หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 'กังวาฬ' เปิดข้อค้นพบคดีสวรรคต ปัจจัยยิงพระองค์เองยังมี ชี้ปัญหาการพิสูจน์ เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 19 ตุลาคม 2566 19:49:44 'กังวาฬ' เปิดข้อค้นพบคดีสวรรคต ปัจจัยยิงพระองค์เองยังมี ชี้ปัญหาการพิสูจน์หลักฐาน-ชันสูตร-การเมือง
<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-10-19 18:29</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="summary3box"> <div class="summary-box"> <ul> <li>พระยาศรยุทธเสนีและตี๋ ศรีสุวรรณ 2 พยานปากสำคัญยอมรับในภายหลังจากคดีหมดอายุความไปแล้วว่าถูกบังคับให้การเท็จเชื่อมโยงเรื่องการประชุมวางแผนของ ปรีดี, วัชรชัย, เฉลียว, ชิต และบุคคลอีกหนึ่งคน ที่บ้านของพระยาศรยุทธเสนี</li> <li>ปัญหาของการตรวจพิสูจน์หลักฐานปืนที่เป็นของกลางมีปัญหา</li> <li>ผลชันสูตรพลิกศพไม่สามารถตัดความเป็นไปได้ที่จะเกิดจากการยิงโดยพระองค์เองตามที่ศาลมีคำพิพากษาในคดีสวรรคต</li> </ul> </div> </div> <p>ตัวแทนครอบครัวชิต สิงหเสนี แถลงข้อมูลที่ใช้ขอให้ศาลอาญารื้อฟื้นคดีสวรรคตของ ร.8 หลัง "ชิต-บุศย์-เฉลียว" ถูกประหารมาแล้ว 69 ปีหวังคืนความเป็นธรรมให้ ข้อมูลใหม่พบความเป็นไปได้ที่จะเกิดจากการที่ ร.8 ยิงพระองค์เอง แม้ในอดีตศาลจะตัดทิ้งและสรุปว่าเป็นการลอบสังหารจนมีคำพิพากษาประหาร ชี้ปัญหาของการตรวจพิสูจน์หลักฐานและการชันสูตร รวมถึงการเมืองที่แทรกเข้ามา</p> <p>18 ต.ค.2566 ที่มูลนิธิซีเนม่า โอเอซิส สุขุมวิท 43 มีการแถลงข่าวเปิดหลักฐานใหม่ในคดีสวรรคตในหลวงรัชกาลที่ 8 โดย มีผู้ร่วมแถลงข่าวคือกังวาฬ พุทธิวนิช ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากครอบครัวของชิต สิงหเสนีและเป็นผู้ติดตามศึกษาเรื่องนี้, นพ.กฤติน มีวุฒิสม แพทย์นิติเวช และสมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ ส่วนปรีชา สุวรรณทัตไม่สามารถมาร่วมแถลงได้เนื่องจากต้องไปพบแพทย์ที่รักษาอาการป่วย</p> <div class="more-story"> <p>ครอบครัว ‘ชิต สิงหเสนี’ ให้ตัวแทน ขอศาลอาญารื้อคดีสวรรคต ร.8 คืนความเป็นธรรม ‘ชิต-บุศย์-เฉลียว’ (https://prachatai.com/journal/2023/10/106433)</p> </div> <p>สมานรัชฎ์กล่าวเปิดการแถลงข่าวถึงสาเหตุที่เธอสนับสนุนการทำงานของกังวาฬ เนื่องจากที่ผ่านมากังวาฬเคยมาขอให้ช่วยประสานงานกับครอบครัวของชิตและรู้สึกถึงความจริงใจของกังวาฬในการทำเรื่องนี้ทั้งที่ไม่เคยต้องมาเผชิญกับสิ่งที่ครอบครัวเธอต้องเจอ</p> <p>“มีคนมาขอดิฉันหลายคนรวมถึงอาจารย์ที่มีชื่อเสียงต่างๆ นาๆ ให้พาไปหาลูกของคุณตาชิต คุณยายหนู(ชูเชื้อ สิงหเสนี ภรรยาของชิต) ดิฉันไม่เคยพาไปเลย เพราะเป็นเรื่องที่เจ็บปวดมากๆ สำหรับครอบครัวเรา มันไม่ใช่เรื่องสนุก เราไม่มีวันจะให้ใครมาใช้ในเกมการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น โดยเฉพาะเรื่องนี้ ญาติของเราถูกใส่ความและประหารชีวิต เพราะเกมการเมืองโดยแท้ๆ ร้อยเปอร์เซ็นต์” สมานรัชต์กล่าวถึงความเจ็บปวดที่ครอบครัวเธอต้องเจอและเป็นเหตุการณ์ครั้งนั้นได้ทำให้ชูเชื้อต้องมาอยู่ด้วยกันของครอบครัว</p> <p>สมานรัชต์กล่าวต่อว่า ลูกๆ ของชิตที่ไปโรงเรียนก็ต้องเจอกับคนมาบอกว่า “พ่อแกฆ่าในหลวง” หรือตัวเธอเองที่ต้องเจอชื่อตาของตัวเองเป็นคนฆ่าในหลวงในวิชาประวัติศาสตร์ เป็นความรู้สึกที่แย่มาก เป็นความเจ็บปวดของครอบครัวที่ต้องมาเป็นพยานในประวัติศาสตร์</p> <p>“ใครที่ไม่ต้องการให้ความจริงปรากฏก็ต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่าทำไม มันไม่มีอะไรต้องกลัวหรอก” สมานรัชฎ์กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เป็นเสมือนคำสาปของแผ่นดินและเป็นความอยุติธรรมที่รอการชำระล้างเพราะถ้าไม่ทำก็จะไม่สามารถหลุดพ้นไปจากความมืดมนของเผด็จการทางจิตวิญญาณไปได้</p> <h2><span