หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - สุรพศ ทวีศักดิ์: ทำไมต้องแยกศาสนาจากรัฐทางการเมือง เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 11 ธันวาคม 2566 00:38:51 สุรพศ ทวีศักดิ์: ทำไมต้องแยกศาสนาจากรัฐทางการเมือง
<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2023-12-10 22:43</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>สุรพศ ทวีศักดิ์</p> <p> </p> </div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เวลาถกเถียงเรื่อง “การแยกศาสนาจากรัฐ” หรือ secularization ในบ้านเรา มักจะยกตัวอย่างปัญหาของรัฐโลกวิสัยบางแห่ง เช่น ปัญหาการห้ามคลุมฮิญาบในรัฐโลกวิสัยแบบฝรั่งเศสมาเป็นหนึ่งในข้อโต้แย้ง โดยลืมไปว่านั่นเป็นปัญหาในสังคมหลังโลกวิสัย (post-secular society) ที่เราไม่จำเป็นต้องมีปัญหาเช่นนั้นก็ได้ </p> <p>กล่าวคือ ฝรั่งเศสเป็นรัฐโลกวิสัยนานแล้ว และมีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นหลังจากเป็นสังคมโลกวิสัยแล้ว ซึ่งเป็นเงื่อนไขเฉพาะทางประวัติศาสตร์และบริบทสังคมของเขาที่มีคนต่างศาสนาอพยพเข้ามาพร้อมกับการยึดหลักศาสนาที่มีมิติบางอย่างปะทะขัดแย้งกับคุณค่าแบบโลกวิสัย เป็นต้น </p> <p>แม้การยกตัวอย่างดังกล่าว อาจทำให้เห็น “ปัญหาบางประการ” ในสังคมหลังโลกวิสัย แต่อาจทำให้เข้าใจผิดไปว่านั่นคือปัญหาของตัวหลักการของแนวคิดโลกวิสัย (secularism) เหมือนที่ชอบยกตัวอย่างกันว่าในสังคมเสรีประชาธิปไตยอย่างฝรั่งเศส อังกฤษ อเมริกามีแต่ความขัดแย้ง วุ่นวายจากการชุมนุมประท้วงต่างๆ ซึ่งอาจทำให้เข้าใจผิดไปว่า “ประชาธิปไตยแบบไทย” ดีกว่าประชาธิปไตยแบบตะวันตก เพราะประชาชนรู้รักสามัคคี สังคมสงบสุขมากกว่า แต่มันเป็นเช่นนั้นจริงหรือ สังคมไทยได้สัมผัสความเป็นประชาธิปไตยแบบตะวันตกแล้วหรือยัง สำหรับประเทศที่เป็นประชาธิปไตยแล้ว สิ่งที่คนไทยมองว่าขัดแย้ง วุ่นวาย ไม่สงบ เขาอาจมองว่าเป็นเรื่องปกติของประชาธิปไตย หรือถือว่าการชุมนุมประท้วงเหล่านั้นเป็น “วัฒนธรรมประชาธิปไตย” ที่จำเป็นต้องมีก็ได้ ดังนั้น สังคมที่ยังไม่เป็นประชาธิปไตยที่ไม่ได้ให้คุณค่ากับวัฒนธรรมประชาธิปไตยเช่นนั้น ก็อาจมองเป็นความวุ่นวาย ไม่สงบ หรือไม่พึงประสงค์</p> <p>ทำนองเดียวกัน นักวิชาการในสังคมที่ยังไม่เป็นรัฐโลกวิสัย อาจมองว่าปัญหาบางอย่างในสังคมหลังโลกวิสัยเป็นเรื่องใหญ่เสียจนทำให้เห็นว่าเป็นรัฐกึ่งศาสนาแบบไทยๆ ก็ดีแล้ว มีเสรีภาพทางศาสนามากกว่ารัฐโลกวิสัยเสียอีก เพราะไทยไม่ได้ห้ามคลุมฮิญาบ เป็นต้น </p> <p>แต่หากมองในมุมสังคมโลกวิสัยแบบฝรั่งเศส ชาวฝรั่งเศสย่อมพึงพอใจในความเป็นรัฐโลกวิสัยมากกว่า