[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 20 ธันวาคม 2566 15:27:12



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ‘วิโชคศักดิ์’ แกนนำประมงพื้นบ้าน นั่งเลขาฯ NGOs ใต้ ลั่นล้มร่าง กม.ระเบียงเขตเศรษ
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 20 ธันวาคม 2566 15:27:12
‘วิโชคศักดิ์’ แกนนำประมงพื้นบ้าน นั่งเลขาฯ NGOs ใต้ ลั่นล้มร่าง กม.ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-12-20 13:16</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>บัณฑิตา อย่างดี ศูนย์สร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา (สจน.) : รายงาน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>วิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี แกนนำประมงพื้นบ้าน นั่งเลขาธิการเอ็นจีโอใต้ คนใหม่ ประกาศล้มร่าง พ.ร.บ.ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ SEC</p>
<p>เมื่อวันที่ 15-17 ธ.ค. 2566 ณ มูลนิธิอันดามัน จ.ตรัง คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ (กป.อพช.ใต้) หรือ NGOs ใต้ ซึ่งเป็นสมาชิกของคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน ได้จัดสมัชชา “สานสายใยพี่น้อง กป. ร่วมปกป้องพื้นที่ภาคใต้” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์ทางสังคม สิ่งแวดล้อม และการเมือง ทบทวน สรุปบทเรียน รวมถึงสานสัมพันธ์ความเป็นพี่เป็นน้อง และเลือกคณะกรรมการชุดใหม่ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 120 คน</p>
<p>กิจกรรมในงาน มีการแลกเปลี่ยนบทเรียนการทำงานขององค์กรสมาชิก , วงเสวนาเหลียวหลังแลหน้างานพัฒนาในพื้นที่ภาคใต้ โดยนักพัฒนาเอกชนอาวุโส , การวิเคราะห์สถานการณ์ อาทิ เรื่องสิทธิในสิ่งแวดล้อมฯ โดย ศยามล ไกยูรวงศ์ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรื่องนักปกป้องสิทธิฯ โดย สุภาภรณ์ มาลัยลอย มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) เรื่องสถานการณ์โลกในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดย ผศ.ประสาท มีแต้ม สภาองค์กรของผู้บริโภค, การนำเสนอสถานการณ์เชิงประเด็น เช่น ประเด็นร่าง พ.ร.บ.ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) ประเด็นแลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง ประเด็น SEA จะนะ ประเด็นโรงไฟฟ้า ประเด็นเหมืองแร่ ประเด็นประมง , การมอบรางวัลช่อดาวลดา, การรายงานการดำเนินงานในรอบปี, การทบทวนระเบียบ, การเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่, การอ่านคำประกาศ</p>
<p>ในช่วงกิจกรรมช่อดาวลดา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในช่วงงานสมัชชา กป.อพช.ใต้ ในทุกปี เพื่อเป็นกำลังใจต่อนักพัฒนาเอกชนในภาคใต้ ในปี 2566 นี้ คณะกรรมการช่อดาวลดาได้มอบรางวัลต่อ ฮาสนะห์ เก๊ะมาซอ  เจ้าหน้าที่สนามสมาคมรักษ์ทะเลไทย พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณและเงิน จำนวน 20,000 บาท</p>
<p>ทั้งนี้ ฮาสนะห์ เริ่มทำงานพัฒนาเอกชน ในปี พ.ศ. 2556 มีผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนที่มีความชัดเจน เป็นรูปธรรม และสามารถวัดผลได้ เช่น จัดตั้งสมาคมประมงพื้นบ้านตำบลปากน้ำ ตำบลขอนคลาน จัดตั้งวิสาหกิจชุมชนร้านคนจับปลาสตูล ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับชุมชนถึงระดับประเทศไปในทางที่ดีขึ้น สร้างอาชีพสร้างรายได้ให้กับชุมชน สามารถขับเคลื่อนไปสู่การแก้ไขปัญหาเชิงนโยบายด้วยพลังของชุมชนได้</p>
