หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ผู้แทนสถานทูตจีนปัดเป็นตัวการภัยแล้งแม่โขง เชื่อการแก้ไขต้องร่วมมือด้านข่าว เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 10 ธันวาคม 2566 15:21:44 ผู้แทนสถานทูตจีนปัดเป็นตัวการภัยแล้งแม่โขง เชื่อการแก้ไขต้องร่วมมือด้านข่าวสาร
<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2023-12-10 14:29</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: สำนักข่าวชายขอบ</p> </div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="summary-box"> <ul> <li>เสวนา 'ภูมิรัฐศาสตร์แม่น้ำโขง' อ.เชียงของ จ.เชียงราย ผู้แทนสถานทูตจีน แจงภัยแล้งปลายน้ำโขง ไม่ได้มาจากเขื่อนจีน เชื่อการแก้ไขต้องร่วมมือด้านข่าวสาร มอง 5 ประเทศริมโขง เป็นพันธมิตรดื่มน้ำสายเดียวกัน </li> <li>'สุริชัย หวันแก้ว' มองการสร้างเขื่อนไม่เคยถามคนในพื้นที่ ชวนคิดจะทำยังไงให้การร่วมมือแก้ไขปัญหาและแบ่งปันข้อมูลเกิดขึ้นได้เร็ว และไกลกว่าระดับรัฐบาล ไม่ผลักภาระไปอนาคต สส.ก้าวไกล ร่วมถามหามาตรฐาน EIA เตรียมดึง สตง. ป.ป.ช. กดดันนายกฯ กรณีเขื่อนปากแบง</li> </ul> </div> <p> 10 ธ.ค. 2566 สำนักข่าวชายขอบ รายงานวานนี้ (9 ธ.ค.) ที่โฮงเฮียนแม่น้ำของ อ.เชียงของ จ.เชียงราย มีการจัดงาน "ฮอมปอย ศรัทธาแม่น้ำโขง" ได้มีการจัดเสวนา "ภูมิรัฐศาสตร์แม่น้ำโขง" โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย ศาสตราจารย์กิตติคุณ สุริชัย หวันแก้ว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หลี่ จิ้นเจียง ผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ศุภโชติ ไชยสัจ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และเพียรพร ดีเทศน์ นักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ดำเนินรายการ </p> <p>อนึ่ง ก่อนหน้านี้ทางผู้จัดงานชี้แจงว่าได้เชิญสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย เข้าร่วมฟังเสียงสะท้อนของชาวบ้านริมแม่น้ำโขงด้วย แต่ทางสถานทูตสหรัฐฯ และออสเตรเลีย ไม่ได้ส่งตัวแทนมาเข้าร่วม แม้มีการรับปากว่าจะส่งตัวแทนมาแล้ว </p> <h2><span style="color:#2980b9;">ผู้แทนทูตจีน ปัดเป็นตัวการภัยแล้งแม่โขง เชื่อการแก้ไขต้องร่วมมือด้านข่าวสาร</span></h2> <p>หลี่ จิ้เจียง ผู้แทนสถานทูตจีนประจำประเทศไทย ที่ปรึกษาด้านการเมือง กล่าวว่า ในฐานะที่เป็น ผู้แทนสถานทูตจีนเพียงคนเดียวบนเวทีเสวนานี้ อยากพูดถึงวิสัยทัศน์ในการทำงานของจีน ตั้งแต่ต้นน้ำโขงในจีนเรียกว่าแม่น้ำล้านช้าง จีนกับ 5 ประเทศลุ่มน้ำโขงร่วมดื่มน้ำสายเดียวกัน มีความเชื่อมโยงเป็นเพื่อนมิตรที่ดี "ปี 2559 ได้มีการเปิดตัวความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง (Lancang Mekong Cooperation หรือ LMC) วานนี้ (8 ธ.ค.) รัฐมนตรี 6 ประเทศ ร่วมประชุมกันที่กรุงปักกิ่ง (ประเทศจีน) ซึ่งจะมีความร่วมมือกันมากมาย ในฐานะที่มีกลไกร่วมหารือ พัฒนาแบ่งปันกัน ได้รับความร่วมมืออย่างดี ปีที่แล้ว มูลค่าการค้ากับจีน 510.17 แสนล้านดอลาร์ (สหรัฐฯ) เพิ่มเป็น 2 เท่าจาก 7 ปีก่อน เทศกาลผลไม้ในลุ่มประเทศน้ำโขง มีการนำเข้าทุเรียน รังนก ลำไย มะพร้าวสดเข้าจีน" ผู้แทนทูตจีนประจำประเทศไทย กล่าว </p> <p>หลี่ กล่าวอีกว่า กลไกด้านเกษตร มีการนำเข้าฝึกอบรมความเชี่ยวชาญด้านการเกษตรกว่า 