เพราะในยุคที่ฝรั่งเศสอยู่ใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่กษัตริย์ใช้อำนาจเผด็จการเทวสิทธิ์ตามหลักศาสนาปกครอง และศาสนจักรหรือกลุ่มนักบวชยังมีฐานันดร และมีอำนาจทางการเมือง ประชาชนย่อมไม่มีเสรีภาพทางการเมือง เสรีภาพทางความคิดเห็น การพูด การแสดงออก และเสรีภาพทางศาสนาได้แบบในยุคปัจจุบันที่เป็นรัฐโลกวิสัย แยกศาสนาจากการเมืองแล้ว </p> <p><strong>พูดอีกอย่างคือ เราจะเข้าใจความเป็นรัฐโลกวิสัยได้ชัดเจน ต้องเปรียบเทียบกับรัฐศาสนา ในรัฐศาสนาทั้งในอดีตและปัจจุบัน ย่อมไม่มีเสรีภาพทางการเมือง เสรีภาพปัจเจกบุคคล และเสรีภาพทางศาสนาได้จริง แต่รัฐประชาธิปไตยโลกวิสัย (secular democracy) ให้หลักประกันเสรีภาพดังกล่าว </strong></p> <p>ดังนั้น “ประเด็นหลัก” ของการแยกศาสนาจากรัฐคือ ต้อง “แยกศาสนาจากรัฐทางการเมือง” หรือต้อง “ทำให้เป็นโลกวิสัยทางการเมือง” (political secularization) หมายถึง การกำหนดอุดมการณ์ กฎกติกา หรือระเบียบทางการเมืองให้เป็นแบบทางโลก คือหลักประชาธิปไตย สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค หลักนิติรัฐ และอื่นๆ โดยไม่มีอำนาจตามหลักความเชื่อทางศาสนา เช่น อำนาจเทวสิทธิ์ อำนาจในนามธรรมะ หรืออำนาจศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่เคารพสักการะตามหลักศาสนาใดๆ อยู่เหนือหลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ประชาธิปไตย ซึ่งทำกันสองแบบคือ เปลี่ยนรัฐศาสนาหรือเปลี่ยนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ปกครองด้วยอำนาจเทวสิทธิ์ หรืออำนาจตามความเชื่อศาสนาใดๆ เป็นระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ หรือเป็นประชาธิปไตยแบบกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยที่กษัตริย์ไม่มีอำนาจแบบศาสนาเหนือหลักเสรีภาพและประชาธิปไตยอีกต่อไป </p> <p>สาระสำคัญของการเปลี่ยนแปลงเป็นโลกวิสัยทางการเมือง จึงเป็นการเอาหลักความเชื่อทางศาสนา, อำนาจทางการเมืองแบบศาสนา หรืออำนาจศักดิ์สิทธิ์แตะต้องไม่ได้ตามหลักความเชื่อทางศาสนาออกไปจาก “คุณค่าสาธารณะ” (public values) เช่น อุดมการณ์ทางการเมือง และกติกาทางการเมือง โดยไม่นำศาสนามาเป็นอุดมการณ์ความมั่นคงของรัฐ ไม่บัญญัติศาสนาประจำชาติ ไม่บัญญัติอำนาจแบบศาสนาที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพสักการะและแตะต้องไม่ได้ในรัฐธรรมนูญ ไม่บัญญัญติหลักการปกครองตามความเชื่อศาสนาใดๆ ในรัฐธรรมนูญ ไม่มีกฎหมายศาสนา หรือกฎหมายให้อภิสิทธิ์ทางศาสนา ไม่มีศาลศาสนา เป็นต้น </p> <p><strong>ถามว่าสังคมไทยศาสนายังมีอิทธิพลทางการเมืองหรือไม่? </strong></p> <p>คำตอบตรงไปตรงมาคือ มีพรรคการเมืองกล้าเสนอนโยบายแยกศาสนาจากรัฐทางการเมืองหรือไม่ เช่น