<p>ฮาสนะห์ กล่าวว่า ตนเป็นชาวยะลา มาทำงานกับชาวประมงสตูล จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) วิชาเอกพัฒนาสังคม วิชาโทรัฐศาสตร์การปกครอง ในช่วงที่เป็นนักศึกษาได้ทำกิจกรรมกับนักพัฒนาเอกชนในพื้นที่ปัตตานี และทำกิจกรรมกับชมรมอนุรักษ์ มอ.ปัตตานี ในการปกป้องทะเลจากโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา หลังจากเรียนจบได้มาทำงานเป็นเจ้าหน้าที่สนามในพื้นที่อ่าวปากบารา เสริมสร้างความเข้มแข็งให้องค์กรชุมชน จัดตั้งกลุ่มชาวประมง สมาคม วิสาหกิจชุมชน เพื่อให้ชาวประมงพื้นบ้านมีอำนาจต่อรองกับรัฐและทุน ยกระดับสินค้าประมงพื้นบ้านให้ชาวประมงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน มีหลักคิดในการทำงานคือ “ปรับทุกข์ ผูกมิตร เกาะติด จัดตั้ง”</p>
<p>ส่วนการเลือกตั้งคณะกรรมการ กป.อพช.ใต้ ชุดใหม่ จำนวน 15 คน ผลการเลือกตั้ง วิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการ บัณฑิตา อย่างดี ได้รับเลือกเป็นรองเลขาธิการ นอกจากนั้นมีคณะกรรมการ จำนวน 13 คน โดยคณะกรรมการมีสัดส่วนผู้ชาย จำนวน 8 คน ผู้หญิง 7 คน มีความหลากหลายครอบคลุมประเด็นและพื้นที่การดำเนินงานในภาคใต้ มีวาระการดำเนินงาน 2 ปี</p>
<p>วิโชคศักดิ์ กล่าวว่า มียุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อน ดังนี้ (1) กป.อพช.ใต้ เป็นขบวนที่ชี้นำสังคม และปฏิบัติการให้เห็นจริง ตั้งแต่ระดับพื้นที่จนถึงระดับนโยบาย (2) ทำงานร่วมกับสมาชิก (3) ฟื้นฟูสัมพันธภาพแนวร่วม สานสัมพันธ์สร้างแนวร่วม (4) เป็นกองกำลังติดอาวุธทางปัญญา (5) พัฒนาการสื่อสาร (6) จัดทำแผนที่ภัยคุกคามและแผนพัฒนาของภาคประชาชน จากภูเขาถึงทะเล (7) หยุดยั้ง ร่าง พ.ร.บ.ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC)</p>
<p>“NGOs หรือนักพัฒนาเอกชน เป็นวิชาชีพที่มีความสำคัญ ไม่มียศถาบรรดาศักดิ์ ไม่มีเงินเดือนสูงๆ ที่จะเอาไปโอ้อวดกับคนอื่น ไม่อาจไปโม้กับเพื่อนฝูงและญาติพี่น้องว่าได้เลื่อนขั้นหรือได้เพิ่มเงินเดือน ไม่มีความแน่นอนเรื่องเงินเดือนรายได้ ต้องคิดว่าโครงการหมดแล้วจะหาเงินจากไหน แต่สิ่งนี้คือจุดแข็งที่ทำให้เรามีจิตวิญญาณเสรีได้ สิ่งหนึ่งที่เราจะได้จากวิชาชีพนี้คือเกียรติยศ การเคารพตัวเองของเรา และจะได้รับการเคารพจากทุกหมู่เหล่า เราจะเป็นมนุษย์ที่สมศักดิ์ศรี จะไม่ก้มลงกราบเท้าใครเพราะเขามีตังค์มากกว่า จะได้พี่น้องที่แท้จริงจากอาชีพนี้” วิโชคศักดิ์ กล่าว</p>
<p>อนึ่ง วิโชคศักดิ์ ทำประเป็นฐานทรัพยากรโดยเฉพาะประมงพื้นบ้านเป็นแกนนำสมาคมรักษ์ทะเลไทยและ สมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53409613163_ab3a92c51e_b.jpg" /></p>
<p>ในช่วงท้าย กป.อพช.ใต้ ได้อ่านคำประกาศสมัชชาองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ “หยุดกฎหมายอภิสิทธิ์ชน ยับยั้งภัยคุกคามภาคใต้ สร้างสรรค์รูปธรรมการพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยระบุว่า จากการประมวลสถานการณ์สังคมการเมือง และสิ่งแวดล้อมในเวทีสมัชชาคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ ประจำปี พ.ศ. 2566 มีบทสรุปที่เกิดขึ้นจากการนำเสนอและแลกเปลี่ยนจากองค์กรสมาชิกและภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมประชุม อันหมายถึงข้อห่วงกังวลที่เกิดขึ้นจากแนวนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบัน และรูปธรรมการดำเนินงานของพวกเราที่เชื่อว่าจะเป็นทางรอดให้กับสังคมภาคใต้ ที่พอจะนำเสนอได้เบื้องต้น ดังนี้</p>
