[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 14 ตุลาคม 2566 18:10:31



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ครย.เรียกร้องยกเลิก 112 นิรโทษกรรมคดีการเมือง และร่าง รธน.ใหม่ทั้งฉบับ กลางงานรำล
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 14 ตุลาคม 2566 18:10:31
ครย.เรียกร้องยกเลิก 112 นิรโทษกรรมคดีการเมือง และร่าง รธน.ใหม่ทั้งฉบับ กลางงานรำลึก 50 ปี 14 ตุลา
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2023-10-14 15:46</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก/ภาพประกอบ: สหภาพคนทำงาน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เครือข่ายคณะราษฎรยกเลิก 112 หรือ ครย. ร่วมวางพวงมาลา และอ่านแถลงการณ์ 50 ปี 14 ตุลา ตามหาร่าง รธน.ใหม่ทั้งฉบับ ผ่าน สสร.ที่มาจากเลือกตั้ง ปชช. ยกเลิก 112 และนิรโทษกรรมคดีการเมือง ด้าน 'พรรณิการ์' เผยดอกไม้ที่มีค่าสุดแด่วีรชน คือร่าง รธน.ใหม่ และ สสร.มาจากการเลือกตั้งของ ปชช.โดยตรง เพื่อยุติระบอบเผด็จการ</p>
<p> </p>
<p>สืบเนื่องจากเมื่อช่วงเวลา 9.00 น. ของวันนี้ (14 ต.ค.) ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน มีการจัดงานครบรอบ 50 ปี รำลึกเหตุการณ์ 14 ตุลา โดยมีการวางพวงมาลา และกล่าวรำลึกเหตุการณ์ดังกล่าวจากตัวแทนแรงงาน ภาคประชาชน และนักการเมือง</p>
<p>เมื่อเวลา 10.28 น. เครือข่ายคณะราษฎรยกเลิก 112 (https://www.facebook.com/thailabourmuseum/videos/320653607218895) หรือ ครย. กล่าวรำลึกเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 นำโดย ธนพร วิจันทร์ เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน โดยมีการอ่านแถลงการณ์ "50 ปี 14 ตุลา ตามหารัฐธรรมนูญใหม่ ปล่อยนักโทษการเมืองยกเลิก 112" </p>
<p style="text-align: center;">
<iframe src="https://www.facebook.com/plugins/video.php?height=314&amp;href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fthailabourmuseum%2Fvideos%2F320653607218895%2F&amp;show_text=false&amp;width=560&amp;t=0" width="560" height="314" style="border:none;overflow:hidden" scrolling="no" frameborder="0" allowfullscreen="true" allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share"></iframe></p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53255682997_8657a42900_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ตัวแทน ครย.</span></p>
<div class="note-box">
<h2><span style="color:#2980b9;">แถลงการณ์ 50 ปี 14 ตุลา ตามหารัฐธรรมนูญใหม่ ปล่อยนักโทษการเมือง ยกเลิก 112</span> </h2>
<p>เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เริ่มต้นจากการเรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญใหม่ แต่กลุ่มผู้เรียกร้องกลับถูกจับกุมคุมขังเป็น 13 ขบถ ประชาชนจึงลุกขึ้นสู้ครั้งใหญ่ให้มีการปล่อยตัวนักโทษการเมืองทั้ง 13 คน และขับไล่ 3 ทรราช ถนอม-ประภาส-ณรงค์ เป็นผลสำเร็จ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยเลือดเนื้อและชีวิตของวีรชน เป็นจำนวนถึง 77 คนด้วยกัน ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ประชาชนตื่นตัวเรื่องสิทธิ เสรีภาพและประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก มีการจัดทำรัฐธรรมนูญ 2517 ที่ขยายสิทธิเสรีภาพมากขึ้น แต่โครงสร้างการเมืองยังคงเป็นเผด็จการด้วยการแต่งตั้งสัญญา ธรรมศักดิ์ ตามมาด้วยรัฐบาลคึกฤทธิ์ และเสนีย์ ปราโมช ที่เป็นราชนิกูล และเป็นเครือข่ายอนุรักษ์นิยม ซึ่งปล่อยให้ทหารและตำรวจเข่นฆ่าประชาชนในเหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลาคม 2519 และใช้อำนาจเผด็จการทหารแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 เพิ่มโทษจำคุกให้รุนแรงถึง 15 ปี กลายเป็นเครื่องมือจำกัดเสรีภาพประชาชน และทำลายล้างพรรคการเมืองประชาธิปไตย</p>
