[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 03 มกราคม 2567 23:39:02



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 'ศิริกัญญา' กังขาวิกฤตแบบใด จัดงบฯ ปี’67 กระตุ้นเศรษฐกิจล่องหน งบฯ กลาโหมเพิ่
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 03 มกราคม 2567 23:39:02
'ศิริกัญญา' กังขาวิกฤตแบบใด จัดงบฯ ปี’67 กระตุ้นเศรษฐกิจล่องหน งบฯ กลาโหมเพิ่ม
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-01-03 21:26</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: ศิริกัญญา ตันสกุล (ที่มา: เฟซบุ๊ก ศิริกัญญา ตันสกุล (https://www.facebook.com/photo.php?fbid=505467687599299&amp;set=pb.100044082173884.-2207520000&amp;type=3))</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>'ศิริกัญญา' ก้าวไกล ถามรัฐบาล 'เศรษฐา' วิกฤตเศรษฐกิจแบบใด ทำไมจัดงบแบบนี้ แถมงบฯ กลาโหมเพิ่ม 2% เตือนตั้งงบไม่พอ ประมาณการรายได้พลาด แนะไม่แตะปัญหาโครงสร้างงบประมาณ ไม่สามารถผลักดันนโยบายที่สัญญากับประชาชน</p>
<p>3 ม.ค. 2567 ยูทูบ TP Channel (https://www.youtube.com/watch?v=sIGm7clGcvI) ถ่ายทอดสดออนไลน์ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 5 (สมัยสามัญประจำปี ครั้งที่ 2) ประจำวันที่ 3 ม.ค. 2567 ศิริกัญญา ตันสกุล สมาชิกผู้แทนราษฎร (สส.) บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายการร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปี 2567 ระบุว่า เธอเกิดคำถามขึ้นมาในใจว่า 'วิกฤตเศรษฐกิจแบบใด ทำไมงบเหมือนไม่มีวิกฤต'</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/sIGm7clGcvI?si=F3Y9XHLkeQAbyzIZ&amp;start=13787" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">'วิกฤตเศรษฐกิจแบบใด'</span></h2>
<p>ศิริกัญญา ระบุว่า ที่ตั้งคำถามแบบนี้เนื่องจากนายกรัฐมนตรีเคยกล่าวในหลายวาระแล้วว่า ประเทศไทยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจแล้ว แต่ถ้าเกิดวิกฤตเศรษฐกิจจริงๆ ตัวงบประมาณที่จะเป็นตัว[j’บอกว่า เราอยู่ในภาวะแบบใด และเราจะจัดงบฯ เพื่อตอบสนองวิกฤตแบบใดบ้าง</p>
<p>ศิริกัญญา ระบุว่า ในรายงานเล่มสีขาวคาดด้วยสีม่วง ระบุเศรษฐกิจปี 2566 จะโต 2.5% และปี 2567 จะโต 3.2% เงินเฟ้ออยู่ในระดับปกติ และเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในปีนี้หรือปีหน้า และการแถลงของเศรษฐา ก็ไม่ได้ระบุว่าเราจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจแต่อย่างใด </p>
