[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 24 ธันวาคม 2566 05:09:45



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เผยเศรษฐกิจป้องกันประเทศพุ่งสูงในปัตตานี - ครึ่งทาง SEA พบศักยภาพหลายด้าน
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 24 ธันวาคม 2566 05:09:45
เผยเศรษฐกิจป้องกันประเทศพุ่งสูงในปัตตานี - ครึ่งทาง SEA พบศักยภาพหลายด้าน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2023-12-23 12:34</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>มูฮำหมัด ดือราแม</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ผ่านครึ่งทางกระบวนการ SEA แผนแม่บทพัฒนาสงขลา-ปัตตานี ชู 4 เป้าหมาย “สร้างสรรค์ มั่งคั่ง ยั่งยืน และเป็นธรรม” ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ข้อมูลน่าตกใจ สงขลาเศรษฐกิจดีกว่าปัตตานีเกือบ 5 เท่า แนะเร่งพัฒนาหวั่นจะยิ่งทิ้งห่างไปเรื่อยๆ แต่เศรษฐกิจบริการป้องกันประเทศพุ่งสูงในปัตตานี เผยพบศักยภาพหลายด้าน ทั้งด้านประชากร ประมง พลังงานทดแทน และการศึกษา</p>
<div class="more-story">
<p><strong>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</strong></p>
<ul>
<li>ครม.มีมติรับข้อเสนอ 'จะนะรักษ์ถิ่น' ให้ทำ SEA – หน่วยงานอื่นชะลอดำเนินการออกไป (https://prachatai.com/journal/2021/12/96389)</li>
<li>ม.อ.ลุยประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ 'สงขลา-ปัตตานี' เผยคนเห็นต่างคุยกันได้ หวังแก้ปมขัดแย้ง (https://prachatai.com/journal/2023/06/104399)</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#3498db;">ผ่านครึ่งทางกระบวนการ SEA แผนแม่บทการพัฒนาสงขลา-ปัตตานี</span></h2>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53414461652_c7506cc61d_o_d.jpg" /></p>
<p>จัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ หรือ SEA (Strategic Environmental Assessment) สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของ จ.สงขลา และ จ.ปัตตานี เดินทางมาเกือบถึงครึ่งทางแล้วแล้ว นับตั้งแต่เดือน ม.ค. 2566 หรือ 2 ปีเต็มนับตั้งแต่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีมติรับข้อเสนอของ ”เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น” ให้จัดทำ SEA เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2564</p>
<p>ทั้งนี้ เนื่องจากเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นชุมนุมเรียกร้องให้ชะลอโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ อันเป็นส่วนหนึ่งของการขยายผลโครงการเมืองต้นแบบ "สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” สู่เมืองต้นแบบที่สี่ คือ อ.จะนะ จ.สงขลา เป็นเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ที่ถูกเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นต่อต้านอย่างหนัก</p>
<p>โดยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ได้มอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) และสำนักงบประมาณ และกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกันจัดทำ SEA และแผนแม่บทต่างๆ โดยให้ทุกฝ่ายเข้าไปมีส่วนร่วม ทางสภาพัฒน์ จึงได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ดำเนินการในระยะเวลา 18 เดือน นับจากเดือนมกราคม 2566 ที่ผ่านมา</p>
<p>โดยเป็นการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของ จ.สงขลา และ จ.ปัตตานี โดยใช้กระบวนการ SEA มี 6 ขั้นตอนหลัก และใช้กระบวนการมีส่วนร่วม 8 ครั้ง รวม 40 เวที มีผู้เข้าร่วม 3,000 คน ในพื้นที่ จ.สงขลา และ จ.ปัตตานี </p>