<p>ล่วงมาถึงวันที่ 14 ตุลาคม 2563 คณะราษฎร 2563 ได้เรียกร้องขับไล่ผู้นำเผด็จการประยุทธ์ จันทร์โอชา จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ประชาชนมีส่วนร่วม และเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย ข้อเรียกร้องข้อแรกแทบไม่ได้ต่างกันนักกับข้อเรียกร้องในเดือนตุลาคม 2516 อาจจะมีข้อเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เป็นของใหม่ เป็นการผลักดันการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพประชาธิปไตยจาก 14 ตุลาคมให้ต่อเนื่อง แกนนำสำคัญของการชุมนุมวันที่ 14 ตุลาคม 2563 คือทนายอานนท์ นำภา ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 ขณะนี้ถูกคุมขังเป็นนักโทษการเมืองอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ พร้อมกับนักโทษการเมืองอื่นๆ ที่เคยต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพประชาธิปไตยอีกเป็นจำนวน 36 คนด้วยกัน และยังมีผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 จำนวน 258 คน</p>
<p>คณะราษฎร ยกเลิก 112 (ครย. 112) ได้รณรงค์ให้มีการยกเลิกมาตรา 112 เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 เป็นต้นมา ได้รวบรวมรายชื่อประชาชนกว่า 250,000 คนผ่านทางเว็บไซต์ No112.org เสนอต่อรัฐสภาให้มีการแก้ไขมาตรา 112 แต่กลับถูกสั่งปิดกั้น อันแสดงให้เห็นถึงภาวะถดถอยของเสรีภาพและประชาธิปไตยในช่วง 50 ปีหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516</p>
<p>ในโอกาสครบรอบ 50 ปี เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 คณะราษฎร ยกเลิก 112 (ครย.112) ขอร่วมรำลึกถึงผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนั้นและยืนยันสานต่อเจตนารมณ์ของคนเดือนตุลา 2516 โดยมีข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้</p>
<ol>
<li>นักโทษการเมืองในคดีที่ยังไม่ถึงที่สุดจะต้องได้รับสิทธิการประกันตัวตามรัฐธรรมนูญ 2560 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายระหว่างประเทศ </li>
<li>รัฐบาลปัจจุบันที่มาจากการเลือกตั้งจะต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองและผู้ถูกดำเนินคดีทางจากการใช้สิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นและารแสดงออกทางการเมืองในทุกกรณี</li>
<li>ยกเลิกมาตรา 112 เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นของประชาชน</li>
<li>ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ โดย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน</li>
</ol>
<p>ก่อนที่ตัวแทนกล่าวปิดท้ายด้วยการอ่านกลอน และกล่าวว่า เผด็จการจงพินาศ และประชาราษฎร์จงเจริญ</p>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">‘จาตุรนต์’ แถลง 3 จุดยืนของเพื่อไทย เยียวยาผู้เสียหาย แก้กฎหมายคุ้มครองเสรีภาพ ปชช. และร่าง รธน.ใหม่</span></h2>
