หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - สัปปายะสภาสถาน: ภาพสะท้อนความแปลกแยกระหว่างชนชั้นนำกับสังคม เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 03 ธันวาคม 2566 00:06:09 สัปปายะสภาสถาน: ภาพสะท้อนความแปลกแยกระหว่างชนชั้นนำกับสังคม
<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2023-12-02 22:44</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>วิทวัส ช้างศร</p> <p> </p> </div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p style="margin: 0in 0in 8pt;">รัฐสภาเป็นสิ่งสำคัญในทางกายภาพในการดำเนินกิจการทางการเมืองในระดับประเทศ โดยตัวแทนของประชาชนที่เป็นเจ้าของประเทศและอำนาจอธิปไตย เข้ามาประชุมแลกเปลี่ยนถกเถียง แสดงวิสัยทัศน์ ลงประชามติ ออกกฎหมาย และกฏระเบียบต่างๆ เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ในกรณีรัฐสภาแห่งใหม่ หรือ สัปปายะสภาสถานกำลังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างหลากหลายแง่มุม ได้แก่ 1) งบประมาณที่สร้าง สูงมากซึ่งขัดกับสังคมไทยที่คนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน แม้ชนชั้นกลางส่วนมากจะสามารถมีบ้านได้ แต่อาจต้องผ่อนนานมากกว่า 30 ปี 2) ระยะเวลาที่สร้างล่าช้าเกินกำหนด 3) ความไม่สมบูรณ์ของอาคาร (เช่น น้ำรั่ว) 3) การแยกลิฟท์ระหว่างข้าราชการการเมืองกับเจ้าหน้าที่ แสดงถึงความ “เจ้ายศเจ้าอย่าง” แยกบุคคลโดยสถานะทางสังคมอย่างชัดเจนดังสังคมสมัยโบราณ 4) ไม่มีห้องพักแม่บ้าน “ฝุ่นเมือง” “ไม่เห็นหัวคน(ธรรมดา)” ชนชั้นนำมุ่งเน้นปรนเปรอความสุขของตน ไม่คำนึงถึงความต้องการพื้นฐานของคนธรรมดา 5) ซึ่งเป็นที่กล่าวขานกันเป็นอย่างมากคือรูปแบบอาคารที่นำความเชื่อทางศาสนามาใช้ในการออกแบบ สถานที่ของรัฐต้องแสดงคุณค่ากลาง คือ เสรีภาพ ความเป็นประชาธิปไตย ไม่ควรอย่างยิ่งที่สะท้อนถึงความเชื่อของบุคคลเฉพาะกลุ่ม ประชาชนไทยมีหลายศาสนา หลายความเชื่อ รวมทั้งคนที่ไม่นับถือศาสนา จึงไม่ควรสร้างความรู้สึกสร้างความ“เป็นอื่น” นอกจากนี้ “ความเป็นไทย” คือความหมายที่ถูกสร้างขึ้นจากชนชั้นนำ และความหมายยังลื่นไหลไปตามประโยชน์ของชนชั้นนำอีกด้วย</p> <p style="margin: 0in 0in 8pt;">ในบทความนี้ขอเน้นไปที่ประเด็นเกี่ยวกับไสยศาสตร์กับศาสนา คือเรื่องเหนือธรรมชาติหรืออำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถให้คุณให้โทษต่อมนุษย์ได้ มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับการขอหรืออธิฐาน แต่ความแตกต่างคือ ไสยศาสตร์มักขอหรือต้องการให้เกิดเรื่องที่เฉพาะเจาะจงกว่า มีการสร้างรูปแบบตัวแทนหรือจำลองในรูปแบบต่างๆ อย่างการฝังรูปฝังหุ่น เช่น การทำเสน่ห์ที่เจาะจงบุคคลว่าต้องการให้ใครรัก เป็นต้น ส่วนศาสนามีการขออธิฐานเช่นกัน แต่เน้นสนองความต้องการในเรื่องทั่วๆไปคือเจาะจงน้อยกว่า เช่น ขอคู่ครองหรืออาจมีการกำหนดคุณสมบัติ แต่ไม่เจาะจงตัวบุคคล เป็นต้น ความเข้าใจที่สำคัญคือ <strong>การที่มนุษย์เข้าหาไสยศาสตร์ไม่ได้สะท้อนถึงการขาดความรู้ แต่สะท้อนถึงความไม่มั่นใจในอนาคตของตน </strong>(ปุณณฑรีย์ เจียวิริยบุญญา, 2564) บางกรณีการใช้ไสยศาสตร์ทำเพื่อสู้กับศัตรูที่ไม่สามารถสู้ทางตรงได้หรือซึ่งหน้าได้ ที่สำคัญยิ่งมนุษย์ขาดความมั่นใจมากก็ยิ่งต้องการอำนาจจากสิ่งลี้ลับมากเพิ่มขึ้นเท่านั้น ดังที่ งามพิศ สัตย์สงวน (2538) ยกตัวอย่างมีใจความว่าในการทำประมงชายฝั่งของสังคมแบบดั้งเดิม (primitive societies) บางแห่ง ชาวประมงยึดถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้คุ้มครองตน ส่วนชาวประมงที่หาปลาในเขตน้ำลึกก็จะยึดถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เข้มแข็งและดุร้ายกว่าประมงน้ำตื้นตามสภาพความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ในกรณีรัฐสภาแห่งใหม่นี้ถ้ามองในมุมมองของชนชั้นนำนั้นสร้างขึ้นมาโดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตน แก้อาถรรพ์ ปัดรังควาน เพราะในมุมมองรัฐแบบโบราณถ้ามีผู้ไม่เห็นด้วยกับรัฐถือเป็นความเลวร้าย หรืออีกนัยหนึ่งรัฐสภาแห่งนี้สร้างขึ้นมาเพื่อกอบกู้ประเทศ (วิญญู อาจรักษา, 2556) ที่พวกชนชั้นนำสำคัญผิดว่าเป็นของตน จากการที่ศีลธรรมตกต่ำลงในสายตาของพวกเขา</p> <p>ไสยศาสตร์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ศาสนา และความเชื่อ ถ้าเป็นเรื่องส่วนบุคคล ก็ถือว่าเป็นเสรีภาพของปัจเจกชนที่เลือกนับถือสิ่งใดหรือไม่นับถือสิ่งใดก็ได้ แต่หากรัฐนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการปกครองก็เป็นสิ่งไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง เพราะเป็นการครอบงำ เป็นความล้าหลัง และประเทศไทยก็ไม่ใช่รัฐศาสนา ประเทศไทยประกอบด้วยหลากหลายศาสนาและความเชื่อ คงไม่มีทางนำรูปแบบหรือสัญลักษณ์ของทุกศาสนาทุกความเชื่อลงไปได้ และหากสามารถทำได้ก็คงไม่สามารถทำให้ทุกศาสนาและความเชื่อดูสำคัญเท่าๆกันได้อยู่ดี แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือมันเป็นสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับสังคมโลกวิสัยและระบอบประชาธิปไตย กระทบต่อเสรีภาพในการแสดงออก เพราะการตั้งคำถามและการตั้งข้อสงสัยเป็นสิ่งที่สำคัญมากในสังคมประชาธิปไตย แต่กับไสยศาสตร์ ศาสนา และความเชื่อ มันยากที่เราจะทำเช่นนั้น เพราะเราเชื่อว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีอำนาจเหนือเรา เราจึงมักตั้งคำถามกับสิ่งเหล่านี้น้อย เรา(เชื่อว่า)อาจถูกลงโทษจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือถ้าเราไม่เชื่อเราก็อาจถูกลงโทษจากผู้อื่นที่เชื่อถือหรือผู้ที่นำความเชื่อนี้มาใช้ประโยชน์ นอกจากนี้ ไสยศาสตร์มักเป็นเรื่องของการวอนขอ เรื่องของความกลัว เช่น กลัวความไม่มั่นคงในชีวิตตน กลัวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลงโทษ เป็นต้น แต่สิทธิ เสรีภาพ และสวัสดิการต่างๆของคนธรรมดา มาจากการต่อสู้เรียกร้อง ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ประชาชนคนธรรมดาอ้อนวอนขอความเมตตาจากชนชั้นนำ เหมือนมนุษย์อ้อนวอนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์</p> <p>ในการออกแบบที่นำรูปแบบโบราณนำมาประยุกต์โดยทั่วไปนำมาเพียงเป็นสัญลักษณ์ แต่ไม่ใช่กับรัฐสภาแห่งนี้</p> <p style="text-align: justify; margin: 0in 0in 8pt 40px;">“...