<p>ทั้ง 6 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1.กำหนดขอบเขตของ SEA 2.การพัฒนาทางเลือกการพัฒนา 3.การประเมินทางเลือก 4. การกำหนดมาตรการเพื่อความยั่งยืน 5.การจัดทำแผนติดตามและประเมินผล และ 6.การจัดทำรายงาน SEA</p>
<h2><span style="color:#3498db;">เสนอศักยภาพพื้นที่-สร้างทางเลือกการพัฒนาเบื้องต้น</span></h2>
<p>ทั้งนี้ ในเดือน ธ.ค. 2566 กระบวนการจัดทำรายงาน SEA อยู่ในช่วงการระดมความคิดเห็น ครั้งที่ 4 ได้ แก่เวทีที่ 15-20 โดยเมื่อวันที่ 16 - 17 ธ.ค. 2566 ณ โรงแรม ซี.เอส. จ.ปัตตานี เป็นเวทีที่ 15-16 มีผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วมประมาณ 300 คน จากกลุ่มเป้าหมายด้านการเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สังคม และสิ่งแวดล้อม</p>
<p>โดยในช่วงเช้าเป็นการนำเสนอสรุปผลการศึกษาที่ผ่านมา โดยเฉพาะข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญของพื้นที่ศึกษา และแผนที่ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ของ จ.สงขลา และ จ.ปัตตานี </p>
<p>และรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) เป้าหมายการพัฒนา ประเด็นยุทธศาสตร์ วัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ตัวชี้วัด และศักยภาพที่เหมาะสมในการพัฒนาพื้นที่ เพื่อนำมาจัดทำ (ร่าง) รายงานการกำหนดขอบเขต และใช้ประกอบการจัดทำแผนแม่บทฯ ในส่วนของการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาของแผน ส่วนในช่วงบ่ายเป็นการระดมสมองจากผู้มีส่วนได้เสีย เรื่อง ทางเลือกการพัฒนาเบื้องต้น</p>
<p>ส่วนเวทีที่ 17-19 จัดขึ้นในพื้นที่ จ.สงขลา จากนั้น คณะที่ปรึกษาฯ จะรวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของทั้ง 5 เวทีข้างต้น ไปนำเสนอในเวทีสรุปวันที่ 25 ธันวาคม 2566 ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา</p>
<h2><span style="color:#3498db;">4 ประเด็นยุทธศาสตร์ “สร้างสรรค์ มั่งคั่ง ยั่งยืน และเป็นธรรม”</span></h2>
<p>สำหรับ (ร่าง) เป้าหมายการพัฒนา ประเด็นยุทธศาสตร์ วัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และตัวชี้วัด สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของ จ.สงขลาและ จ.ปัตตานี ที่มีการนำเสนอในเวทีที่ 15-19 ในเบื้องต้นได้ระบุเป้าหมายการพัฒนา คือ “มหานครแห่งความสร้างสรรค์ เพื่อสร้างความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม” แต่ข้อความนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ในภายหลัง</p>
<p>ส่วนประเด็นยุทธศาสตร์ มี 4 ประเด็น ได้แก่ </p>
<p>1. การยกระดับเศรษฐกิจเดิม และสร้างเศรษฐกิจใหม่อย่างสร้างสรรค์
2. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่
3. การสร้างสรรค์สังคมเป็นธรรมและเป็นสุข
4. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ จ.สงขลาและ จ.ปัตตานี</p>
<p>ทั้งนี้ แต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ คณะที่ปรึกษาได้นำเสนอผลจากการวิเคราะห์ SWOT (จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและศักยภาพ) ที่เกี่ยวข้องมีหลากหลายประเด็น</p>
<h2><span style="color:#3498db;">สงขลาเศรษฐกิจดีกว่าปัตตานี เกือบ 5 เท่า </span></h2>
<p>ทั้งนี้ ในเวทีที่ 15 ดร.สินาด ตรีวรรณไชย (ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์) ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้นำเสนอข้อมูลพื้นฐาน ทำให้เห็นตัวเลขความแตกต่างของโครงสร้างทางเศรษฐกิจของ 2 จ.สงขลา และ จ.ปัตตานี อย่างมาก ขณะเดียวกันก็ทำให้เห็นศักยภาพในด้านการพัฒนาในหลายประเด็นด้วยกัน </p>
