หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - นักสิทธิมนุษยชนเชื่อยุบ กอ.รมน. ภาค 4 หรือถอนทหารพื้นที่ชายแดนใต้ก็ไม่ช่วยแก้ปั เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 07 มกราคม 2567 02:35:09 นักสิทธิมนุษยชนเชื่อยุบ กอ.รมน. ภาค 4 หรือถอนทหารพื้นที่ชายแดนใต้ก็ไม่ช่วยแก้ปัญหา
<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2024-01-06 15:53</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>รายงานพิเศษจากสื่อเบนาร์นิว 20 ปีแห่งความสิ้นหวัง และบาดแผลของคนชายแดนใต้ นักสิทธิมนุษยชนเชื่อ ยุบ กอ.รมน. ภาค 4 หรือถอนทหารพื้นที่ชายแดนใต้ก็ไม่ช่วยแก้ปัญหา</p> <p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/7874/32921381078_040b996c77_o_d.jpg" /> <span style="color:#f39c12;">แฟ้มภาพสำนักข่าวอิศรา</span> (https://www.isranews.org/images/2019/south/1/nongjik1.jpg)</p> <p>สื่อเบนาร์นิว (https://www.benarnews.org/thai/news/th-deep-south-violence-01042024055726.html) รายงานเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2567 ว่านับตั้งแต่เหตุการณ์ที่คนร้ายบุกเผาโรงเรียน 20 แห่ง และปล้นปืน 413 กระบอก จากคลังแสงของกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (ค่ายปิเหล็ง) จังหวัดนราธิวาสในช่วงดึกของวันที่ 4 มกราคม 2547 ถึงปัจจุบัน ผ่านเวลามาแล้ว 20 ปี ไฟที่ลุกโชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ไม่เคยดับมอดลง</p> <p>ชาวบ้าน ครอบครัวผู้สูญเสีย หรือแม้กระทั่งสมาชิกขบวนการก่อความไม่สงบ ยังมีความเชื่อเหมือนกันว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น ณ ปลายด้ามขวาน ไม่มีทางจบลงง่ายๆ เช่นเดียวกับนักสิทธิมนุษยชนที่มองว่า ความต้องการของขบวนการฯ คือ เอกราช หรืออย่างน้อยที่สุด ก็ต้องการเขตปกครองพิเศษ ดังนั้น การยุบกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้า หรือการถอนกำลังทหารจะไม่ช่วยแก้ปัญหา</p> <p>“หลายปีที่ผ่านมา มีสมาชิกครอบครัวของผม 7 คน ที่ถูกยิง ถูกระเบิด แต่ตัวผมเองก็ยังเป็นผู้ต้องสงสัย ทั้งที่ความจริงเราเป็นผู้สูญเสีย มันโหดร้ายมากนะ ทุกวันนี้ ผมก็ทำอะไรมากไม่ได้ นอกจากพยายามใช้ชีวิตให้ปกติ กรีดยาง ขายของ แล้วก็อยู่ให้ห่างจากเจ้าหน้าที่” อิมรอน ยูโซ๊ะ ชาวจังหวัดยะลา กล่าวกับเบนาร์นิวส์</p> <p>เหตุการณ์ปล้นปืนค่ายปิเหล็ง ถูกนับเป็นจุดเริ่มต้นความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ระลอกใหม่ รัฐบาลเลือกที่จะจัดการปัญหาด้วยการส่งฝ่ายความมั่นคงลงไปปฏิบัติงาน ทำให้ระหว่างปี 2547-2553 ชายแดนใต้มีทหาร ตำรวจ รวมถึงอาสาสมัครรักษาดินแดน (อส.) กว่า 7.5 หมื่นนาย</p> <p>ปี 2566 แม้จะมีแนวคิดลดกำลังพล แต่เจ้าหน้าที่ 5 หมื่นนายก็ยังปฏิบัติงานในพื้นที่ ตามวิธีคิดของฝ่ายรัฐ การมีกำลังพลจำนวนมากอาจป้องกันปัญหาได้ แต่ในมุมมองของคนท้องถิ่น การใช้เจ้าหน้าที่จำนวนมากก็อาจสร้างความไม่ไว้ใจได้เช่นกัน</p> <p>“เชื่อว่า ครบรอบ 21 ปี