<p>1. ภัยคุกคาม ที่จะเกิดขึ้นจากแนวคิดการพัฒนาภายใต้นโยบายทางการเมืองของรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ในพื้นที่ภาคใต้ อย่างเช่น การผลักดันร่างพระราชบัญญัติระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ หรือ ร่าง พ.ร.บ. SEC ,โครงการแลนด์บริดจ์ระนอง - ชุมพร , การแก้ไขพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 , นโยบายการให้สัมปทานเหมืองแร่ , นโยบายคาร์บอนเครดิตในพื้นที่ป่าชายเลนและป่าบก , นโยบายการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งรวมถึงการดำเนินโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ , นโยบายด้านพลังงาน ที่รวมถึงการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลจำนวนมาก ,โครงการสร้างเขื่อนในหลายพื้นที่ของภาคใต้ เป็นต้น</p>
<p>2. รูปธรรมการดำเนินงานที่เชื่อว่าจะเป็นทางรอดในภาคใต้ เราพบว่า แนวทางในการจัดการทรัพยากรที่ชุมชนมีส่วนร่วมกับภาคีพัฒนาต่างๆ ในท้องถิ่น ที่มีการดำเนินการในหลายพื้นที่และหลายมิติ อย่างเช่นการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การจัดการป่าไม้ที่ดิน การจัดการน้ำ ซึ่งรวมถึงการจัดการผลผลิตด้านการประมง การเกษตรที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค และหมายรวมถึงการสร้างกระบวนการในการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ ท้องที่ท้องถิ่น ภาคเอกชน วิชาการ และประชาสังคมได้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนรูปธรรมการพัฒนาที่ยั่งยืนในมิติต่างๆ ทั้งด้านสังคม การเมืองภาคพลเมือง การศึกษา เศรษฐกิจชุมชนที่สร้างสรรค์ อันเป็นการพัฒนาบนฐานศักยภาพของภาคใต้ที่มีอยู่อย่างครบครัน ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าแนวทางเหล่านี้จะนำพาประชาชนภาคใต้ไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนได้จริง</p>
<p>โอกาสนี้พวกเราขอประกาศว่าจะผนึกกำลังร่วมกัน เพื่อหยุดยั้งภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้อย่างถึงที่สุด โดยเฉพาะการยับยั้ง ร่างพระราชบัญญัติระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนเฉพาะกลุ่ม เสมือนเป็นการสร้างทางด่วนพิเศษให้กับอภิสิทธิ์ชน แย่งยึดฐานทรัพยากรของพวกเราได้อย่างชอบธรรม บนความฉ้อฉลของระบบการเมืองที่เลือกปฏิบัติ กฏหมายฉบับนี้จะกลายเป็นเครื่องมือของฝ่ายการเมือง กลุ่มทุนและชนชั้นนำ ใช้ดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่ต่างๆ อีกจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงโครงการแลนด์บริดจ์ระนอง - ชุมพร ที่รัฐบาลกำลังผลักดันและตระเวนเดินสายขายโครงการอยู่ในเวลานี้</p>
<p>และที่เลวร้ายไปกว่านั้นคือ รัฐบาลกำลังสร้างมาตรฐานทางการปกครองแบบใหม่ ในลักษณะของ “รัฐซ้อนรัฐ” ที่เป็นการสถาปนาอำนาจพิเศษให้กับฝ่ายการเมืองและกลุ่มทุนอย่างชัดเจนภายใต้กฏหมายฉบับนี้ ซึ่งพวกท่านเรียกว่า “คณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้” ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน สามารถสร้างกฏหมายใหม่ เพื่อให้เอื้อประโยชน์กับนักลงทุนได้ง่ายขึ้น ภายใต้เขตเศรษฐกิจพิเศษที่จะเริ่มต้นในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน 4 จังหวัด คือ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช และยังสามารถประกาศขยายเขตนี้เพิ่มเติมได้อีกอย่างไร้ข้อจำกัด และยังไม่นับรวมถึงการให้สิทธิพิเศษกับผู้ประกอบการที่จะเข้ามาลงทุนทั้งด้านภาษี การใช้ที่ดิน แหล่งน้ำ ด้านแรงงาน ด้านการเงิน และอื่นๆ อีกหลายกรณี ซึ่งจากสิทธิดังกล่าวนี้จะนำไปสู่การละเว้นการบังคับใช้กฎหมายปกติที่มีอยู่แล้วเกือบ 20 ฉบับ</p>
