[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 06 ตุลาคม 2566 22:00:42



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 7 สะพานในนามของคณะราษฎร
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 06 ตุลาคม 2566 22:00:42
7 สะพานในนามของคณะราษฎร
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2023-10-06 21:21</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ประชาไทชวนย้อนรำลึกเหตุการณ์สงครามทุ่งบางเขน และอนุสรณ์สถานรำลึก 17 ทหารตำรวจผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าวที่ไม่ได้มีแค่อนุสาวรีย์ปราบกบฏ หลักสี่ แต่ยังมีสะพานคอนกรีตอีก 7 แห่ง นี่นำเอาชื่อทหาร-ตำรวจผู้เสียชีวิต มาตั้งเป็นชื่ออีกด้วย </p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/P0Q7wPezqxM?si=mQvF1IdCT4zSCY-V" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p>
<p>สำหรับเหตุการณ์กบฏบวรเดช เป็นการลุกฮือขึ้นมาของทหารหัวเมืองต่างๆ เพื่อต่อต้านระบอบรัฐธรรมนูญของคณะราษฎร และไม่พอใจต่อการกลับมาจากการลี้ภัยของปรีดี พนมยงค์ แกนนำคณะราษฎร สายพลเรือน ซึ่งถูกกล่าวหาว่าฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต์ จากกรณี "สมุดปกเหลือง" </p>
<p>เหตุการณ์ดังกล่าวเริ่มขึ้นเมื่อประมาณวันที่ 11 ต.ค. 2476 จนถึง 24 ต.ค. 2476 หรือ 1 ปี หลังคณะราษฎรก่อการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยทหารหัวเมืองมาจากหลายที่ แต่ส่วนใหญ่มาจากจังหวัดนครราชสีมา นครสวรรค์ และพิษณุโลก และบางส่วนจากเพชรบุรี พยายามเข้ามายึดกรุงเทพฯ เพื่อพยายามยื่นคำขาดให้รัฐบาลนำโดยพระยาพหลฯ ปีกทหารคณะราษฎร ลาออก และทำตามเงื่อนไขของคณะกู้บ้านกู้เมือง จำนวน 6 ข้อ โดยคณะกู้บ้านกู้เมือง เป็นชื่อเรียกของทหารหัวเมืองกลุ่มนี้ นำโดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช </p>
<p>สุดท้ายแล้ว รัฐบาลไม่ยอม และนำไปสู่สงครามกลางเมืองบริเวณหลักสี่ บางเขน ตั้งแต่วันที่ 13 ต.ค.เป็นต้นมา สุดท้าย ฝ่ายรัฐบาลคณะราษฎร สามารถเอาชนะ และพระองค์เจ้าบวรเดช ต้องลี้ภัยออกนอกประเทศไปทางอินโดจีน เมื่อ 25 ต.ค. 2476 เป็นอันปิดฉากสงคราม </p>
<p>หลังเหตุการณ์ดังกล่าวมีผู้เสียชีวิต 25 ราย โดยเป็นฝ่ายกบฏบวรเดช จำนวน 8 ราย และฝ่ายรัฐบาล จำนวน 17 ราย ซึ่งภายหลังคณะราษฎร ได้ยกสถานะของ 17 ทหาร และตำรวจ ในฐานะวีรชนผู้ปกป้องรัฐธรรมนูญของชาติ มีการจัดพิธีสวดศพที่ วัดราชาธิวาสวิหาร โดยมีรัฐบาลเป็นเจ้าภาพ มีการจัดพิธีมิสซามีการจัดงานเผาศพที่สนามหลวง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการจัดงานเผาศพสามัญชนที่สนามหลวงอีกด้วย </p>
<p>นอกจากนี้ มีการเก็บอัฐิบรรจุ 17 คน ทำเป็นลูกกระสุนปืนใหญ่ และเก็บรักษาไว้ในกระทรวงกลาโหม ขณะเดียวกัน ผู้มีส่วนร่วมกับการปราบกบฏ รัฐบาลยังมีการสร้างเหรียญที่ระลึกพิทักษ์รัฐธรรมนูญ แจกให้ประชาชนที่เข้าร่วมเหตุการณ์ดังกล่าว </p>
<p>กระทั่งปี 2477 หลังรัฐบาลมีการตัดถนนจากสนามเป้าไปที่ดอนเมือง คณะราษฎรได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ปราบกบฏ บริเวณหลักสี่ โดยความสำคัญของอนุสาวรีย์แห่งนี้ นอกจากรำลึกเหตุการณ์ดังกล่าวแล้ว ยังเป็นที่เก็บอัฐิของวีรชนผู้เสียชีวิตทั้ง 17 คน และทำพิธีเปิด 15 ต.ค. 2479 โดยคนที่บทบาทสำคัญในงานนี้ คือ หลวงพิบูลสงคราม ผู้บัญชาการในการปราบกบฏบวรเดช </p>