ปัญหาก็ยังไม่จบ เพราะชาวบ้านยังสูญเสีย ยังถูกกระทำจากเจ้าหน้าที่ ผมไม่มีความหวังกับการพูดคุย เพราะเห็นแล้วว่า ทุกๆ ครั้ง ไม่มีอะไรที่จับต้องได้เลย แต่ก็อยากให้ทำต่อไป เผื่อว่า สักวันจะพอมีหวังขึ้นมาบ้าง” อิมรอน กล่าว </p> <p>ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้(Deep South Watch) ระบุว่า ตั้งแต่มกราคม 2547 ถึงพฤศจิกายน 2566 มีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นกว่า 2.22 หมื่นครั้ง มีผู้เสียชีวิตกว่า 7.54 พันคน และมีผู้บาดเจ็บอีกกว่า 1.40 หมื่นชีวิต ในปี 2556 รัฐบาลพยายามหาทางแก้ไขปัญหา โดยเริ่มใช้ “การพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้” เป็นทางออก แต่ถึงตอนนี้ผ่านมาแล้ว 11 ปี ชายแดนใต้ก็ยังไม่เคยได้พบกับสันติสุข</p> <p>“เจ้าหน้าที่ทำร้ายเพื่อนเรา ความเจ็บปวดนี้ เราไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากร่วมขบวนการเพื่อแก้แค้น แต่ยังไม่ทันทำอะไร คนที่ทำร้ายเพื่อนเราก็กรรมตามสนอง รถคว่ำตาย ตอนนี้ เราไม่ได้ก่อเหตุแล้ว แต่ก็ยังอยู่แบบไม่มีความสุข เพราะเจ้าหน้าที่สงสัยทุกคน มองทุกคนเป็นฝ่ายตรงข้าม แบบนี้ไม่มีทางแก้ปัญหาได้ เพราะถ้ามันแก้ได้จริง ก็คงไม่ต้องรอถึง 20 ปี” มะ(สงวนนามสกุล) หนึ่งในสมาชิกกลุ่มแบ่งแยกดินแดน กล่าว</p> <p>ก่อนการเลือกตั้งเดือนพฤษภาคม 2566 คนในพื้นที่บอกให้รัฐบาลใช้พลเรือนแก้ปัญหา มีการเสนอให้ถอนกำลังทหารออกไป รวมทั้งเรียกร้องให้ยุบ กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า เพราะหน่วยงานนี้ถูกมองว่ามีภาระงานซ้ำซ้อน และไม่สามารถแก้ปัญหาได้จริง </p> <p>ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2566 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้ง ฉัตรชัย บางชวด รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เป็นหัวหน้าคณะพูดคุยฯ ซึ่งนับเป็นพลเรือนคนแรกที่ได้ทำหน้าที่นี้ เพื่อเจรจากับ ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี (Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani- BRN) ที่นำโดย อุสตาซ อานัส อับดุลเราะห์มาน (หรือฮีพนี มะเระ) และตัวแทนจากมาเลเซียทำหน้าที่ผู้อำนวยความสะดวก</p> <p>อัญชนา หีมมิหน๊ะ นักสิทธิมนุษยชน ซึ่งทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก่อตั้ง “กลุ่มด้วยใจ” หลังจากที่ น้องเขยซึ่งเป็นเพียงพนักงานร้านล้างรถธรรมดาถูกคุมตัวด้วย ข้อหาอั้งยี่ ซ่องโจร และฆ่าคนตาย เป็นเวลาร่วม 2 ปี ก่อนที่สุดท้ายศาลจะตัดสินว่า เขาไม่มีความผิด กรณีดังกล่าวทำให้อัญชนาตระหนักว่า ชายแดนภาคใต้มีบางอย่างไม่ปกติ</p> <p>“รัฐต้องยอมรับก่อนว่าความรุนแรงมาจากทั้งรัฐ และขบวนการฯ ทั้งสองฝ่ายต้องเจรจากันเพื่อนำมาสู่ความเข้าใจ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด รัฐต้องแสดงความเป็นมิตรกับประชาชนอย่างจริงใจ เชื่อว่า การถอนทหาร หรือยุบ กอ.รมน. จะไม่ช่วยให้ปัญหาหมดไป แต่สิ่งที่ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือ การเคารพสิทธิของประชาชน” อัญชนา กล่าว </p> <p>ท่ามกลางเสียงเรียกร้อง เศรษฐา ยังยืนยันว่า กอ.