<p>ด้านจาตุรนต์ ฉายแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวรำลึกว่า การต่อสู้ของประชาชนเมื่อ 14 ตุลา 2516 ทำให้เราได้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย มีการเลือกตั้ง และประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมากที่สุดครั้งหนึ่ง แต่ว่าสภาพนี้ก็อยู่ได้ไม่นาน เพียง 3 ปีหลังจากนั้น เผด็จการก็กลับมายึดอำนาจในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 และรัฐประหารในวันเดียวกัน พาประเทศไทยถอยหลังกลับไปเป็นเผด็จการอีกครั้ง แต่อย่างไรก็ดี 14 ตุลา ยังมีความหมายที่ยิ่งใหญ่ คือการประกาศเจตนารมย์ของประชาชนที่ต้องการเป็นประชาธิปไตย และบ้านเมืองมีสิทธิเสรีภาพ 14 ตุลา เป็นการจุดประกายให้เห็นคุณค่าพลังของประชาชน และพลังของคนหนุ่มสาว ที่สามารถทำให้เกิดประชาธิปไตย และเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53256916404_057c0c9885_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">จาตุรนต์ ฉายแสง และ นพ.ทศพร เสรีรักษ์</span></p>
<p>เมื่อเราโยงกับสถานการณ์ปัจจุบันเราควรจะเน้นย้ำอะไร นอกจากย้ำเจตนารมณ์และเชิดชูสดุดีวีรชน 14 ตุลา จาตุรนต์ ระบุว่ามี 3 เรื่อง 1. การเยียวยาดูแลผู้สูญเสียเสียหายญาติวีรชนของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยทั้ง 14 ตุลา และเหตุการณ์อื่นๆ ต่อเนื่อง    </p>
<p>2. คุ้มครองส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้สามารถใฝ่ฝันแสดงออกเพื่อให้ได้สังคมที่ดีกว่า ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงต่อประชาชนผู้ที่เห็นต่างจากรัฐบาล และรวมถึงการแก้กฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน </p>
<p>ประการสุดท้าย 14 ตุลา เกิดขึ้นจากการที่ประชาชนเรียกร้องในหลายเรื่อง รวมร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ตอนนี้เรามีรัฐธรรมนูญ แต่เป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างยิ่ง เราจึงต้องร่วมกันแก้ไข เขียนใหม่ และร่างใหม่ เพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย</p>
<p>“นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ และตั้งแต่ไทยรักไทย ก็พูดแบบนี้ หลายครั้งก็ให้ผมเป็นผู้มาพูดตามนโยบายของไทยรักไทย สิ่งที่ผมพูดไปว่าต้องเน้นย้ำ 3 ข้อ ก็ไม่ใช่ความเห็นส่วนตัวของผม หรือเพื่อนผมอีกเช่นเดียวกัน การเยียวประชาชน การดูแลผู้เดือดร้อนผู้เสียหายจากการชุมนุม ต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตย และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการแก้ไขกฎหมายต่างๆ ให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย ประชาชนมีเสรีภาพ เป็นนโยบายที่พรรคเพื่อไทย ประกาศตลอดมา และประกาศในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว และยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด” จาตุรนต์ กล่าว </p>
<p>หลังจากนั้น นายแพทย์ ทศพร เสรีรักษ์ ชวนประชาชนร่วมยืนสงบนิ่งไว้อาลัยแก่ผู้วายชนม์ จากเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ดอกไม้ที่มีค่าสุด คือร่าง รธน.ใหม่ ยุติระบอบเผด็จการ</span></h2>
<p>พรรณิการ์ วานิช และเบญจา แสงจันทร์ ตัวแทนคณะก้าวหน้า วางพวงมาลา และกล่าวรำลึกว่า เรียกประชาชนผู้มีอำนาจสูงสุดของประเทศ และขอย้อนกลับไปในเหตุการณ์รำลึก 25 ปี 14 ตุลา เมื่อปี 2541 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยมีประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญดีที่สุดเท่าที่จะมีได้ เราจึงฉลองวันที่ 14 ตุลา ด้วยความคาดหวังว่าประเทศไทยจะมีประชาธิปไตย มีเสรีภาพ มีความเสมอภาค และเคารพในสิทธิเสรีภาพของประชาชน </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53256732326_9e488fca08_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">เบญจา แสงจันทร์ และพรรณิการ์ วานิช</span></p>