โดยทั่วไปอาคารที่ใช้ความเป็นไทยในการออกแบบ เรามักจะใช้แค่เปลือก รูปทรง แต่แนวคิดและการใช้พื้นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับวัดเลย เช่น อาคารราชการของไทย หลังคาเป็นลักษณะทรงไทยเท่านั้น แต่รัฐสภาหลังใหม่นี้กลับตรงกันข้าม ลักษณะเหมือนวัด พื้นที่ (space) ข้างในก็เหมือนวัด ข้างบนตัวอาคารเป็นที่ประดิษฐานจุฬามณีเจติยสถาน เป็นที่ประดิษฐานพระสยามเทวาธิราช นอกจากจะเหมือนวัดแล้ว ก็ยังพาเราย้อนกลับไปหาโลกอดีตโดยสมบูรณ์ ...รัฐสภาหลังนี้จึงไม่ใช่เอารูปแบบของวัดมาใช้เฉยๆ แต่นำเอาความศักดิ์สิทธิ์ ความหมาย แนวคิดทางศีลธรรมมาใช้ ทุกอย่างต้องการให้ย้อนกลับไปหาอาคารทางศาสนา และแน่นอนที่สุด รูปแบบวัด รูปแบบศาสนาก็ตอบโจทย์เรื่องความเป็นไทยในเวลาเดียวกัน...” (ชาตรี ประกิตนนทการ, 2562) </p> <p style="margin: 0in 0in 8pt;">การสร้างรัฐสภามีแนวคิดบนพื้นฐานจากไตรภูมิและเขาพระสุเมรุ สมมติเป็นตัวแทนศูนย์กลางจักรวาลหรือศูนย์กลางอำนาจ เป็น “สภาที่ศักดิ์สิทธิ์” (พิพิธภัณฑ์รัฐสภา, 2564) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ชนชั้นปกครองครองที่มุ่งเน้นการ “อวย” เชิดชูตัวบุคคลหรือกลุ่มบุคคล “บุคคลวิเศษ” เพื่อสร้างความชอบธรรมในการกดขี่ประชาชนคนธรรมดา แล้วยังเป็นการสะท้อนการรวมศูนย์อำนาจ และเป็นผลิตผลทางสังคมที่สร้างขึ้นมาเพื่อครอบงำ (เบญจวรรณ์ ทัศนลีลพร, 2565) ซึ่งตรงข้ามกับเสรีภาพ ความเสมอภาค และสังคมประชาธิปไตย นอกจากนี้ และการรวบอำนาจสู่ศูนย์กลางไม่สอดคล้องกับสังคมปัจจุบันที่เน้นกระจายอำนาจ ไม่สะท้อนการรับใช้ประชาชน” หรือ ประชาชนเป็น “เจ้าของประเทศ” แต่กลับเป็นการแสดงอำนาจของชนชั้นปกครอง ขาดความพอเพียง “อวดเบ่ง” ทั้งๆที่ประชากรส่วนใหญ่ยังยากจนหรือถูกทำให้ยากจน สังคมสมัยใหม่ควรเป็น “โลกวิสัย” ที่เชิดชูศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ที่มีความเท่าเทียมกัน มีเกียรติมีศักดิ์ศรี ซึ่งเป็นคุณค่ากลางที่ทุกคนยึดถือร่วมกัน ไม่มีใครวิเศษหรือศักดิ์สิทธิ์ รัฐสภาควรสร้างบนพื้นฐานในการใช้งาน ประโยชน์ใช้สอย ไม่มีสัญลักษณ์หรือมีที่มาจากไสยศาสตร์ ศาสนา และความเชื่อ เพื่อแสดงความเสมอภาค ความเป็นมิตรกับทุกความเชื่อ ศาสนา และทุกชาติพันธุ์ โดยคำนึงถึงการใช้เงินภาษีทุกบาทอย่างคุ้มค่า ความ “มีหน้ามีตา” ของประเทศไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาด ความอลังการ งบประมาณของสิ่งก่อสร้างใด แต่ขึ้นกับการอยู่ดีมีสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสิทธิเสรีภาพความเสมอภาคของประชากร และประชาชนไม่เพียง “อยู่ในฐานะสำคัญในทุกภาคส่วน” (พิพิธภัณฑ์รัฐสภา, 2564) แต่ประชาชนต้องสำคัญที่สุด</p> <p>นอกจากการใช้แนวคิดเรื่องเขาพระสุเมรุแล้ว ยังมีการการนำไสยศาสตร์มาร่วมด้วย ได้แก่ การตั้งเทวรูปพระสยามเทวาธิราช พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระภูมิชัยมงคล และศาลตายาย และมีการประกอบพิธีบรวงสรวง</p> <p style="margin-left: 40px;">“สำหรับพิธีการเป็นการจัดแบบพิธีพราหมณ์ ฉัตรชัย ปิ่นเงิน หัวหน้าโหรพราหมณ์ สำนักพระราชวัง นำอ่านโองการบวงสรวง และประธานในพิธีได้วางเหรียญจำนวน 19 เหรียญ พลอย 9 สี พร้อมข้าวตอกดอกไม้ จากนั้นหลั่งน้ำเจิมองค์พระสยามเทวาธิราช พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระภูมิชัยมงคล หลั่งน้ำเจิมตายายและบริวาร จากนั้นอธิษฐานอัญเชิญเข้าศาล ก่อนจุดธูปเทียนหน้าเครื่องบวงสรวงและโปรยดอกไม้” (The Standard, 2565)</p> <p style="margin: 0in 0in 8pt;">ไสยศาสตร์หรือความเชื่อเรื่อง “ผี” นอกจากไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ (อย่างน้อยก็ในการตีความของพุทธทาสภิกขุ ประยุทธ์ ปยุตฺโต และ ปัญญานันทภิกขุ เป็นต้น) ยังไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะความเชื่อนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองการเป็นรัฐชาติ (Nation State) และความต้องการจากการปกป้องประเทศหรือรัฐสยาม (เหล่าชนชั้นนำ) จากการล่าอาณานิคมของตะวันตก ในสมัยรัชกาลที่ 4 ส่วนในปัจจุบันศัตรูของชนชั้นนำก็คือ คนรุ่นใหม่ คนที่ตาสว่าง และสังคมโลกในยุคปัจจุบัน ที่ปฏิเสธสังคมอำนาจนิยม ความไม่เท่าเทียมกัน การขาดผูกขาดทรัพยกร และผูกขาดการกำหนดนาคตของชาติ นอกจากนี้ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธเองก็ใช่ว่าทุกคนมีความเชื่อเรื่องพระสยามเทวาธิราช และเทวรูปควรอยู่ในศาสนสถานไม่ใช่ในรัฐสภา ห้องประชุม สส. และ สว. ที่เปรียบเสมือนเป็นแค่บริวารของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หรือเป็นองค์ประกอบรอง (ชาตรี ประกิตนนทการ, 2562) ซึ่งมีอำนาจสูงสุดควบคุมอีกที ในสถานที่ทั้งภาครัฐและเอกชน เรามักเห็นการตั้งศาลหรือมีเทวรูป แต่มักเป็นการตั้งในบริเวณพื้นที่ที่แยกออกมาต่างหากจากอาคารหลัก การที่อาคารรัฐสภามีส่วนสำคัญหรือศูนย์กลางที่เป็นสัญลักษณ์ของศาสนาและความเชื่อ แสดงให้เห็นว่ารัฐภาไม่เพียงเป็นการนำแนวคิดทางศาสนาและความเชื่อมาเป็นพื้นฐานในการสร้างอาคารเท่านั้น แต่รัฐสภาแห่งนี้คือ ศาสนสถาน หรือเป็นการนำไสยศาสตร์มาใช้อย่างเต็มรูปแบบ</p> <p style="margin: 0in 0in 8pt;">ตัวอย่างอาคารรัฐสภาของประเทศเยอรมัน เป็นอาคารเก่าที่มาต่อเติมสร้างโดมแก้วอยู่ด้านบนในส่วนที่เป็นจุดศูนย์กลางอาคารสามารถมองเห็นเมืองเบอร์ลินได้ 360 องศา โดมนี้ทะลุลงมาห้องประชุมใหญ่ ที่แสดงถึงสว่างความโปร่งใส่ (ซึ่งต่างจากรัฐสภาไทยที่ศูนย์กลางมีรูปทรงเจดีย์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ) นอกจากนี้ยังเปิดให้ทุกคนสามารถเข้าชมได้เพียงแต่ต้องจองล่วงหน้า (The German Way & More, 2023) ลานหน้ารัฐสภาพเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ไม่ได้สะท้อนถึงความศักดิ์สิทธิหรืออำนาจลี้ลับแต่อย่างใด</p> <p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53370598771_1aacef2806_o_d.png" style="width: 480px; height: 320px;" /> <span style="color:#2980b9;">ที่มา: History Hit (2023)</span></p> <p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53370598801_71a67a5f9e_o_d.png" style="width: 480px; height: 320px;" /> <span style="color:#2980b9;">ที่มา: Visit Berlin (2023)</span></p> <p style="margin-bottom:0in; text-align:justify; margin:0in 0in 8pt"><span style="font-size:11pt"><span style="line-height:normal"><span style="font-family:Calibri,sans-serif"><span style="position:absolute; margin-left:72px; margin-top:2579px; width:821px"><span