นโยบายยกเลิกรัฐธรรมนูญมาตราที่กำหนดให้สถาบันกษัตริย์ต้องเป็นพุทธมามกะและเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก หรือมาตราที่กำหนดให้กษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ (ซึ่งเป็นคติความเชื่อแบบพราหมณ์ฮินดู-พุทธ) หรือยกเลิกมาตราที่กำหนดให้รัฐมีหน้าที่อุปถัมภ์พุทธศาสนานิกายเถรวาท และศาสนาอื่นๆ ยกเลิกศาสนจักรและองค์กรศาสนาต่างๆ ที่เป็นองค์กรของรัฐเปลี่ยนให้องค์กรทุกศาสนาเป็นเอกชน ยกเลิกงบฯ อุดหนุนทุกศาสนา ยกเลิกการบังคับเรียนศาสนาในโรงเรียนกของรัฐ เป็นต้น </p> <p>ถ้าไม่มีพรรคการเมืองกล้า “แตะ” เรื่องดังกล่าว เพราะกลัวทัวร์ลง กลัวถูกต่อต้านจากกลุ่มศาสนาต่างๆ (ในบ้านเราคือกลุ่มชาวพุทธและมุสลิม) กลัวเสียคะแนนเสียง กลัวถูกยุบพรรค เป็นต้น ก็แสดงว่าศาสนายังมีอิทธิพลสูงในทางการเมือง หรือศาสนายังมีอิทธิพลในทางที่ขัดกับหลักการ political secularization อยู่จริง</p> <p><strong>แต่มีความพยายามทำ political secularization ในบ้านเราหรือไม่? </strong></p> <p>มีแน่นอน เช่น นโยบายของพรรคก้าวไกลที่เสนอแก้มาตรา 112 โดยลดอัตราโทษให้ได้สัดส่วนกับความผิด และกำหนดเงื่อนไขให้การวิจารณ์สถาบันกษัตริย์โดยสุจริตเพื่อประโยชน์สาธารณะเป็น “เสรีภาพ” ที่พึงกระทำได้ นี่คือการทำ political secularization ในประเด็นหลักเลย คือการทำให้หลักการทางโลก คือหลักเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่อยู่เหนือหลักอำนาจแบบศาสนาที่แตะต้องไม่ได้ หรือการทำให้อำนาจทางการเมืองแบบศาสนามาอยู่ใต้หลักการแบบโลกวิสัยเหมือนอังกฤษและญี่ปุ่นทำสำเร็จมาแล้ว </p> <p>การนิรโทษกรรมคดี 112 ก็คือการทำ political secularization อีกอย่างหนึ่ง เพราะเป็นการทำให้การใช้เสรีภาพทางความคิดเห็น การพูด การแสดงออกตามหลักประชาธิปไตยโลกวิสัยไม่ถูกลงทัณฑ์ตามกฎหมายที่ปกป้องอำนาจศักดิ์สิทธิ์แบบศาสนาที่แตะต้องไม่ได้</p> <p><strong>พูดชัดๆ คือ การเปลี่ยนแปลงเป็นโลกวิสัยทางการเมือง ก็คือการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ไม่มีอำนาจทางการเมืองในนามศาสนา เช่น อำนาจเทวสิทธิ์ของกษัตริย์ ศาสนจักร และอำนาจในนามศาสนาใดๆ อยู่เหลือหลักเสรีภาพทางการเมือง เสรีภาพปัจเจกบุคคล และเสรีภาพทางกศาสนาแบบที่เคยมีในยุคกลางอีกต่อไป ดังนั้น political secularization จึงจำเป็นต่อการสร้างประชาธิปไตยสมัยใหม่ให้เป็นจริง </strong></p> <p>ในบ้านเราข้อเสนอ “ปฏิรูปสถาบันกษัตริยให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย” ของ “อานนท์ นำภา” และคนรุ่นใหม่ ข้อเสนอยกเลิก หรือแก้ไขมาตรา 112 ข้อเสนอยกเลิกการบังคับเรียนปลูกฝังศีลธรรมศาสนาในโรงเรียนรัฐ โดยให้เรียนจริยศาสตร์หรือปรัชญาศีลธรรมแทน การตั้งคำถามต่ออำนาจศาสนจักร