หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 'ก้าวไกล' ชี้จัดงบฯ ชลประทานไม่ทั่วถึง เกษตรกรนอกพื้นที่เสี่ยงลำบาก แจกการ เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 05 มกราคม 2567 07:00:56 'ก้าวไกล' ชี้จัดงบฯ ชลประทานไม่ทั่วถึง เกษตรกรนอกพื้นที่เสี่ยงลำบาก แจกการบ้าน 'ระบบเตือนภัยพิบัติ'
<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2024-01-04 14:50</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: TP Channel (https://www.youtube.com/watch?v=V2p3o3RiOeM)</p> </div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>'คริษฐ์' สส.พรรคก้าวไกล จ.ตาก อภิปรายงบฯ ปี’67 งบชลประทานไม่ทั่วถึง เกษตรกรนอกพื้นที่เสี่ยงลำบาก สนับสนุนงบฯ ทำ 'cell broadcast' เตือนภัยพิบัติ แนะบูรณาการข้อมูล สร้างความแม่นยำ</p> <p> </p> <p>4 ม.ค. 2566 ยูทูบ ‘TP Channel (https://www.youtube.com/watch?v=V2p3o3RiOeM)’ ถ่ายทอดสดออนไลน์วันนี้ (4 ม.ค.) ณ รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 5 สมัยสามัญที่ 2 ประจำวันที่ 4 ม.ค. 2567 วาระพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปี พ.ศ. 2567 วันที่ 2 โดย คริษฐ์ ปานเนียม สส.พรรคก้าวไกล จ.ตาก อภิปรายงบฯ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการชลประทาน และการขยายเขตชลประทานให้ทั่วถึง ตลอดจนการช่วยเหลือประชาชนนอกเขตชลประทาน รวมถึงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และภัยพิบัติ </p> <p style="text-align: center;"> <iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/V2p3o3RiOeM?si=xf8uDxUX3Uq8Tmix&start=13787" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p> <p>สส.พรรคก้าวไกล ระบุต่อว่า ในฐานะที่เป็นหนึ่งในกรรมาธิการบริหารจัดการน้ำ จึงให้ความสำคัญเรื่องนี้เป็นอย่างมาก และเชื่อว่าประชาชนทั้งประเทศรอคอยสิ่งนี้เช่นกัน “เพราะน้ำคือชีวิต” แต่ตอนนี้เราเผชิญกับการจัดทำงบประมาณที่ล้าหลัง เนื่องจากต้องยึดโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี การบริหารราชการสืบทอดอำนาจด้วยกลไกและกฎหมายอันบิดเบี้ยว ฉุดรั้งประเทศไทยให้เติบโตล่าช้ากว่าที่อื่นๆ ในฐานะที่พรรคเพื่อไทยเคยยืนอยู่ในซีกฝ่ายค้านด้วยกัน เราต่างเห็นพ้องกันว่า การจัดสรรงบประมาณด้านการจัดการทรัพยากรน้ำไม่พอต่อการตอบสนองแก้ไขปัญหา และวันนี้รัฐบาลใหม่ก็เลือกที่จะเดินตามรอยรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา (พ.ศ. 2562-2565)</p> <h2><span style="color:#2980b9;">จัดงบฯ ขยายพื้นที่เขตชลประทานน้อยเกินไป เมื่อไรจะได้ตามเป้า </span></h2> <p>สส.พรรคก้าวไกล จ.