเนินคดีประชาชนในชุมชนดั้งเดิมจำนวนมาก</p>
<p>ในยุคปัจจุบันรัฐไทยยังคงมองป่าเป็นสินค้า โดยมีสินค้าใหม่คือ ‘ป่าคาร์บอน’ ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มทุนที่ไม่ลดละเลิกการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเป็นต้นเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยในประเทศไทยกลุ่มทุนฟอสซิลมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนร้อยละ 70 ของทุกภาคส่วน</p>
<p>นักวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศระบุว่าการแก้ปัญหาโลกร้อนต้องลดละเลิกการปล่อยก๊าซคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ การเพิ่มพื้นที่ป่าและพื้นที่สีเขียวเพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอนโดยไม่ลดละเลิกการปล่อยก๊าซไม่เพียงพอสำหรับการต่อสู้ภาวะโลกร้อน</p>
<p>อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเศรษฐาได้สานต่อนโยบายการใช้พลังงานฟอสซิลเป็นพลังงานหลัก และพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ต่อจากรัฐบาลประยุทธ์ มีแผนยุติพลังงานถ่านหินในปี ค.ศ. 2040 (พ.ศ. 2583) หรืออีก 17 ปี ในขณะที่ปัจจุบันประเทศไทยมีกำลังไฟฟ้าสำรองล้นเกินถึงร้อยละ 30-60 การแก้ปัญหาโลกร้อนใช้กลไก ‘เพิ่มพื้นที่ป่าดูดกลับก๊าซคาร์บอน’ และ ‘ชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนด้วยคาร์บอนเครดิต’ แทนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนพลังงานเป็นอย่างมาก</p>
<p>ข้อมูลจากกรอบร่างยุทธศาสตร์พื้นที่สีเขียว ระบุเป้าหมายในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่เป็นป่าธรรมชาติ จากร้อยละ 31.58 เนื้อที่ 102.17 ล้านไร่ เป็นร้อยละ 35 เนื้อที่ 113.23 ล้านไร่ หรือเพิ่มอีกประมาณ 11.06 ล้านไร่ และเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อการใช้ประโยชน์ จากร้อยละ 8.02 เนื้อที่ 25.95 ล้านไร่ เป็นร้อยละ 15 เนื้อที่ 48.53 ล้านไร่ หรือเพิ่มอีกประมาณ 22.58 ล้านไร่ รวมถึงเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ/เพื่อการเรียนรู้ จากร้อยละ 2-3 เนื้อที่ 6.47-9.70 ล้านไร่ เป็นร้อยละ 5 เนื้อที่ 16.18 ล้านไร่ ดังนั้น ต้องการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ประมาณ 49.82 ล้านไร่ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การเพิ่มพื้นที่ดูดซับก๊าซคาร์บอน และชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนด้วยคาร์บอนเครดิต</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ทช. จัดสรรป่าชุมชนชายเลน กว่า 1.6 แสนไร่ เพื่อคาร์บอนเครดิต กับคำถามถึงความเป็นธรรม</span></h2>