style="color:#2980b9;">ต้องการคืนความเป็นธรรมและอาจทำให้เรื่องราวกระจ่างมากขึ้น</span></h2> <p>จากนั้นกังวาฬขึ้นกล่าวต่อถึงเจตนาที่มารื้อฟื้นคดีนี้ว่ามีอยู่ 3 เหตุผล เหตุผลแรกคือต้องการคืนความเป็นธรรมให้กับผู้บริสุทธิ์แม้ว่าอาจจะมีบางคนคิดว่าคนเหล่านี้ไม่ได้เป็นผู้บริสุทธิ์แต่สุดท้ายแล้วเขาอยากให้มีการตัดสินเรื่องนี้อย่างเป็นทางการโดยศาลตามกระบวนการทางกฎหมาย</p> <p>เหตุผลที่สอง ประเด็นการสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ถูกเอามาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองโจมตีกันไปกันมา เพราะเดิมตามที่ศาลตัดสินก็คือมีการลอบปลงพระชนม์ การวางแผนหรือการบงการตามสำนวนของอัยการระบุไว้คือมีการวางแผนที่บ้านของพลเรือตรีพระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) ส่วนมือสังหารคือเรือเอกวัชรชัย ชัยสิทธิเวช ทำให้นอกจากชิต บุศย์ เฉลียวแล้วยังมีการพุ่งเป้าไปที่ปรีดี พนมยงค์ด้วย</p> <p>กังวาฬกล่าวต่อไปว่าเรื่องนี้ภายหลังก็เกิดกระแสตีกลับคือ ตี๋ ศรีสุวรรณ และพระยาศรยุทธเสนีออกมาสารภาพว่าไม่มีการประชุมวางแผนที่บ้านของพระยาศรยุทธเสนีย์</p> <p>กังวาฬกล่าวถึงสิ่งที่ตัวเองทำอยู่ว่าทำให้ตัวเขาเองต้องตกอยู่กลางระหว่าง 2 ฝ่ายที่เชื่อว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์ที่กล่าวหาว่าเขามาแก้ต่างให้กับปรีดี ส่วนฝ่ายที่มองว่าเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากคนใกล้ชิดซึ่งเป็นคนในและเป็นเรื่องที่ทั้งสองฝ่ายนี้เห็นไม่ตรงกัน อย่างไรก็ตามทั้งสองฝ่ายนี้มีจุดร่วมที่เชื่อตรงกัน 2 ข้อ</p> <p>ข้อแรก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ในหลวงรัชกาลที่ 8 ไม่สามารถยิงด้วยตนเองได้ต้องเป็นคนอื่นยิงเท่านั้น</p> <p>ข้อสอง มหาดเล็กที่อยู่หน้าห้องบรรทมไม่พูดความจริง ปกปิดว่ามีคนเข้าไป</p> <p>เหตุผลสุดท้ายที่กังวาฬกล่าวถึงสิ่งที่เขาทำว่าต้องการให้เป็นบทเรียนของสังคมไทยที่ไม่ได้ศึกษาละเอียดแล้วก็ทะเลาะกัน แต่ถ้ามีคำพิพากษาใหม่ก็น่าจะทำให้เรื่องราวยุติได้ แล้วก็ไม่อยากให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย</p> <p>กังวาฬกล่าวถึงเจตนาของการทำเรื่องนี้อีกประเด็นว่า แม้ความพยายามรื้อฟื้นครั้งนี้จะทำแทนในของครอบครัวของชิต แต่ขอบเขตของเรื่องราวที่สืบหานี้ยังรวมไปถึงบุศย์และเฉลียวด้วย อีกทั้งเหตุการณ์นี้ในอดีตก็ได้สร้างผลกระทบให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกระดับชั้นตั้งแต่พระบรมวงศานุวงศ์ แพทย์ที่เสนอความเห็น และตุลาการในเวลานั้นอีกด้วย</p> <h2><span style="color:#2980b9;">พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526</span></h2> <p>กังวาฬกล่าวถึงประเด็นทางกฎหมายที่นำมาใช้ในการรื้อฟื้นคดีครั้งนี้ว่าเป็นการใช้กระบวนการตามมาตรา 5 และ มาตรา 20 ของ พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 ที่ออกมาตั้งแต่สมัยพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเขาเห็นว่าแม้จะเป็นกฎหมายที่อนุญาตให้นำคดีที่สิ้นสุดไปแล้วกลับมาพิจารณาใหม่ได้ แต่ตลอดเวลา 40 ปีที่ผ่านมามีการใช้กฎหมายนี้เพื่อขอให้ศาลนำคดีกลับมาพิจารณาใหม่เพียง 60 คดี แต่ไม่เคยมีคดีใดที่ศาลอนุญาตให้นำคดีกลับมาพิจารณาใหม่เลย มีเพียงคดีของครูจอมทรัพย์ที่ศาลนำมาไต่สวนแต่สุดท้ายแล้วศาลก็ยกคำร้องว่าพยานหลักฐานที่อ้างว่าเป็นหลักฐานใหม่นั้นเมื่อเทียบกับพยานหลักฐานของตำรวจแล้วไม่มีมูลเหตุมากพอให้รื้อฟื้น</p> <p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53266720977_7d3b3a21a9_b.jpg" /></p> <p>อย่างไรก็ตาม