หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ภาค ปชช. ยื่น 7 ข้อเสนอถึง ‘ชลน่าน’ ผลักดันยาต้านเศร้า-ยาจิตเวช เข้าบัญชียาหลักแห เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 25 ธันวาคม 2566 23:15:02 ภาค ปชช. ยื่น 7 ข้อเสนอถึง ‘ชลน่าน’ ผลักดันยาต้านเศร้า-ยาจิตเวช เข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ
<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2023-12-25 20:00</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ที่มาภาพ: เว็บไซต์ Hfocus</p> </div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ภาคประชาชนและกลุ่มเพื่อนผู้ป่วยซึมเศร้า ยื่น 7 ข้อเสนอถึง ‘ชลน่าน’ ผลักดันยาต้านเศร้า-ยาจิตเวช เข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ-บัตรประชาชนใบเดียวรักษาโรคซึมเศร้า-จิตเวชที่ไหนก็ได้ ภายใต้นโยบายทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย</p> <p>25 ธ.ค. 2566 เว็บไซต์ Hfocus (https://www.hfocus.org/content/2023/12/29335) รายงานว่าวันนี้ (25 ธ.ค.) ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ฐิตินบ โกมลนิมิ กลุ่มเพื่อนผู้ป่วยซึมเศร้า พร้อมด้วยตัวแทนมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายพลเมืองขับเคลื่อนสิทธิด้านสุขภาพ และสมาคมคนรุ่นใหม่กับนวัตกรรมทางสังคม เข้ายื่นหนังสือถึง นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณสุขเพื่อผู้ป่วยซึมเศร้า ทั้งผลักดันยาเข้าสู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ และการกระจายการบริการผู้ป่วยจิตเวชให้มากขึ้น</p> <p>โดย ฐิตินบ กล่าวว่าโรคซึมเศร้าเป็นภัยเงียบด้านสุขภาพ โดยแนวโน้มผู้ป่วย 1.5 ล้านคนเฉพาะประชากร 15 ปีขึ้นไป แต่หลังโควิดกลับพบว่ากลุ่มคนทำงาน เด็กวัยเรียนมีปัญหาโรคซึมเศร้า และอัตราฆ่าตัวตายสูงขึ้น ทั้งๆ ที่โรคนี้รักษาหาย แต่เมื่อเข้าถึงการรักษายากลำบาก หยุดกินยา เพราะเข้าถึงยาไม่ครอบคลุม การไม่มีทางเลือกการรักษาด้วยยาหลากหลายก็ทำให้ป่วยซึมเศร้าได้อีก กลายเป็นผู้ป่วยซึมเศร้าเรื้อรัง ทางเครือข่ายฯ จึงขอเสนอให้ สปสช.เร่งรัดพิจารณาที่กรมสุขภาพจิต และราชวิทยาลัยจิตเวชแห่งประเทศไทย เคยเสนอยา 4 ตัวตั้งแต่ปี 2564 เพราะตอนนี้หน่วยบริการเรียกเก็บยาราคาแพง เก็บเป็นเงินส่วนต่าง กลายเป็นภาระ ทำให้ผู้ป่วยซึมเศร้าอยากหยุดรักษาตัวเอง ในวันนี้จึงมีข้อเรียกร้อง ดังนี้</p> <p>1.ขอให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ “เพิ่มยาต้านเศร้าและยาจิตเวช” คือ</p> <p>1. โอแลนซาปี (Olanzapine) 2. อะริพิพราโซล (Aripiprazole) 3.เวนลาฟาซีน (Venlafaxine) และ 4. เมทิลเฟนิเดต (Long acting Methylphenidate) ซึ่งเป็นยาสำคัญ จำเป็นต่อผู้ป่วย และดีกว่ายาที่มีในระบบขณะนี้ ตามคำแนะนำของกรมสุขภาพจิต ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย และสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทยเสนอ ตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อต่อรองราคายาให้ถูกลง นำไปสู่การทำระบบเบิกจ่ายยา ส่งยาตรงไปถึงโรงพยาบาล คลินิคจิตเวช และร้านยาทั่วประเทศ และเร่งแก้ปัญหาการเรียกเก็บค่ายาส่วนต่างจากผู้ป่วย รวมทั้งผลักดันยาดังกล่าวให้บรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติด้วย เพื่อลดต้นทุนการรักษาพยาบาลของผู้ป่วย และลดค่าใช้จ่ายด้านยาของระบบสุขภาพโดยรวม</p> <p>2.บัตรประชาชนใบเดียวรักษาโรคซึมเศร้าและโรคจิตเวชที่ไหนก็ได้ ภายใต้นโยบายทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย และมติคณะกรรมการพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2566 เห็นชอบนโยบาย “บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่” ซึ่งจะเริ่มในปี 2567 ควรครอบคลุมโรคซึมเศร้าและโรคจิตเวชที่เกี่ยวข้องด้วย เพื่อลดปัญหาการเข้าถึงบริการ และการส่งต่อข้ามเครือข่าย ทั้งนี้ ควรมีการจัดตั้ง “คลินิคจิตเวชทุกโรงพยาบาล ทุกอำเภอ” โดยเฉพาะโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิในระบบสุขภาพ และในเขตเมือง เพื่อให้การรักษา ติดตาม อาการ จนอาการดีขึ้น และหายป่วย โดยไม่ต้องรอใบส่งต่อเป็นครั้งๆ จากหน่วยบริการเจ้าของสิทธิ</p> <p>3.