หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เมื่อพิการ, ทำอย่างไรบ้านจึงจะน่าอยู่ เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 14 ธันวาคม 2566 21:04:42 เมื่อพิการ, ทำอย่างไรบ้านจึงจะน่าอยู่
<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-12-14 18:34</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>อรรถพล ศรีชิษณุวรานนท์ รายงาน คชรักษ์ แก้วสุราช ถ่ายภาพ</p> </div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><h3><span style="color:#2980b9;">เมื่อพิการ, ทำอย่างไรบ้านจึงจะน่าอยู่: การเข้าถึงสิทธิการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยในท้องถิ่น</span></h3> <p>บ้านหรือที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่มักจะได้รับการออกแบบและก่อสร้างให้บุคคลที่มีสภาพร่างกายปกติ แต่เมื่อผู้อยู่อาศัยมีสภาพร่างกายเปลี่ยนแปลงไป จะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ย่อมไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างสะดวกสบายในบ้านหลังเดิมอีกต่อไป ย่อมมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงมันให้สอดคล้องกับสภาพของผู้อยู่อาศัยให้สามารถใช้ชีวิตได้โดยไม่ต้องพึ่งพิงบุคคลรอบข้างมากนักหรือแม้แต่สามารถอยู่ได้โดยลำพัง แต่ถ้าเจ้าบ้านหรือผู้อยู่อาศัยมีฐานะดีพอจะลงทุนปรับปรุงบ้านหรือหาสิ่งอำนวยความสะดวกคงจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ความเป็นจริงของสังคมไทยในปัจจุบันคือ ผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ขาดรายได้ในชีวิตประจำวัน อย่าว่าแต่จะลงทุนปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับตัวเองเลย</p> <p>สารคดีชุดนี้จะพาไปยังพื้นที่จังหวัดสุรินทร์เพื่อดูว่าคุณภาพชีวิตของคนพิการที่ไม่ได้อยู่ในตัวเมืองกับการเข้าถึงสิทธิการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยจาก “สวัสดิการของรัฐ” หลังละ 40,000 บาท ตามสิทธิคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการที่พึ่งได้ตาม พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 2550 ในพื้นที่อำเภอรัตนบุรีและอำเภอกาบเชิง ว่าพวกเขาเหล่านั้นสามารถเข้าถึงสิทธินี้ได้หรือไม่? และคุณภาพชีวิตนั้นเป็นอย่างไร?</p> <h3><span style="color:#2980b9;">ชีวิตยากแค้นแสนสาหัส</span></h3> <p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53396033602_56b8fffe30_k.jpg" /></p> <p><span style="color:#e67e22;">บ้านของบุญจง ยินดี และครอบครัว</span></p> <p><span style="color:null;">บ้านหลังแรกเป็นบ้านของคนพิการในอำเภอรัตนบุรี ซึ่งห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ราว 60 กิโลเมตร โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่เนินสูงสลับกับพื้นที่ป่า ระหว่างการเดินทางสังเกตว่าไม่พบเห็นมีรถโดยสารสาธารณะวิ่งผ่านเลยระหว่างการไปมาจากต่างอำเภอเพื่อเข้าตัวเมือง เราใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาทีจนไปถึงหน้าบ้านของบุญจง