<p>สส.พรรคก้าวไกล ระบุต่อว่า งบประมาณฉบับประชาชน จัดทำโดยสำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ระบุว่า GDP (ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) เราจะโต 5.4% แต่ในเล่มขาวคาดม่วงกลับบอกว่าโต 3.2% ที่ตัวเลขต่างกันเนื่องจากตัวเลข GDP ที่ไม่ได้รวมผลของเงินเฟ้อ เพราะว่าต่างประเทศทั่วโลกเวลาคำนวณ GDP เขาจะใช้แบบที่ไม่รวมผลของเงินเฟ้อ แต่รัฐบาลกำลังโชว์ตัวเลขผลของเงินเฟ้อ และรัฐบาลกำลังอ้างว่า จะบรรลุเป้าหมายตัวเลข GDP เติบโต 5% ด้วยการโกงสูตร GDP แบบนั้นหรือ จึงอยากขอร้องอย่าโกงสูตรเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวตามเป้าหมาย</p>
<p>สส.พรรคก้าวไกล กล่าวต่อว่า ตามปกติในปีที่เกิดวิกฤตเราจะทำงบประมาณขาดดุลเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ เพื่อให้มีการกู้เงินเพิ่มเพื่อชดเชยรายได้ที่หายไปและกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่พอมาดูงบฯ ขาดดุลของปี 2567 ต้องชดเชยเงินกู้เพื่อการขาดดุล 3.6% ของ GDP ขณะที่ GDP ระบุว่าเติบโต 3.5% ซึ่งยังต่ำกว่าเมื่อปีที่ผ่านมาที่กู้สูงถึง 4% ของ GDP แต่ยังอยู่ในระดับสูงอยู่ ก็กล้อมแกล้มว่าเรายังอยู่ในวิกฤต </p>
<p>พอไปดูแผนงบประมาณปีถัดๆ ไป เพราะว่ารัฐบาลจัดทำแผนการคลังระยะกลางเอาไว้ ปรากฏว่า ขาดดุลเท่าเดิมทุกปี เลยดูไม่ออกว่าปีไหนจะเกิดวิกฤตกันแน่ หรือเราจะขาดดุลไปเรื่อยๆ หรือไม่ ทำไมรัฐบาลถึงได้ประมาณการว่าเราจะต้องทำขาดดุล 3.4% ไปเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่พรรคเพื่อไทยเคยประกาศว่าจะทำงบประมาณให้สมดุลภายใน 7 ปี งบประมาณสมดุลคือการทำงบประมาณสมดุลไม่กู้เลยสักบาท</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53440036503_20d48b6f5d_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">'งบฯ กระตุ้นเศรษฐกิจล่องหน'</span></h2>
<p>ศิริกัญญา กล่าวว่า เมื่อมีวิกฤตก็ต้องมาหางบฯ กระตุ้นเศรษฐกิจในงบประมาณปี 2567 กัน โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจเรือธงของรัฐบาลคือ ‘ดิจิทัลวอลเลต’ แต่ทั้งๆ ที่มีการประกาศเมื่อเดือน พ.ย.ที่ผ่านมาว่ามีแพกเกจใหญ่ 600,000 ล้านบาท เพื่อทำนโยบายดิจิทัลวอลเลต โดย 500,000 ล้านบาท เพื่อแจกเงินหมื่นให้กับประชาชน 50 ล้านคน และอีก 100,000 ล้านบาท นำไปเติมในกองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งจะใช้เงินมาจาก 2 แหล่ง คือ พ.ร.บ.เงินกู้ 5 แสนล้านบาท และงบประมาณรายจ่ายประจำปี 100,000 ล้านบาท</p>