<p>กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นกลไกสำคัญในการนำป่าไม้เข้าโครงการคาร์บอนเครดิต ทั้งในพื้นที่ป่าสมบูรณ์ และป่าปลูกใหม่ หน่วยงานในความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรฯ มีการออกระเบียบจำนวนหลายฉบับระบุหลักเกณฑ์รองรับคาร์บอนเครดิต รวมทั้งประกาศเชิญชวนชุมชนและบุคคลภายนอกเข้าร่วมโครงการคาร์บอนเครดิต</p>
<p>กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความคืบหน้าในการดำเนินโครงการคาร์บอนเครดิตอย่างมาก มีการออกประกาศวันที่ 15 ก.พ. 2566 ขอเชิญชวนชุมชนชายฝั่ง/ชุมชนท้องถิ่น เข้าร่วมโครงการป่าชายเลนสำหรับชุมชน และออกประกาศวันที่ 3 มี.ค. 2566 ขอเชิญชวนชุมชนชายฝั่ง/ชุมชนท้องถิ่น ร่วมโครงการปลูกป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิตสำหรับชุมชน ประจำปี พ.ศ. 2566</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53228505740_179f038a9f_o.jpg" /></p>
<p>ในช่วงเดือน มี.ค. – ก.ย. 66 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ออกประกาศแจ้งผลการอนุมัติพื้นที่โครงการป่าชายเลนสำหรับชุมชน จำนวน 6 ฉบับ ดังนี้</p>
<p>1. ครั้งที่ 1/2566 ลงวันที่ 3 มี.ค. 2566 จำนวน 16 ชุมชน เนื้อที่รวม 29,253 ไร่ 2 งาน 12 ตารางวา</p>
<p>2. ครั้งที่ 2/2566 ลงวันที่ 1 มิ.ย. 2566 จำนวน 18 ชุมชน เนื้อที่รวม 27,277 ไร่ 2 งาน 20 ตารางวา</p>
<p>3. ครั้งที่ 2/2566 (เพิ่มเติม) ลงวันที่ 14 มิ.ย. 2566 จำนวน 4 ชุมชน เนื้อที่รวม 6,320 ไร่ 1 งาน 7 ตารางวา</p>
<p>4. ครั้งที่ 3/2566 ลงวันที่ 30 มิ.ย. 2566 จำนวน 20 ชุมชน เนื้อที่รวม 31,179 ไร่ 3 งาน 52 ตารางวา</p>
<p>5. ครั้งที่ 4/2566 ลงวันที่ 5 ก.ย. 2566 จำนวน 24 ชุมชน เนื้อที่รวม 55,380 ไร่ 0 งาน 76 ตารางวา</p>
<p>6. ครั้งที่ 4/2566 (เพิ่มเติม) ลงวันที่ 13 ก.ย. 2566 จำนวน 17 ชุมชน เนื้อที่รวม 13,179 ไร่ 1 งาน 36 ตารางวา</p>
<p>รวมจำนวนป่าชุมชนชายเลนที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการป่าชายเลนสำหรับชุมชน จำนวน 99 แห่ง เนื้อที่ประมาณ 162,590 ไร่ อยู่ในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ 36 แห่ง พังงา 23 แห่ง สตูล 17 แห่ง ตรัง 8 แห่ง ระนอง 6 แห่ง สุราษฎร์ธานี 4 แห่ง ชุมพร 2 แห่ง ภูเก็ต 1 แห่ง นครศรีธรรมราช 1 แห่ง และ ตราด 1 แห่ง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53228505720_e69a164623_o.jpg" /></p>