ยินดี</span></p> <p><span style="color:null;">บุญจง อายุ 50 ปี เล่าให้ฟังว่าก่อนมีความพิการอาชีพหลักเป็นช่างถนัดทำงานโครงหลังคาเป็นหัวแรงหลักที่ต้องดูแลครอบครัวมีอยู่ 5 คน มีลูกสาวสองคน ลูกชาย 1 คน ลูกสาวคนรองมีความพิการด้านสมองสั่งการช้า ตัวเขาได้รับความพิการจากอุบัติเหตุทางถนนในปี 2565 ทำให้กระดูกไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ แขนและขาอ่อนแรงแต่มือยังพอหยิบของและลุกยืนเองได้บ้าง พอมีแรงที่จะก้าวขาได้บ้างแต่ต้องใช้เกาะรถวีลแชร์ไป ขับถ่ายต้องใช้ยาช่วยและต้องคาสายสวนปัสสาวะเอาไว้</span></p> <p><span style="color:#e67e22;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53396035937_5802bb2393_k.jpg" /></span></p> <p><span style="color:#e67e22;">บุญจง ยินดี</span></p> <p><span style="color:null;">“ชีวิตตอนนี้ทำอะไรไม่ได้เลยก็มีแต่แฟนเป็นเสาหลักทุกอย่างต้องทำ ลูกสาวคนรองก็ค่อยช่วยเทฉี่ให้ เวลาถ่ายไม่มีแรงทำเองไม่ได้ ไม่ได้เข้าห้องน้ำ เข็นรถเข็นไม่ได้เคยลองแล้วล้อจมเพราะพื้นที่ในบ้านเป็นดินทราย เวลาอาบน้ำต้องนั่งวีลแชร์แฟนเข็นออกไปอาบข้างบ้าน เวลาอาบก็ใช้ไม้วอกเกอร์ยันตัวเองขึ้นมาแล้วย้ายไปนั่งเก้าอี้แล้วค่อยอาบ เวลากลับขึ้นเตียงเส้นมันหยึดมันจะสั่นงึกๆ ต้องพักเพราะมันเหนื่อยใช้แรงเยอะ”</span></p> <p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53396035892_59eb56f9a2_k.jpg" /></p> <p><span style="color:#e67e22;">ปัทมา เภาสะอาด</span></p> <p><span style="color:null;">ปัทมา เภาสะอาด ภรรยา เล่าว่า เธอเป็นคนทำงานหาเลี้ยงครอบครัวคนเดียว เป็นพนักงานเติมน้ำมันมีรายได้วันละ 315 บาท แต่รับเป็นงวดๆ 15 วันครั้ง บางทีกว่าเงินจะออกก็ต้องไปยืมเขามากิน ถ้าวันไหนหยุดก็ไม่ได้ค่าแรงเป็นแบบรายวัน ความจริงต่อให้ขยันทำทุกวันก็ไม่พอกินไม่พอกินอยู่ดี ไหนจะค่าน้ำค่าไฟ ผ้าอ้อมสำเร็จรูป กระดาษชำระ ไหนจะลูกต้องไปโรงเรียน “ปกติทำงานช่วงบ่ายถ้าวันไหนที่อาจจะต้องมีการเปลี่ยนแพรมเพิรม (ผ้าอ้อมสำเร็จรูป) หนูก็ต้องขอที่ทำงานกลับมาแล้วก็ต้องออกไปทำงานต่อ” เธอเล่า</span></p> <p><span style="color:null;">“เมื่อปีที่แล้วเราวิ่งไปขอความช่วยเหลือหลายหน่วยงาน แต่ไม่มีเลย หนูไปบอกว่าหนูเดือดร้อนนะช่วยหนูหน่อย (เสียงสั่น ร้องไห้) แฟนก็ป่วย แม่ก็ป่วยมันอัดอั้นขออนุญาตนะคะ บางทีอึดอัดมากไม่รู้จะทำยังไง ก็วิ่งเข้าป่าไปร้องตะโกนระบายมันออกมา” ปัทมาสะท้อนชีวิตที่แสนลำเค็ญให้ฟัง</span></p> <p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53396035847_860818df67_k.jpg" /></p> <p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53397279039_25a405e763_k.jpg" /></p> <p><span style="color:#e67e22;">บริเวณที่นอนของบุญจง</span></p> <p><span style="color:null;">ครอบครัวนี้เข้าไม่ถึงบริการของรัฐไม่ว่าจะส่วนกลางหรือส่วนท้องถิ่น พวกเขาเคยลองขอไปทางท้องถิ่นแต่ไม่ได้เพราะบ้านไม่มีเอกสารสิทธิ์ที่ดิน “ที่นี่มีบ้านเลขที่ย้ายกันมาอยู่ตรงนี้เมื่อสามปีที่แล้ว ที่อยู่ตรงนี้เขาบอกมาว่าเข้าอยู่อาศัยได้แต่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ อยู่ในเขตของที่ดินพระราชดำริและทับซ้อนกับพื้นที่ป่า ตอนมาสำรวจของป่าพระราชดำริชก็มาสำรวจกับเขา ที่นี้พอไปประชุมที่ป่าสงวน ป่าไม้รัตนบุรีเขาก็ว่าที่ตรงนี้ก็ของเขา พอดูไปดูมาเป็นทับซ้อนกันให้อยู่อาศัยได้ทำกินได้แต่ห้ามขาย” บุญจง เล่า</span></p> <p><span style="color:null;">พวกเขาอยากจะมีงบประมาณสักก้อนหนึ่งเพื่อปรับปรุงที่อยู่อาศัยพอที่จะทำให้ บุญจงใช้ชีวิตเองได้บ้าง “ถ้าได้ทำก็โอเคเพราะผมจะได้เข้าห้องน้ำ ไม่ต้องขับถ่ายอยู่ในผ้าอ้อมสำเร็จรูปตลอด ถ้าผมไปเองได้เข็นเองก็สะดวกตัวเอง ไม่ต้องลำบากแฟนมากจะได้ช่วยตัวเองไปด้วย เราก็ได้รู้สึกดีไม่ต้องให้เขาลำบากมาช่วยให้เขาได้ไปทำอย่างอื่นบ้างเขาก็ต้องรับผิดชอบทุกอย่าง ถ้าได้พื้นดีๆคิดว่าคงจะลองทำกับข้าวลองพยายามทำเองให้ได้ ถ้าเป็นแบบนั้นได้จะช่วยแฟนได้เบาขึ้นมาก ตอนนี้กับข้าวแฟนต้องหาให้ทุกอย่าง เวลาจะกินข้าวก็ต้องตักมาให้ แต่ตักกินเองได้ อย่างน้ำแฟนก็ต้องตักมาไว้ให้” บุญจงว่า “ที่ตรงนี้ถ้าจะทำอยู่ถาวรไม่ได้ ถ้าทำให้อยู่อาศัยได้ อยากให้เขาเบิกงบให้มาทำบ้านได้ เทพื้นก่ออิฐ ในฐานะที่ผมเป็นประชาชนคนหนึ่งที่ต้องการเข้าถึงสิทธิ์ ทำให้เรามีกำลังใจสู้ต่อไม่อยากให้ทอดทิ้ง”</span></p> <p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53397279029_bfa5b3f689_k.jpg" /></p> <p><span style="color:#e67e22;">ด้านหน้าบ้านของครอบครัวธนชิด สายโฮ้</span></p> <p><span style="color:null;">อีกรายหนึ่ง ธนชิด สายโฮ้ เกิดอุบัติเหตุจมน้ำ ทำให้สมองส่วนควบคุมร่างกายเสียหาย ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองหรือสื่อสารได้ ต้องอยู่ในความดูแลของ สายรุ่ง สายโฮ้ ผู้เป็นพ่อและ กนกกร สอนเลิศ ผู้เป็นแม่ซึ่งมีความบกพร่องทางการมองเห็นอีกด้วย กลายเป็นว่าในครอบครัวที่มีกันทั้งหมด 4 คนมีความพิการเสีย 2 คนได้รับความช่วยเหลือจากทางการในรูปแบบของเบี้ยผู้พิการรวมทั้งสิ้น 1,600 บาทต่อเดือน ครอบครัวนี้ต้องการทำลานหน้าบ้านให้ลูกชายออกไปนั่งเล่นข้างนอกบ้านเพื่อผ่อนคลายบ้างบางเวลา ส่วนผู้แม่อยากได้ห้องน้ำแบบที่มีชักโครก เพราะแบบนั่งยองไม่สะดวก เนื่องจากไม่สามารถลาดน้ำล้างเองได้เพราะตามองไม่เห็น ต้องมีคนคอยช่วยจัดการให้</span></p> <p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53396963951_0ff155ce41_k.jpg" /></p> <p><span style="color:#e67e22;">กนกกร สอนเลิศ และ สายรุ่ง สายโฮ้</span></p> <p><span style="color:null;">กนกกร เล่าว่า “ตอนนี้สถานการณ์แย่ลงกว่าเดิมเพราะขาหักต้องนั่งรถเข็นก็ลำบากยิ่งกว่าเก่าไปอีก และแถมตอนนี้ก็ต้องไปหาหมอไปฟอกไต ก็ต้องยืมรถเขามีตาค่อยช่วยออกทางด้านหลังบ้าน ตาจะเอารถมอเตอร์ไซค์มาจอดหลังบ้าน เราก็ขึ้นท้ายซ้อนรถเขาออกไปหาหมอ” ที่ซ้ำร้ายคือ พวกเขาไม่รู้เลยว่า มีสิทธิจะได้รับความช่วยเหลืออย่างไรบ้าง สายรุ่ง บอกว่า เขาทำงานคนเดียวรับจ้างละแวกนั้นได้ค่าแรงรายวันๆละ 350 บาท ถ้ามีงานไกลหน่อยก็รับไม่ได้ เพราะไม่มีใครดูแลคนพิการในครอบครัว “ไม่รู้เลยว่ามีขั้นตอนขอใช้สิทธิ์อย่างไรบ้าง ไม่รู้เลย เราไม่มีโทรศัพท์ไม่มีอะไรดู ส่วนมากก็ได้ดูแต่ในโทรทัศน์ ไม่ค่อยได้ดูเกี่ยวกับข่าวพวกนี้เท่าไหร่” ถึงแม้ครอบครัวของธนชิด มาทราบภายหลังว่าตามสิทธิของคนพิการสามารถทำเรื่องขอรับงบปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยได้ แต่ก็ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิ์นี้ได้เพราะต้องพบกับอุปสรรคเช่นเดียวกันกับกรณีของบ้านบุญจงที่ไม่เอกสารสิทธิ์ที่ดิน</span></p> <p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53396963936_c05a48a32e_k.jpg" /></p> <p><span style="color:#e67e22;">ธนชิด สายโฮ้ และ น้องสาว</span> </p> <h3><span style="color:#2980b9;">สิทธิที่เข้าถึงยาก</span></h3> <p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53397151213_8e060b9675_k.jpg" /></p> <p><span style="color:#e67e22;">ทศวรรษ ชิ้นแก้ว นักพัฒนาชุมชน</span></p> <p><span style="color:null;">ทศวรรษ ชิ้นแก้ว นักพัฒนาชุมชนชำนาญการ อธิบายว่า ต่อให้คนพิการรู้ถึงสิทธิ์และมีสิทธิ์ แต่ก็ใช่ว่าจะได้กันง่าย “ขั้นตอนไม่น้อย คนหนึ่งกว่าจะขอได้ อย่างน้อยต้องใช้เวลา 3 เดือน แต่ขึ้นอยู่กับการประเมินการและแบบ ช่างจะมีภาระงานมากน้อยแค่ไหน ถึงแม้เอกสารส่วนอื่นๆเตรียมพร้อมหมดแล้ว แต่ถ้าหากยังขาดแบบและประมาณการก็ยังส่งไปไม่ได้ แต่ถ้าอย่างเร็วประมาณ 2 เดือน”</span></p> <p><span style="color:null;">“แต่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ท้องถิ่นฝ่ายเดียว แต่ต้องดูด้วยว่าทางเจ้าหน้าที่พัฒนาสังคมและความมั่นคงระดับจังหวัด (พมจ.) จะลงมาดูตอนไหนบางครั้งบางหลังรอระยะเวลาที่ยาว อาจเป็นกระบวนการที่มีระยะเวลานานตามระเบียบเขา แต่ถ้าลดได้ก็จะเร็วขึ้น แบบเร็วสุดประมาณหนึ่งสัปดาห์นานสุดก็เป็นเดือน แต่เข้าใจว่ามีภาระหลายที่ แต่อาจจะนานสำหรับคนพิการ” </span></p> <p><span style="color:null;">ทศวรรษ ทำงานในพื้นที่ อบต.ไผ่ อำเภอรัตนบุรี มา 7 ปี สะท้อนให้ฟังว่ากระบวนการขั้นตอนการเข้าถึงสิทธิการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของคนพิการในพื้นที่ โดยในแต่ละปีเฉลี่ยได้ 2 หลังต่อปี เพราะติดขัดด้านงบประมาณที่ไม่เพียงพอ อีกทั้งกระบวนการนานมีขั้นตอนและใช้ระยะเวลาทำให้เกิดข้อจำกัด ไม่ตอบสนองต่อความต้องของคนพิการในพื้นที่</span></p> <p><span style="color:null;">“เริ่มจากคนพิการต้องบอกความต้องการไปที่ผู้นำชุมชนแล้วเขาลงไปสำรวจ แล้วส่งข้อมูลมาทางนักพัฒนาชุมชน จากนั้นนักพัฒนาชุมชนต้องลงมาตรวจสอบข้อมูลด้วยตัวเองอีกครั้ง รวบรวมเอกสาร ภาพ ข้อมูลส่วนบุคคลและส่งเรื่องไปให้ทาง พมจ. จากนั้นทาง พมจ. ต้องลงมาตรวจในพื้นที่ก่อนทำการอนุมัติ เมื่อข้อมูลตรงกัน จะทำการอนุมัติและมอบหมายให้ช่างของ อบต. เข้ามาทำการออกแบบ เขียนแบบ ประเมินราคา ทำตามความต้องการของคนพิการ และดูว่างบประมาณ 40,000 บาทที่ได้รับสามารถทำอะไรได้ โดยรายการนั้นสามารถแยกเป็นราคาแรงงานก่อสร้างได้ แต่งบซื้อวัสดุจะลดลงเพราะแบ่งจ่ายให้ค่าแรงงานด้วย จากนั้นส่งเรื่องทั้งหมดกลับไปที่ พมจ. อีกครั้งทำการอนุมัติและจึงได้รับโอนงบประมาณกลับมาที่ อบต. และทางท้องถิ่นถึงจะดำเนินเบิกงบและสั่งวัสดุ และหาทีมช่างเข้าไปทำ” ทศวรรษ เล่าขั้นตอนที่ฟังดูแล้วชวนเหนื่อยหน่ายท้อแท้</span></p> <p> </p> <p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53397151168_7d08852c64_k.jpg" /></p> <p><span style="color:null;">แต่เรื่องนี้พอมีทางออกอยู่บ้าง ทศวรรษ ขยายความว่า เมื่องบประมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของคนพิการในพื้นที่ ที่มีมากกว่าจำนวนงบที่ได้รับเฉลี่ยปีละ 2 หลัง ชุมชนต้องร่วมกันช่วยตัดสินใจ “ชุมชนเขาสำรวจแล้วเขาก็จัดลำดับ ผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) อาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ร่วมกันว่าคนไหนลำบากสุด จัดลำดับก่อนหลังว่าหลังไหนควรได้รับ เช่น ที่อยู่อาศัยมีความชำรุดเยอะกว่า ก็ควรได้รับการปรับปรุงก่อน หรืออยู่คนเดียวไม่มีลูกไม่มีหลาน แบบนี้เป็นเกณฑ์ของชุมชน โดยทางชุมชนจะร่วมกันตัดสินใจแล้วงบ 40,000 บาท น้อยไป ถ้าอย่างน้อยควรจะเท่าของงบกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพระดับจังหวัดขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) คือ 70,000 บาท จะเป็นค่าแรงด้วยก็ได้”</span></p> <p> </p> <h3><span style="color:#2980b9;">ชีวิตที่เข้าถึงสิทธิได้ จะเป็นอย่างไร?</span></h3> <p><span style="color:null;">ในเขตพื้นที่ตำบลตะเคียน อำเภอกาบเชิง ระยะทางห่างจากตัวเมืองราว 64 กิโลเมตร เป็นเขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่า ห้วยทับทัน ห้วยสำราญ อาชีพส่วนใหญ่ ทำนา ทำไร่ ไร่มันสำปะหลัง และยังมีเขตพื้นที่ติดกับเขตแดนของประเทศกัมพูชา</span></p> <p> </p> <p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53396963926_af27e40a5b_k.jpg" /></p> <p><span style="color:#e67e22;">ผู้สื่อข่าวสัมภาษณ์น้อย และ สมบัติ จารัตน์ ที่บ้านของพวกเขา</span></p> <p><span style="color:null;">ที่นี่มีความสำเร็จ น้อยและสมบัติ จารัตน์ สองสามีภรรยา อายุ 64 ปีทั้งคู่ น้อยได้จดทะเบียนคนพิการเมื่อ 4 ปีที่แล้ว มีความพิการทางการเคลื่อนไหวจากเจ็บป่วยบวกกับความสูงอายุอาการปวดจากสะโพกร้าวลงขา เวลาเดินจะมึนและชาเป็นมาได้ 7 ปีแล้ว ส่วนสมบัติผู้เป็นสามี มีอาการเจ็บปวดหัวเข่า และไปผ่าสมองเวลานั่งยอง ๆ จะมีอาการปวดและลุกยืนไม่ไหวคล้ายกันกับน้อย และอยู่บ้านกันเพียงสองคน</span></p> <p><span style="color:null;">บ้านของพวกเขา ได้รับการปรับสภาพแวดล้อมที่อาศัยไปเมื่อปี 2564 โดยได้รับการปรับสภาพด้านล่างต่อเติมจากเดิม ซึ่งบ้านเดิมก่อนปรับเป็นบ้านชั้นเดียวยกพื้นสูงมีใต้ถุนบ้านโล่งๆไม่มีผนัง ปัจจุบันได้ปรับด้านล่างทำการก่อผนังอิฐฉาบปูน กั้นห้องนอนข้างล่าง