[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 04 ธันวาคม 2566 21:10:38



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 'ร้องเพลงชาติไทยได้ไหม' ละครเวทีที่เชื้อเชิญผู้ชมมาลองขบคิด-แก้ปมละเมิดสิ
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 04 ธันวาคม 2566 21:10:38
'ร้องเพลงชาติไทยได้ไหม' ละครเวทีที่เชื้อเชิญผู้ชมมาลองขบคิด-แก้ปมละเมิดสิทธิแรงงานพม่าไปด้วยกัน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2023-12-04 19:08</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>"ร้องเพลงชาติไทยได้ไหม" ละครเวทีแทรกสดโดยคณะ 'มาร็องดู' สะท้อนชีวิตแรงงานพม่าที่ต้องระหกระเหินเข้ามาทำงานในไทย แต่ต้องเผชิญกับปัญหาการละเมิดสิทธิ การเลือกปฏิบัติ และการเข้าไม่ถึงสิทธิรักษาพยาบาล  แต่ความพิเศษของละครเรื่องนี้คือการเชื้อเชิญให้ผู้ชม 'ลองคิด' พินิจไตร่ตรอง สวมบทบาทเป็นตัวละคร เพื่อหาทางออกไปพร้อมๆ กันได้</p>
<p> </p>
<p>เมื่อ 12 พ.ย. 2566 ที่ชั้น 2 คาเฟ่ Yellow Lane อารีย์ซอย 1 กรุงเทพฯ คณะละคร ‘มาร็องดู’ ปีนี้อายุครบ 10 ขวบ ได้เปิดทำการแสดงละครเวทีแทรกสด (Forum Theatre) โดยมีชื่อเรื่องว่า "ร้องเพลงชาติไทยได้ไหม" (Can you sing national anthem?) เพื่อบอกเล่าเรื่องราวชีวิตของแรงงานข้ามชาติชาวพม่า ประเทศเพื่อนบ้านของเราเอง ที่ตั้งใจเดินทางออกจากบ้านเกิด เพื่อเข้ามาเป็นแรงงานในไทย ด้วยความฝันและความหวังจะได้ส่งเงินกลับไปให้ครอบครัว และหากโชคดีมีเงินเหลือ ก็จะได้ทำบุญเป็นกุศลให้ชีวิตในภพหน้า</p>
<p>ละเวทีเปิดม่านนักแสดงชาวพม่าสวมบทบาทเป็นแรงงานข้ามชาติที่เดินทางเข้ามาทำงานในไทย แต่เส้นทางเขาไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ  เพราะพวกเขาต้องเผชิญการถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกดูแคลน ตลอดจนการเลือกปฏิบัตินานับประการ ผ่านสถานการณ์ต่างๆ การทำงานในฐานะแม่บ้าน การทำงานในโรงงาน และเข้าไม่ถึงบริการสาธารณะสุขภายในประเทศที่เรียกตัวเองว่า 'สยามเมืองยิ้ม'</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53373778977_8f0698a90f_b.jpg" /></p>
<p><span style="color:null;">'การยึดพาสสปอร์ตของคนทำงาน'</span></p>
<p>'คนพม่าเป็นคนขี้ขโมย ไว้ใจไม่ได้ เสียงของคุณนายท่านหนึ่งคุยกับสามี ถึงเรื่องแม่บ้านชาวพม่าที่จ้างให้มาช่วยดูแลคุณแม่ของสามี พร้อมพ่นผรุสวาทมากมายคล้ายว่าคนที่พูดถึงไม่ใช่มนุษย์'</p>
<p>'ท้องใกล้คลอด แต่เมื่อไปโรงพยาบาล คุณหมอกลับบอก สามารถรอได้ เพราะว่าเด็กยังไม่คลอด'</p>
<p>'ประสบอุบัติเหตุหนัก กรรไกรคาอยู่ที่คอ ดูเหมือนเลือดไหลเป็นทาง แต่คุณหมอบอกจ่ายยาพาราเซตามอล'</p>
<p>'คุยกับพยาบาลไม่เข้าใจ เพราะใช้คนละภาษา ถูกไล่กลับบ้าน ทั้งที่ยังไม่ได้รับการรักษา'</p>
<p>การแสดงจะมี 2 รอบ รอบแรกเป็นไปตามบทละคร และรอบที่ 2 จะให้คนดูขึ้นมามีส่วนร่วมกับการแก้ไขปัญหา ผู้นำการแสดงจะชวนให้คนดูเข้ามามีส่วนร่วมกับการแสดงละคร โดยการสวมบทบาทเป็นตัวละครหลักในเรื่อง เพื่อร่วมขบคิดและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในละครดังกล่าวซึ่งในที่นี้คือการละเมิดสิทธิแรงงาน และทัศนคติของคนไทยต่อแรงงานเพื่อนบ้าน</p>