<p>ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา คณะราษฎรได้ถือเอาวันที่ 14 ต.ค. เป็นวันจัดงานรำลึกการปราบกบฏบวรเดช เป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี 2479 จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยในงานจะมีพิธีวางพวงมาลา เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์การรบครั้งนั้น</p>
<p>แต่อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า อนุสรณ์ทหารตำรวจที่เสียชีวิตในคราวปราบกบฏบวรเดชไม่ได้มีแค่อนุสาวรีย์ปราบกบฏที่หลักสี่เท่านั้น แต่ชื่อผู้เสียชีวิตได้ถูกตั้งเป็นชื่อสะพานคอนกรีตสำคัญ 7 แห่งบนถนนพหลโยธิน (ชื่อเดิมถนนประชาธิปัตย์) และถนนแจ้งวัฒนะ ได้แก่</p>
<p>1. สะพานประดิษฐสกลการ (รำลึกนายร้อยตำรวจเอกขุนประดิษฐ์สกลการ) ข้ามคลองถนน บริเวณถนนแจ้งวัฒนะใกล้กับ มรภ.พระนคร</p>
<p>https://goo.gl/maps/Fp292T23Bah7Bg6A7 (https://goo.gl/maps/Fp292T23Bah7Bg6A7)</p>
<p>2. สะพานทองจรรยา (รำลึกนายร้อยโท น่วม ทองจรรยา) ข้ามคลองบางบัว ที่กม.16 ถนนพหลโยธิน ใกล้กับกรมทหารราบ11</p>
<p>https://goo.gl/maps/VCUzqhGTPwRzGsX1A (https://goo.gl/maps/VCUzqhGTPwRzGsX1A)</p>
<p>3. สะพานศุกรนาคเสนี (รำลึกนายร้อยเอก ขุนศุกรนาคเสนีย์) หรือ "สะพานใหม่" ข้ามคลองสอง  ที่กม.21 ถนนพหลโยธิน ใกล้ตลาดยิ่งเจริญ</p>
<p>https://maps.app.goo.gl/F8tTNW9bXiWNjPmz8 (https://maps.app.goo.gl/F8tTNW9bXiWNjPmz8)</p>
<p>4. สะพานแก้วนิมิตต์ (รำลึกนายดาบ ละมัย แก้วนิมิต) ข้ามคลองรังสิต ที่กม.31 ถนนพหลโยธิน ใกล้กับตลาดรังสิต</p>
<p>https://goo.gl/maps/EpiTetFADywAzPLN8 (https://goo.gl/maps/EpiTetFADywAzPLN8)</p>
<p>5. สะพานบัวชม (รำลึกนายดาบ สมบุญ บัวชม) ข้ามคลองหนองน้ำสม (คลองหก) ที่กม.67ถนนพหลโยธิน ใกล้กับทางต่างระดับวังน้อย</p>
<p>https://maps.app.goo.gl/X5qCdnDd568G63jJ9 (https://maps.app.goo.gl/X5qCdnDd568G63jJ9)</p>
<p>6. สะพานแก่นอบเชย (รำลึกนายร้อยตำรวจตรี ทอง แก่นอบเชย) ข้ามคลองรพีพัฒน์ ที่กม.85ถนนพหลโยธินสายเก่า ใกล้วัดสหมิตรมงคล อำเภอหนองแค สระบุรี</p>
<p>https://maps.app.goo.gl/4Y697PTGnmVHYx7A9 (https://maps.app.goo.gl/4Y697PTGnmVHYx7A9)</p>
<p>7. สะพานอำนวยสงคราม รำลึกนายพันโทหลวงอำนวยสงคราม ผู้เสียชีวิตในสมรภูมิบางเขน และเป็นเพื่อนคนสำคัญของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ตั้งอยู่ตรงข้ามแม่น้ำป่าสัก ที่ กม.108 ถนนพหลโยธิน บริเวณเทศบาลเมืองสระบุรี</p>
<p>https://goo.gl/maps/vwkq34sShyn6dw5w5 (https://goo.gl/maps/vwkq34sShyn6dw5w5)
 </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%A3" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คณะราษฎร[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A5-%E0%B8%9B%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">จอมพล ป.พิบูลสงคราม[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%8F%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%8A" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">กบฏบวรเดช[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">หลักสี่[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ประวัติศาสตร์[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">มัลติมีเดีย[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/10/106249