โดยสภาพด้านบนยังคงเป็นวัสดุเก่าจากอดีต</span></p> <p><span style="color:null;">ชีวิตแตกต่างจากเดิม ปัจจุบันไม่ได้ขึ้นข้างบนกันแล้วขึ้นไม่ไหวกันทั้งคู่ ไม่ต้องทรมานตะเกียกตะกาย ขึ้นข้างบนก็นอนอยู่ข้างล่าง ทีนี้ไม่ต้องคลานขึ้นไปแล้วนอนห้องข้างล่าง เวลาจะลงจากข้างบนทุกทีกลัวตกลงมาเพราะขาไม่ดี ชาและเจ็บมาก พอได้อยู่ข้างล่างแบบนี้ ก็รู้สึกดีขึ้น</span></p> <p> </p> <p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53396035817_bb04e9f165_k.jpg" /></p> <p><span style="color:#e67e22;">น้อย จารัตน์ และ สมบัติ จารัตน์</span></p> <p><span style="color:null;">พวกเขามีวันนี้ได้ เพราะทางผู้ใหญ่บ้านกับทาง อบต. เข้ามาสอบถามความเป็นอยู่ เห็นว่าขึ้นข้างบนลำบากจึงไปทำเรื่องของบจาก พมจ. มาให้ จากนั้น พจม. ก็ลงมาสอบถามแล้วก็ถ่ายรูปไป แล้วเขาก็เอางบประมาณให้สี่หมื่นบาทรองบประมาณสามสี่เดือน ผู้ใหญ่ก็ให้สมาชิกลูกบ้าน ขอแรงเขามาช่วยสร้างบ้านให้ทำอยู่ประมาณ 10 วันเสร็จ กระจายอำนาจช่วยได้?</span></p> <p><span style="color:null;">แม้ว่าคนพิการทุกประเภทความพิการสามารถขอรับสิทธินี้ได้ แต่ด้วยงบประมาณจำกัดท้องถิ่นต้องมีเกณฑ์คัดเลือกให้งบประมาณก่อนหลังผ่านการประชาคมของชุมชนแต่ตามระเบียบของ พมจ. ที่กำหนดไว้ว่า คนที่ขอต้องมีฐานะยากจนลำบากควรได้รับสิทธิ์นี้ก่อน ทว่าด้วยข้อจำกัดที่แตกต่างกันบ้านคนพิการในพื้นที่ ซึ่งมีบางส่วนที่โครงสร้างบ้านต้องทำใหม่เพราะโครงสร้างเดิมหมดสภาพ ถ้าหากใช้งบส่วนนี้ปรับห้องน้ำหรือเทพื้นทำแบบนั้นอย่างเดียวคงอยู่ได้ไม่นานโครงสร้างคงพังก่อน และยังมีอีกส่วนติดอุปสรรคด้านเอกสารสิทธิ์ที่ดินก็ไม่สามารถเข้าถึงสิทธินี้ได้ ซึ่งในขณะที่แต่ละปีได้รับการการสนับสนุนด้านงบประมาณที่จำกัด ทำให้ท้องถิ่นพบอุปสรรคต้องหาทางแก้ไข จากการขอรับบริจาคร่วมถึงต้องหาช่องทางอื่นๆในการปรับปรุงบ้านให้แล้วเสร็จ</span></p> <p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53397278854_ca77e44c3e_k.jpg" /></p> <p><span style="color:#e67e22;">ประยูร สร้อยจิตร รองนายก อบต.ตะเคียน, พิชัย เผยศิริ นายก อบต.ตะเคียน และ จีราภัค จินดาศรี นักพัฒนาชุมชนปฏิบัติ อบต.ตะเคียน</span></p> <p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53397398175_a216b167c6_k.jpg" /></p> <p><span style="color:#e67e22;">จีราภัค จินดาศรี นักพัฒนาชุมชนปฏิบัติ</span></p> <p><span style="color:null;">จีราภัค จินดาศรี นักพัฒนาชุมชนปฏิบัติ กล่าวว่า งบประมาณสี่หมื่นอย่างในปัจจุบันนี้ อาจจะได้ไม่ตรงตามที่ประมาณการไป เรื่องแรงงานก็เป็นปัญหาหนัก บางทีทำให้การสร้างบ้านปรับสภาพบ้านทำให้ไม่เสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด บางทีตั้งไว้สองเดือนอาจจะเลยออกไปอีก บางครั้งใช้ช่างที่เป็นจิตอาสา ก็อาจจะมาจากกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน บางคนติดภารกิจทำงานได้ไม่เต็มที่ เช่นว่าได้งบประมาณมาในช่วงที่กำลังลงไร่ลงนา ช่างเขาก็ต้องแบ่งเวลาลงไปทำงานของตัวเองด้วย