<p>โดย จ.สงขลามีผลิตภัณฑ์จังหวัด (Gross Provincial Products: GPP) ปี 2564 อยู่ที่ 253,229 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าเกือบ 5 เท่าของ จ.ปัตตานี ที่มีขนาด 50,600 ล้านบาท โดย จ.สงขลา ประชากรมีรายได้ 145,123 บาทต่อคนต่อปี ส่วน จ.ปัตตานีมีรายได้ประชากร 78,131 บาทต่อคนต่อปี ส่วนตัวเลขอื่นๆ ก็มีความแตกต่างกันมากเช่นกัน </p>
<p>ขณะที่มูลค่าการส่งออก จ.สงขลา อยู่ที่ 232.7 พันล้านบาท มีมูลค่าการนำเข้า 37.8 พันล้านบาท ส่วน จ.ปัตตานี มีมูลค่าการส่งออก 4.2 พันล้านบาท และมีมูลค่าการนำเข้า 1.7 พันล้านบาท
จ.สงขลา รายได้จากการท่องเที่ยว 1.57 หมื่นล้านบาท ส่วน จ.ปัตตานี มีรายได้จากการท่องเที่ยว 565 ล้านบาท </p>
<p>จากข้อมูลดังกล่าว ดร.สินาด ได้เสนอผลสรุปเป็นภาพรวมการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่าง จ.สงขลา และ จ.ปัตตานี ปี 2539 ถึงปี 2563 คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวของจังหวัดสงขลามีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภาคใต้ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นใน ขณะที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวของจังหวัดปัตตานีมีค่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภาคใต้ และมีแนวโน้มลดลง</p>
<p>โครงสร้างทางเศรษฐกิจของจังหวัดสงขลาพึ่งพาสาขาบริการเป็นหลัก ในขณะที่สาขาอุตสาหกรรมมี สัดส่วนใน GPP เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนสาขาเกษตรกรรมมีสัดส่วนลดลง โดยสาขาการผลิตที่มีขนาดใหญ่สุด 5 อันดับแรก ของ จ.สงขลา ได้แก่ การผลิตสินค้าอุตสาหกรรม (20.06 % ของ GPP) การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ฯ (12.60 %) เกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง (12.19 %) การศึกษา (10.02 %) และ การทำเหมืองแร่และเหมืองหิน (9.24 %)</p>
<h2><span style="color:#3498db;">เศรษฐกิจบริการป้องกันประเทศ พุ่งสูงในปัตตานี</span></h2>
<p>ส่วนโครงสร้างทางเศรษฐกิจของจังหวัดปัตตานีเปลี่ยนจากการพึ่งพาสาขาเกษตรกรรมมาเป็นสาขาบริการมากขึ้น โดยเฉพาะบริการจากภาครับที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันประเทศ</p>
<p>โดยสาขาการผลิตที่มีขนาดใหญ่สุด 5 อันดับแรกของ จ.ปัตตานี ได้แก่ เกษตรกรรม (22.93 %), การบริหารราชการ การป้องกันประเทศฯ (19.25%) การศึกษา (16.20%) การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ฯ (12.05 %) และ การผลิตสินค้าอุตสาหกรรม (8.58 %)</p>
<h2><span style="color:#3498db;">แนะเร่งพัฒนาปัตตานี ห่วงสงขลาดูดความเจริญไปหมด</span></h2>
<p>จากข้อมูลดังกล่าว รศ.ดร.ซุกรี  หะยีสาแม จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี แสดงความคิดเห็นว่า ความแตกต่างทางเศรษฐกิจระหว่าง จ.สงขลาและ จ.ปัตตานี มีความแตกต่างกันมากจะทำอย่างไรที่จะเร่งการพัฒนา จ.ปัตตานี ให้เร็วขึ้น แม่ไม่สามารถเทียบเท่ากับ จ.สงขลา แต่ก็ไม่ให้ทิ้งหางกันมากเกินไป</p>
<p>โดยที่ผ่านมา พบว่า เมื่อมีการรวมพื้นที่ จ.สงขลา กับ จ.ปัตตานี อยู่ในแผนพัฒนาเดียวกันแล้ว จ.สงขลามักจะดูดความเจริญจะไปจาก จ.ปัตตานี แต่ใช้สถานการณ์ของ จ.ปัตตานี เป็นเหตุผลในการพัฒนา จ.สงขลา ทำให้เศรษฐกิจของ จ.ปัตตานี ถูกทิ้งห่างไปเรื่อยๆ</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ประชากรหนาแน่น ได้เปรียบในการพัฒนาเมือง</span></h2>