style="z-index:-1895825408"><span style="left:0px"><span style="height:576px"><img src="file:///C:/Users/VivoBook/AppData/Local/Temp/msohtmlclip1/01/clip_image006.png" style="width:547px; height:384px" /></span></span></span></span></span></span></span></p> <p style="margin: 0in 0in 8pt; text-align: center;"><span style="color:#2980b9;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53369695672_a38e020b39_o_d.png" style="width: 480px; height: 338px;" /> ที่มา: The German Way & More (2023)</span></p> <p style="margin: 0in 0in 8pt;">ชนชั้นนำพวกเขากลัวการเสียอภิสิทธิ์ (หรือได้รับน้อยลง) เสียหรือถูกลดบทบาทในสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง นับรวมถึงความมั่งคั่งของพวกตนลดลง เนื่องจากคนรุ่นใหม่ที่ออกมาเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ส่วนคนรุ่นก่อนก็ค่อยๆร่วงโรยไปหรือบางคนก็ “ตาสว่าง” การสร้างจิตสำนึกเท็จที่ทำอย่างได้ผลมาตลอดหลายทศวรรษใช้ไม่ได้ผลกับคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ ถึงแม้ชนชั้นนำจะเปี่ยมด้วยอำนาจทางตรง ทางอ้อมมากมาย เช่น กองทัพ ตำรวจ พนักงานของรัฐ กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม สื่อสารมวลชน อำนาจทางเศรษฐกิจ การผูกขาดทรัพยากร การศึกษา นับรวมถึง ขนบธรรมเนียนประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ และค่านิยมต่างๆ เป็นต้น แต่เอาเข้าจริงพวกนี้ก็เป็นเพียงคนกลุ่มน้อยอาจไม่ถึง 1% ที่ครองอำนาจมาอย่างยาวนานส่วนหนึ่งก็เพราะจากการหลอกลวงผ่านการประชาสัมพันธ์อย่างบ้าคลั่ง หากคนส่วนใหญ่ตาสว่างและสามารถรวมตัวกันได้ก็ถึงวาระสุดท้ายของเหล่าชนชั้นนำที่เอาเปรียบขูดรีด นอกจากการต่อสู้กับคนรุ่นใหม่และคนที่ตาสว่างแล้วมีสิ่งหนึ่งที่ชนชั้นนำไม่มีทางเอาชนะได้เลยคือ เวลา ซึ่งนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ไม่มีใครสามารถหยุดเวลาหรือเข็มนาฬิกาได้ ความพยายาม “แช่แข็ง” หรือย้อนเวลากลับไปในอดีตจึงเป็นเรื่องตลกร้าย เพราะภาษีทรัพยากรต่างๆที่ประชากรจ่ายให้กับรัฐ แทนที่จะนำไปปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดีขึ้น กลับนำไปใช้ใช้มอมเมาครอบงำประชากรเอง</p> <p style="margin: 0in 0in 8pt;"><strong>เราอาจรู้สึกว่าเราเป็นแต่ฝ่ายที่ถูกกระทำซึ่งก็เป็นความจริง แต่ใช่ว่าไม่มีผลอะไรต่อผลชนชั้นนำ เพราะพวกเขาสัมผัสถึงการรุกคืบของคนรุ่นใหม่ และรุ่นก่อนนี้ที่ตาสว่าง และรู้ว่าบ้านเมืองนี้จะไม่มีทางเหมือนเดิมอีกต่อไปตลอดกาล ชนชั้นนำจึงนำทุกอย่างที่ตนมีมาใช้ไม่ว่าการใช้กำลังทางตรง กฎหมาย การก่อกวน การโฆษณาชวนเชื่อ นับรวมถึงไสยศาสตร์ สิ่งเหล่านี้มีแรงผลักดันจากความโกรธ ความเกลียด โดยผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่าบางทีแรงผลักดันนี้อาจรวมถึงความกลัวต่อการเปลี่ยนแปลงในการเสียหรือลดลงของอภิสิทธิและผลประโยชน์ รวมทั้งความรู้สึกไม่แน่นอนมั่นใจในอนาคตของตนในเหล่าชนชั้นนำด้วย</strong></p> <p> </p> <p><strong>อ้างอิง</strong></p> <p>History Hit. (2023). The