<p>สส.พรรคก้าวไกล ระบุต่อว่า พอมาดูในงบฯ แล้ว งบฯ ดิจิทัลวอลเลตล่องหน ไม่มีเลยแม้แต่บาทเดียว ส่วนกองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันลดลงจาก 100,000 ล้านบาท เหลือเพียง 15,000 ล้านบาทเท่านั้นเอง ชัดเจนว่ายังมีเงินไม่พอไปเติมกองทุน และสรุปเรายังต้องฝากความหวังไว้กับ พ.ร.บ.เงินกู้ 5 แสนล้านบาทใช่หรือไม่ ในการทำนโยบายดิจิทัลวอลเลต ยอดกู้ตอนนี้ต้องเพิ่ม 585,000 ล้านบาทแล้วหรือไม่ เพื่อทำทั้งดิจิทัลวอลเลต และนโยบายเพิ่มเงินกองทุนฯ</p>
<p>"รัฐบาลกำลังฝากความหวังไว้ใน พ.ร.บ.เงินกู้ ฉบับนี้ เสมือนกับฝากความหวังไว้ในตระกร้าใบเดียว ดังนั้น มันมีความเสี่ยงสูงมาก เราไม่สามารถออก พ.ร.บ.เงินกู้ได้ ไม่งั้นงบกระตุ้นเศรษฐกิจเรา จะกลายเป็นงบกระตุ้นเศรษฐกิจทิพย์" ศิริกัญญา กล่าว </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53439899356_832a3a9bf6_b.jpg" /></p>
<p>หัวหน้าทีมเศรษฐกิจพรรคก้าวไกล กล่าวว่า เมื่อไปคุ้ยในงบประมาณรายจ่ายปี 2567 พบว่าเรายังมีงบฯ กระตุ้นเศรษฐกิจจากรายงานงบประมาณฉบับประชาชนเล่มเดิม โดยสำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้จัดทำเอาไว้ สำหรับงบฯ กระตุ้นเศรษฐกิจ และแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเอาไว้ มีเม็ดเงินอยู่ที่ 3 หมื่นกว่าล้านบาท มีการแก้ไขปัญหาหนี้สิน การลดค่าใช้จ่ายภาระด้านพลังงาน และก็การผลักดันการท่องเที่ยว แต่ก็ยังไม่เจองบกระตุ้นเศรษฐกิจเลย</p>
<p>ศิริกัญญา ระบุต่อว่า ที่น่าสนใจคือเมื่อมาดูงบฯ โครงการการท่องเที่ยว ซึ่งจะมีโครงการเบี้ยหัวแตกแบบนี้เยอะแยะมากมาย รวมถึงโครงการก่อสร้างต่อเนื่องจากสมัยพลเอกประยุทธ์ แต่ในท้ายพารากราฟ มีการพูดเรื่องงบตัดถนน เลยไปรวมงบฯ ที่มีชื่อโครงการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว พบว่ามีโครงการตัดถนนเพื่อการท่องเที่ยว สูงถึง 7,700 ล้านบาท จากงบประมาณทั้งหมดของการท่องเที่ยว 1.6 หมื่นล้านบาท ครึ่งหนึ่งเป็นการตัดถนน แน่นอนว่าเราทราบดีว่าต้องมีโครงการตัดถนนเพื่อให้เข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ แต่เราไม่สามารถตัดถนนอย่างเดียวเพื่อให้แหล่งท่องเที่ยวพัฒนา หรือให้ค่าใช้จ่ายรายหัวของนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นได้ </p>
<p>“สรุปแล้วนี่มันวิกฤตแบบใด เราถึงได้กระตุ้นเศรษฐกิจแบบนี้” ศิริกัญญา กล่าว </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ทำไมงบประมาณกระทรวงกลาโหมขึ้น</span></h2>
<p>ศิริกัญญา ระบุว่า เวลาเกิดวิกฤต กระทรวงกลาโหมจะตัดลดงบประมาณ เพื่อเสียสละให้ประเทศ ในการพยุงเศรษฐกิจของประเทศ แต่ในวิกฤตของเศรษฐา ทวีสิน กระทรวงกลาโหม ยังไม่ได้แสดงความรับผิดชอบให้เห็นถึงตรงนี้เลย </p>
