หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - สุรพศ ทวีศักดิ์: ยุคมืดภายใต้ 112 เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 13 ตุลาคม 2566 03:14:39 สุรพศ ทวีศักดิ์: ยุคมืดภายใต้ 112
<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-10-12 22:43</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>สุรพศ ทวีศักดิ์</p> <p> </p> </div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>หากมองในมุมประวัติศาสตร์ทางความคิด เราจะพบว่ามีปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “ยุคแสงสว่างทางปัญญา” (the Enlightenment) หรือยุคสมัยแห่งการใช้เหตุผลควบคู่กับการยืนยัน “เสรีภาพ” ในการใช้เหตุผลวิพากณ์วิจารณ์เรื่องสาธารณะได้ทุกเรื่อง เพื่อปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตปัจเจกบุคคล โครงสร้างสังคม การเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา และอื่นๆ ให้มีความเป็นธรรมและก้าวหน้ามากขึ้น </p> <p><strong>การใช้เหตุผลและเสรีภาพเพื่อการมีชีวิตที่ดีขึ้นของปัจเจกบุคคล และความเป็นธรรมทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจและอื่นๆ จึงเป็นรากฐานของวิถีชีวิต สังคม เศรษฐกิจ การเมืองแบบสมัยใหม่ </strong></p> <p>พูดอีกอย่างคือ การใช้เหตุผลและเสรีภาพคือสิ่งที่แสดงถึง “ความเป็นสมัยใหม่” (modernity) หรือความเป็นวิถีของยุคสมัยใหม่ที่ตรงข้าม และขัดแย้งกับวิถีแบบ “ยุคก่อนสมัยใหม่” (premodern) อันเป็นวิถีที่ใช้พลังอำนาจของ “ศรัทธา” (faith) ทำทางชีวิตส่วนบุคคล สังคม การเมือง เศรษฐกิจ และอื่นๆ </p> <p>ศรัทธาในพระเจ้า ศาสนาต่างๆ กระทั่งความเชื่อทางไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ เป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ในหลายๆ ด้าน แต่ประวัติศาสตร์สอนเราซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า เมื่อมนุษย์ยอมให้ศรัทธาเช่นนั้นมีพลังอำนาจครอบงำทางการเมือง มักจะนำไปสู่ “ยุคมืด” ทางความคิดและสติปัญญา เห็นได้จากประวัติศาสตร์ที่มนุษย์แบ่งแยกชนชั้น กดขี่ข่มเหง ทำสงครามเข่นฆ่ากันในนามศรัทธาในความดีสูงสุดของศาสนาต่างๆ (หรืออุดมการณ์ทางการเมืองต่างๆ) มาตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนาน</p> <p><strong>สภาวะของพลังอำนาจศรัทธาแบบยุคก่อนสมัยใหม่ที่ทรงอิทธิพลมากอย่างหนึ่งคือ พลังอำนาจทางการเมืองในนามของศาสนา พระเจ้า หรือธรรมะที่ครอบงำเหนือ “เสรีภาพแห่งมโนธรรม” (freedom of conscience) หรือเสรีภาพทางความคิดเห็นของปัจเจกบุคคล </strong></p> <p>พูดอย่างครอบคลุมคือ อำนาจที่กดทับมนุษย์ไม่ให้มีอิสระที่จะใช้มโนธรรมของตนเองตัดสินว่าอะไรผิด อะไรถูก ควรทำ ไม่ควรทำ อะไรคือคุณค่าความหมายของชีวิต หรือเป้าหมายของชีวิตที่ดี อะไรคือความยุติธรรมทางสังคม การเมือง และอื่นๆ มันคืออำนาจที่ครอบงำกดทับ “ความเป็นมนุษย์” ของเราไม่ให้ปรากฏหรือแสดงออกมาได้อย่างเสรี </p> <p>ไม่ใช่ว่ามนุษย์ไร้ความสามารถที่จะใช้มโนธรรม