งบฯ อุดมหนุนศาสนา เป็นต้น ล้วนแต่เป็นกระบวนการ political secularization ทั้งนั้น </p> <p>แต่ทำไมข้อเสนอดังกล่าวที่จำเป็นต่อการสร้างระบอบประชาธิปไตยที่มีเสรีภาพทางการเมืองได้จริง มีเสรีภาพปัจเจกบุคคล และเสรีภาพทางศาสนาได้จริงเหมือนประเทศประชาธิปไตยก้าวหน้าทั้งหลายจึงเป็นเรื่องยากมาก มีประชาชนจำนวนมากต้องติดคุก ลี้ภัยการเมือง และพรรคการเมืองที่ต่อสู้ในเรื่องพวกนี้ต้องถูกยุบ คำตอบก็ชัดเจนในตัวมันเองอยู่แล้วว่า อิทธิพลของศาสนาในทางการเมืองยังมีอยู่สูง หรือสภาวะที่ขัดแย้งกับความเป็นรัฐโลกวิสัยของรัฐไทยยังมีอยู่สูงมาก</p> <p>ที่ว่าอิทธิพลศาสนายังมีอยู่สูงในทางการเมือง ไม่ใช่อิทธิลความเชื่อ หรือประเพณีศาสนาแบบบ้านๆ เพราะนี่เป็นเพียงศาสนาในมิติวัฒนธรรมที่ไม่ได้มีอำนาจทางการเมืองในระดับโครงสร้าง นักการเมืองอาจไปร่วมประเพณีงานศพ หรือประเพณีทางศาสนาต่างๆ ร่วมกับวัด โบสถ์ มัสยิด หรือชุมชนศาสนานั้นๆ ได้ หรือหาเสียงกับชาวศาสนานั้นๆ ได้ ถ้าการหาเสียงนั้นๆ ไม่ใช่เพื่อขายนโยบาย “ออกกฎหมายทางศาสนา” เพื่อให้อภิสิทธิ์ทางศาสนา (religious privileges) แก่กลุ่มศาสนาใดๆ แต่หาเสียงด้วยการเสนอนโยบายทางโลก เช่น เรื่องปากท้อง การศึกษา การเพิ่มสิทธิ เสรีภาพ ความเป็นธรรมด้านต่างๆ แก่คนทุกศาสนาและคนไม่มีศาสนา </p> <p>อิทธิพลศาสนาในทางการเมืองจริงๆ คือ อิทธิพลศาสนาในมิติของอำนาจทางการเมืองที่ศักดิ์สิทธิ์แตะต้องไม่ได้ ศาสนาในมิติที่กฎหมายให้อภิสิทธิ์ต่างๆ เช่น การบัญญัติให้รัฐอุปถัมภ์ศาสนา การบัญญัติศาสนาประจำชาติ การบังคับเรียนศาสนาในหลักสูตรการศึกษาชาติ การให้ยศ ตำแหน่ง อำนาจทางกฎหมาย และงบฯ อุดหนุนองค์กรศาสนาต่างๆ เป็นต้น ซึ่งอิทธิพลทางศาสนาเหล่านี้ขัดกับหลักการของ political secularization เพราะเป็นอิทธิพลทางศาสนาที่ทำให้ไม่สามารถจะมีเสรีภาพทางการเมืองและเสรีภาพทางศาสนาแบบที่สังคมประชาธิปไตยโลกวิสัยเขามีกัน</p> <p><strong>ดังนั้น การแยกศาสนาจากรัฐในทางการเมือง หรือ political secularization จึงจำเป็นต่อการสร้างระบอบประชาธิปไตยที่มีเสรีภาพทางการเมือง เสรีภาพปัจเจกบุคคล และเสรีภาพทางศาสนาได้จริง และหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเผชิญกับอิทธิพลศาสนาทางการเมืองตามที่มีอยู่จริง</strong></p> <p>การหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญอิทธิพลศาสนาทางการเมือง ย่อมสะท้อนการบรรลุวัตถุประสงค์ของฝ่ายอนุรักษ์นิยม เพราะฝ่ายอนุรักษ์นิยมต้องการคุมศาสนจักรและองค์กรทุกศาสนา เพื่อใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือทางการเมืองในการรักษาอำนาจศักดิ์สิทธิ์แตะต้องไม่ได้ </p> <p>ฝ่ายก้าวหน้าที่พยายามเลี่ยงจะแตะประเด็นศาสนากับการเมือง