<p>หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ พรรคก้าวไกล อภิปราย พร้อมเปิดสไลด์ประกอบ ระบุว่า ถ้าเราย้อนไปเมื่อ 2541-2542 ซึ่งเป็นช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง งบประมาณกระทรวงกลาโหมลดลง 21% ช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ราวปี 2552-2553 งบฯ ลดลงถึง 10% ช่วงโควิด-19 ราวปี 2564-2565 ลดลง 5% แต่ในวิกฤตของเศรษฐา ทวีสิน งบกลาโหม เพิ่ม 2% </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53440315210_448a932cb1_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">หางบกระตุ้นเศรษฐกิจนโยบายเรือธงไม่เจอ</span></h2>
<p>ศิริกัญญา กล่าวต่อว่า รัฐบาลใหม่มีโครงการใหม่จำนวน 236 โครงการจากจำนวน 1,500 โครงการ มีงบประมาณเพียงแค่ 13,000 ล้านบาท จากงบประมาณของโครงการทั้งหมด 830,000 ล้านบาท แม้จะเข้าใจว่าตอนนี้ยังไม่สามารถขับเคลื่อนโครงการทุกอย่างของรัฐบาลได้ แต่โครงการใหม่ที่มีเพียงแค่น้อยนิด ทำให้เราแทบคาดหวังไม่ได้เลยว่าเราจะเจอนโยบายที่รัฐบาลได้สัญญาว่าเป็นนโยบายเร่งด่วนตามที่นายกฯ เคยแถลงไว้ที่จะทำให้สำเร็จภายใน 1 ปี</p>
<p>"แม้ว่าเราจะทราบข้อจำกัดของรัฐบาล แต่อยากจะชวนคิดชวนคุยว่าถ้าเราไม่แตะปัญหาโครงสร้างของรัฐบาลเลย มันไม่มีทางที่จะหลุดพ้นจากวังวนนี้ได้เลย และไม่สามารถผลักดันภารกิจใดที่สัญญากับประชาชนผ่านงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้เลย และงบฯ นี้จะกลายเป็นงบฯ ของข้าราชการเท่านั้น" ศิริกัญญา ระบุ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">อ้างเวลาน้อย ฟังไม่ขึ้น</span></h2>
<p>ศิริกัญญา กล่าวว่า ที่บอกว่าระยะเวลาน้อยฟังไม่ขึ้นตั้งแต่ศูนย์เลย มีการรื้อกรอบงบประมาณรายจ่ายถึง 2 รอบ เพราะเมื่อสำนักงบประมาณทำมาแล้ว รัฐบาลยังไม่พอใจ และก็ส่งกลับไปปรับปรุงแก้ไขอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น ท่านก็คงจะทราบแล้วว่าการรื้องบประมาณไม่ง่ายเลย และต้องอาศัยภาวะผู้นำอย่างมาก ที่เข้าใจทั้งเรื่องกระบวนการงบประมาณ เจรจากับพรรคร่วม และเจรจากับข้าราชการอีก </p>
<p>ดังนั้น การจะไปเปลี่ยนแปลงงบประมาณภายใต้กรอบระเบียบกฎเกณฑ์แบบเดิมๆ ที่ถูกครอบไว้ แผนซ้อนแผนครอบไว้ แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนแม่บทย่อย และแผนอื่นๆ อีก ยิ่งทำให้การกระดิกตัวของรัฐบาลเพื่อขับเคลื่อนนโยบายของตัวเองแทบเป็นไปไม่ได้เลย </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">มรดกปัญหาจาก 'ประยุทธ์'-งบประมาณบุคลากรราชการขึ้นเร็วน่าใจหาย</span></h2>