รมน. จำเป็น และไม่ควรยุบหน่วยงานนี้ ขณะเดียวกันในร่าง พ.ร.บ. งบประมาณประจำปี 2567 รัฐบาลใหม่ก็ได้เสนองบประมาณ 6.65 พันล้านบาทสำหรับแผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร่วม 4 ร้อยล้านบาท</p> <p>“จากการพูดคุยกับชาวบ้าน เอกราช คือสิ่งที่คนในพื้นที่ต้องการ แต่เขาก็เข้าใจว่าการได้เอกราชเป็นไปไม่ได้ในช่วงเวลานี้ สิ่งที่เขาต้องการที่สุดจึงเป็น เขตปกครองพิเศษ ที่ประชาชนมีส่วนร่วม และเลือกผู้นำของตัวเองตามกลไกประชาธิปไตย เขาไม่อยากถูกควบคุม เขาอยากได้อิสระในความคิด ดูแล และออกแบบนโยบายของพวกเขาเอง”</p> <p>ในวาระครบรอบ 20 ปี จุดเริ่มต้นความขัดแย้งชายแดนใต้ระลอกใหม่ พล.ท. ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4 และ ผอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า ยืนยันว่า ฝ่ายความมั่นคงมีความพร้อมที่จะมุ่งไปสู่การแก้ไขปัญหา แต่ไม่เห็นด้วยกับการแบ่งแยกดินแดน</p> <p>“ยืนยันได้เลยว่า ประเทศไทยไม่สามารถแบ่งแยกดินแดนได้ เพียงแต่ว่าเราต้องอยู่แบบพหุวัฒนธรรม อยู่ในสังคมที่มีหลากหลายทางวัฒนธรรม ในอนาคตข้างหน้าถ้าเกิดสถานการณ์ยุติ ไม่มีการก่อเหตุ ไม่มีการใช้อาวุธ ชายแดนใต้ก็จะกลับสู่ระบอบปกติ ถึงแม้ว่าในพื้นที่จะมีพี่ประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามจำนวนมาก แต่ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดคือเรื่องปากท้อง ซึ่งเรากำลังจะส่งเสริมให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้อยู่ดีกินดี” พล.ท. ศานติ กล่าว</p> <p>นับตั้งแต่ปี 2547 ฝ่ายความมั่นคงนับว่ามีบทบาทสำคัญในการเป็นกลไกแก้ไขปัญหาชายแดนใต้ตามแนวทางของรัฐบาล โดยรัฐบาลได้ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ผ่านกฎหมายพิเศษ คือ พ.ร.บ. อัยการศึกฯ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ และ พ.ร.บ. กอ.รมน. ซึ่งกฎหมายพิเศษเหล่านี้ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถจับกุมคุมขังผู้ต้องสงสัยเพื่อการสอบสวนได้สะดวก และยาวนานกว่ากฎหมายอาญาปกติ ทั้งการจับกุมยังไม่ต้องขออำนาจศาลก่อนดำเนินการด้วย</p> <p>สหประชาชาติ (UN) ระบุว่า นับตั้งแต่ปี 2523 ถึงปัจจุบัน มีคนไทยถูกบังคับให้สูญหายอย่างน้อย 82 คน โดยมูลนิธิผสานวัฒนธรรมได้ให้ข้อมูลว่า พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีผู้ที่ถูกบังคับให้สูญหายอย่างน้อย 31 คน นับตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งเป็นจุดประทุของไฟความขัดแย้ง</p> </div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รายงานพิเศษ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ความมั่นคง[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เบนาร์นิว[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ชายแดนใต้[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div> https://prachatai.com/journal/2024/01/107529 |