กังวาฬได้อธิบายว่าการขอรื้อฟื้นคดีด้วยมาตรา 5 นี้มีการกำหนดเงื่อนไขที่จะให้รื้อฟื้นได้ไว้ 3 ประเด็น</p> <p>ข้อแรก พยานบุคคลในคดีที่ศาลใช้คำเบิกความของพยานในการพิพากษาคดี พยานบุคคลดังกล่าวถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าเบิกความเท็จหรือไม่ถูกต้องตรงความเป็นจริง แล้วจึงใช้คำพิพากษาที่ตัดสินว่าพยานบุคคลให้การเท็จมาขอรื้อฟื้นคดีได้ตามกฎหมายนี้</p> <p>กังวาฬอธิบายในประเด็นนี้ประกอบสไลด์ว่าจากการที่ตี๋ ศรีสุวรรณเขียนจดหมายถึงปรีดี พนมยงค์ในปี 2522 เพื่อขอโทษโดยยอมรับว่าตนถูกจ้างวานจากพระพินิจชนคดี (พินิจ อินทรทูต) ประธานกรรมการสอบสวนคดีสวรรคตเพื่อให้เขาให้การเท็จในคดี และพระยาศรยุทธเสนีก็ยังออกมายอมรับภายหลังในบันทึกของเขาว่าถูกบังคับให้การปรักปรำด้วยเช่น อย่างไรก็ตาม ณ เวลานี้ พยานทั้งสองคนก็ได้เสียชีวิตไปแล้วหรือต่อให้ทั้งสองคนยังมีชีวิตอยู่คดีสวรรคตก็หมดอายุความไปแล้วจะฟ้องเป็นพยานเท็จก็ไม่ได้</p> <p>ข้อที่สอง กฎหมายระบุว่าพยานหลักฐานอื่นนอกจากพยานบุคคลตามข้อแรกที่ศาลนำมาใช้เป็นหลักในการพิพากษาคดีจนถึงที่สุดนั้น มีการดำเนินการฟ้องว่าพยานหลักฐานนั้นเป็นหลักฐานปลอม หรือเป็นเท็จ หรือไม่ถูกต้องตรงความเป็นจริงอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นพยานหลักฐานปลอม หรือเป็นเท็จ หรือไม่ถูกต้องตามที่ฟ้องก็สามารถนำคำพิพากษานั้นมาขอรื้อฟื้นคดีกับศาลชั้นต้นได้</p> <p>ประเด็นนี้กังวาฬชี้ว่าที่ผ่านมายังไม่มีศาลไหนเคยรับพิสูจน์ว่าพยานหลักฐานในคดีใดเป็นหลักฐานที่มีปัญหาตามกฎหมายเลย</p> <p>ข้อที่สามคือมีพยานหลักฐานใหม่ที่ชัดแจ้งและมีความสำคัญต่อคดีก็จะขอให้ศาลเปิดการพิจารณาคดีใหม่ได้</p> <p>กังวาฬกล่าวถึงประเด็นเรื่องผู้ที่มีสิทธิขอให้ศาลรื้อฟื้นคดีได้นั้นจะต้องเป็นผู้สืบสันดานของบุคคลในคดี ซึ่งทางกังวาฬเองได้ขอให้ผ่องพรรณ และพวงศรี สิงหเสนี ลูกสาวของชิตมอบอำนาจให้แก่เขาและปรีชามาดำเนินการแทนแล้ว จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลจะตีตกได้ด้วยเหตุที่ผู้ร้องขอรื้อฟื้นคดีไม่ได้เป็นผู้สืบสันดานโดยตรง</p> <p>กังวาฬกล่าวถึงเรื่องเงื่อนเวลานากรขอรื้อฟื้นคดีตามมาตรา 20 มีอยู่ 2 ข้อคือ</p> <p>ข้อแรก ถ้าค้นพบพยานหลักฐานใหม่ต้องยื่นขอภายในหนึ่งปีหลังพบพยานหลักฐานชิ้นนั้น ซึ่งการค้นพบหลักฐานใหม่ครั้งนี้ก็เลยเวลามาแล้ว</p> <p>ข้อสอง การขอรื้อฟื้นต้องไม่เกิน 10 ปีนับตั้งแต่คดีที่ขอรื้อฟื้นมีคำพิพากษาถึงที่สุด ซึ่ง ณ วันนี้เวลาก็เกินมาแล้ว</p> <p>อย่างไรก็ตามกังวาฬเห็นว่ายังมีอยู่อีกหนึ่งช่องทางซึ่งมีการระบุไว้ในมาตรา 20 คือ การยกเว้นให้กับคดีที่มี “พฤติการณ์พิเศษ” แต่ในกฎหมายก็ไม่ได้ระบุว่าพฤติการณ์พิเศษดังกล่าวหมายถึงพฤติการณ์ใดไว้ชัดเจนกฎหมายอื่นก็ไม่ได้มีการเขียน “พฤติการณ์พิเศษ” เอาไว้มีเพียง พ.ร.บ.รื้อฟื้นคดีฯ ฉบับเดียวที่เขียนไว้เช่นนี้</p> <p>เรื่องนี้ทำให้กังวาฬได้นำไปปรึกษากับทั้งอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และ จรัญ ภักดีธนากุล อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรมและผู้พิพากษาศาลยุติธรรม ซึ่งทางอภิสิทธิ์ก็เคยให้คำแนะนำมาว่าเนื่องจากคดีนี้เกี่ยวข้องกับพระบรมวงศานุวงศ์จึงให้ขอกับทางสำนักพระราชวังเพื่อขอให้มีพระบรมราชานุญาตว่าคดีนี้เป็นคดีที่มีพฤติการณ์พิเศษ ทำให้เขาได้ยื่นถวายฎีกาถึงสำนักพระราชวังโดยผ่านพล.อ.สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ราชเลขาธิการในพระองค์ ไปก่อนหน้านี้แต่ก็ยังไม่ได้มีคำตอบอะไรกลับมา</p> <p>อย่างไรก็ตาม จรัญก็ได้ให้คำแนะนำกับเขาว่า คดีที่เข้าข่ายเป็นคดีที่มี “พฤติการณ์พิเศษ” จะต้องเป็นคดีที่กระทบต่อความสมัครสมานท์สามัคคีของคนในชาติหรือกระทบกับแนวความคิดที่แตกแยกแล้วก็จะนำไปสู่ความล่มสลาย ซึ่งจรัญเองก็เห็น่วาคดีสวรรคตนี้เข้าข่ายเป็นคดีที่มีพฤติการณ์พิเศษ และช่องทางที่จะไปฟ้องพยานบุคคลทั้งตี๋ ศรีสุวรรณและพระยาศรยุทธเสนีก็ไม่สามารถทำได้แล้วเพราะเสียชีวิตกันไปทั้งคู่แม้ว่าจะมีคำให้การยอมรับว่าเคยให้การเท็จอยู่แต่ก็ต้องให้ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดก่อนว่าพยานทั้งสองให้การเท็จเท่านั้น จึงเหลือเพียงช่องทางเดียวคือต้องมีพยานหลักฐานใหม่และพยานหลักฐานใหม่จะต้องพลิกรูปคดีด้วย แต่ถ้าหากศาลตีตกพยานหลักฐานที่ยื่นไปใหม่แล้วก็จะไม่สามารถอุทธรณ์ได้อีก</p> <p>ส่วนเรื่องประเด็นปืนของกลาง จรัญมองว่าไม่นับเป็นหลักฐานใหม่เพราะเป็นสิ่งที่มีอยู่ในคดีอยู่แล้ว แต่ที่กังวาฬพบก็คือการตรวจพิสูจน์ปืนด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยขึ้นนั้นถือยังถือเป็นหลักฐานใหม่ได้</p> <p>อย่างไรก็ตาม เขายอมรับว่ามีบางประเด็นเช่น การตรวจพิสูจน์ปืนของกลาง ภาพการตรวจสถานที่เกิดเหตุ และผลชันสูตร ที่จำเป็นต้องศึกษาสำนวนคดีที่อยู่ในการครอบครองของสำนักงานอัยการสูงสุดที่ยังไม่สามารถเข้าถึงได้เนื่องจากเป็นเอกสารที่ปิดเป็นความลับและต้องรอให้ครบ 75 ปีถึงจะมีการเปิดได้เผยตามกฎหมายซึ่งการนับเวลาการเปิดเผยเอกสารนี้ไม่ได้เริ่มนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์สวรรคต แต่เป็นนับตั้งแต่วันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาเมื่อพ.ศ.2497 ซึ่งจะครบในพ.ศ. 2572</p> <h2><span style="color:#2980b9;">พยานหลักฐานใหม่ไม่ปิดตายข้อสันนิษฐานว่า ร.8 ยิงตัวเอง</span></h2> <p>นอกจากประเด็นเรื่องคำยอมรับว่าได้ให้การเท็จในคดีสวรรคตของทั้งตี๋ ศรีสุวรรณ และพระยาศรยุทธเสนี ที่ไม่สามารถนำมายื่นเพื่อขอให้รื้อฟื้นคดีได้แล้ว กังวาฬได้เปิดประเด็นที่เขามองว่าเป็นพยานหลักฐานที่จะนำมาใช้ในการรื้อฟื้นคดีครั้งนี้คือผลการตรวจหลักฐานของกลางคือปืนและผลการชันสูตรพระบรมศพ ซึ่งเขามองว่าวิทยาการในสมัยนั้นอาจไม่เพียงพอที่จะพิสูจน์และเกิดความเข้าใจผิดบางประการ</p> <p>จากข้อสรุปของเขาในการศึกษาเรื่องนี้ คือการที่ในหลวงรัชกาลที่ 8 สวรรคตนั้นไม่สามารถตัดความเป็นไปได้ที่พระองค์จะยิงด้วยตัวเองออกไปได้ และถ้าหากเกิดจากการกระทำโดยพระองค์เองผู้ที่ถูกประหารทั้งสามคนก็จะเป็นผู้บริสุทธิ์ โดยเขาได้ทำตารางเปรียบเทียบข้อค้นพบของเขากับคำพิพากษาของศาลในอดีตเอาไว้ดังนี้</p> <p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53268078150_b8ca5039f9_b.jpg" /></p> <h3><span style="color:#2980b9;">พระยาศรยุทธเสนีและตี๋ ศรีสุวรรณ</span></h3> <p>กังวาฬเริ่มจากกล่าวถึงพระยาศรยุทธเสนี ซึ่งถือเป็นพยานปากเอกของฝ่ายโจทก์ที่เคยให้การไว้ว่าปรีดีและพวกเคยมาประชุมที่บ้านของตนสองถึงสามครั้งก่อนเกิดเหตุการณ์สวรรคตและสิ่งที่เขาจำได้คือปรีดี เรือเอกวัชรชัย และเฉลียว พร้อมกับมีคนอีกสองคนที่พระยาศรยุทธเสนีไม่ทราบว่าเป็นใครแต่มีการชี้ตัวภายหลังว่าหนึ่งในสองคนนี้คือชิต สิงหเสนี </p> <p>อย่างไรก็ตาม ภายหลังพระยาศรยุทธเสนีได้เขียนไว้ในบันทึกของตนว่าถูกพระพินิจชนคดีบังคับให้การเช่นนี้ แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่นักข่าวในเวลานั้นไม่มีการติดตามสัมภาษณ์พระพินิจชนคดีในประเด็นนี้หลังบันทึกของพระยายุทธเสนีถูกเปิดเผยเมื่อปี 2510 ก่อนที่พระพินิจชนคดีจะเสียชีวิตในปี 2513</p> <p>ส่วนตี๋ ศรีสุวรรณ ซึ่งเป็นพยานที่เคยให้การว่าได้เห็นและได้ยินการประชุมวางแผนกันในบ้านของพระยายุทธเสนี แม้ว่าเบื้องต้นศาลเองจะไม่ได้ให้ความสนใจและไม่เชื่อในคำให้การของตี๋ในทุกประเด็นแต่ก็มีเพียงศาลชั้นต้นเท่านั้นที่ไม่ได้สนใจ เพราะเมื่อคดีถึงศาลอุทธรณ์และฎีกากลับให้น้ำหนักแก่คำให้การของตี๋ โดยกังวาฬได้นำเสนอความแตกต่างแต่ละประเด็นที่ศาลแต่ละชั้นให้น้ำหนักแก่คำให้การของพยานที่รับรองตี๋ในฐานพยานและคำให้การของตี๋ไว้ดังนี้ (อ้างอิงตามตารางที่กังวาฬใส่ในสไลด์)</p> <table> <tbody> <tr> <td> <p style="text-align: center;">พยานชุดตี๋ ศรีสุวรรณ</p> </td> <td> <p style="text-align: center;">ศาลอาญา</p> </td> <td> <p style="text-align: center;">ศาลอุทธรณ์</p> </td> <td> <p style="text-align: center;">ศาลฎีกา</p> </td> </tr> <tr> <td> <ol> <li>การค้ำประกันยืนยันว่าตี๋ไม่ใช่พยานเท็จของบุคคลทั้ง 5 คนได้แก่ พระพินิจชนคดี, หลวงแผ้วพาลชน, พระยาศรยุทธ, ขุนเทพประสิทธิ์ และชวน จนิษฐ์</li> </ol> </td> <td> <p style="text-align: center;">ไม่เชื่อ</p> </td> <td> <p style="text-align: center;">เชื่อ</p> </td> <td> <p style="text-align: center;">เชื่อ</p> </td> </tr> <tr> <td> <ol start="2"> <li>ตี๋มาพักอาศัยที่บ้านของพระยาศรยุทธเสนีก่อนสวรรณคต</li> </ol> </td> <td> <p style="text-align: center;">ไม่เชื่อ</p> </td> <td> <p style="text-align: center;">เชื่อ</p> </td> <td> <p style="text-align: center;">เชื่อ</p> </td> </tr> <tr> <td> <ol start="3"> <li>ตี๋ล่วงรู้เห็นการมาประชุมวางแผนลอบปลงพระชนม์จริง</li> </ol> </td> <td> <p style="text-align: center;">ไม่เชื่อ</p> </td> <td> <p style="text-align: center;">ไม่เชื่อ</p> </td> <td> <p style="text-align: center;">เชื่อ</p> </td> </tr> <tr> <td> <ol start="4"> <li>ตี๋เห็น ปรีดี, วัชรชัย, เฉลียว, ชิต และบุคคลอีกหนึ่งคน มาประชุมวางแผน</li> </ol> </td> <td> <p style="text-align: center;">ไม่เชื่อ</p> </td> <td> <p style="text-align: center;">ไม่เชื่อ</p> </td> <td> <p style="text-align: center;">เชื่อ</p> </td> </tr> <tr> <td> <ol start="5"> <li>ถ้อยคำที่ตี๋แอบได้ยินเป็นเรื่องจริง</li> </ol> </td> <td> <p style="text-align: center;">ไม่เชื่อ</p> </td> <td> <p style="text-align: center;">ไม่เชื่อ</p> </td> <td> <p style="text-align: center;">ไม่เชื่อ</p> </td> </tr> <tr> <td> <p> </p> </td> <td> <p>ศาลไม่นำมาเป็นเหตุในการพิพากษาประหารชิต</p> </td> <td> <p>ศาลไม่นำมาเป็นเหตุในการพิพากษาประหารบุศย์</p> <p>เพราะฉะนั้นเมื่อถ้อยคำของตี๋ ศรีสุวรรณไม่ประกอบชอบด้วยเหตุผลสมควรที่ควรรับฟังก็ไม่มีทางที่จะลงโทษเฉลียว ปทุมรส</p> </td> <td> <p>เป็นเหตุ 1 ใน 6 ข้อที่ศาลลากนายเฉลียวมาประหารฐานเป็นผู้วางแผนสังการมหาดเล็กทั้งสองคน</p> </td> </tr> </tbody> </table> <p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53267614216_07dba2fb83_b.jpg" /></p> <p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ตำแหน่งที่ตี๋ให้การว่าตนอยู่ในขณะแอบฟัง</span></p> <p>กังวาฬชี้ว่าการที่ศาลฎีกาไม่เชื่อคำให้การของตี๋ว่าเรื่องที่ได้ยินเป็นความจริงแต่เชื่อในประเด็นที่เหลือทั้งเรื่ององค์ประชุมและมีการประชุมเกิดขึ้นจริง กลับเป็นเหตุที่ทำให้เฉลียวถูกดึงเข้ามาเป็นเหตุผลที่ใช้ในการประหารเฉลียว อีกทั้งเฉลียวยังเป็นหัวหน้าของชิตและบุศย์ด้วยเพราะถ้าจะก่อเหตุจะต้องมีคนสั่งการเพราะทั้งสองคนคงไม่ลงมือทำเนื่องจากไม่ได้มีความแค้นส่วนตัวกันดังนั้นการที่จะตัดพยานสองคนนี้ออกจากสำนวนก็จะทำให้สำนวนคดีไม่สมบูรณ์และสั่งฟ้องไม่ได้ ซึ่งเขาก็อยากเห็นว่าศาลจะพิจารณาอย่างไรกับการที่ไม่เชื่อคำให้การของตี๋ที่ว่าได้ยินการพูดคุยกันแต่เชื่อเห็นองค์ประชุมกลับมีผลในการตัดสิน</p> <h3><span style="color:#2980b9;">การตรวจปืนของกลางในเวลานั้นมีข้อผิดพลาด</span></h3> <p>กังวาฬกล่าวถึงประเด็นที่ถือว่าเป็นข้อมูลหลักฐานใหม่คือ การตรวจพิสูจน์ปืนของกลางที่ ดร.