[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ห้องสมุด => ข้อความที่เริ่มโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 18 ตุลาคม 2554 14:38:22



หัวข้อ: การใช้งานอินเทอร์เน็ตในช่วงเหตุการณ์อุทกภัย 2554
เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 18 ตุลาคม 2554 14:38:22
(http://image.ohozaa.com/i/3da/PenwT.jpg) (http://image.ohozaa.com/view/43bns)

(http://www.sookjai.com/index.php?action=dlattach;topic=26063.0;attach=1358;image)

สืบเนื่องจากเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดในประเทศไทย ส่งผลทำให้มีผู้ได้รับความเดือดร้อนจำนวนมากมีการเร่งระดมความช่วยเหลือจากหลายฝ่าย ท่ามกลางกระแสการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเป็นจำนวนมาก ผ่านทางอินเทอร์เน็ต และโซเชียล

มีเดียสมาคมฯ เห็นว่า แม้สื่ออินเทอร์เน็ตจะเป็นสื่อที่ทำให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ถูกส่งต่อ แพร่กระจายได้รวดเร็วกว้างขวาง เหมาะสมกับการใช้งานในช่วงสถานการณ์ที่ต้องการความเร่งด่วนเช่นนี้ แต่ด้วยคุณลักษณะของสื่อเอง ที่มีการสื่อสารหลายทาง และผู้ใช้งานมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์

เผยแพร่ หรือส่งต่อข้อมูล จึงมีความจำเป็นที่ผู้ใช้งานและผู้ดูแลเว็บ จะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษอนึ่งสมาคมฯ ขอความร่วมมือจากผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต และผู้ดูแลเว็บ ดังต่อไปนี้.................................

สำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไป

1. การรับข้อมูลข่าวสาร - เมื่อได้รับทราบข้อมูลข่าวสารต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต และ หรือโซเชียลมีเดีย ควรใช้วิจารณญาณ และตรวจสอบที่มาของข้อมูลข่าวสาร ให้แน่ใจ โดยไม่ตื่นตระหนก

2. การส่งต่อข้อมูลข่าวสาร - เลือกส่งต่อเฉพาะข้อมูลข่าวสาร ที่ได้ตรวจสอบแล้วว่าเป็นความจริง ทราบที่มาของข้อมูลข่าวสารอย่างแน่นอนแล้วเท่านั้น การส่งต่อข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นถือเป็นการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550) มาตรา14 มีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3. การส่งต่อข้อมูลข่าวสาร – ควรระบุ เวลา สถานที่ แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสารอย่างชัดเจน ภายใต้สถานการณ์ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้ การระบุเวลาของเหตุการณ์ต่าง ๆ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับผู้รับสาร เพื่อให้ผู้รับสารได้เข้าใจสถานการณ์อย่างถูกต้องเป็นปัจจุบัน

4. การส่งต่อข้อมูลข่าวสาร – ไม่ควรส่งต่อข้อมูลการรับบริจาคผ่านทาง โซเชียลมีเดีย เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพ บิดเบือนข้อความ เช่นเลขบัญชีรับบริจาคแล้วทำการส่งต่อได้ง่าย หากมีความประสงค์จะเผยแพร่เลขบัญชีรับบริจาค ควรใช้วิธีการเผยแพร่ลิงค์ของหน้าเว็บเพจของหน่วยงานรับบริจาคที่เชื่อถือได้ ซึ่งมีข้อมูลเลขบัญชีรับบริจาคอยู่

5. การแจ้งเบาะแส – หากพบเห็น หรือทราบเบาะแสการหลอกลวงเงินบริจาค ควรรีบแจ้งเบาะแสต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยทันที

6. การเตรียมความพร้อม – หมั่นดูแลระดับพลังงานแบตเตอรี่ของอุปกรณ์สื่อสารให้อยู่ในระดับสูงสุดเสมอ เพื่อให้สามารถใช้เครื่องมือสื่อสารได้อย่างอิสระ เป็นระยะเวลานาน ในกรณีที่ระบบไฟฟ้าถูกตัด หรือดับ

สำหรับผู้ดูแลเว็บ Facebook page Twitter ที่มีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก

นอกเหนือจากการทำตามแนวปฏิบัติข้างต้นในฐานะผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไปแล้ว เนื่องจากข้อมูลข่าวสารที่ท่านเผยแพร่จะมีผู้ติดตามและอาจนำไปขยายผลส่งต่อเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ ดังต่อไปนี้..............................

1. การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางหน้าเว็บไซต์  Facebook Page Twitter ของท่าน ต้องตรวจสอบความถูกต้อง เวลา สถานที่ และเผยแพร่ข้อมูลอย่างมีความครบถ้วน ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ทั้งรายงานสถานการณ์และข้อมูลการรับบริจาค

2. ในกรณีที่เว็บไซต์มีเว็บบอร์ด กระดานสนทนาอยู่ในเว็บไซต์ ในฐานะผู้ดูแลเว็บควรหมั่นตรวจสอบการสนทนาเหล่านั้น เพื่อให้แน่ใจว่า การนำข้อมูลข่าวสารมาเผยแพร่ผ่านระบบกระดานสนทนา ภายในเว็บไซต์ หรือ Facebook page ของเราให้มีความถูกต้องตามหลักการข้างต้น

3. ร่วมประชาสัมพันธ์ข้อมูล หรือเว็บไซต์อันเป็นประโยชน์ เพื่อช่วยให้ข้อมูลที่มาจากแหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้กระจายไปสู่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในวงกว้าง

http://www.youtube.com/v/fk1jDN9fk7Q?version=3