ตาก กล่าวถึงปัญหาภัยแล้งด้านการเกษตร รัฐบาลทราบว่าภัยแล้งปีนี้จะรุนแรงและรุนแรงต่อเนื่องหลายปี รัฐบาลเดินทางลงพื้นที่ก็พูดตลอดว่าจะแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้ได้ และคนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งมากที่สุดคือเกษตรกร แต่พอมาดูงบฯ ปี 2567 ไม่ได้ดีอะไรไปจากรัฐบาลที่แล้ว และไม่มีอะไรใหม่ ไม่ใช่คำตอบอนาคตของประเทศที่ประชาชนคาดหวัง สวนทางกับการแถลงนโยบายของรัฐบาล </p> <p>คริษฐ์ แบ่งปัญหาภาคการเกษตรออกเป็น 2 ส่วน 1. พื้นที่นอกเขตชลประทาน และ 2. กลุ่มพื้นที่นอกเขตชลประทาน เรามีราษฎรทำการเกษตรมากกว่า 150 ล้านไร่ สำหรับพื้นที่เขตชลประทาน และอยู่ในอำนาจของกรมชลประทาน ซึ่งแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ระหว่าง 2561-2580 ระบุว่า เรามีแผนที่จะพัฒนาพื้นที่เขตนอกชลประทานให้ได้ 60 ล้านไร่ ตอนนี้เราทำได้ครึ่งหนึ่ง หรือเท่ากับ 30 ล้านไร่แล้ว </p> <p>สส.พรรคก้าวไกล ระบุต่อว่า ปีนี้กรมชลฯ ได้รับงบประมาณ 81,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1 พันล้านบาท แต่พอลองนำงบฯ ออกมาแยกดู โดยตัดงบฯ ซื้ออุปกรณ์และพัสดุออกไป เหลือเป็นงบฯ พัฒนาพื้นที่ชลประทาน 62,000 ล้านบาท แบ่งเป็นงบฯ ปรับปรุงพื้นที่ชลประทานเดิม 53% หรือ 33,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ 29,000 ล้านบาทนั้นเป็นงบฯ สำหรับพื้นที่ชลประทานใหม่ </p> <p>สส.พรรคก้าวไกล กล่าวต่อว่า ผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาพื้นที่ชลประทานที่เพิ่มขึ้นใหม่ จะพบว่างบประมาณ 3 หมื่นล้านบาทที่ใส่ลงไป เพื่อเพิ่มพื้นที่ชลประทานใหม่ให้กับเกษตรกร ได้เพียง 170,000 ไร่เท่านั้น หรือใช้เงินประมาณ 170,000 บาทต่อ 1 ไร่ เปรียบเทียบง่ายๆ ว่า ถ้าเรายังทำโครงการด้วยเม็ดเงินเท่านี้ พอถึงปี 2580 อย่างมากเราจะเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้เพียง 2 ล้านไร่เท่านั้น และเราคงต้องใช้เวลาต่อไปอีก 30 ปี กว่าเราจะพัฒนาพื้นที่ชลประทานให้ได้ถึง 60 ล้านไร่ ตามแผนงานและตามงบฯ ที่จัดสรร ถามง่ายๆ เลยว่า ถ้าเราเป็นเกษตรกรรอกันไหวไหม และเมื่อไรจะครบตามเป้าหมาย</p> <p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53441877100_a88b7d5be0_b.jpg" /></p> <p>คริษฐ์ ระบุต่อว่า การที่เราเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ปีละไม่ถึง 2 ไร่ เป็นการบอกอะไรกับเกษตรกรที่อยู่นอกพื้นที่เขตชลประทาน ที่มีอยู่ 150 ล้านไร่ จะบอกให้เขาถอดใจ หรือจะบอกให้เขาทำอย่างอื่น หรือบอกให้เขารอและหวังว่าพื้นที่ที่จะเพิ่ม 1 แสน 7 หมื่นไรต่อปี ไปตรงกับเขตไร่เขตนาของเขา </p> <p>ต่อมา พื้นที่นอกเขตชลประทานมีหน่วยงานดูแลหลักๆ 3 หน่วย ได้แก่ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมชลประทาน และกรมพัฒนาที่ดิน ถ้าเราดูจากผลสัมฤทธิ์ หรือตัวชี้วัดงบประมาณทั้ง 3 หน่วยงานนี้แล้ว ต้องบอกว่าน่าประทับใจ เพราะงบฯ เพียง 7 พันกว่าล้าน