<p>ชาวพม่าที่มาร่วมรับชม ขึ้นมาแสดงให้เห็นการปรับตัวเมื่อต้องเผชิญการโต้เถียงกับนายจ้าง คนรุ่นใหม่ไทยไม่ทนกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น ขอระบายอารมณ์เป็นภาษาที่ดุดัน บางคนเลือกเข้าเป็นตัวละครเพื่อใช้อำนาจในการเปลี่ยนแปลงบางเหตุการณ์ไปในแนวคิดที่ตัวเองเห็นว่าควรจะเป็น</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">จุดเริ่มต้นจากการต่อสู้หลัง รปห.</span></h2>
<p>หลังจบงาน เราคุยกับ ศรชัย ฉัตรวิริยะชัย ผู้ก่อตั้งคณะละครมาร็องดู และผู้กำกับละครเวที เล่าให้ฟังถึงจุดเริ่มต้นของละครเวทีนั้นมาจากการได้สนทนากับเพื่อนชาวพม่าที่เป็นผู้เข้าร่วมโครงการ "Equity Initiative" และเขาเริ่มติดตามสถานการณ์ของคนพม่าช่วงหลังการทำรัฐประหารปี 2564 ทำให้เขาทราบว่า ชาวพม่าไม่ได้เป็นอย่างที่เขาเคยเข้าใจ พม่าเผาเมือง ขโมยทองอยุธยา หรือเป็นคนไว้ใจไม่ได้ แต่เป็นคนที่กล้าหาญและลุกขึ้นสู้กับเผด็จการ นี่จึงเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในการมองเพื่อนบ้านมุมใหม่ ก่อนนำไปสู่แรงบันดาลใจในการทำละครเวทีในเวลาต่อมา</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53373764582_8c4042f3a4_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ศรชัย ฉัตรวิริยะชัย ผู้ก่อตั้งคณะละคร มาร็องดู</span></p>
<p>"สิ่งที่เราเคยคิดว่าคนพม่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้มันไม่ใช่ อย่างเช่น พม่านี่มันร้าย เผาอยุธยาเอาทองเราไปคือในอดีตยังจะจดจำอยู่ หรือในกรณีปัจจุบันคือชาวพม่ามันโหด มันจะฆ่าตัดคอเรา อย่างนี้มันเป็นสิ่งที่เราถูกหล่อหลอมมา แต่หลังการรัฐประหารมา ตัวเขายังกล้าหาญที่ยืนหยัดและต่อสู้ แม้กระทั่งทหารมา เขายังไม่กลัวที่จะเอาหม้อเอาอะไรมาเคาะ เป็นคนไทยเราไม่ทำหรอก คุณเอาความกล้ามาจากไหน สังคมไทยสอนให้เราสยบยอมมากเกินไปรึเปล่า ประทับใจแล้วในช็อตนี้ เราก็เออ สนใจได้ยินได้ฟังเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนๆ เล่าให้ฟัง เรื่องเป็นอย่างไรบ้าง" ศรชัย กล่าว</p>
<div class="note-box">
<h2><span style="color:#2980b9;">รัฐประหารพม่า</span></h2>
<p>สำหรับการทำรัฐประหารเมียนมาล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ 1 ก.พ. 2564 โดยกองทัพพม่า นำโดย พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย ผู้บัญชาการสูงสุดแห่งกองทัพพม่า โค่นล้มรัฐบาลพลเรือน นำโดยพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD ทำให้เกิดการลุกฮือต่อต้านการทำรัฐประหาร ก่อนที่จะขยายกลายเป็นสงครามกลางเมือง แม้ว่าเวลาล่วงเลยผ่านมาเกือบ 3 ปีแล้ว แต่พม่ายังไม่เห็นวี่แววกลับมาเป็นประชาธิปไตยในเร็ววัน</p>
<p>รายงานของ สมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองพม่า (https://twitter.com/aapp_burma/status/1730555394941231466) (AAPP) เปิดเผยว่า ตั้งแต่มีการทำรัฐประหารเมื่อปี 2564 จนถึงปัจจุบัน (3 ธ.ค. 2566) มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 4 พันราย มีผู้ถูกจับกุมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 25,489 คน และยังถูกคุมขัง 19,701 คน</p>