<p>สส.พรรคก้าวไกล ระบุว่า นอกจากปัญหาเชิงโครงสร้างแล้ว ยังมีงบฯ มรดกจากประยุทธ์ ตกทอดมาอีก จากงบประมาณ 3.48 ล้านล้านบาท รัฐบาลมีงบฯ จัดสรรได้เอง และบรรจุโครงการใหม่ๆ ได้เพียง 740,000 ล้านบาท รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ แล้ว สรุปเหลืองบจัดสรรได้เองไม่ถึง 1 ใน 4 เท่านั้น สมัยประยุทธ์ ค่าใช้จ่ายบุคลากรข้าราชการขึ้นมาที่ 37% ของงบประจำปี และมีรายงานระบุด้วยว่า แนวโน้มกำลังพลของภาครัฐจะเพิ่มขึ้น แต่เดิมมีข้าราชการเพิ่ม 5 แสนคนใน 10 ปี แต่เนื่องจากมีการตั้งกรมใหม่ 4 กรม จะยิ่งมีข้าราชการเพิ่มขึ้นเพื่อเข้ามาทำงาน และน่าเป็นห่วงว่าต่อไปค่าใช้จ่ายบุคลากร จำนวน 1,029 ล้านล้านบาท และบำเหน็จบำนาญ ต่อไปจะโตเร็วจนแซงงบฯ เงินเดือน </p>
<p>"พูดแบบนี้ย้ำว่าไม่ได้จะตัดงบฯ บำเหน็จบำนาญ แต่นี่คือปัญหาที่เรากำลังพูดถึง และถ้าเราไม่แก้ไขปัญหาโครงสร้างเหล่านี้เราจะไม่มีวันขับเคลื่อนนโยบายที่เราให้ไว้กับประชาชนได้" หัวหน้าทีมเศรษฐกิจพรรคก้าวไกล กล่าว </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53440036548_58ab218358_b.jpg" /></p>
<p>ศิริกัญญา ระบต่อว่า งบฯ ชำระหนี้เพิ่มขึ้นมา 4 หมื่นล้านบาท เป็นมรดกทั้งการก่อหนี้และการบริหารงานที่ผิดพลาดของรัฐบาลประยุทธ์ ที่ไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เงินชดใช้เงินคงคลังสูงอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน คือเกือบ 1.2 แสนล้านบาท งบผูกพัน 3.6 แสนล้านบาท เป็นมรดกที่ประยุทธ์ดาวน์ไว้ และเศรษฐาต้องมาผ่อนต่อ แต่ถ้าเศรษฐา ไม่จัดการเรื่องนี้ งบผูกพันจะพันแข้งพันขาไปเรื่อยๆ </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">พลาดตั้งงบฯ ไม่พอ เดือดร้อนงบฯ กลางจ่าย</span></h2>
<p>ศิริกัญญา ระบุว่า เธออยากชี้ให้เห็นว่ามันมีปัญหาในเชิงโครงสร้างอยู่ ไม่ได้โทษว่าเป็นที่รัฐบาลอย่างเดียว ที่ทำให้รัฐบาลไม่สามารถจัดสรรงบฯ ได้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ แต่เราน่าจะได้ถอดบทเรียนที่ทำให้เราผิดพลาด พลาดแล้ว พลาดอยู่ พลาดต่อ</p>
<p>สส.พรรคก้าวไกล ระบุว่า เรื่องของการจัดการผิดพลาด การชดใช้เงินคงคลัง 120,000 ล้านบาท เอาไปชดใช้งบฯ บุคลากร 2 หมื่นกว่าล้าน งบบำเหน็จบำนาญไม่พอ 5 หมื่นล้านบาท ค่ารักษาพยาบาลตั้งไว้ไม่พอ 3 หมื่นล้านบาท ผสมกันบวกกัน 2 ปี ทำให้ยอดบวมไปใหญ่ ทั้งที่เป็นเรื่องที่ไม่น่าพลาดเพราะเป็นเรื่องเงินเดือนบุคลากร และบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มันสามารถคาดการณ์ได้ แต่ 2 ปีที่ผ่านมาบริหารงบแย่มาก สุดท้ายเงินไม่พอ ต้องไปควักเงินคงคลัง แต่ปีนี้ยังคงพลาดต่อ บำเหน็จบำนาญตั้งงบฯ ไว้ 360,000 ล้านบาท แต่รัฐบาลตั้งงบฯ ไว้ 330,000 ล้านบาท หรือค่ารักษาพยาบาลจะทะลุแสนล้านบาทแล้ว แต่ตั้งงบฯ 76,000 ล้านบาท เงินเดือนต้องเพิ่มแน่ๆ เพราะว่าเป็นนโยบายรัฐบาล ก็ไม่ได้ตั้งเพิ่ม ซึ่งพยากรณ์ได้เลยว่า งบฯ ปี 2568-2569 ต้องมีการควักเงินคงคลังออกมาใช้ และก็มาตั้งชดใช้เงินคงคลังอีกสักรอบ </p>