ก็มักจะละเลย หรือ “ขาดการตระหนัก” ในความเป็นจริงของปัญหา นั่นคือ ความเป็นจริงที่ว่าฝ่ายอนุรักษ์นิยมทำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่ทำให้ศาสนากับรัฐผูกติดกันอย่างเหนียวแน่นมากขึ้นๆ ตลอดมา บางครั้งพวกเขาก็เปลี่ยนโครงสร้างทางการเมืองเพื่อเพิ่ม “อำนาจนำทางการเมือง” (political hegemony) แก่ฝ่ายตัวเองมากขึ้น ผ่านการทำรัฐประหารครั้งต่างๆ บางครั้งก็เปลี่ยนโครงสร้างเนียนๆ ผ่านกระบวนการประชาธิปไตย เช่น การตั้งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) สำนักงานพระพุทธศาสนาประจำจังหวัด และการให้อภิสิทธิ์ทางศาสนาของกลุ่มมุสลิมทั้งในยุครัฐบาลจากรัฐประหาร และในยุครัฐบาลประชาธิปไตย เป็นต้น</p> <p>พูดอีกอย่างคือ ขณะที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมรุกคืบในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเพื่อเพิ่มอำนาจนำทางการเมือง และอำนาจควบคุมศาสนาเพื่อใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือทางการเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ ฝ่ายก้าวหน้ากลับเลี่ยงที่จะแตะปัญหาโครงสร้าง เพราะกลัว “ความขัดแย้ง” คิดกันแต่เรื่อง “ให้การศึกษาแก่ประชาชน” ทั้งที่ความไม่พร้อมไม่ได้อยู่ที่ประชาชน แต่อยู่ที่พรรคการเมืองที่ก้าวหน้าและปัญญาชนหรือกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองกลุ่มต่างๆ ที่นิยามตนเองเป็น “ฝ่ายก้าวหน้า” จะพร้อมหรือไม่ในการแก้ปัญหาโครงสร้างที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมสร้างขึ้นมาพันธนาการประชาชนอย่างซับซ้อนมากขึ้นๆ </p> <p><strong>และพวกเขายังพยายามสร้างพันธนาการต่อเนื่องมากยิ่งขึ้นๆ ผ่านการจัดการศึกษาประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรมที่เน้นความจงรักภักดีต่ออำนาจในนามศาสนาอันศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพสักการะ และแตะต้องไม่ได้ </strong></p> <p> </p> <p> </p> <p><strong>ที่มาภาพ:</strong> SOL Bar Talk #24 : ถ้า(ไม่)เอารัฐโลกวิสัย แล้วไงต่อ? (https://www.facebook.com/watch/live/?ref=watch_permalink&v=364497589433770)</p> </div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทความ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">วัฒนธรรม[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A8-%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สุรพศ ทวีศักดิ์[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การแยกศาสนาจากรัฐ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div> https://prachatai.com/journal/2023/12/107203 |