<p>นอกจากนี้ จากสถานการณ์สงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นหลังการทำรัฐประหารเมื่อปี 2564 ส่งผลให้ประเทศพม่ากลายเป็นรัฐล้มเหลว ไม่สามารถให้บริการด้านสาธารณสุข และโครงการสร้างพื้นฐานแก่ประชาชน ขณะที่ผู้พลัดถิ่นภายในเพิ่มขึ้นราว 2 ล้านคน</p>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">ออกแบบจากประสบการณ์จริงของนักแสดง</span></h2>
<p>ผู้ก่อตั้งคณะมาร็องดู กล่าวด้วยว่า ในด้านการออกแบบบทละคร และพลอตเรื่อง ไอเดียเนื้อหาหรือคอนเทนต์ไม่ได้มาจากเขาเลย แต่เป็นการเก็บข้อมูลผ่านภาพถ่ายของนักแสดงสมัครเล่นชาวเมียนมา โดยตั้งโจทย์ให้นักแสดงร่วมถ่ายภาพที่คิดว่า เขาเจอหรือเพื่อนเขาเจอแล้วหนักหนาสาหัส ช่วยถ่ายเป็นภาพนิ่งให้ดู เน้นภาพถ่ายเป็นอิมเมจเธียเตอร์ (Image Theatre) จากนั้น ก็รวบรวม และทำเป็นละครขึ้นมา</p>
<p>ก่อนหน้านี้ละครเรื่อง "จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง" เคยเปิดการแสดงในวาระวันงานที่มีคุณค่า (Decent Work) เมื่อ 22 ต.ค. 2566 ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ที่ขึ้นชื่อว่ามีแรงงานข้ามชาติข้ามฝั่งเข้ามาทำงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และมีเรื่องการละเมิดสิทธิแรงงานจำนวนมาก ซึ่งหนักกว่าใน กทม. </p>
<p>ความตั้งใจเดิมของศรชัย คือเขาอยากพานักแสดงชาวพม่าในแม่สอดลงมาทำการแสดงที่กรุงเทพฯ แต่ติดข้อจำกัดด้านกฎหมายที่ไม่อนุญาตให้ชาวพม่าเดินทางข้ามจังหวัด ทำให้ศรชัย ต้องเฟ้นหานักแสดงชาวพม่าจากกรุงเทพฯ อีกชุดหนึ่ง เพื่อมาทำการแสดงในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะ</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53375126910_63d2619ffa_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">รู้จักละครแทรกสด หรือละครของผู้ถูกกดขี่ ที่เปิดให้ผู้ชมร่วมแสดง</span></h2>
<p>หลายคนอาจสงสัยว่าละครเวทีเรื่องนี้ทำไมถึงเปิดโอกาสให้ผู้ชมร่วมแสดง และแก้ไขปัญหา อะไรคือแนวคิดเบื้องหลังของการแสดงละครเวที ศรชัย กล่าวว่า การแสดงละครเวทีลักษณะนี้เรียกว่า "ละครของผู้ถูกกดขี่" คิดค้นโดย ออกัสโต บูอาล (Augusto Boal) นักการละครบราซิล ยุคทศวรรษ 1960 จุดเด่นคือเนื้อเรื่องที่สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้าง และเขาจะไม่ให้แค่คนดูชมอย่างเดียว แต่เขาเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงจะทำได้จริง ต้องมีการแสดงมันออกมาด้วย </p>
<p>"ถ้าคุณคิดว่าคุณจะเปลี่ยนแปลงสังคม คุณต้องไม่แค่คิดในหัว คุณต้องทำออกมา คุณจะได้ทราบว่า สิ่งที่คุณคิดอยู่ และทำออกมา ทำได้หรือไม่ได้</p>
<p>"ศัพท์ของทาง Marxist คือ 'Praxis' ทั้งคิดและก็ทำ และก็คิดกลับมา ใคร่ครวญใหม่ และก็ทำอีก ไปเรื่อยๆ เป็นกระบวนการพัฒนาทางสติปัญญา" ผู้ก่อตั้งคณะละครมาร็องดู กล่าวถึงแนวคิดของละคร </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">แก้กฎหมายไม่พอ แต่ต้องแก้ไขทัศนคติ-ความคิดควบคู่กัน</span></h2>