ความคิดเห็น และเหตุผลของตนเอง แต่เป็นเพราะอำนาจแห่งศรัทธาที่มีศาลศาสนาหรือ “ศาลไต่สวนศรัทธา” (Inquisition) และอำนาจเทวสิทธิ์ (divine rights) ของระบบกษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ครอบงำและกดปราบบรรดาผู้ใต้ปกครองไม่ให้สามารถใช้เสรีภาพแห่งมโนธรรม หรือความคิดเห็นไปในทางที่ตั้งคำถาม วิจารณ์ โต้แย้งศรัทธา หรือคุณค่าความดีงามที่กำหนดไว้แล้วโดยศาสนจักรและชนชั้นปกครอง</p> <p>อิมมานูเอล คานท์ (Immanuel Kant) นักปรัชญาคนสำคัญในยุคแสงสว่างทางปัญญาจึงเสนอว่า “จงกล้าคิด! (Sapere aude!) จงกล้าที่จะใช้ความเข้าใจของตนเอง” เพราะที่จริงแล้วเราทุกคนต่างมีความคิดและความเข้าใจของตนเองอยู่แล้ว แต่เราถูกครอบงำจากอำนาจศรัทธาแบบศาสนา และอำนาจของชนชั้นปกครองให้สักแต่เชื่อตามและทำตามสิ่งที่พวกเขาต้องการ ยิ่งกว่านั้นตัวเราเองก็สร้างพันธนาการขึ้นมาผูกมัดตัวเองให้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของศาสนา ประเพณี ค่านิยมทางสังคม อำนาจศาสนจักร อำนาจรัฐเผด็จการ และอื่นๆ ด้วยการทำตัวให้เชื่อง เชื่อฟัง สยบยอมหรือศรัทธาคลั่งไคล้ กระทั่งอวยความเชื่อต่างๆ ที่ถูกปลูกฝังครอบงำต่อๆ กันมา จนมองไม่เห็น หรือลืมมองหาความสามารถในการคิด การใช้ความเข้าใจของตนเองในฐานะของ “ปัจเจกบุคคลผู้มีอิสรภาพเป็นของตนเอง” (autonomy) ในการใช้เหตุผลและเสรีภาพกำหนดคุณค่า ความหมาย เป้าหมายชีวิตของตนเอง และมีสิทธิ์เท่าเทียมในการบัญญัติกฎศีลธรรมและกฎทางสังคมการเมืองขึ้นมาใช้ร่วมกันบนพื้นฐานของการเคารพความเป็นมนุษย์ผู้มีเหตุผล เสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีในตัวเองของเราทุกคน</p> <p><strong>การเกิดแสงสว่างทางปัญญาที่ทำให้เราเป็นอิสระจากอำนาจครอบงำแบบยุคก่อนสมัยใหม่ และจากการพันธนาการตัวเองเข้ากับอำนาจครอบงำเหล่านั้น ด้วยการทำตัวให้เห็น “เด็กดี” ที่เชื่อง เชื่อฟัง สยบยอม อวย หรือกระทั่งทำตัวเป็น “ข้ารับใช้” ของอำนาจครอบงำเหล่านั้นด้วยการ “ล่าแม่มด” คนคิดต่างหรือคนที่ไม่ศรัทธาเชื่อฟังแบบตน คือการเกิดกระแสความคิดแบบคานท์ที่เสนอว่าการมองเห็นคุณค่าพื้นฐานของความเป็นนุษย์ของตนเองว่าเราคือ “ตัวตนอิสระ” (independent self) จากอิทธิพลครอบงำทุกอย่าง </strong></p> <p>แต่ไม่ใช่ตัวตนอิสระที่ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ หรือระบบโครงสร้างทางสร้างทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา วัฒนธรรมและอื่นๆ เป็นตัวตนอิสระในความหมายว่า เราสามารถมีเสรีภาพจากการครอบงำของอิทธิพลความเชื่อหรืออำนาจใดๆ และไม่ทำตัวเป็นผู้ครอบงำคนอื่นๆ ความเป็นอิสระดังกล่าวจึง “เปิดกว้าง” ให้กับความเป็นไปได้ที่เราทุกคนจะสามารถใช้เหตุผลและเสรีภาพบัญญัติกฎศีลธรรม กฎทางสังคมการเมือง และอื่นๆ ขึ้นมาใช้ร่วมกันบนพื้นฐานของการเคารพความเป็นคนเท่ากันของเราทุกคน</p> <p><strong>พูดอีกอย่างคือ การมองว่า “ตัวตนที่แท้จริง” (real self) ของเราคือ “ตัวตนอิสระ” ไม่ใช่มุมมองที่นำไปสู่การแยกตัวเองจากคนอื่นๆ หรือสังคม แต่เป็นความคิดพื้นฐานที่เปิดกว้างให้กับ “ความเป็นไปได้” ที่เราทุกคนจะสามารถใช้ความคิด ความเข้าใจ และเหตุผลของตนเองอย่างเป็นอิสระจากอำนาจครอบงำใดๆ เพื่อใช้เสรีภาพในการบัญญัติกฎศีลธรรมและกติกาทางสังคมและการเมืองขึ้นมาใช้ร่วมกันบนพื้นฐานของการเคารพ “ความเป็นคนเท่ากัน” ได้จริง ไม่ใช่สักแต่ว่าต้องเชื่อฟัง และทำตามการชี้นำ ครอบงำ และบงการจากอำนาจศาสนจักร อำนาจรัฐเผด็จการรูปแบบใดๆ หรือสักแต่ทำตามความเชื่อทางศาสนา และจารีตประเพณีที่ถือสืบๆ กันมาเท่านั้น</strong></p> <p>การมองเห็นคุณค่าพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ของตนเองและคนอื่นว่าทุกคนคือ “ตัวตนอิสระ” จากการครอบงำใดๆ เท่าเทียมกัน ก็คือการเปลี่ยนศรัทธาแบบยุคก่อนสมัยใหม่ (อันเป็นศรัทธาที่ครอบงำ) มาเป็น “ศรัทธาในความเป็นมนุษย์ที่มีเสรีภาพเป็นของตนเอง” หรือเปลี่ยนศรัทธาในศาสนา พระเจ้า ธรรมะ มาเป็น “ศรัทธาในมุษยชาติ” หรือศรัทธาในความเป็นมนุษย์ของทุกคนไม่ว่าเขาจะมีเชื้อชาติ เพศ สีผิว ภาษา วัฒนธรรมใดๆ มีศาสนาหรือไม่มีศาสนาก็ตาม เพราะคุณค่าหรือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะภายนอก หรือสถานภาพเหล่านั้น แต่อยู่ที่ทุกคนมีตัวตนอิสระที่มีคุณค่าหรือศักดิ์ศรีในตัวเองเสมอกัน และการที่เราทุกคนมีตัวตนอิสระเป็นธรรมชาติพื้นฐานนี่เอง จึงทำให้เราสามารถใช้ความเป็นมนุษย์ผู้มีเหตุผลที่เสรีและเสมอภาค (free and equal rational being) ในการบัญญัติกฎศีลธรรม กฎทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และอื่นๆ ขึ้นมาใช้ร่วมกันอย่างเป็นธรรมได้ </p> <p>ดังนั้น การมีเสรีภาพในความหมายแบบคานท์ จึงหมายถึงการมีอิสรภาพในการใช้ความคิดและเหตุผลของตนเองบัญญัติกฎขึ้นมาใช้กับชีวิตของตนเองและใช้ร่วมกันกับคนอื่นบนพื้นฐานของการเคารพความเป็นคนเท่ากันของเราทุกคน ถ้าเราสักแต่เชื่อง เชื่อฟัง และทำตามกฎที่ศาสนา ความเชื่อ จารีตประเพณี หรืออำนาจศาสนจักรและชนชั้นปกครองบัญญัติให้ต้องทำตามโดยปราศจากการตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบว่ากฎต่างๆ เหล่านั้นเคารพความเป็นมนุษย์ที่มีเสรีภาพและศักดิ์ศรีในตัวเองของเราหรือไม่ ย่อมไม่ใช่การมีเสรีภาพ </p> <p>ที่ว่ามาเป็นเพียง “แค่ตัวอย่างหนึ่ง” ของความคิดเชิงปรัชญาแบบยุคแสงสว่างทางปัญญาที่เป็นรากฐานของการใช้เหตุผลและเสรีภาพในยุคสมัยใหม่ แน่นอนว่า ความคิดเช่นนี้ไม่ใช่ความจริงสัมบูรณ์ (absolute truth) ที่โต้แย้งไม่ได้ เพราะมีความคิดอื่นๆ มากมายที่โต้แย้งความคิดสายคานท์ และยังมีความคิดแบบหลังสมัยใหม่นิยม (postmodernism) ที่โต้แย้งหรือชี้ให้เห็นปัญหาของความคิดแบบสมัยใหม่ แต่สิ่งที่เรายากจะปฏิเสธ คือ เราจะปฏิเสธหรือหักล้างความคิดพื้นฐานที่ว่าเราควรมองตัวเองและทุกคนว่ามี “ความเป็นคนเท่ากัน” ในความหมายที่ทุกคนต่างก็เป็นเจ้าของอิสรภาพในการใช้เหตุผลและเสรีภาพเพื่อให้คุณค่า ความหมาย และเป้าหมายของชีวิต และมีสิทธิเท่าเทียมในการบัญญัติกฎศีลธรรม