<p>ทั้งหมดนี้ จึงมีเหตุผลเพียงพอที่พวกเราจะยับยั้งกฎหมายฉบับนี้ ไม่ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ และในพื้นที่ภาคอื่นๆ ของประเทศไทย บนหลักการที่ว่า “ประเทศไทยมีสิทธิในการบังคับใช้กฎหมายที่เท่าเทียมกัน” ไม่ว่าจะเป็นประชาชนหรือนักการเมืองและนักธุรกิจ ซึ่งเรื่องนี้จะเป็นประเด็นสำคัญของพวกเราที่จะขับเคลื่อนและจะสร้างการร้อยรวมพลังประชาชนทุกภาคส่วนให้ออกมาเคลื่อนไหวร่วมกันอย่างมีนัยสำคัญ พร้อมกันนี้พวกเรายังพร้อมที่จะประสานกับเพื่อนต่างภาค ทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคตะวันตก ตะวันออก และภาคกลาง เพื่อจะสร้างปฏิบัติการเรื่องนี้ให้ถึงที่สุด</p>
<p>พวกเรายังยืนยันว่า ศักยภาพของภาคใต้ ทั้งด้านทรัพยากร สังคมวัฒนธรรม ฐานเศรษฐกิจ และความตื่นรู้ของภาคพลเมือง ถือเป็นต้นทุนสำคัญในการพัฒนา ซึ่งการพัฒนาที่ยั่งยืนคือการพัฒนาที่นำต้นทุนศักยภาพของพื้นที่ที่มีอยู่มาเป็นฐานและการให้อำนาจในการกำหนดทิศทางการพัฒนาที่มาจากประชาชนในพื้นที่ มิใช่ให้อำนาจส่วนกลางกำหนดโครงการพัฒนา โครงสร้างอำนาจที่มาครอบอำนาจท้องถิ่น ออกกฎหมายพิเศษมาเป็นส่วนขยายอำนาจของส่วนกลางเพื่อเอื้อต่อกลุ่มทุนและละเมิดสิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน ของคนในพื้นที่ รัฐบาลต้องทำความเข้าใจและความชาญฉลาดในการพัฒนาที่จะนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนอย่างแท้จริง และเป็นการพัฒนาเพื่อสร้างความสุขของทุกฝ่าย ไม่ใช่เพื่อเอื้อประโยชน์กับคนเพียงบางกลุ่มเท่านั้น</p>
<p>สิทธิในการพัฒนาต้องเป็นสิทธิของประชาชนอย่างแท้จริง เราไม่ยอมรับการพัฒนาที่คิดจากส่วนกลางโดยประชาชนไม่มีส่วนร่วมเช่น ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี อันเป็นต้นทางของกฎหมายพิเศษอย่างเช่นกฎหมายระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ และโครงการพัฒนาขนาดใหญ่อื่นๆ เราจะร่วมกันปกป้องฐานทรัพยากร สิทธิชุมชน สิทธิมนุษยชน สิทธิในการพัฒนาของคนในพื้นที่ เราจะหยุดกฎหมายอภิสิทธิ์ชน ยับยั้งภัยคุกคามภาคใต้ สร้างสรรค์รูปธรรมการพัฒนาที่ยั่งยืน และจะร่วมเรียนรู้กับภาคประชาชนอื่นๆ ในกระบวนการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มาจากประชาชน ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ เพื่อให้สิทธิเหล่านี้ถูกรับรองอย่างชัดเจนมากขึ้น</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิ่งแวดล้อม[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%8A%E0%B8%84%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C-%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B5" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">วิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ประมงพื้นบ้าน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ร่าง พ.ร.บ.ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107304