<p>แต่นี่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำซาก งบประมาณรายจ่ายไม่พอ ก็ต้องไปใช้งบฯ กลาง เงินชดใช้ กฟผ. 38,000 ล้านบาท ยังไม่ได้ตั้งไว้ตรงไหน เงินชดเชยผู้ประกอบการรถยนต์ EV ปีที่แล้วตั้งขาด ปีนี้ตั้งขาดต่อ กรรมสรรพสามิตขอมา 13,000 ล้านบาท ตั้งไว้แค่ 3,000 ล้านบาท </p>
<p>งบฯ ซอฟต์พาวเวอร์ จำนวน 5,164 ล้านบาท ไม่ปรากฏอยู่ในเอกสารงบประมาณ นโยบาย 20 บาทตลอดสาย ปีไหนเราจะได้ขึ้น 20 บาทอีกถ้าไม่ได้ตั้งไว้ และอื่นๆ สรุปแล้วเกินงบฯ กลางการใช้จ่ายสำรองฉุกเฉินจำเป็นที่ตั้งไว้ 98,500 ล้านบาทแน่นอน แบบนี้เป็นความผิดพลาดที่อดคิดไม่ได้ว่าเป็นความตั้งใจผิดพลาดหรือไม่</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ประมาณการรายได้ผิดพลาด</span></h2>
<p>ศิริกัญญา ระบุต่อว่า รัฐบาลผิดพลาดตั้งงบฯ รายจ่ายไม่พอ แต่ผิดพลาดประมาณการรายได้ วันแรกมีการตั้งกรอบประมาณการรายได้ไว้ที่ 2.787 ล้านล้านบาท แต่ในเอกสารระบุไว้ชัดว่าวันนั้นว่าจะมีการเก็บภาษีการขายหุ้น เพื่อมาสมทบรายได้รัฐที่เพิ่มขึ้นมูลค่า 14,000 ล้านบาท แต่เศรษฐา ให้สัมภาษณ์สื่อพูดชัดเจนว่าจะไม่เก็บภาษีการขายหุ้น แล้วจะเอา 14,000 ล้านบาทที่ไหนมาชดเชย </p>
<p>นโยบายลดหย่อนภาษีนายทุน นักลงทุน ทำให้ประมาณการรายได้หายไป 1 หมื่นล้านบาท รายได้นำส่ง กฟผ. ให้แบกภาระหนี้เอาไว้จนสถานการณ์ตกต่ำ เงินสดจะหมดบริษัทภายในปีนี้ แต่รัฐบาลยังบอก กฟผ.ว่าให้มีรายได้นำส่งเข้ารัฐ 28,000 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มจากปี 2566 จำนวน 60% คิดว่าไม่น่าจะส่งได้แน่นอน และยังไม่รวมค่าภาษีสรรพสามิตที่ช่วยพยุงค่าน้ำมันให้กับประชาชน ประมาณการรายได้จะหายไป 6 หมื่นล้านบาท </p>
<p>"ดิฉันไม่มีปัญหากับมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลทำ เพียงแต่ว่ามันกระทบกับยอดประมาณการรายได้ที่ท่านคาดการณ์เอาไว้อย่างน้อยๆ ที่หาได้เจอตอนนี้ ไม่รู้ว่าในอนาคตจะผุดโครงการอะไรมาที่ทำให้รายได้รัฐหายไปอีกหรือเปล่า หายไปเหนาะๆ 100,000 ล้านบาทแล้ว  ซึ่งเรายังไม่เคยยินจากรัฐบาลว่าจะเอาเงินจากไหนมาชดเชยมาทดแทน นอกเสียจากว่าบอกว่าถ้าทำโครงการดิจิทัลวอลเลตแล้ว จะทำให้เรามีรายได้จากการจัดเก็บรายได้รัฐมากขึ้นกว่า 100,000 ล้านบาท </p>
<p>"แบบนี้ดิฉันคิดว่ามันพลาดแบบที่ไม่น่าที่จะพลาด เราสามารถทบทวนตัวประมาณการรายได้ได้ และก็ตั้งงบฯ การขาดดุลงบประมาณหรือว่าการกู้ชดเชยขาดดุล แต่ท่านก็ต้องพูดความจริงตรงไปตรงมากับสภาฯ แห่งนี้กับประชาชน" ศิริกัญญา กล่าว </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">แนวโน้มดอกเบี้ยหนี้สาธารณะส่อพุ่ง-พ.ร.บ.งบฯ ปี'67 บทพิสูจน์ฝีมือรัฐบาล</span></h2>