<p>และในงานครบรอบ 50 ปี 14 ตุลา เราควรจะได้เฉลิมฉลองอย่างอารยประเทศ และหวังว่าจะไม่มีใครต้องสูญเสียจากการเรียกร้องเพื่อประชาธิปไตย และเขียนรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน แต่ตอนนั้นกับตอนนี้ดูเหมือนว่าจะเหมือนกัน เพราะแม้ว่าเราจะมีรัฐธรรมนูญปี 2540 ยังมีจุดโหว่สำคัญ นั่นก็คือในท่ามกลางการปฏิรูปการเมือง สังคม และเศรษฐกิจที่ตราไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ละเว้นการปฏิรูปกองทัพ ไม่มีอำนาจเหนือรัฐบาลพลเรือน สามารถทำรัฐประหาร และทำให้การสูญเสียของประชาชนเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ส่งผลให้การต่อสู้ระหว่างประชาชน กับเผด็จการ ที่ควรจะจบ 14 ตุลา 2516 6 ตุลา 2519 และ พฤษภา 2535 กลับต้องวังวนกลับมา และในปัจจุบันทำให้เยาวชนคนหนุ่มสาวจำนวนมากเข้าเรือนจำ เพราะแสดงความเห็นที่ต่างจากผู้มีอำนาจ</p>
<p>พรรณิการ์ ระบุว่า ในวาระ 50 ปี 14 ตุลา เธออยากให้มีการจำกัดมรดกของคณะรัฐประหารให้สิ้นซาก แม้ว่าการจัดตั้งรัฐบาลล่าสุดคงเรียกไม่ได้เต็มปากว่าเป็นรัฐบาลที่ปลอดจากการสืบทอดอำนาจจากเผด็จการ แต่อย่างน้อยเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง พวงหรีด พวงมาลา พวงดอกไม้ไว้อาลัยให้กับผู้เสียชีวิตจากการต่อสู้กับเผด็จการ จะมีประโยชน์อะไร หากเราละเว้นการกำจัดมรดกรัฐประหาร และป้องกันไม่ให้มีการเกิดขึ้นของเผด็จการครั้งใหม่ รัฐธรรมนูญจะต้องถูกร่างใหม่ทั้งฉบับ และผ่าน สสร.ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง ซึ่งนั่นจะเป็นดอกไม้ที่มีค่าที่สุดให้กับผู้เสียชีวิต และเสียเลือดเนื้อ เสียญาติพี่น้องในการต่อสู้กับเผด็จการ ร่างรัฐธรรมนูญที่ต้องต่อสู้กับเผด็จการไม่จำเป็นอีกต่อไป ไม่ต้องมีชีวิตใดอีกที่ต้องสูญเสีย เพื่อแลกกับการมีประชาธิปไตยในประเทศนี้ </p>
<p>พรรณิการ์ ทิ้งท้ายว่า เราหวังว่าในปีหน้าหรือปีถัดๆ ไป จะมีรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชน และทำให้การสูญเสียเลือดเนื้อและการต่อสู้กับเผด็จการเป็นหน้าประวัติศาสตร์เสียที</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ประตูบานแรกคือการนิรโทษกรรม คลี่คลายความขัดแย้ง ฟื้นฟูนิติรัฐและนิติธรรม</span></h2>
<p>ด้านเบญจา กล่าวว่า จุดเริ่มต้นการสร้างระบอบการเมืองที่เราอยากเห็น ต้องมีการเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนที่ฉบับเดิมทั้งฉบับ และเดินหน้าไปด้วยกัน และไม่เพียงแต่เราอยู่ในวิกฤตการเมือง แต่เรากำลังเผชิญวิกฤตนิติรัฐที่ทำสงครามกับประชาชนขนานใหญ่ เราอยู่ในประเทศที่หลักการประชาธิปไตยถูกทำลาย สิทธิเสรีภาพของประชาชนถูกลิดรอน ไม่เหลือแม้นิติรัฐและนิติธรรม การรัฐประหารตั้งแต่อดีตและปัจจุบันมีประชาชนออกมาชุมนุมเรียกร้องและแสดงความเห็นทางการเมือง และเหตุการณ์วนเวียนกลับไปอยู่ที่เดิม ปัจจุบันนับตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา มีประชาชนถูกดำเนินคดีทางการเมืองกว่า 2,000 คดี มีเด็กที่อายุน้อยกว่า 18 ปี ถูกดำเนินดคีมากกว่า 300 คน ในบรรดาคดีการเมืองเหล่านี้เราไม่พูดถึงไม่ได้  </p>
<p>เบญจา ระบุต่อว่า เราต้องยอมรับความจริงว่าทุกสังคมต้องเปลี่ยนแปลง และเดินไปข้างหน้า และเราต้องเดินหน้าอย่างมีวุฒิภาวะและต้องสอดคล้องกับยุคสมัยของพวกเรา นี่เป็นผลิตผลของพวกเขาที่สร้าง และหมักหมมขึ้นมาสืบเนื่องจนวันนี้ </p>
<p>กล่าวมาถึงตรงนี้เพื่อบอกว่า 50 ปีผ่านมาแล้ว การตื่นตัวทางการเมืองมีมากขึ้นเรื่อยๆ และมีการใช้นิติสงครามมากขึ้น และเรื่องนี้ยังไม่ได้รับการแก้ไข สิ่งนี้เป็นเหมือนระเบิดเวลารอวันระเบิดเท่านั้น และเราต้องรีบแก้ไขให้ถูกทาง ดังนั้น ถ้าเราไม่ถอนฟืนออกจากกองไฟ เราจะไม่สามารถสร้างชาติที่มีอนาคตได้ ถ้าเราเอาแต่คุมขังเยาวชนที่เป็นอนาคตของประเทศนี้ เราจะเดินหน้าไปอย่างไร ถ้าเราไม่แสวงหาฉันทามติใหม่ ที่สังคมไทยจะต้องเดินหน้าไปพร้อมกัน เป็นฉันทามติของเราร่วมกันทั้งสังคม ร่วมกันฟื้นฟูนิติรัฐ และนิติธรรมไปพร้อมกัน</p>
<p>เบญจา ระบุต่อว่า เธอขอใช้โอกาสนี้ที่ประชาชนลุกขึ้นมาต่อสู้กับเผด็จการเมื่อ 50 ปีที่แล้วในการที่บอกว่า สิ่งที่ประเทศไทยต้องผลักดันร่วมกันในวันนี้ คือการปฏิรูประบบกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม ปฏิรูปสถาบันตุลาการ ปฏิรูปการทำนิติสงครามกับประชาชน และหันมาใช้การเมืองระบอบประชาธิปไตยแบบปกติ เพื่อเปิดพื้นที่ปลอดภัยให้พวกเราได้มีพื้นที่พูดคุยได้อย่างมีวุฒิภาวะ ประตูบานแรกของเราคือการนิรโทษกรรมคดีทางการเมืองทั้งหมด ประตูบานนี้จะนำมาสู่การคลี่คลายความขัดแย้งทางการเมืองหลายสิบปีที่ผ่านมา แต่นี่ไม่ใช่เพียงการปล่อยเพื่อนเรา แต่เป็นการปลดปล่อยศักยภาพทางเศรษฐกิจ ศักยภาพประเทศไทย </p>
<p>เบญจา ทิ้งท้ายว่า ขอเชิญชวนทุกคนทุกฝักฝ่ายช่วยกันพาประเทศเดินหน้าออกจากเมฆหมอกทางการเมืองที่มืดครึ้มยาวนานมาตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ปลดล็อกชนวนระเบิด และรับฟังความเห็นแห่งยุคสมัยไปด้วยกัน คืนความยุติธรรมให้กับประชาชนทุกคนที่ถูกดำเนินคดีทุกคนนับตั้งแต่รัฐประหารปี 2549 นี่คือก้าวแรกของการคืนความยุติธรรม ความเชื่อมั่นที่จะอยู่ในสังคมนี้ร่วมกันได้ ไม่ว่าพวกเราจะมีความเห็นที่แตกต่างกันอย่างไรก็ตาม เชิญชวนทุกคนเดินร่วมกัน </p>
<p>ทั้งนี้ สื่อมติชน ออนไลน์ (https://www.matichon.co.th/politics/news_4231168) รายงานด้วยว่า ระหว่างจัดงานวางพวงมาลา และกล่าวรำลึกเหตุการณ์ 14 ตุลา ได้มีนักกิจกรรมทางการเมืองสวมชุดคล้ายนักโทษ ชูป้ายเรียกร้องสิทธิการประกันตัวให้กับผู้ถูกคุมขังคดีการเมือง อาทิ ‘อาลีฟ’ วีรภาพ , อานนท์ นำภา ทนายความสิทธิมนุษยชน ‘น้ำ’ วารุณี และคนอื่นๆ </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53257082709_5db300541a_b.jpg" /></p>
<p>ทั้งนี้ นับตั้งแต่วันที่ 13 ต.ค.ที่ผ่านมา มีผู้ถูกคุมขังทางการเมืองเพิ่มเป็น 36 ราย โดยแบ่งเป็น นักโทษคดีเด็ดขาด จำนวน 12 ราย สำหรับผู้ที่เข้าไม่ถึงสิทธิประกันตัวระหว่างสู้คดีมีด้วยกันทั้งหมด 24 ราย ประกอบด้วย คดีมาตรา 112 จำนวน 9 ราย และคดีอื่นๆ 15 ราย </p>
<p>นอกจากนี้ บริเวณหน้าอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา มีการจัดแสดงภาพถ่ายขาว-ดำ บุคคลต่างๆ ในเหตุการณ์ 14 ตุลา ที่ยังมีชีวิตอยู่ พร้อมเปิดรอยแผลตามร่างกาย จากเหตุสลายการชุมนุมด้วยอาวุธในวันนั้น
 </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B6%E0%B8%81-50-%E0%B8%9B%E0%B8%B5-14-%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">งานรำลึก 50 ปี 14 ตุลา[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99-14-%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%8A" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พรรณิการ์ วานิช[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%8D%E0%B8%88%E0%B8%B2-%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เบญจา แสงจันทร์[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81-112" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คณะรณรงค์ยกเลิก 112[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A9%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">นิรโทษกรรมคดีการเมือง[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2-112" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">มาตรา 112[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ร่างรัฐธรรมนูญใหม่[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/10/106367