ทำให้ไม่มีช่างมาทำบ้านก็ตกเป็นภาระของผู้นำ</span></p> <p><span style="color:null;">พิชัย เผยศิริ นายก อบต. ตะเคียน กล่าวในทำนองเดียวกัน “บางครั้งค่าเหล็กมันแพงขึ้น ไม่สามารถซื้อเหล็กได้ตามสเปคได้ตามแบบแปลนที่เราขอไป ก็ต้องขอสนับสนุนจากเพื่อนบ้านภายในหมู่บ้านช่วยกันเพื่อให้เสร็จถือว่าเป็นความเข้มแข็งของชุมชน และเป็นความร่วมมือของคนในท้องถิ่น หรือบางทีขอความอนุเคราะห์จากหลวงพ่อช่วยปูนสิบกระสอบ อบต. ช่วยอิฐบล็อกร้อยก้อน กิ่งกาชาติช่วยเพื่อให้แล้วเสร็จได้เข้าอยู่อาศัย ทุกหลังที่ได้งบประมาณมาทำงบจาก พมจ.”</span></p> <p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53396035777_b5fd8f20bd_k.jpg" /></p> <p><span style="color:#e67e22;">ประยูร สร้อยจิตร รองนายก อบต.</span></p> <p><span style="color:null;">ประยูร สร้อยจิต รองนายก อบต. ตะเคียน กล่าวว่า คนพิการที่มีฐานยากจนในพื้นที่มีจำนวนมากและติดปัญหาตรงที่คนพิการไปอยู่ในบ้านของพี่น้องของเครือญาติ และไม่มีเอกสารสิทธิ์เลย กลายเป็นเรื่องติดขัดกฎระเบียบและเกณฑ์ตามที่กำหนด ต้องมีการแก้ไขการติดขัดปัญหาตรงนี้ก่อน ควรยกเว้นระเบียบเรื่องเอกสารสิทธิ์พอให้เราสามารถไปทำให้เขาได้ “พอคนพิการไม่มีเอกสิทธิ์เอกสารก็ขาดโอกาสที่จะได้รับ แบบนี้เขาต้องแบกทุกข์ทรมานอย่างนั้น เราก็ได้ช่วยเหลือแบบเฉพาะหน้ารายวันไป เพื่อให้เขาสามารถดำรงชีวิตได้เรื่องค่ากินค่าครองชีพ” ประยูร กล่าว</span></p> <p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53397151143_5aec7a84ea_k.jpg" /></p> <p><span style="color:#e67e22;">พิชัย เผยศิริ นายก อบต.</span></p> <p><span style="color:null;">พิชัย เผยศิริ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ตะเคียน กล่าวว่า หากมีการกระจายอำนาจเพิ่มอำนาจให้กับท้องถิ่นสามารถอนุมัติจ่ายงบได้ ไม่ต้องทำเรื่องส่งกลับไปยัง พจม. ขั้นตอนการอนุมัติมีผลดีกับประชาชนได้ตรงกลับความต้องการ โดยเกณฑ์คัดเลือกให้งบประมาณก่อนหลัง ผ่านการประชาคมของชุมชนแต่ตามระเบียบของ พมจ. ที่กำหนดไว้ว่าคนที่ขอต้องมีฐานะยากจนลำบากควรได้รับสิทธิ์นี้ก่อนแบบนี้จะช่วยเพิ่มความคล่องตัวขึ้น</span></p> <p><span style="color:null;">“ในส่วนตัวผมที่อยากได้มากคือการกระจายอำนาจ ทั้งอำนาจหน้าที่ตัดสินใจทั้งงบประมาณ ให้ท้องถิ่นได้จัดการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้มากขึ้นกว่านี้ งบประมาณตอนนี้อยู่ที่ท้องถิ่น 25 หรือ 35 % ที่อยู่กับท้องถิ่นนิดเดียว แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ที่จังหวัดหรือที่กรมที่กระทรวง อย่างน้อยกระจายลงมา 50/50 ก็ยังดี เช่น เรื่องการปรับสภาพแวดล้อมถ้าติดปัญหาเรื่องที่ดินท้องถิ่นควรออกเป็นพระราชบัญญัติ แก้ไขปัญหาแก้ไขระเบียบ กฎหมายที่สลับสับซ้อนมีเยอะแยะไปหมดเลย ถ้าทำเองได้ทำให้พี่น้องคนพิการเข้าถึงสิทธิ์ แต่ตอนนี้ต้องรอส่งเรื่องไปแก้ไขที่ พมจ. ซึ่งถ้าเป็นไปตามนี้ท้องถิ่นเลือกไม่ทำจะดีกว่า อยู่สบายๆดีกว่าจะไปเสี่ยงหาเรื่องติดคุกทำไม” พิชัย