<p>เมื่อม่านละครเวทีจบลง ศรชัย ให้คนดูช่วยกันเขียนถึงความรู้สึกหรือการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานของแรงงานข้ามชาติในอุดมคติ หนึ่งในนักกฎหมายด้านแรงงาน มองว่า สำหรับเขาการแก้ไขกฎหมายอย่างเดียวอาจไม่พอ เพราะหากดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับแรงงาน มันเป็นปัญหาจากทัศนคติด้วย สำหรับผู้กำกับละครเวที มองว่า จุดเริ่มต้นต้องสร้างความตระหนักรู้ขึ้นมาก่อน ถ้าเราไม่เคยเห็น ไม่เคยรู้ว่ามันมีปัญหา เราก็ไม่สามารถคาดหวังความเปลี่ยนแปลงในอนาคต </p>
<p>"ถ้าให้เกิดความตระหนักรู้ (awareness) ตรงนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้น ลองจินตนาการว่าเขาสามารถตั้งกลุ่มละคร และเสนอภาพเหล่านี้ไปเรื่อยๆ อย่างน้อยคนไทยไม่รู้ เขาจะได้เรียนรู้ในกลุ่มของเขาต่อ และผมยังมองเห็นว่าคนไทยเรารู้จักคนพม่าหรือคนลาว เพื่อนบ้านผิวเผินมากๆ หรือไม่รู้จักเลยดีกว่า เพราะเราไม่เคยเป็นเพื่อนกับเขาเลย เราไม่เคยดูงานของเขาเลย ผมคิดว่าเราควรจะมีอะไรแบบนี้เยอะๆ" ศรชัย กล่าว</p>
<p>เมื่อสอบถามในแง่ผลตอบรับ "ผลตอบรับน่าพอใจ" ศรชัย ระบุ และกล่าวว่า เขาดีใจที่ผู้ชมได้มีส่วนร่วม และออกมาแสดงความคิดเห็น บางคนบอกว่าเนื้อเรื่องในละครคือเรื่องจริง บางคนบอกว่าของจริงหนักกว่านี้ ส่วนที่หลายคนสงสัยว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ คือเวลาที่ชาวเมียนมาที่ตั้งครรภ์ไปหาหมอที่โรงพยาบาล และถูกปฏิเสธรักษาหลายต่อหลายรอบนั้น อันนี้เป็นเรื่องจริงจากหนึ่งในผู้ทำการแสดง </p>
<p>ผู้กำกับระบุว่า เขาไม่ได้ต้องการคำตอบการแก้ไขปัญหาตายตัว แค่มาร่วมกันถือว่าเป็นเรื่องดีแล้ว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ทางเลือกใหม่ของการผลักดันประเด็นสิทธิมนุษยชน </span></h2>
<p>ศรชัย ทิ้งท้ายว่า เขาอยากให้ภาคประชาสังคม หรือ NGO ลองใช้ศิลปะหรือละครเวที เป็นตัวเลือกใหม่ๆ ในการผลักดันประเด็นปัญหาสังคมร่วมกัน เพราะว่าละครเวทีสามารถเปิดบทสนทนา สร้างความตื่นเต้น และสร้างการมีส่วนร่วมได้ และเราอาจจะมีเวทีเสวนา ปิดท้าย ผลักดันร่วมกันได้</p>
<p>นอกจากนี้ เขาอยากเชิญชวนให้หลายคนเปิดใจลองชมการแสดงละครแทรกสด (Forum Theatre) มากขึ้น ไม่อยากให้คิดว่าเป็นละครผู้ถูกกดขี่แล้ว จะไม่เกี่ยวกับพวกเขา แต่ทุกคนสามารถถูกกดขี่ได้ มันเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก จึงอยากเชิญชวนผู้ชมลองเข้ามาสัมผัสกัน</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53374860728_67acc481a3_b.jpg" /></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">วัฒนธรรม[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">แรงงาน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คุณภาพชีวิต[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B9" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">มาร็องดู[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">แรงงานข้ามชาติ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พม่า[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เมียนมา[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107106