1 พันคน ช่วยยกระดับด้านเกษตรแก่ประชาชน โดยไทยเป็นผู้ริเริ่ม LMC และจะเข้ารับตำแหน่งประธาน LMC ในอนาคต มีการอนุมัติกว่า 70 โครงการ มูลค่า 20 ล้านดอลลาร์ (สหรัฐฯ) ผ่านโครงการต่างๆ ของไทย LMC คือการพัฒนา สำหรับจีนการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ยกระดับชีวิตประชาชนคือความเร่งด่วนในปัจจุบัน สุดท้ายนี้ ขออวยพรให้อนาคตลุ่มประเทศน้ำโขงมีอนาคตที่สดใส เชื่อว่าภายใต้ความร่วมมือ แม่น้ำ Mother River จะสดใส เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประชาชน </p> <p>ผู้แทนจากจีน ระบุต่อว่า ส่วนประเด็นเกี่ยวกับเขื่อนบนแม่น้ำโขง และเรื่องภัยแล้ง มีข่าวที่โทษจีนว่า เขื่อนบนแม่น้ำลานชางทำให้เกิดภัยแล้ง รัฐบาลจีนให้ความสำคัญเกี่ยวกับความคิดเห็นของเพื่อนมิตรประเทศลุ่มน้ำโขง ทางจีนส่งผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำมาร่วมกันศึกษาด้วยกับคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) เพื่อหาหลักฐานว่า ใครเป็นผู้ก่อภัยแล้งให้ปลายน้ำ ไม่ใช่จีน ปริมาณน้ำโขงในส่วนล้านช้าง มี 13.5 เปอร์เซ็นต์ ที่แชร์กับแม่น้ำโขงตอนล่าง พื้นที่บริเวณของแม่น้ำล้านช้าง คือ 20เปอร์เซ็นต์ ปีที่เกิดภัยแล้ง ที่จีนในยูนนานที่น้ำโขงไหลผ่านก็เกิดภัยแล้งเหมือนกัน อาจจะเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ มีการติดตั้งสถานีวัดน้ำที่ท้ายน้ำในแม่น้ำโขง เราแบ่งปันข้อมูลน้ำกับประเทศตอนล่าง รวมทั้งความพยามรักษาสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศต่าง ตอนนี้เขื่อนของเรามีการปล่อยน้ำในฤดูแล้ง เก็บน้ำในฤดูฝน ฟังทุกท่านแล้วคิดว่าต้องแก้ไขปัญหาด้วยการแบ่งปันข้อมูลกัน เราต่างดื่มกินแม่น้ำสายเดียวกัน</p> <h2><span style="color:#2980b9;">'สุริชัย' มองการสร้างเขื่อนไม่เคยถามคนในพื้นที่ ชวนคิดจะทำยังไงให้การร่วมมือแก้ไขปัญหาและแบ่งปันข้อมูลเกิดขึ้นได้เร็ว และไกลกว่าระดับรัฐบาล</span></h2> <p>สุริชัย หวันแก้ว ศาสตราจารย์กิตติคุณ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า แม่น้ำโขงมีความหมายสำหรับคนพื้นที่ แม้ว่าจะห่างจากคนกรุงเทพฯ มาก ดังนั้น มองว่าความรู้สึกกับแม่น้ำโขง ต้องถามคนที่ผูกพันกับแม่น้ำให้มากขึ้น แต่ที่ผ่านมาไม่มีการถามไถ่คนในพื้นที่เลย เวลาทำสัญญา ก็เป็นสัญญาที่คนในพื้นที่ไม่ได้รู้ และไม่ได้อ่านก่อน ซึ่งเป็นการสะท้อนเรื่องการตัดสินใจการสร้างเขื่อนว่าคนที่ได้รับผลกระทบไม่ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลย กว่าจะส่งเสียงถึงผู้มีอำนาจต้องใช้หลายช่องทางทั้งทางตรงทางอ้อม เราศึกษากันยังไง ถ้ากระทบใครจะดูแลกระบวนการ ผลกระทบบ้าง คนรับผิดรับชอบไม่มี มีแต่การสร้าง ทำสัญญา และอ้างแต่ข้อมูลว่า ประเทศเราต้องการไฟฟ้า ปัจจุบันการสร้างเขื่อนประเทศไหนสร้างก็เป็นอธิปไตยประเทศนั้น กลายเป็นแม่น้ำระหว่างประเทศแบ่งเป็นเสี้ยวๆ แต่ผลกระทบมันกว้างไกลเกินกว่าประเทศนั้นจะดูแล </p> <div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/829/42017805231_fddde8f20f_b.jpg" /></div> <p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">สุริชัย หวันแก้ว (ที่มา: สกว.)