<p>ศิริกัญญา กล่าวถึงปัญหาหนี้สาธารณะ ถ้าเราดูตัวเลขของปี 2567 จากประมาณการแผนการคลังระยะปานกลางปีนี้อยู่ที่ 64% ของ GDP แต่ดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายต่อปี เมื่อคำนวณเป็นสัดส่วนรายได้ของรัฐแล้วพุ่งขึ้นอย่างน่าใจหาย เนื่องจากช่วงนี้เป็นเทรนด์ดอกเบี้ยขึ้นกันทั่วโลก และตลาดพันธบัตรของไทยค่อนข้างผันผวน  ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของรัฐบาลสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งคาดว่าจะทะลุ 10% ในปี 2568 และก็เป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วน เพราะสุดท้าย ภาระดอกเบี้ยตรงนี้จะไปเบียดบังงบประมาณที่เราต้องใช้ในแต่ละปีอยู่ดี เพราะว่าเราต้องกันงบฯ ส่วนหนึ่งเอาไว้ในจ่ายคืนหนี้โดยเฉพาะดอกเบี้ย และ 10% ยังไม่รวมหนี้อื่นๆ ที่รัฐบาลต้องใช้ในการดำเนินนโยบายเรือธงอย่างเช่นดิจิทัลวอลเลต หรือหนี้ตามมาตรา 28 จากการที่รัฐบาลหยิบยืมหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ เหมือนเป็นบัตรกดเงินสดของรัฐบาล </p>
<p>"ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ดิฉันไม่เห็นอะไรนอกจากเป็นบทพิสูจน์ว่า รัฐบาลไม่สามารถทำงานได้อย่างเป็นมืออาชีพ นี่หรือคือที่สืบทอดชื่อเสียงกันมาว่าเก่งเรื่องเศรษฐกิจ นี่เหรอรัฐบาลที่ขึ้นชื่อเรื่องหาเงินได้ ใช้เงินเป็น กับผิดพลาดในการจัดงบประมาณได้มากขนาดนี้ จัดงบไม่เพียงพอ ประมาณการรายได้ผิดพลาดอย่างไม่น่าให้อภัย และก็ไม่คิดที่จะแก้ มุ่งแต่จะใช้กลไกนอกงบประมาณในการบริหารประเทศ และก็ไม่สนใจเรื่องภาระทางการคลัง มันถึงเวลาที่ประชาชนต้องคิดใหม่กับฝีมือการบริหารราชการของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย" ศิริกัญญา ทิ้งท้ายการอภิปราย</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53440215059_a65cc31401_b.jpg" /></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เศรษฐกิจ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2-%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ศิริกัญญา ตันสกุล[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%93-2567" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">อภิปรายงบประมาณ 2567[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พรรคก้าวไกล[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พรรคเพื่อไทย[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ดิจิทัลวอลเลต[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/01/107494