<p>ในส่วนสัญญาคาร์บอนเครดิตระหว่างชุมชนกับบริษัทแห่งหนึ่ง พบว่ามีการระบุถึงสิทธิและผลประโยชน์ โดยบริษัทเป็นผู้ทรงสิทธิในผลงานหรือทรัพย์สินทางปัญญาหรือสิทธิอื่นใดที่เกิดขึ้น การแบ่งปันคาร์บอนเครดิตที่ได้จากการดำเนินโครงการมีการแบ่งปันในสัดส่วน บริษัท ร้อยละ 70 ชุมชน ร้อยละ 20 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร้อยละ 10 บริษัทมีการสนับสนุนเงินกองทุนสำหรับชุมชนเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ ประชาสัมพันธ์ และอื่นๆ จำนวน 200,000 บาท และสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ ในปีแรก จำนวน 450 บาท ต่อไร่ และในปีที่2 ถึงปีที่ 30 จำนวน 200 บาท ต่อไร่</p>
<p>ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2566 มีบริษัทสนใจเข้าร่วมโครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต สำหรับบุคคลภายนอก กับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จำนวน 35 บริษัท เช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)</p>
<p>ป่าคาร์บอนคือการสัมปทานป่ารูปแบบใหม่ ที่เราต้องตั้งคำถามถึงความเป็นธรรมในการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งภาครัฐ ชุมชน และประชาชนร่วมกันเป็นเจ้าของ แต่ภาครัฐกลับยกทรัพย์สินส่วนรวมให้บริษัทเป็นผู้ทรงสิทธิอย่างชอบธรรม เป็นระยะเวลา 30 ปี และต้องตั้งคำถามในมิติสิทธิชุมชน อาทิ ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากป่าได้ดังเดิมหรือไม่ ทำไมชุมชนได้ส่วนแบ่งผลประโยชน์เพียงร้อยละ 20 ในขณะที่ป่าชุมชนชายเลนดังกล่าวเป็นป่าสมบูรณ์ ได้รับการดูแลรักษาและฟื้นฟูจากชุมชนมาหลายสิบปี สามารถนำเข้าสู่ตลาดคาร์บอน ซึ่งกำลังเติบโตและทำกำไรได้เลย</p>
<p>อีกทั้ง ต้องตั้งคำถามถึงความเป็นธรรมต่อโลก และสิ่งมีชีวิตบนโลก เราต้องสูญเสียพื้นที่ป่าไปกับขบวนการฟอกเขียว หรือการออกใบอนุญาตในการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้กับกลุ่มทุนฟอสซิลอีกสักเท่าไหร่ และหากไม่สามารถลดปัญหาภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ จะมีเกษตรกร คนเล็กคนน้อย รวมถึงผู้บริโภคสินค้าเกษตรได้รับผลกระทบจากปัญหาโลกร้อนอีกสักเท่าไหร่</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เปิดรายชื่อ ‘ป่าชายเลนคาร์บอน’ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน</span></h2>
<p><strong>จังหวัดกระบี่</strong></p>
<p>1. ชุมชนบ้านคลองยาง ม.2 ต.คลองยาง อ.เกาะลันตา เนื้อที่ 2,229-3-74 ไร่</p>
<p>2. ชุมชนบ้านโคกยูง ม.3 ต.คลองยาง อ.เกาะลันตา เนื้อที่ 3,110-2-07 ไร่</p>
<p>3. ชุมชนบ้านไหนหนัง ม.3 ต.เขาคราม อ.เมืองกระบี่ เนื้อที่ 771-0-87 ไร่</p>
<p>4. ชุมชนบ้านท่าทองหลาง ม.6 ต.เขาทอง อ.เมืองกระบี่ เนื้อที่ 1,141-3-94 ไร่</p>
<p>5. ชุมชนบ้านเขาล่อม ม.1 ต.เขาใหญ่ อ.อ่าวลึก เนื้อที่ 568-3-90 ไร่</p>
<p>6. ชุมชนบ้านน้ำร้อน ม.3,8,9 ต.ห้วยน้ำขาว อ.คลองท่อม เนื้อที่ 894-0-15 ไร่</p>
<p>7. ชุมชนบ้านท่าประดู่ ม.4 ต.ห้วยน้ำขาว อ.คลองท่อม เนื้อที่ 912-1-48 ไร่</p>
<p>8. บ้านคลองยี่เร่ ม.13 ต.คลองพน อ.คลองท่อม เนื้อที่ 660-0-00 ไร่</p>
<p>9. บ้านมู่สา ม.5 ต.คลองพน อ.คลองท่อม เนื้อที่ 600-0-00 ไร่</p>
<p>10. บ้านถ้ำเสือ ม.5 ต.อ่าวลึกใต้ อ.อ่าวลึก เนื้อที่ 2,001-0-75 ไร่</p>
<p>11. บ้านคลองสุข ม.6 ต.อ่าวลึกใต้ อ.อ่าวลึก เนื้อที่ 2,103-1-54 ไร่</p>
<p>12. บ้านเขาฝาก ม.1 ต.คลองยาง อ.เกาะลันตา เนื้อที่ 1,000-0-00 ไร่</p>
<p>13. บ้านทุ่งครก ม.11 ต.คลองพน อ.คลองท่อม เนื้อที่ 2,400-0-00 ไร่</p>
<p>14. บ้านไท ม.4 ต.คลองยาง อ.เกาะลันตา เนื้อที่ 1,300-0-00 ไร่</p>
<p>15. บ้านท่าควน ม.6 ต.คลองยาง อ.เกาะลันตา เนื้อที่ 1,100-0-00 ไร่</p>
<p>16. ตำบลตลิ่งชัน ม.1,2,3,5 ต.ตลิ่งชัน อ.เหนือคลอง เนื้อที่ 1,000-0-00 ไร่</p>
<p>17. บ้านทุ่งประสาน ม.2 ต.ปกาสัย อ.เหนือคลอง เนื้อที่ 770-0-00 ไร่</p>
<p>18. บ้านแหลมกรวด ม.8 ต.คลองขนาน อ.เหนือคลอง เนื้อที่ 1,000-0-00 ไร่</p>
<p>19. บ้านทุ่งยอ ม.12 ต.คลองพน อ.คลองท่อม เนื้อที่ 1,060-0-00 ไร่</p>
<p>20. บ้านคลองไคร ม.10 ต.คลองพน อ.คลองท่อม เนื้อที่ 1,680-0-00 ไร่</p>
<p>21. บ้านควนโอ ม.5 ต.อ่าวลึกน้อย อ.อ่าวลึก เนื้อที่ 1,010-0-00 ไร่</p>
<p>22. บ้านบากัน ม.2 ต.อ่าวลึกน้อย อ.อ่าวลึก เนื้อที่ 1,118-0-00 ไร่</p>
<p>23. เขาทอง ม.1,4,5 ต.เขาทอง อ.เมืองกระบี่ เนื้อที่ 1,013-0-00 ไร่</p>
<p>24. คลองประสงค์ ม.1,2,3 ต.คลองประสงค์ อ.เมืองกระบี่ เนื้อที่ 2,761-0-00 ไร่</p>
<p>25. บ้านวังหิน ม.6 ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม เนื้อที่ 3,069-0-00 ไร่</p>
<p>26. บ้านใต้ ม.7 ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม เนื้อที่ 1,024-0-00 ไร่</p>
<p>27. บ้านท่าเรือ ม.7 ต.เพหลา อ.คลองท่อม เนื้อที่ 1,073-0-00 ไร่</p>