</span> </p> <p>อาจารย์จากจุฬาฯ กล่าวอีกว่า เกิดคำถามที่ผู้แทนทูตจีนพูดว่า ใครจะตรวจสอบการตัดสินใจพัฒนาเหล่านี้ว่ามีความยุติธรรมไหม มันไม่มีความชัดเจน และไม่ยุติธรรม วันนี้เราได้ยินกับหูว่าความโปร่งใสเรื่องสร้างเขื่อนปากแบง มันไม่มีจริง และการซื้อพลังงานทั้งที่เรามีพลังงานสำรองถึง 69 เปอร์เซ็นต์ "เมื่อรับผิดชอบไม่ได้ก็ผลักภาระไปสู่อนาคต กลายเป็นว่าเราจะสร้างระบบที่ตรวจสอบร่วมกันไม่ได้ ภาคประชาสังคมผู้ได้รับผลกระทบ ถ้าเรารู้สึกว่าแม่น้ำเป็นของเราทุกคน มันไกลกว่าอธิปไตยของใครของมัน ในความรับผิดชอบของความเป็นมนุษย์ มันต้องกว้างกว่านั้น กว้างกว่าระดับรัฐบาล พี่น้องข้ามพรมแดนได้แลกเปลี่ยนกัน ผ่านสังคมออนไลน์ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่ง" สุริชัย กล่าว สุริชัย กล่าวว่า มีการประชุม MRC ครั้งที่ 1 ที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ รัฐมนตรีจากจีนมาประชุมด้วย จนมีการตอบสนองข้อมูลจากเขื่อนแม่น้ำโขงตอนบนในจีน เป็นครั้งแรกที่จีนได้แสดงท่าทีที่เป็นประโยชน์ในการแชร์ข้อมูล ให้คนแม่น้ำโขงตอนล่าง หลักอธิปไตยเป็นเรื่องหนึ่ง </p> <p>"เพราะให้แต่รัฐบาลตัดสินใจ ชาวบ้านไม่มีส่วนตัดสินใจเลย การแชร์ข้อมูลจึงไม่เกิดขึ้น แต่ปัจจุบันมีออนไลน์ เราสื่อสารได้หลากหลายมาก เราจะแก้ปัญหาข้อมูลที่ล่าช้ายังไง ชาวบ้านจะยังรอคอยแบบน้ำตาไหลน้อยอกน้อยใจอีกไหม การสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบการตัดสินใจของประเทศลุ่มโขงสำคัญมากกว่าอธิปไตยของแต่ละประเทศ ระบบ MRC-LMC ต้องช่วยรองรับกลไกนี้ ภูมิรัฐศาสตร์ปัจจุบันมีจุดอ่อนสำคัญ ไม่ให้ความสนใจต่อความเสื่อมสลายของระบบนิเวศน์ และให้อำนาจกับเมืองหลวงในการตัดสินใจ ผลประโยชน์ของประเทศ กับผลประโยชน์ของประชาชน น่าจะรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน" สุริชัย กล่าว </p> <h2><span style="color:#2980b9;">สส.ก้าวไกล ถามหามาตรฐาน EIA เตรียมดึง สตง.-ป.ป.ช. ส่งหนังสือถึงนายกฯ </span></h2> <p>ศุภโชติ ไชยสัจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล กล่าวว่า ได้ฟังความคิดเห็นของชาวบ้านแล้วมีความเห็นในทางเดียวกันว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อนมีมากขึ้นอย่างไร แล้วจะทำอย่างไรต่อ ถ้า EIA ชี้ให้เห็นว่าไม่ผ่าน เขื่อนจะไม่ถูกสร้างหรือไม่ </p> <div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53198923748_d6ab493dba_b.jpg" /></div> <p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ศุภโชติ ไชยสัจ (ที่มา: ทีมสื่อพรรคก้าวไกล)</span></p> <p>คำถามคือกระบวนการทำ EIA มาตรฐานในการจัดทำคืออะไร ถ้ากำหนดนโยบายระยะยาว มันสอดคล้องกับมาตรฐานระดับนานาชาติแค่ไหน ดังนั้น ถ้าเราทำประเมินผลกระทบอย่างครอบคลุมทั้งแม่น้ำสายหลัก สายรอง ไปจนถึงอัตราค่าไฟต้นทุนพลังงาน สัญญาแบบ Take or Pay ไทยเรามีรูปแบบสัญญาซื้อไฟฟ้าที่แปลก คือไม่ว่าต้นทุนจะต่ำลงเพียงใด ไฟฟ้าที่ซื้อมาใช้หรือไม่ใช้ รัฐจ่ายเงินทุกกรณี เราจะต้องจ่ายในอัตราที่สัญญากำหนด จึงเป็นเรื่องที่ต้องทบทวน ดังนั้นการศึกษาผลกระทบอย่างครอบคลุมเพียงพอจึงสำคัญต่อการสร้างเขื่อน </p> <p>สส.พรรคก้าวไกล กล่าวอีกว่า พรรคก้าวไกลมีกรรมาธิการ พัฒนาเศรษฐกิจ การศึกษาผลกระทบครอบคลุม เราจะเชิญสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ป.ป.