จ่าง รัตนะรัตได้มาตรวจในวันที่ 11 มิ.ย.2489 แล้วมีการระบุว่ามีการยิงมาก่อนถูกส่งตรวจพิสูจน์เป็นเวลา 8 วันนั้นการตรวจพิสูจน์ดังกล่าวยังเชื่อถือได้หรือไม่ ซึ่งประเด็นนี้เขาเห็นว่าวิธีการตรวจที่เกิดขึ้นในเวลานั้นและยังคงถูกใช้อยู่ในปัจจุบันเพื่อพิสูจน์ว่าปืนกระบอกใดเคยถูกนำมาใช้ยิงหรือไม่นั้นไม่สามารถบอกได้ว่าถูกนำมายิงครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ได้ เพียงแค่บอกได้ว่าเคยถูกนำมาใช้ยิงหรือไม่เท่านั้น</p> <p>กังวาฬอธิบายในประเด็นนี้ว่ากระบวนการตรวจปืนว่าเคยถูกนำมาใช้ยิงหรือไม่จะใช้น้ำล้างปากลำกล้องปืนมาใส่สารเคมีเพื่อพิสูจน์ว่ามีสารไนเตรทและไนไตรท์หรือไม่ หากมีสองสารดังกล่าวน้ำจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูซึ่งแสดงว่าปืนที่ถูกส่งตรวจเคยถูกใช้ยิงมาก่อนและยังเป็นวิธีการที่กองพิสูจน์หลักฐานของตำรวจใช้กันอยู่แต่ก็แค่บอกได้ว่าปืนเคยถูกนำมาใช้ยิงหรือไม่เท่านั้น</p> <p>อย่างไรก็ตาม จ่างได้ใช้วิธีการเดียวกันนี้ตรวจและพิสูจน์ได้ว่าปืนของกลางเคยถูกใช้ยิง แต่เบื้องต้นเขาได้ตอบตำรวจว่าไม่สามารถบอกได้ว่าถูกใช้ยิงมาแล้วกี่วันเนื่องจากอุปกรณ์ไม่เพียงพอ</p> <p>แต่หลังการรัฐประหาร 8 พ.ย 2490 โดย พล.ท ผิน ชุณหวัณและได้ให้จอมพล ป.พิบูลสงครามกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี จ่างถึงกลับมาพูดเรื่องนี้อีกครั้งว่าปืนกระบอกที่ส่งมาให้เขาตรวจนั้นถูกยิงมาก่อนแล้ว 8 วัน และให้เหตุผลที่เพิ่งมากลับคำให้การเรื่องนี้ว่าเขาไม่กล้าพูดเนื่องจากยังอยู่ภายใต้รัฐบาลปรีดี พนมยงค์ เกรงจะมีภัยต่อตนเอง ซึ่งศาลรับฟังประเด็นนี้ของจ่าง</p> <p>กังวาฬชี้ว่าหลักการตรวจพิสูจน์ของจ่างไม่ได้ผิด แต่ปืนของกลางที่จ่างได้รับมาหลังเกิดเหตุประมาณ 48 ชั่วโมงแล้วนำมาทำการตรวจโดยการใช้น้ำล้างปากกระบอกปืนเพื่อพิสูจน์ว่าการมีการยิงหรือไม่ แล้วจ่างก็เพียงแค่เขียนเป็นบันทึกว่าเป็นสีชมพูจางๆ ที่พิสูจน์ได้ว่ามีการยิงจริงแต่บอกไม่ได้ว่ายิงมาแล้วกี่วันแต่ก็ไม่ได้มีภาพถ่ายซึ่งในเวลานั้นยังไม่มีกล้องที่จะถ่ายภาพไว้ได้ด้วย</p> <p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53267614221_86e73554cd_b.jpg" /></p> <p>กังวาฬกล่าวต่อว่าภายหลังจ่างก็มีการทดลองเปรียบเทียบอีก 4-5 ครั้งโดยเปรียบเทียบความเข้มของสีในน้ำล้างปากกระบอกปืนอื่นๆ แล้วสันนิษฐานตามที่เขาเห็นว่าความเข้มของสีในน้ำจากปืนของกลางไปตรงกับความเข้มของสีในน้ำที่ได้จากปืนที่ยิงมาแล้ว 8 วัน แต่การทดสอบก็ปรากฏด้วยว่าแม้จะถูกใช้ยิงมานานกว่านั้นความเข้มของสีในน้ำล้างกระบอกปืนก็มีสีเข้มกว่าปืนที่ถูกใช้ยิงมา 8 วันใด ซึ่งประเด็นนี้ก็ถูกนำมาใช้โต้แย้งในศาล แต่ศาลกลับเป็นว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นดังกล่าวเกิดกับเฉพาะปืนที่ยิงมานานเกินกว่า 10 วันแล้วเท่านั้น เพราะปืนที่ยิงมานานน้อยกว่านั้นผลการตรวจยังไม่มีความผิดพลาด</p> <p>อย่างไรก็ตาม กังวาฬพบว่าเคยมีนักศึกษาปริญญาโทของมหาวิทยาลัยมหิดลเคยทำการทดสอบแบบเดียวกันกับจ่าง แต่กลับพบว่า ความเข้มของสีในน้ำจากปืนที่ใช้ยิงมาแล้ว 3 วัน กลับเข้มกว่าน้ำจากปืนที่ใช้ยิงมาวันเดียว</p> <p>“ผมเชื่อว่าการทำของดร.จ่างนั้นทำด้วยความบริสุทธิ์ใจแต่มันมีข้อผิดพลาด แล้วเมื่อไม่ควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่ผมจะพูดต่อไปนี้มันก็จะมีข้อผิดพลาด”</p> <p>กังวาฬกล่าวถึงปัจจัยที่ต้องควบคุมในการทดสอบว่ามีอยู่ 6 ข้อ</p> <ol> <li>ต้องใช้ปืนของกลางมาทดสอบ แต่การทดสอบของจ่างนั้นไม่ได้ทำด้วยปืนที่เป็นของกลาง แต่มีการใช้ปืนกระบอกอื่นกระสุนจากที่อื่นมาทำการทดลอง เพราะแม้จะใช้ปืนรุ่นเดียวกันแต่เป็นกระบอกอื่นก็มีปริมาณการคงค้างไม่เท่ากัน</li> <li>ระยะยิง จากการทดลองในปัจจุบันพบว่าการยิงใกล้หรือไกลจากเป้าหมายก็ทำให้สารคงค้างบนกระบอกไม่เท่ากัน แต่จ่างได้ปืนมาทดลองในวันที่ 11 มิ.