ก็สามารถพัฒนาฟื้นฟูแหล่งน้ำให้มีพื้นที่ได้รับประโยชน์ 2.4 แสนไร่ ได้รับประโยชน์มากกว่ากรมชลประทานครึ่งเท่าตัว และหากผลสัมฤทธิ์ที่กรมฯ ตั้งไว้เป็นจริง หมายความว่าใช้เงินน้อยกว่าชลประทาน 4 เท่าตัว</p> <p>การตั้งงบประมาณของรัฐบาลนี้ยังเหมือนกับรัฐบาลที่ผ่านมาทั้งในและนอกเขตชลประทาน จัดทำงบประมาณ และโครงการในรูปแบบเดียวกันอยู่ดูแลพี่คนโตที่แข็งแรง และละเลยลูกคนเล็กที่อ่อนแอ</p> <p>สส.พรรคก้าวไกล เสนอว่า รัฐบาลต้องทบทวนว่าจะเอาอย่างไรกับเกษตรกรนอกพื้นที่ชลประทาน แต่ถ้าไม่มีวิสัยทัศน์การแก้ไขปัญหาเรื่องนี้จริงๆ สิ่งที่อยากเห็นคือการเติมงบประมาณลงไปในส่วนเกี่ยวข้องกับน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่นอกเขตชลประทาน ให้ประชาชนมีน้ำต้นทุนที่เพียงพอรับมือกับภัยแล้งที่จะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จากนี้ไป</p> <h2><span style="color:#2980b9;">สานต่อโครงการฟลัดเวย์ ไม่สนคนต้นน้ำ</span> </h2> <p>สำหรับการจัดการน้ำที่ต้นน้ำ คริษฐ์ กล่าวถึงโครงการจัดการน้ำที่ปลายน้ำ หรือโครงการฟลัดเวย์ที่วันนี้เห็นอยู่ในงบประมาณปี 2567 งานนี้จะขนน้ำไปทิ้งอีกแล้ว ที่มาพูดเพราะมองว่าหากเรายังจัดการน้ำที่ต้นน้ำไม่ได้ ก็ไม่ควรไปแก้ไขที่ปลายทางก่อน </p> <p>คริษฐ์ ระบุต่อว่า ท่านยังคงสานต่อโครงการเดิมเมื่อรัฐบาลที่แล้ว หรือท่านคิดเห็นตรงกันก็ไม่ทราบ ปัจจุบัน แม่น้ำหลายสาย ทั้งแม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน แม่น้ำตื้นเขิน ระบบสูบน้ำมีปัญหาส่งน้ำเข้านาไม่ได้ แม่น้ำหลายสายเส้นทางถูกถมด้วยมูลดิน เกษตรกรยังรอน้ำ แต่รัฐบาลใหม่ไม่มีการตั้งงบฯ ที่ชัดเจนและเพียงพอ เพื่อแก้ไขปัญหา</p> <p>คริษฐ์ มองว่า เรามีที่ให้น้ำอยู่ แต่ไม่มีที่ให้น้ำไป แม้ว่าจังหวัดลำปาง ลำพูน และตาก ประสบอุทกภัยเมื่อปีที่แล้ว แต่น้ำในเขื่อนหรือในอ่างเก็บน้ำยังไม่เต็ม และเรายังมีพื้นที่ตลอดแม่น้ำปิง และแม่น้ำวัง ซึ่งยังเป็นพื้นที่แล้งซ้ำซาก ไม่มีน้ำใช้เพื่อการเกษตร อยากเสนอว่าเราน่าจะเอางบประมาณจัดสรรการบริหารน้ำส่วนเกินที่เราห่วงว่าจะท่วมเมืองกรุง เอาไปเติมในพื้นที่ที่เขาขาดอยู่ อยากให้นำน้ำในพื้นที่ที่ทำแก้มลิงอย่างนครสวรรค์ อุทัยธานี เพชรบุรี สิงห์บุรี หรือชัยนาถ พวกเขาต้องอดทนใช้พื้นที่ไร่นาตัวเองเป็นพื้นที่แก้มลิงรับน้ำ เพื่อไม่ให้เข้าเมืองหลวง ผันมาให้พื้นที่ที่ประสบภัยแล้ง เอาน้ำไปทิ้งเสียนี่ใช่หรือ</p> <p>"ทำฟลัดเวย์ด้วยงบประมาณกว่า 2,900 ล้านบาท ท่านกลับไม่แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เอาแต่กรุงเทพรอด ไม่สนคนต้นน้ำว่าต้องเผชิญกับปัญหาอย่างไร สุดท้าย ปล่อยคนต้นน้ำไปตามเวรตามกรรมอย่างนี้ใช้ไม่ได้" คริษฐ์ กล่าว</p> <h2><span style="color:#2980b9;">ฝากการบ้าน 'ระบบเตือนภัย' น้ำท่วม</span></h2> <p>ต่อมา เรื่องการเติอนภัย และปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วม คริษฐ์ ออกตัวว่าเขาสนับสนุนโครงการ 'cell broadcast' เพื่อแจ้งเตือนปัญหาภัยพิบัติอุทกภัยผ่านมือถือ ซึ่งปีนี้ กพ.