Reichstag. https://www.historyhit.com/locations/reichstag/ (https://www.historyhit.com/locations/reichstag/)</p> <p>The German Way & More. (2023). The Reichstag in Berlin. https://www.german-way.com/travel-and-tourism/germany-for-tourists/city-guides-germany/berlin-and-potsdam/the-reichstag-in-berlin/ (https://www.german-way.com/travel-and-tourism/germany-for-tourists/city-guides-germany/berlin-and-potsdam/the-reichstag-in-berlin/)</p> <p>The Standard. (2565). รัฐสภาไทยประกอบพิธีพราหมณ์ ตั้งศาล ‘พระสยามเทวาธิราช-ศาลตายาย’ ประจำรัฐสภา. Retrieved พฤศจิกายน 22 from https://thestandard.co/thai-parliament-performs-brahmin-ceremony-establishes-court/ (https://thestandard.co/thai-parliament-performs-brahmin-ceremony-establishes-court/)</p> <p>Visit Berlin. (2023). Reichstag in Berlin. https://www.visitberlin.de/en/reichstag-in-berlin (https://www.visitberlin.de/en/reichstag-in-berlin)</p> <p>งามพิศ สัตย์สงวน. (2538). หลักมานุษยวิทยาวัฒนธรรม (3 ed.). ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.</p> <p>ชาตรี ประกิตนนทการ. (2562). สัปปายะสภาสถาน: รัฐสภาแห่งใหม่และความหมายที่สูญหายของประชาชน. Retrieved 20 ตุลาคม from https://waymagazine.org/interview-chatri-prakitnonthakan-sappayasaphasathan/ (https://waymagazine.org/interview-chatri-prakitnonthakan-sappayasaphasathan/)</p> <p>เบญจวรรณ์ ทัศนลีลพร. (2565). อ่านและถอดรหัส “สัปปายะสภาสถาน” จากสื่อนำเสนอแบบประกวดอาคารรัฐสภาไทย พ.ศ.2552 (รอบสุดท้าย). วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 21(2), 17-38.</p> <p>ปุณณฑรีย์ เจียวิริยบุญญา. (2564). มานุษยวิทยาการพยากรณ์:ประสบการณ์ในการพยากรณ์ดวงชะตาบนพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์ในชีวิตประจําวันของชาวดิจิทัลไทย. มนุษยศาสตร์สาร 22(2), 137-160.</p> <p>พิพิธภัณฑ์รัฐสภา. (2564). การออกแบบอาคารรัฐสภาแห่งใหม่. Retrieved พฤศจิกายน 22 from https://parliamentmuseum.go.th/2564/ar64-sappaya-sapa.html (https://parliamentmuseum.go.th/2564/ar64-sappaya-sapa.html)</p> <p>วิญญู อาจรักษา. (2556). “เขาพระสุเมรุ” กับ อาคารรัฐสภาใหม่ไทย: “สภาวะแห่งการยกเว้น” ในฐานะกระบวนทัศน์การสร้างงานสถาปัตยกรรม. หน้าจั่ว: วารสารวิชาการ คณะสถาปัตกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10 (ฉบับพิเศษ)(5), 102-129.</p> <p> </p> </div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทความ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">วัฒนธรรม[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การศึกษา[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สัปปายะสภาสถาน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%AA-%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%A3" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">วิทวัส ช้างศร[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div> https://prachatai.com/journal/2023/12/107082 |