หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - Conforall เรียกร้องให้ ครม.ทบทวนการตั้งคำถามประชามติ แนะใช้คำถามเปิดกว้าง เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 29 ธันวาคม 2566 20:27:46 Conforall เรียกร้องให้ ครม.ทบทวนการตั้งคำถามประชามติ แนะใช้คำถามเปิดกว้าง
<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2023-12-29 15:23</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>#Conforall ภาคปชช.ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้คณะรัฐมนตรีทบทวนการตั้งคำถามประชามติ แนะให้ใช้คำถามเปิดกว้าง หลัง คกก.ศึกษาแนวทางทำประชามติ แถลงผลสรุปให้ถามประชามติ 3 ครั้ง เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ไม่แตะหมวด 1 และ 2</p> <div class="more-story"> <ul> <li>‘iLaw’ เตือนคำถามประชามติที่มีปัญหาคนอาจโหวต No - ต้องเปิดกว้างไว้แล้วให้ประชาชนเลือก สสร.ที่อยากได้ (https://prachatai.com/journal/2023/12/107393)</li> <li>'ภูมิธรรม' แถลงถามประชามติ 3 ครั้ง เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ไม่แตะหมวด 1 และ 2 เตรียมเสนอ ครม. ม.ค. 67 (https://prachatai.com/journal/2023/12/107382)</li> <li>#conforall แสนแตก! ปชช.ลงชื่อ เสนอแก้ รธน.ทั้งฉบับ-สสร.เลือกตั้ง 100% (คลิป) (https://prachatai.com/journal/2023/08/105624)</li> </ul> </div> <p>29 ธ.ค. 2566 วันนี้ (29 ธ.ค.) เวลา 14.14 น. เครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ (CALL - Constitution Advocacy Alliance) เผยแพร่แถลงการณ์ของกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญผ่านเฟซบุ๊ก (https://web.facebook.com/CALLforDemocracy/posts/pfbid02iok4ueHfruBJWNihXCN5nBydcwSiNy8dcwCfo5x7KEG6B9pbteAi4NUMXM4J76Bel?_rdc=1&_rdr) โดยเรียกร้องให้คณะรัฐมนตรีทบทวนการตั้งคำถามประชามติ แนะให้ใช้คำถามเปิดกว้างเพื่อไม่ให้เสียงของประชาชนถูกบิดเบือน</p> <p>แถลงการณ์ในวันนี้ เกิดขึ้นหลังจากที่เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. ที่ผ่านมา ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติได้ แถลงผลสรุปแนวทางการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญว่าให้ถามประชามติ 3 ครั้ง เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ไม่แตะหมวด 1 และ 2 โดยเตรียมจะเสนอ ครม.ประมาณช่วงเดือนมกราคมหรือช่วงไตรมาสแรกของปี 2567</p> <p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53428557530_0da447e93c_b.jpg" /></p> <p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53427205692_c6720ebe9b_b.jpg" /></p> <p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53428456399_8c85a70b92_b.jpg" /></p> <p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53428456364_9e79c5500f_b.jpg" /></p> <div class="note-box"> <p>แถลงการณ์กลุ่ม Con for All มีเนื้อหาดังนี้ </p> <p>แถลงการณ์กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ (Con for All)</p> <p>เรื่อง ขอให้คณะรัฐมนตรีใช้คำถามประชามติที่โอบอุ้มทุกความฝัน</p> <p>ตามที่ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หรือ คณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติฯ ได้แถลงผลสรุปการทำงานไปเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2566 โดยมีสาระสำคัญอยู่สองประการ คือ</p> <p>1. จะมีการจัดทำประชามติเพื่อเขียนรัฐธรรมนูญใหม่สามครั้ง ได้แก่</p> <ul> <li>หนึ่ง การทำประชามติถามประชาชนว่า เห็นด้วยหรือไม่กับการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่</li> <li>สอง การทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ตามที่มาตรา 256 กำหนดไว้</li> <li>สาม การทำประชามติรับรองร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่</li> </ul> <p>2. คำถามที่จะใช้ในการทำประชามติครั้งที่หนึ่งจะมีเพียงคำถามเดียว คือ “ท่านเห็นชอบหรือไม่ให้มีการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยไม่แก้ไข หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์”</p> <p>จากผลสรุปดังกล่าว ทำให้ภาคประชาชนผิดหวังและมีความห่วงกังวลต่ออนาคตการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยประชาชนอยู่อย่างน้อยสี่ประการ</p> <p>ดังนี้</p> <ul> <li>หนึ่ง ภาคประชาชนผิดหวังที่คณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติฯ ไม่สามารถออกแบบกระบวนการประชามติให้เป็นที่ยอมรับได้</li> <li>สอง ภาคประชาชนผิดหวังที่การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติฯ เป็นเพียงพิธีกรรม</li> <li>สาม ภาคประชาชนกังวลว่า การตั้งคำถามประชามติของคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติฯ อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง</li> <li>สี่ ภาคประชาชนกังวลว่า การตั้งคำถามที่มีเงื่อนไขซับซ้อนตามใจรัฐบาลอาจทำให้เสียงของประชาชนถูกบิดเบือน</li> </ul> <p>อย่างไรก็ดี ทางภาคประชาชนทราบดีว่า ผลสรุปของคณะกรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติฯ ยังไม่ใช่บทสรุปสุดท้าย เนื่องจากการ "เคาะ" คำถามประชามติเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีเท่านั้น ซึ่งคณะกรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติฯ จะต้องทำรายงานเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้พิจารณาต่อไป ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นประมาณช่วงเดือนมกราคม 2567 ด้วยเหตุนี้ทางกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญจึงขอใช้โอกาสนี้มีข้อเรียกร้องไปยังคณะรัฐมนตรีที่นำโดย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้พิจารณาประเด็นนี้ให้รอบครอบยิ่งขึ้น ดังนี้</p> <p>(1) ขอให้คณะรัฐมนตรีทบทวนการตั้งคำถามประชามติที่คณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติฯ เสนอ และใช้คำถามประชามติที่เปิดกว้าง ชัดเจน ต่อการสร้างฉันทามติว่า ทุกฝ่ายเห็นชอบกับการเดินหน้าสู่รัฐธรรมนูญใหม่ร่วมกัน</p> <p>(2) ขอให้คณะรัฐมนตรีรับรองคำถามประชามติที่ประชาชนกว่า 211,904 รายชื่อ ใช้สิทธิเข้าชื่อเสนอตามกฎหมายเป็นหนึ่งในคำถามประชามติ โดยให้คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จัดออกเสียงประชามติตามคำถามที่ประชาชนเสนอคู่ขนานไปพร้อมกับคำถามของคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติฯ รายชื่อองค์กรที่ร่วมลงนามในแถลงการณ์</p> <p>1. เครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ (CALL)</p> <p>2. โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)</p> <p>3. คณะรณรงค์เพื่อนรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.)</p> <p>4. เครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์เลือกตั้ง (We Watch)</p> <p>5. ห้องทดลองนักกิจกรรม (ActLab)</p> <p>6. ศิลปะปลดแอก (Free Art)</p> <p>7. กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย (DRG)</p> <p>8. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw)</p> <p>9. ประชาไท</p> <p>10. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)</p> <p>11. สมัชชาคนจน</p> <p>12. ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (TLHR)</p> <p>13. ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม Lagel Center For Human Rights</p> <p>14. ขบวนการอีสานใหม่ New Isan Movement</p> <p>15. ขบวนการสามัญชน</p> <p>16. ดาวดิน</p> <p>17. ชุมชนนักกิจกรรมภาคเหนือ (CAN)</p> <p>18. คณะก่อการล้านนาใหม่ (Neo Lanna)</p> <p>19. Cafe Democracy</p> <p>20. สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.)</p> <p>21. ขบวนการประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย (PDMT)</p> <p>22. มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม</p> <p>23. เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ</p> <p>24. สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์</p> <p>25. คณะกรรมการนิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</p> <p>26. องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์</p> <p>27. กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม</p> <p>28. พรรคโดมปฏิวัติ</p> <p>29. สหภาพคนทำงาน</p> <p>30. พิพิธภัณฑ์สามัญชน</p> <p>31. ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น</p> <p>32. เครือข่ายคนรุ่นใหม่นนทบุรี</p> <p>33. นครเสรีเพื่อประชาธิปไตย</p> <p>34. เหนือเมฆเพื่อประชาธิปไตย</p> <p>35. โมกหลวงริมน้ำ</p> <p>36. ทำทาง</p> <p>37. Secure Ranger</p> <p>38. Law Long Beach</p> <p>39. The Patani</p> <p>40. We Volunteer</p> <p>41. We Fair</p> <p>42. WeVis</p> <p>43. Vote62</p> </div> </div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ประชามติ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รัฐธรรมนูญ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รัฐธรรมนูญใหม่[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ร่างรัฐธรรมนูญใหม่[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ร่างใหม่ทั้งฉบับ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">แก้รัฐธรรมนูญ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/conforall-0" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">conforall[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div> https://prachatai.com/journal/2023/12/107423 |