กล่าว</span></p> <p><span style="color:null;">“ถ้าได้รับอำนาจในท้องถิ่น บางทีคนอาจมองทำให้กลายเป็นผู้มีอำนาจในพื้นที่ เป็นมาเฟีย แต่ในความเป็นจริงมันไม่ใช่แบบนั้น แต่เราจะได้ดูแลประชาชนอย่างใกล้ชิดและมีงบประมาณ ในการจัดการช่วยในด้านต่างๆได้ อย่างผมมาต้องไม่เกินสองวาระ อยู่แบบไม่ติดต่อกันไม่เกินสองวาระ ซึ่งก็มีกฎระเบียบบังคับอยู่แล้ว ซึ่งเป็นไปแบบนั้นไม่ได้อยู่แล้ว อีกอย่างถ้าบริหารงานไม่ดีสุดท้ายประชาชนเขาก็ไม่เลือกให้ทำงานต่ออยู่ดี” พิชัย เผยศิริ กล่าว</span></p> <div class="summary-box"> <h3><span style="color:#2980b9;">ท้องถิ่นสร้าง สื่อสอบ</span></h3> <p>สารคดีข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนทั้งหมด 24 เรื่องต่อไปนี้ ผลิตภายใต้โครงการ สื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่น เพื่อบอกเล่าถึงเรื่องราวและปมปัญหาที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นทั่วไทยในแง่มุมที่แตกต่างหลากหลาย ตั้งแต่ปัญหาการบริหาร การเมือง การปกครอง สิ่งแวดล้อม ความเท่าเทียมทางเพศ สิทธิคนพิการ คนไร้บ้าน ไร้ที่พึ่ง การศึกษา เด็กและเยาวชน กีฬา ไปจนถึงเรื่องธุรกิจ อันเกี่ยวเนื่องกับการทำงานของท้องถิ่นและชุมชน</p> <p>คำว่าท้องถิ่นในที่นี้ได้รับการตีความอย่างกว้าง ว่าหมายถึงรูปแบบของความสัมพันธ์ที่ชุมชนในท้องถิ่นนั้นมีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้อง ไม่ได้หมายความเฉพาะรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นของกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น ถึงแม้ว่าสารคดีในชุดนี้จำนวนหนึ่งจะพูดถึงประเด็นปัญหาในกรอบขององค์กรเหล่านั้นก็ตาม</p> <p>ธรรมาภิบาล (Good Governance) นั้นไม่ได้จำกัดเฉพาะแต่หน่วยการเมืองหรือการบริหารประเทศเท่านั้น หากหมายรวมถึงองค์กรภาคประชาชน ประชาสังคมหรือชุมชนต่างๆ ด้วยเหตุนี้เราจึงมีการตรวจสอบพฤติกรรมทางเพศของชุมชนนักกิจกรรมทางสังคม-การเมือง อยู่ในสารคดีชุดนี้ด้วย</p> </div> </div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สังคม[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คุณภาพชีวิต[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ท้องถิ่นสร้างสื่อสอบ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/depth" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">depth[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สุรินทร์[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คนพิการ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สวัสดิการ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สวัสดิการปรับปรุงบ้าน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%9E%E0%B8%A5-%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">อรรถพล ศรีชิษณุวรานนท์[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div> https://prachatai.com/journal/2023/12/107239 |