ช. เราจะรอดูว่า นายกรัฐมนตรีจะมีแอ็กชันอย่างไรต่อ ถ้านิ่งเฉย ก็จะถือว่าจงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 187 </p> <p>ขณะที่ศาสตราจารย์ ฟิลิปส์ เฮิร์ช จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า ถ้ามองกลับไปยาวๆ การเปลี่ยนแปลงแม่น้ำโขงหลายร้อยปีเราคาดการณ์ได้ แค่ปัจจุบันเราไม่รู้แล้วว่าระดับน้ำขึ้นลงเป็นอย่างไร </p> <p>"เราได้ยินผลกระทบจากเขื่อนมาตลอด การเปลี่ยนแปลงเกิดตลอดทั้งลุ่มน้ำ ไม่ได้พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เราได้ยินปัญหาเรื่องประเมินผลกระทบ จากการมีส่วนร่วมใช้ข้อมูลน้อยมาก ดังนั้น ทำอย่างไรให้กระบวนการศึกษาผลกระทบรอบด้านจริงๆ โดยเฉพาะประเด็นความจำเป็นด้านพลังงานของไทย" ฟิลลิปส์ กล่าว</p> <p>ทั้งนี้ เสวนา 'ภูมิรัฐศาสตร์แม่น้ำโขง' เป็นส่วนหนึ่งของงาน 'ฮอมปอย ศรัทธาแม่โขง' จัดระหว่าง 9-10 ธันวาคม 2566 ที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ภายในงานมีทำบุญอุทิศส่วนกุศาล และการแสดงศิลปะและดนตรีโดยศิลปินแขนงต่างๆ เพื่อรำลึกถึงผู้ปกป้องแม่น้ำโขงผู้ล่วงลับ การขายสินค้าผลิตภัณฑ์จากประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนการเสวนา 2 วง ซึ่งมีทั้งเสียงสะท้อนจากชุมชน นักวิชาการ สส.พรรคก้าวไกล รวมถึงตัวแทนสถานเอกอัครราชทูตจีน ร่วมสะท้อนวิสัยทัศน์เรื่องแม่น้ำโขง</p> <div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53387936335_4fddefa407_b.jpg" /></div> <p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">บรรยากาศ ฮอมปอย ศรัทธาแม่น้ำโขง งาน อ.เชียงของ จ.เชียงราย (ที่มา: สำนักข่าวชายขอบ)</span> </p> </div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คุณภาพชีวิต[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ต่างประเทศ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิ่งแวดล้อม[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พรรคก้าวไกล[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เชียงของ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เชียงราย[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">หลี่ จิ้นเจียง[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2-%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สุริชัย หวันแก้ว[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A8%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B9%82%E0%B8%8A%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B9%84%E0%B8%8A%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%88" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ศุภโชติ ไชยสัจ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%AA%E0%B9%8C-%E0%B9%80%E0%B8%AE%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%8A" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ฟิลิปส์ เฮิร์ช[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%82%E0%B8%82%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">แม่น้ำโขง[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เขื่อนปากแบง[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div> https://prachatai.com/journal/2023/12/107185 |