<p>28. บ้านทุ่งเสม็ด ม.2 ต.ห้วยน้ำขาว อ.คลองท่อม เนื้อที่ 3,054-0-00 ไร่</p>
<p>29. บ้านควนใต้ ม.6 ต.ห้วยน้ำขาว อ.คลองท่อม เนื้อที่ 1,445-0-00 ไร่</p>
<p>30. บ้านหลังโสด ม.5 ต.คลองยาง อ.เกาะลันตา เนื้อที่ 1,023-0-00 ไร่</p>
<p>31. บ้านต้นทัง ม.7 ต.คลองยาง อ.เกาะลันตา เนื้อที่ 807-0-00 ไร่</p>
<p>32. บ้านคลองปิ้ง ม.4 ต.คลองพน อ.คลองท่อม เนื้อที่ 1,050-0-00 ไร่</p>
<p>33. บ้านคลองไครใต้ ม.14 ต.คลองพน อ.คลองท่อม เนื้อที่ 1,997-0-00 ไร่</p>
<p>34. บ้านห้วยพลูหนัง ม.3 ต.ทรายขาว อ.คลองท่อม เนื้อที่ 2,930-0-00 ไร่</p>
<p>35. บ้านทุ่งคา ม.5 ต.ทรายขาว อ.คลองท่อม เนื้อที่ 5,040-0-00 ไร่</p>
<p>36. บ้านพรุพี่ ม.7 ต.ทรายขาว อ.คลองท่อม เนื้อที่ 1,197-0-00 ไร่</p>
<p><strong>จังหวัดพังงา</strong></p>
<p>1. ชุมชนบ้านท่าสนุก ม.3 ต.มะรุ่ย อ.ทับปุด เนื้อที่ 1,191-3-60 ไร่</p>
<p>2. ชุมชนบ้านเกาะเคี่ยม ม.5 ต.บางเตย อ.เมืองพังงา เนื้อที่ 1,056-1-79 ไร่</p>
<p>3. ชุมชนบ้านกลาง ม.6 ต.บางเตย อ.เมืองพังงา เนื้อที่ 3,436-4-87 ไร่</p>
<p>4. ชุมชนบ้านบางพัฒน์ ม.8 ต.บางเตย อ.เมืองพังงา เนื้อที่ 2,782-3-64 ไร่</p>
<p>5. ชุมชนบ้านใต้ ม.9 ต.บางเตย อ.เมืองพังงา เนื้อที่ 2,106-0-80 ไร่</p>
<p>6. ชุมชนบ้านเกาะไม้ไผ่ ม.3 ต.เกาะปันหยี อ.เมืองพังงา เนื้อที่ 1,690-2-07 ไร่</p>
<p>7. ชุมชนบ้านทุ่งรัก ม.6 ต.แม่นางขาว อ.คุระบุรี เนื้อที่ 4,614-1-30 ไร่</p>
<p>8. บ้านบางหว้า ม.9 ต.ตุระ อ.คุระบุรี เนื้อที่ 2,494-2-66 ไร่</p>
<p>9. ตำบลเกาะยาวน้อย ม.1,2,3,4,5,6,7 ต.เกาะยาวน้อย อ.เกาะยาว เนื้อที่ 1,339-0-41 ไร่</p>
<p>10. บ้านท่าดินแดง ม.4 ต.ลำแก่น อ.ท้ายเหมือง เนื้อที่ 2,540-2-73 ไร่</p>
<p>11. บ้านท่าจูด ม.3 ต.บางนายสี อ.ตะกั่วป่า เนื้อที่ 3,360-1-00 ไร่</p>
<p>12. บ้านปากเกาะและบ้านทุ่งตึก ม.3,4 ต.เกาะคอเขา อ.ตะกั่วป่า เนื้อที่ 2,817-0-15 ไร่</p>
<p>13. บ้านบางใหญ่ ม.4 ต.บางนายสี อ.ตะกั่วป่า เนื้อที่ 3,482-3-25 ไร่</p>
<p>14. บ้านบางเนียง ม.5 ต.เกาะคอเขา อ.ตะกั่วป่า เนื้อที่ 2,734-1-52 ไร่</p>
<p>15. บ้านเมืองใหม่ ม.1 ต.เกาะคอเขา อ.ตะกั่วป่า เนื้อที่ 3,426-1-88 ไร่</p>
<p>16. บ้านบางนายสังข์ ม.5 ต.บางนายสี อ.ตะกั่วป่า เนื้อที่ 4,762-0-84 ไร่</p>
<p>17. บ้านบางนายสี ม.6 ต.บางนายสี อ.ตะกั่วป่า เนื้อที่ 5,498-0-25 ไร่</p>
<p>18. บ้านทุ่งน้อย ม.1 ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า เนื้อที่ 1,556-0-41 ไร่</p>