ตั้งงบฯ ไว้ 35 ล้านบาท แต่ปัญหาคือข้อมูล เนื่องจากถ้าจะเตือนภัยต้องมีข้อมูลที่ชัดเจนว่าจะท่วมเมื่อไร หรือรุนแรงแค่ไหน </p> <p>คริษฐ์ ระบุต่อว่า ปัญหาตอนนี้คือการจัดการและบูรณาการข้อมูลเข้าด้วยกัน ไปจนถึงการพัฒนาระบบกรมอุตุนิยมวิทยาให้มีความแม่นยำ แต่ตอนนี้กรมอุตุฯ ไม่มีงบฯ เพื่อพัฒนาระบบพยากรณ์อากาศ เพราะงบฯ ส่วนใหญ่ไปลงที่การซื้อเครื่องมือตรวจวัดอากาศของสนามบินแทน เมื่อข้อมูลไม่แม่นยำก็ไม่สามารถเตือนภัยได้ แทนที่จะเตือนภัยได้ในระดับหมู่บ้าน กลายเป็นเตือนภัยได้เฉพาะระดับอำเภอ หรือจังหวัด ก็ไม่ได้ช่วยอะไร</p> <p>สส. จ.ตาก ระบุต่อว่า กรณีศึกษาคือน้ำท่วมปัตตานี ที่ไม่มีการบอกว่าต้องอพยพเมื่อไร ไปที่ไหน ประกาศที่เตือนว่าน้ำจะไหลผ่านก็ไม่เตือน ที่สำคัญขยายวงกว้างไป 5 จังหวัดชายแดนใต้แล้ว เขาคิดว่าต้องทำ แต่ต้องไม่ลืมการบูรณาการข้อมูลต้องเป็นระบบเดียว และเสนอว่าต้องตั้งศูนย์ข้อมูลแบบเบ็ดเสร็จ (single command) ให้ชัดเจน</p> <p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53441605093_4852c34971_b.jpg" /></p> <p>"ผมอยากให้รัฐมีความกล้าหาญที่จะใช้เงิน ที่จะจัดสรรงบประมาณ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้กับอาชีพ ให้กับประชาชน ให้มีน้ำที่เพียงพอกับการทำการเกษตรทั้งปี มีน้ำอุปโภคที่เพียงพอและทั่วถึง มีน้ำประปาที่ดื่มได้ ทรัพย์สินไม่หายนะ ไม่สูญเสียไปกับภัยพิบัติ เปิดกระเป๋าต้องเจอสตางค์ เปิดสมุดบัญชีต้องเจอสตางค์ สิ่งนี้ที่รัฐควรช่วยและจัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตราษฎร" คริษฐ์ ทิ้งท้าย </p> </div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คุณภาพชีวิต[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%9B%E0%B8%B5-2567" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">อภิปรายงบประมาณปี 2567[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พรรคก้าวไกล[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%8C-%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คริษฐ์ ปานเนียม[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%8A%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ชลประทาน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">กรมชลประทาน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ภัยพิบัติ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/cell-broadcast" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">Cell Broadcast[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div> https://prachatai.com/journal/2024/01/107497 |