และกฎต่างๆ ทางสังคมการเมืองขึ้นมาใช้ร่วมกันได้อย่างไร </p> <p>ผมคิดว่าคนที่ออกมาต่อสู้เรียกร้องให้แก้ไข หรือยกเลิกมาตรา 112 และการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย ก็คือคนที่ต่อสู้เรียกร้องเพื่อให้เราทุกคนสามารถที่จะมี “ความเป็นมนุษย์” แบบยุคสมัยใหม่ได้จริง นั่นคือ มีความเป็นมนุษย์ที่มีเหตุผล เสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีในตัวเองได้จริง มีอำนาจอธิปไตย และสิทธิเท่าเทียมในการบัญญัติกฎต่างๆ ขึ้นมาใช้ร่วมกันได้จริง หรือมีเสรีภาพที่จะอภิปรายถกเถียงและลงมติกันได้ว่ากฎกติกาแบบไหนที่จะให้หลักกระกันสิทธิ เสรีภาพ ความเท่าเทียมทางสังคม เศรษฐกิจ อำนาจต่อรองทางการเมือง ความเท่าเทียมทางเพศ ศาสนา วัฒนธรรม และอื่นๆ ได้จริง </p> <p>การต่อสู้เรียกร้องดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องของอุดมคติหรือยึดอุดมการณ์ทางการเมืองที่สูงส่งหรือ “สุดโต่ง” เกินความเป็นจริง เป็นเพียงการเรียกร้องคุณค่าของความเป็นคน และความเป็นธรรมทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจที่เป็นเรื่องของความเป็นจริง หรือเรื่อง “ปกติธรรมดา” ที่ทุกคนมีสิทธิชอบธรรมในการต่อสู้เรียกร้องกันอยู่ทั่วไปในยุคสมัยใหม่ หรือในสังคมประชาธิปไตยสมัยใหม่ </p> <p>การใช้ 112 ปิดปาก กดปราบ และขังคุกประชาชนที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยต่างหาก คือ “ความผิดปกติของยุคสมัย” หรือเป็น “ความป่วยไข้ของยุคสมัย” ในสังคมไทย เพราะสะท้อนถึงสภาวะที่ระบบการเมืองการปกครอง ศาสนา และวัฒนธรรมทางความคิด ความเชื่อของสังคมไทยยังตกอยู่ภายใต้อิทธิพลครอบงำและกดทับของพลังอำนาจศรัทธาใน “สถานะเป็นที่เคารพสักการะที่ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้” ของกษัตริย์ อันเป็นสถานะที่ประกอบสร้างขึ้นจากความเชื่อทางศาสนาแบบยุคก่อนสมัยใหม่</p> <p><strong>พูดอีกอย่าง ถ้าความเป็นจริงคือ การยืนยัน “เสรีภาพแห่งมโนธรรม” หรือเสรีภาพทางความคิดเห็นจากอำนาจครอบงำและกดทับใดๆ เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดแสงสว่างทางปัญญา การใช้อำนาจใดๆ ครอบงำหรือกดทับเสรีภาพดังกล่าว ก็คือ “สภาวะยุคมืด” ที่ปิดกั้นไม่ให้เกิดแสดงสว่างทางปัญญา คือปิดกั้นไม่ให้มีเสรีภาพในการใช้เหตุผลถกเถียงอย่างเป็นสาธารณะ เพื่อหาทางออกจากอำนาจครอบงำและกดทับเหล่านั้นได้ เช่น สภาไม่มีเสรีภาพในการอภิปรายปัญหาสถาบันกษัตริย์กับประชาธิปไตยได้ รัฐบาลปฏิเสธการแก้ไขกฎหมายมาตรา 112 และห้ามแตะหมวดสถาบันกษัตริย์ในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่เป็นต้น </strong></p> <p>การที่ระบบรัฐสภา รัฐบาล หรือองคาพยพของอำนาจรัฐโดยรวมทำหน้าที่ภายใต้อำนาจที่ไม่มีเสรีภาพในการตั้งคำถามและวิจารณ์ตรวจสอบ ซึ่งเป็น “อำนาจตามจารีตแบบยุคก่อนสมัยใหม่” ขณะที่ประชาชนอยู่ในบริบททางการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม การเมืองแบบโลกสมัยใหม่ ย่อมจะทำให้เกิด “ความขัดแย้ง” ไม่รู้จบ เพราะจะมีคนที่เกิดแสงสว่างทางปัญญามองเห็นหรือเข้าใจคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นคนของตนเองว่า แท้จริงแล้วเราไม่ใช่ไพร่ ทาส ที่เป็นเพียง “ฝุ่น” หรือ “ข้ารับใช้” ของชนชั้นปกครองกลุ่มใดๆ ทั้งนั้น หากแต่เรามี “ความเป็นคน” ที่เป็นเจ้าของสิทธิ เสรีภาพ มีอำนาจ ความคิด และเหตุผลเป็นของตนเอง และมีสิทธิเท่าเทียมกันในการบัญญัติกฎต่างๆ ขึ้นมาใช้ร่วมกันในฐานะ “พลเมืองเสรีและเสมอภาค” ในระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ คนเหล่านี้ก็ต้องออกมาต่อสู้เรียกร้องอิสรภาพจากการครอบงำของอำนาจแบบโบราณเสมอมาและเสมอไป</p> <p>การใช้ 112 กดปราบและขังคุกประชาชนที่ลุกขึ้นต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย อันเป็นการต่อสู้เพื่อปกป้อง “ความเป็นคน” ของเราทุกคนผู้เป็นเจ้าของเสรีภาพแห่งมโนธรรม ความคิดเห็น และเพื่อให้เราทุกคนสามารถที่จะเป็น “พลเมืองเสรีและเสมอภาค” ได้จริง (ไม่ใช่เป็นเพียง “ข้ารับใช้” ของชนชั้นปกครอง) จึงเป็นเรื่องที่น่าหดหู่ และยิ่งน่าหดหู่มากขึ้นไปอีก เมื่อ “รัฐบาลประชาธิปไตย” ที่มาจาก “การเลือกตั้งของประชาชน” เพิกเฉยหรือ “ไม่รับรู้” ปัญหาการกดปราบดังกล่าว โดยสื่อและสังคมก็เฉยชา กระทั่งเลือดเย็น หรือเย้ยหยันเพื่อนมนุษย์ด้วยกันที่ถูกกดปราบด้วย 112</p> <p><strong>แทนที่รัฐบาลหรือกระบวนการรัฐสภา สื่อ และสังคมจะร่วมมือเร่งผลักดันการนิรโทษกรรมคดีการเมืองและ 112 เพื่อคืนอิสรภาพและความเป็นธรรมให้กับประชาชน และเพื่อเป็น “จุดเริ่มต้น” ของการสร้างประชาธิปไตยให้เป็นจริง แต่กลับทำสิ่งตรงกันข้าม ซึ่งไม่ใช่การทำให้ประเทศเดินหน้าเป็นประชาธิปไตย ดังที่โฆษณาชวนเชื่อ แต่เป็นการเดินถอยหลังย้อนสู่การครอบงำและกดทับของอำนาจแบบยุคก่อนสมัยใหม่มากยิ่งขึ้น ซึ่งขัดกับความเป็นสมัยใหม่ที่ให้ความสำคัญสูงสุดกับความเป็นมนุษย์ของเราทุกคนในฐานะผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย สิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีในตัวเอง</strong></p> <p> </p> <p><strong>ที่มาภาพ: </strong>iLaw 10 คำถาม-คำตอบน่ารู้เกี่ยวกับมาตรา 112 (https://freedom.ilaw.or.th/freedom-of-expression-101/QA-112) https://freedom.ilaw.or.th/sites/default/files/imagecache/freedom_of_expression/infographic-images/112%20cartoon_0.jpg (https://freedom.ilaw.or.th/sites/default/files/imagecache/freedom_of_expression/infographic-images/112%20cartoon_0.jpg)</p> </div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทความ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A8-%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สุรพศ ทวีศักดิ์[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A1112" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ม.112[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div> https://prachatai.com/journal/2023/10/106345 |