<p>ดร.สินาด ยังได้นำเสนอข้อมูลเรื่องการกระจายตัวของประชากรใน จ.สงขลา และ จ.ปัตตานี ด้วยว่า มีศักยภาพในการพัฒนาให้มีความเป็นเมืองแห่งอนาคตได้ โดยเฉพาะ จ.ปัตตานี ที่มีความหนาแน่นของประชากรสูงซึ่งเกี่ยวข้องกับความเป็นเมือง เพราะการพัฒนาเมืองเพื่อรองรับการพัฒนาในพื้นที่ก็จะได้เปรียบ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแล้วมีคนใช้เยอะก็จะเป็นประโยชน์มาก เพราะความหนาแน่นสูง</p>
<p>ทั้งนี้ จ.สงขลามีพื้นที่มากกว่า จ.ปัตตานี และมีจำนวนประชากรมากกว่า จ.ปัตตานี โดย จ.สงขลา มีประชากร 1.7 ล้านคน (15%ของภาคใต้) ส่วน จ.ปัตตานี มีประชากร 6.5 แสนคน (7%ของภาคใต้) </p>
<h2><span style="color:#3498db;">ศักยภาพด้านประมง พลังงานทดแทน</span></h2>
<p>ศักยภาพด้านต่อมาคือ การประมง เพราะจากการสำรวจข้อมูลจากแผนที่ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ พบว่า พื้นที่ด้านประมงทะเล เขต 9 (สงขลา-ปัตตานี) แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์สูงขึ้นมากในปี 2565 โดยมีปริมาณการจับสัตว์น้ำต่อหน่วยการลงแรงประมง (CPUE) ที่สูงมากถึง 35 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ซึ่งพื้นที่อ่าวไทยมี 3 เขตที่มี CPUE สูง คือ เขต 6 (ชุมพร-สุราษฎร์ธานี) และเขต 1 (จ.ตราด)</p>
<p>นอกจากนี้จากการสำรวจ ยังพบข้อมูลว่า มีศักยภาพที่จะเติบโตได้ แม้จะยังไม่ดีมากนัก เช่น การเกษตร การค้าขาย การแปรรูปสินค้าเกษตร ที่น่าสนใจคือ ศักยภาพเรื่องพลังงานทดแทนหลายอย่าง โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ </p>
<h2><span style="color:#3498db;">ปัตตานี การศึกษาเติบโต แต่คุณภาพยังไม่ดี</span></h2>
<p>ดร.สินาด ยังระบุด้วยว่า จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูล โดยเฉพาะจังหวัดปัตตานี พบว่า ด้านการศึกษามีการเติบโตมาตลอด โดยมีปริมาณสถานศึกษาจำนวนมาก แต่ผลการไม่ดี จะทำอย่างไรให้มีผลการศึกษาที่ดีขึ้น รวมถึงการจ้างงานด้วย หมายถึงจะต้องพัฒนาทักษะด้วย ไม่ว่าการศึกษาในระบบหรือการศึกษาศาสนา ต้องให้สามารถพัฒนาในเรื่องอาชีพได้ด้วย</p>
<p>อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาและสำรวจข้อมูล ยังมีการค้นศักยภาพในการพัฒนาอีกหลายด้านทั้งในพื้นที่ จ.สงขลา และ จ.ปัตตานี ซึ่งคณะที่ปรึกษาจะรวบรวมและนำเสนอในภาพรวมอีกครั้งในวันที่ 25 ธ.ค. 2566 นี้ ที่โรงแรมสยามออเรียนทัล อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา</p>
<p> </p>
<p>อ่านเอกสารประกอบเวทีได้ที่นี่ (https://drive.google.com/drive/folders/1Y7Zq3KfgnIAYekqZpbSdAQFDQ9a6UwD_ )</p>
<p>ติดตามกระบวนการ SEA ได้ที่เพจ 
SEA สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี https://www.facebook.com/SEASongkhlaPattani
 </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รายงานพิเศษ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เศรษฐกิจ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สังคม[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คุณภาพชีวิต[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%A5%E0%B8%B2-%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">แผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่สงขลา-ปัตตานี[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/sea" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">SEA[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ชายแดนใต้[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107349