<p>19. บ้านนอกนา ม.2 ต.เกาะคอเขา อ.ตะกั่วป่า เนื้อที่ 1,564-3-36 ไร่</p>
<p>20. บ้านหินลาด ม.3 ต.คุระ อ.คุระบุรี เนื้อที่ 2,863-3-36 ไร่</p>
<p>21. บ้านบางแดด ม.7 ต.แม่นางขาว อ.คุระบุรี เนื้อที่ 3,121-2-21 ไร่</p>
<p>22. บ้านย่าหมี ม.3 ต.เกาะยาวใหญ่ อ.เกาะยาว เนื้อที่ 1,551-2-79 ไร่</p>
<p>23. บ้านโค้งศรราม ม.7 ต.บางวัน อ.คุระบุรี เนื้อที่ 1,432-0-12 ไร่</p>
<p><strong>จังหวัดสตูล</strong></p>
<p>1. บ้านปานชูรำลึก ต.พิมาน อ.เมืองสตูล เนื้อที่ 480-0-00 ไร่</p>
<p>2. บ้านโคกพยอม ม.4 ต.คลองขุด อ.เมืองสตูล เนื้อที่ 1,000-0-00 ไร่</p>
<p>3. บ้านหัวทาง ม.3 ต.คลองขุด อ.เมืองสตูล เนื้อที่ 1,000-0-00 ไร่</p>
<p>4. บ้านท่าหิน ม.6 ต.ควนขัน อ.เมืองสตูล เนื้อที่ 700-0-00 ไร่</p>
<p>5. บ้านวังตง ม.4 ต.นาทอน อ.ทุ่งหว้า เนื้อที่ 1,658-0-00 ไร่</p>
<p>6. บ้านท่าพยอม ม.7 ต.ปากน้ำ อ.ละงู เนื้อที่ 1,030-1-36 ไร่</p>
<p>7. บ้านเกาะนกฝั่งตะวันตก ม.3 ต.คลองขุด อ.เมืองสตูล เนื้อที่ 893-0-00 ไร่</p>
<p>8. บ้านเกาะนกอนุรักษ์พันธุ์หอยขาว ม.3 ต.คลองขุด อ.เมืองสตูล เนื้อที่ 615-0-00 ไร่</p>
<p>9. บ้านคลองน้ำเวียน ม.3 ต.คลองขุด อ.เมืองสตูล เนื้อที่ 515-0-00 ไร่</p>
<p>10. บ้านตันหยงกาโบย ม.2 ต.ปูยู อ.เมืองสตูล เนื้อที่ 819-0-00 ไร่</p>
<p>11. บ้านปูยู ม.3 ต.ปูยู อ.เมืองสตูล เนื้อที่ 623-0-00 ไร่</p>
<p>12. เทศบาล 4 ต.พิมาน อ.เมืองสตูล เนื้อที่ 500-3-92 ไร่</p>
<p>13. บ้านเขาจีน ม.1 ต.คลองขุด อ.เมืองสตูล เนื้อที่ 565-0-00 ไร่</p>
<p>14. ท่านายเนาว์ ต.พิมาน อ.เมืองสตูล เนื้อที่ 733-0-00 ไร่</p>
<p>15. บ้านกาลันบาตู ม.3 ต.ตำมะลัง อ.เมืองสตูล เนื้อที่ 656-0-00 ไร่</p>
<p>16. บ้านตำมะลังเหนือ ม.2 ต.ตำมะลัง อ.เมืองสตูล เนื้อที่ 625-0-00 ไร่</p>
<p>17. บ้านไร่ทอน ม.3 ต.ท่าเรือ อ.ท่าแพ เนื้อที่ 900-0-00 ไร่</p>
<p><strong>จังหวัดตรัง</strong></p>
<p>1. บ้านพรูจูด ม.2 ต.บ่อหิน อ.สิเกา เนื้อที่ 1,508-3-26 ไร่</p>
<p>2. บ้านตะเสะ ม.4 ต.ตะเสะ อ.หาดสำราญ เนื้อที่ 662-0-00 ไร่</p>
<p>3. ตำบลสุโสะ ม.1,4 ต.สุโสะ อ.ปะเหลียน เนื้อที่ 465-0-00 ไร่</p>
<p>4. บ้านหนองเสม็ด ม.2,3 ต.คลองชีล้อม อ.กันตัง เนื้อที่ 1,630-0-00 ไร่</p>
<p>5. บ้านหัวหิน ม.6 ต.บ่อหิน อ.สิเกา เนื้อที่ 501-1-86 ไร่</p>
<p>6. บ้านปากคลอง ม.9 ต.บ่อหิน อ.สิเกา เนื้อที่ 1,004-2-44 ไร่</p>