ย.2489 และทำการทดลองเสร็จในวันที่ 15 มิ.ย. 4 วันหลังจากได้รับปืน แต่ผลการชันสูตรพระบรมศพและมีการทดลองยิงศพอื่นจนได้ผลออกมาว่าการยิงเกิดขึ้นในระยะ 5 ซม.ออกเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. ซึ่งจะเห็นได้ว่าการทดลองของจ่างเสร็จสิ้นไปก่อนจะได้รู้ระยะยิงจริงที่เกิดขึ้น</li> <li>ระยะเวลาการเก็บตัวอย่าง ปืนของกลางถูกส่งให้จ่างหลังเกิดเหตุ 48 ชั่วโมงไปแล้ว</li> <li>จำนวนกระสุนที่ยิงทำให้มีการสะสมของสารเคมีบนปืนไม่เท่ากัน ซึ่งการทดลองของจ่างบางครั้งก็มีการยิงมากกว่า 1 นัด</li> <li>อุณหภูมิความชื้นส่งผลต่อการสะสมของสารเคมีบนปืนที่ใช้ยิงไม่เท่ากัน</li> <li>วิธีการตรวจ ซึ่งเป็นเพียงการสังเกตด้วยตาของจ่างเท่านั้นแม้ภายหลังจะมีการใช้ Spectro Photometer มาวัดแต่ก็ไม่ได้มีกล้องมาถ่ายภาพสีไว้ได้ ทำให้ทดลองซ้ำไม่ได้</li> </ol> <p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53267965314_13f3ee6bf0_b.jpg" /></p> <h3><span style="color:#2980b9;">การชันสูตรพระบรมศพ</span></h3> <p>นพ.กฤติน มีวุฒิสม แพทย์นิติเวช กล่าวว่าเขามาสนใจเรื่องนี้เพราะเห็นการถกเถียงเกี่ยวกับกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ซึ่งเขาเห็นว่าประเด็นที่ทำให้เกิดความวุ่นวายของเรื่องเกิดจากการทำงานของแพทย์ที่ทำการตรวจในสมัยนั้นเกือบ 20 คนที่ไม่มีคนใดเป็นแพทย์เฉพาะทางเรื่องนี้ด้วยและศาสตร์วิชาทางนิติวิทยาศาสตร์ในเวลานั้นยังไม่เท่ากับในปัจจุบัน และการให้ความเห็นของแพทย์ในเวลานั้นก็สะเปะสะปะไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกันซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจผิด และยังถูกนำไปใช้ในกระบวนการยุติธรรม</p> <p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53266720512_3798479a5d_b.jpg" /></p> <p>นพ.กฤตินกล่าวถึงประเด็นเรื่องที่พบแผลที่หน้าผากของรัชกาลที่ 8 ใหญ่กว่าแผลที่ท้ายทอยซึ่งเป็นจุดทะลุของกระสุนแล้วถูกเข้าใจว่าแผลที่ด้านหลังเล็กกว่าจึงเป็นทางเข้าของกระสุนและออกทางหน้าผากจึงเป็นการยิงจากด้านหลังซึ่งทำให้มีข้อสรุปว่เกิดจากการกระทำโดยตัวของผู้ตายเองได้ยากและเป็นเรื่องที่แปลก ทำให้เกิดข่าวลือว่ารัชกาลที่ 8 ถูกลอบปลงพระชนม์จากทางด้านหลัง</p> <p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53268077905_05ee012652_b.jpg" /></p> <p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพรอยกระสุนออกที่ท้ายทอยของรัชกาลที่ 8</span></p> <p>แพทย์นิติเวชกล่าวว่าจากภาพบาดแผลบนหน้าผากของรัชกาลที่ 8 มีความชัดเจนว่าปากกระบอกปืนประทับชิดกับศีรษะ ซึ่งการยิงในลักษณะนี้พบว่าเกิดจากการกระทำด้วยตัวเองถึง 94% ซึ่งไม่มีเหตุผลใดให้เอาเรื่องบาดแผลที่เกิดลักษณะนี้มาตัดความเป็นไปได้ที่จะเป็นการกระทำของผู้ตายออกไป</p> <p>“ใช้เหตุผลในเรื่องของบาดแผล ลักษณะบาดแผลหรือวิถีกระสุน มันมาชี้ในเรื่องของพฤติการณ์การตาย โดยเฉพาะเอามาตัดการกระทำตัวเองไม่ได้” นพ.กฤติน</p> <p>ส่วนประเด็นเรื่องที่ในคำพิพากษาของศาลระบุว่าหากเป็นการยิงตนเองมือจะต้องตกอยู่บนอกไม่น่าจะอยู่แนบข้างลำตัว นพ.