ขอให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพฯ พัฒนาระบบ ส่งเสริมผู้ป่วยซึมเศร้าและจิตเวชเข้าถึงบริการบำบัดฟื้นฟูสุขภาพจิต โดยไม่ถูกเรียกเก็บเงินส่วนต่าง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาฟื้นฟูสุขภาพใจควบคู่กับการใช้ยา และเตรียมพร้อมคืนผู้ป่วยกลับคืนสู่สังคม เช่น การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy-CBT) เป็นต้น</p> <p>4.สปสช. ร่วมกับกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขพัฒนาสายด่วนสุขภาพจิต โทร.1323 ให้เป็น “หน่วยแรกรับและสายปรึกษาสุขภาพจิตครบวงจร” ทำงานเชิงรุกรับฟัง ให้คำปรึกษา ติดามประเมินภาวะอาการของโรค และสามารถส่งต่อหน่วยบริการให้ผู้ใช้บริการได้ เพื่อช่วยลดปัญหาการเข้าถึงการรักษาและลดความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายที่มีสาเหตุจากโรคจิตเวชให้ลดลง ซึ่งผู้ป่วยซึมเศร้าจำนวนมากกลายเป็นผู้ป่วยทางจิตเรื้อรังจำเป็นต้องได้รับการรักษาติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง</p> <p>5. การดูแลผู้ป่วยซึมเศร้าและโรคจิตเวชที่เกี่ยวข้องในทุกระบบหลักประกันสุขภาพต้องมีคุณภาพมาตรฐานเดียวกัน จึงเสนอให้ สปสช. เป็นองค์กรกลางจัดประชุมทุกกองทุนสุขภาพ (กองทุนประกันสังคม ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ เป็นต้น) เพื่อวางแนวทางให้กองทุนต่าง ๆ ให้บริการได้ตามสิทธิประโยชน์ที่มีคุณภาพมาตรฐานเดียวกัน</p> <p>6.พัฒนามาตรฐานและคุณภาพการให้บริการโรคซึมเศร้าและโรคจิตเวชที่เกี่ยวข้อง หลังจากมีการจัดตั้ง “คลินิคจิตเวชทุกโรงพยาบาล ทุกอำเภอ” แล้ว ควรมีการพัฒนาแนวทางการรักษาโรคซึมเศร้าและโรคจิตเวชที่เกี่ยวข้อง (Guideline for Depressive disorders) ให้มีคุณภาพมาตรฐาน เพื่อให้แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในโรงพยาบาลทุกระดับมั่นใจในการวินิจฉัยโรคซึมเศร้า และสามารถรักษาด้วยยาต้านเศร้าเบื้องต้นได้ โดยกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เป็นเจ้าภาพในการทบทวน “แนวทางการจัดการตาม ระดับความรุนแรงของอาการโรคซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย” เพื่อใช้ตั้งแต่การส่งเสริมสุขภาพจิต การให้สุขภาพจิตศึกษา และการรณรงค์ทางสังคม การให้คำปรึกษา การดูแลช่วยเหลือทางสังคมจิตใจ การรักษาส่งต่อทั้งในระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิที่เคยจัดทำไว้ ร่วมกับราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย และนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง</p> <p>7.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พิจารณาการขึ้นทะเบียนยาต้านซึมเศร้าที่ได้มาตรฐาน เฝ้าระวังเรื่องคุณภาพยา การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล และติดตามการใช้ยาไม่พึงประสงค์ เพื่อให้ผู้สั่งจ่ายยาเกิดความมั่นใจในยาชื่อสามัญเพื่อการเข้าถึงยาได้มากขึ้น รวมถึงการพัฒนายานวัตกรรม ยาทางเลือกเพื่อประโยชน์ต่อผู้ต้องการใช้วิธีการรักษาที่ครอบคลุมและได้มาตรฐาน</p> <p>ทั้งนี้ นพ.ชลน่าน ได้รับเรื่องดังกล่าวและกล่าวกับทางกลุ่มฯ ว่า การดูแลผู้ป่วยจิตเวชเป็นหนึ่งในนโยบายสาธารณสุข และนโยบายควิกวินที่มีการดำเนินการแล้ว ส่วนประเด็นอื่นๆ รับทราบปัญหาและจะมีการพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป</p> </div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สังคม[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คุณภาพชีวิต[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สุขภาพจิต[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B6%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">โรคซึมเศร้า[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%8A" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">โรคจิตเวช[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div> https://prachatai.com/journal/2023/12/107381 |