<p>7. บ้านนาหละ ม.7 ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา เนื้อที่ 702-3-42 ไร่</p>
<p>8. บ้านควนตุ้งกู ม.3 ต.บางสัก อ.สิเกา เนื้อที่ 865-0-00 ไร่</p>
<p><strong>จังหวัดระนอง</strong></p>
<p>1. ชุมชนบ้านบางริ้น ม.1,2,6 ต.บางริ้น อ.เมืองระนอง เนื้อที่ 1,881-0-24 ไร่</p>
<p>2. ชุมชนบ้านท่าฉาง-บ้านล่าง ม.3,4 ต.หงาว อ.เมืองระนอง เนื้อที่ 863-3-52 ไร่</p>
<p>3. บ้านเกาะเหลา ม.6 ต.ปากน้ำ อ.เมืองระนอง เนื้อที่ 4,035-2-94 ไร่</p>
<p>4. บ้านทรายแดง ม.1,4 ต.ทรายแดง อ.เมืองระนอง เนื้อที่ 2,230-3-04 ไร่</p>
<p>5. บ้านบางมัน ม.1 ต.นาคา อ.สุขสำราญ เนื้อที่ 2,377-3-96 ไร่</p>
<p>6. บ้านด่าน ม.1,3,8 ต.กะเปอร์ อ.กะเปอร์ เนื้อที่ 1,520-1-07 ไร่</p>
<p><strong>จังหวัดสุราษฎร์ธานี</strong></p>
<p>1. บ้านคลองราง ม.2 ต.ลีเล็ด อ.พุนพิน เนื้อที่ 1,500-0-00 ไร่</p>
<p>2. บ้านไทรงาม ม.7 ต.เสม็ด อ.ไชยา เนื้อที่ 1,500-0-00 ไร่</p>
<p>3. บ้านธารน้ำร้อน ม.1 ต.เขาถ่าน อ.เมืองสุราษฎร์ เนื้อที่ 1,500-0-00 ไร่</p>
<p>4. บ้านท่าพิกุล ม.4 ต.ท่าฉาง อ.ท่าฉาง เนื้อที่ 1,000-0-00 ไร่</p>
<p><strong>จังหวัดชุมพร</strong></p>
<p>1. บ้านน้ำลอด ม.12 ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน เนื้อที่ 500-0-00 ไร่</p>
<p>2. บ้านควนดิน ม.6 ต.ตะโก อ.ทุ่งตะโก เนื้อที่ 500-0-00 ไร่</p>
<p><strong>จังหวัดภูเก็ต</strong></p>
<p>1. บ้านบางโรง ม.3 ต.ป่าคลอก อ.ถลาง เนื้อที่ 728-0-00 ไร่</p>
<p><strong>จังหวัดนครศรีธรรมราช</strong></p>
<p>1. บ้านอ่าวทองคำท่าศาลา ม.5,6,7,14 ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา เนื้อที่ 2,300-0-00 ไร่</p>
<p><strong>จังหวัดตราด</strong></p>
<p>1. บ้านท่าหาดบ้านท่าเสา ม.2,10 ต.แสนตุ้ง อ.เขาสมิง เนื้อที่ 2,160-0-00 ไร่</p>
<p> </p>
<p> </p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รายงานพิเศษ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เศรษฐกิจ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิ่งแวดล้อม[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ป่าชุมชน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ป่าชายเลน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ป่าคาร์บอน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คาร์บอนเครดิต[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ศูนย์สร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/10/106166