กฤตินกล่าวว่าในปัจจุบันก็พบว่าการยิงตัวเองมือจะอยู่ตำแหน่งใดก็ได้ ขึ้นกับท่าทางตอนยิงด้วย ไม่ใช่ว่าจะยิงตัวเองแล้วมือต้องตกอยู่อย่างไร ไม่ได้เป็นหลักการอะไร</p> <p>แพทย์นิติเวชระบุว่าปัจจุบันถ้าอยากรู้ว่าเป็นการยิงตัวเองหรือไม่ก็จะทำการตรวจเขม่าดินปืนที่มือว่ามีหรือไม่ หรือดูจากระยะยิงแล้วก็หลักฐานอื่นอีกหลายอย่างประกอบ </p> <p>ประเด็นที่ในคำพิพากษาที่ใช้โต้แย้งว่าเกิดจากการยิงตัวเองคือความเห็นของแพทย์ที่ระบุว่าหากเป็นการยิงตัวตายที่ศีรษะ สมมองส่วนที่ทำให้กล้ามเนื้อหดตัวและคลายตัวจะไม่มีการทำงานแล้ว มือและนิ้วมือก็ควรจะแข็งอยู่ในสภาพสุดท้ายก่อนสมองส่วนนี้ถูกทำลาย ทำให้มือและนิ้วอยู่ในท่าเดิมก่อนตาย แต่พระบรมศพไม่เกิดสภาพนี้แล้วก็ถูกเอามาสรุปในคำพิพากษาว่าไม่ได้เกิดจากการทำตัวเอง ซึ่งก็มีกรณีที่ปรากฏเป็นข่าวที่มีการยืนยันแล้วว่าเป็นการยิงตัวตายแต่ปืนก็ไม่ได้อยู่ในกำมือ</p> <p>กังวาฬกล่าวเสริมว่าจากผลสำรวจการยิงตัวตาย 600 กว่ากรณีในสหรัฐฯ พบว่ามีปืนอยู่ในมือผู้ตายเพียง 25.7% แต่ในเวลานั้นมีกรณีที่ถูกเอามาเทียบกับกรณีสวรรคตเพียงแค่ 3-4 กรณีเท่านั้นซึ่งน้อยเกินไป</p> <p>กังวาฬกล่าวต่อว่าอัยการในคดีมีการตั้งข้อสงสัยอยู่ 6 ประเด็น</p> <ol> <li>รอยกดปืนที่หน้าผาก</li> <li>วิถีกระสุนที่เข้าหน้าผากทะลุท้ายทอย</li> <li>ตำแหน่งกระสุนทะลุหมอน</li> <li>หัวกระสุนที่ฝังในฝูก</li> <li>ปลอกกระสุนที่ตกอยู่ฝั่งซ้ายของร่างกาย</li> <li>พระหัตถ์ที่เปื้อนเลือด</li> </ol> <p>นพ.กฤติน กล่าวถึงข้อแรกบาดแผลที่หน้าผากที่ฉีกเป็นกากบาท ในทางนิติเวชแล้วลักษณะบาดแผลแบบนี้ทำให้เห็นว่าเป็นการยิงแบบติดผิวหนัง คือมีการประทับกระบอกปืนกับผิวหนัง แล้วก็มีลอยแผลถลอกหรือฟกช้ำเป็นวงรีตรงตำแหน่งหกนาฬิกาตามที่วงสีแดงไว้ในภาพ ซึ่งปัจจุบันหากเห็นแผลลักษณะนี้ก็ไม่ต้องทดสอบหาระยะยิงแล้วและสามารถบอกได้เลยว่าเป็นการยิงติดผิวหนัง และจากแพทย์ที่ตรวจพระบรมศพเองก็มีการเอาชิ้นเนื้อไปตรวจแล้วพบว่ามีเขม่าดินปืนสีดำใต้บาดแผล</p> <p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53266720367_25bae3b927_b.jpg" /></p> <p>ข้อสอง กังวาฬกล่าวในประเด็นนี้ว่าวถีกระสุนชัดเจนว่าเข้าทางเหนือกระบอกตาแล้วทะลุออกท้ายทอยตามภาพ ซึ่งเป็นประเด็นที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้</p> <p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53267613561_587c3a6403_b.jpg" /></p> <p>ข้อที่สามเรื่องตำแหน่งกระสุนทะลุฟูกที่อัยการสงสัยว่าหากมีการยิงทะลุลงไปตำแหน่งหมอนจะต้องอยู่ห่างจากหัวเตียง 40 ซม.ทำให้ท่านอนราบขายืดออกไปก็จะหลุดพ้นปลายเตียง แต่ถ้านอนชันเข่าบุศย์ก็เคยให้การว่าตอนที่เอาน้ำส้มไปให้รัชกาลที่ 8 กำลังนั่งชันเข่าแต่ก็เป็นท่าที่ไม่เคยเห็นมาก่อนแต่เป็นประเด็นที่ไม่ถูกหยิบขึ้นมา</p> <p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53266720327_ae56dc4617_b.jpg" /></p> <p>ข้อที่สี่ กระสุนที่ทะลุหมอนกับทะลุฝูกอยู่เยื้องกันและกระสุนฝังอยู่ในฟูกเพียง 3 นิ้ว แต่จากการทดลองยิงศพ 7 ศพที่ศิริราชซึ่งปรากกฎผลตามภาพประกอบ</p> <p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53267894058_11b8274d55_b.jpg" /></p> <p>กังวาฬกล่าวถึงเรื่องเลือดที่จะกระเส็นกลับมาจากบาดแผล ถ้าหากรัชกาลที่ 8 ยิงตนเองก็จะต้องมีเลือดที่พระหัตถ์ ซึ่งก็ได้มีการทำเทียบคำให้การของพยานที่ได้เห็นพระบรมศพในที่เกิดเหตุไว้และพบว่าไม่มีใครให้การถึงเรื่องพระหัตถ์มีเลือดสีแดงติดอยู่นอกจาก มังกร ภมรบุศย์ (ดูภาพตารางเปรียบเทียบท้ายข่าว)</p> <p>นพ.กฤตินกล่าวเสริมว่า ไม่ว่าใครจะเป็นคนยิงในระยะเดียวกับกรณีนี้ก็มีโอกาสที่เลือดจะกระเส็นกลับใส่คนยิง ไม่ว่าจะกล่าวหาใครก็ตามว่าเป็นคนยิงควรจะมีรอยเลือดที่กระเส็นกลับมานี้ติดตามตัวคนยิงอยู่บ้าง</p> <p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53267965494_76d473fcb4_k.jpg" /></p> <p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">กังวาฬได้นำเสนอโดยนำข้อเท็จจริงต่างๆ มาเทียบกับข้อสงสัยของอัยการทั้ง |