[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 08 มกราคม 2567 05:03:24



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 32 องค์กรสิทธิฯ ส่ง จม.เปิดผนึกถึงเลขาฯ UN สอบปมละเมิดสิทธิในการรวมกลุ่ม-ฟ้องปิดป
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 08 มกราคม 2567 05:03:24
32 องค์กรสิทธิฯ ส่ง จม.เปิดผนึกถึงเลขาฯ UN สอบปมละเมิดสิทธิในการรวมกลุ่ม-ฟ้องปิดปากชาวมลายูมุสลิม
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-01-08 01:30</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>32 องค์กรสิทธิฯ ออกจดหมายเปิดผนึกถึงเลขาธิการองค์การสหประชาติและประเทศสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เรื่อง ขอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิในการรวมกลุ่มทำกิจกรรมของนักกิจกรรมชาวมลายูมุสลิมประเทศไทย รวมทั้งการฟ้องปิดปาก</p>
<p>8 ม.ค.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 6 ม.ค.ที่ผ่านมา เฟซบุ๊กแฟนเพจ 'Cross Cultural Foundation (CrCF)' ของมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ซึ่งเป็นองค์กรที่ติดตามปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน เผยแพร่ จดหมายเปิดผนึกถึงเลขาธิการองค์การสหประชาติและประเทศสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เรื่อง ขอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิในการรวมกลุ่มทำกิจกรรมของนักกิจกรรมชาวมลายูมุสลิมประเทศไทย</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="725" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2FCrCF.Thailand%2Fposts%2Fpfbid024x5Yqq214kSE675FrQ1zopD1YYTfumS2HQggqm8LanzX3tPEtbFvt1GtCPrNooc5l&amp;show_text=true&amp;width=500" style="border:none;overflow:hidden" width="500"></iframe></p>
<p>จดหมายดังกล่าวมีองค์กรร่วมลงชื่อ 32 องค์กร โดยเรียกร้องเร่งด่วนให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องยุติการฟ้องการดำเนินคดีในลักษณะปิดปาก (SLAPP) ในการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและการรวมกลุ่ม ซึ่งเป็นสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) และมาตรา 27 ว่าด้วย ประเด็นวัฒนธรรม ศาสนาและภาษา ของชนกลุ่มน้อยในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR)</p>
<p>รวมทั้งขอให้เลขาธิการองค์การสหประชาชาติและประเทศสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ ทวงถามความมุ่งมั่นทางการเมืองของรัฐบาลไทย ที่ให้คำมั่นในการลงสมัครรับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนในปีนี้ว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐลักษณะนี้เป็นละเมิดสิทธิมนุษยชนและเป็นการปิดกั้นการรวมกลุ่มของประชาชนหรือไม่</p>
<p>รายละเอียดจดหมาย : </p>
<div class="note-box">
<h2><span style="color:#2980b9;">จดหมายเปิดผนึกถึงเลขาธิการองค์การสหประชาติและประเทศสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ</span></h2>
<h2><span style="color:#2980b9;">เรื่อง ขอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิในการรวมกลุ่มทำกิจกรรมของนักกิจกรรมชาวมลายูมุสลิมประเทศไทย</span></h2>
<h2><span style="color:#2980b9;">เรียน เลขาธิการองค์การสหประชาติ</span></h2>
<p>สำเนาถึง ประเทศสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ 47ประเทศ</p>
<p>พวกเราเป็นเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสี่อำเภอจังหวัดสงขลา ขอเรียกร้องให้หน่วยงานของท่านตรวจสอบการละเมิดสิทธิในการรวมกลุ่มทำกิจกรรมของนักกิจกรรมชาวมลายูมุสลิมประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2567 มีนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรมด้านวัฒนธรรม สื่อมวลชน จำนวน 9 คน ได้รับหมายเรียกเพื่อให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาเกี่ยวกับคดีความมั่นคงอย่างน้อยสองข้อหา ข้อหายุยงปลุกปั่นมีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และข้อหาอั้งยี่ซ่องโจรมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้กิจกรรมที่เจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งข้อหาเกี่ยวกันการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมทางวัฒนธรรมแต่งกายชุดมลายูทุกปีตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมาติดต่อกันสี่ปี นักกิจกรรมทั้ง 9 คนมีกำหนดไปรับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกของพนักงานสอบสวนในวันที่ 9 ม.ค. 2567 ที่ สภ.สายบุรี จ.ปัตตานี</p>
<p>ในวาระที่รัฐบาลไทยประกาศเมื่อเดือนกันยายน 2566 ว่าประเทศไทยจะลงสมัครเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิ มนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (HRC) วาระปี ค.ศ.2025-2027 รัฐบาลได้แสดงความมุ่งมั่นในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและค่านิยมประชาธิปไตย ทั้งยังพร้อมให้การสนับสนุนการทำงานขององค์การสหประชาชาติ การดำเนินคดีอาญาข้อหาความมั่นคงปิดกั้นการรวมกลุ่ม (freedom of assembly) ต่อนักกิจกรรมในพื้นที่ความขัดแย้งในลักษณะกลั่นแกล้งให้ตกเป็นจำเลยในคดีอาญาน การดำเนินการของรัฐบาลไทยขัดแย้งกับแนวทางการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาติและบทบาทหน้าที่ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนอย่างสิ้นเชิง ขอให้ประเทศสมาชิกในคณะมนตรีความมั่นคงตรวจสอบว่าการดำเนินคดีอาญานักกิจกรรมชาวมลายูมุสลิมประเทศไทยเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่</p>
<p>อีกทั้งตั้งแต่ปีพ.ศ. 2560 มีนักกิจกรรมจำนวนไม่น้อยกว่า 40 คน ถูกออกหมายเรียกบางคนรับทราบข้อกล่าวหาคดีอาญาแล้ว บางคดีสิ้นสุดการพิจารณา และในบางคดีมีการตั้งข้อหาหนักถึงขั้นยุยงปลุกปั่นและข้อหาอาญาด้านความมั่นคงอั้งยี่ซ่องโจร การดำเนินคดีอาญาต่อนักกิจกรรมในพื้นที่ตลอดมาสร้างให้เกิดความหวาดกลัว ปิดกั้นการแสดงออกทางความคิดเห็น ปิดโอกาสในการมีส่วนร่วมกับการพัฒนาและการสร้างสันติภาพ รวมทั้งเป็นการสร้างภาระให้กับนักกิจกรรมท้องถิ่นในฐานะผู้ต้องหา จำเลยในคดีอาญา มีภาระในการหาเงินประกันตัวที่มีจำนวนสูง และการช่วยเหลือทางกฎหมายที่ขาดแคลน ในบางคดีผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของฝ่ายทหารเช่น กรณีแม่ทัพภาคที่สี่ ที่แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนและส่งผลให้คดีเหล่านี้เป็นคดีที่สร้างความขัดแย้งทางการเมืองให้ซับซ้อนมากขึ้นไปอีก เป็นต้น</p>
<p>ตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม 2566 พื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ตกเป็นพื้นที่อุทกภัยใหญ่ ขณะนี้อยู่ในระยะเวลาการฟื้นฟูจากภัยพิบัติ ผู้ได้รับผลกระทบมีทั้งผู้สูงอายุ เด็กและสตรี กลุ่มเยาวชนและนักกิจกรรมเหล่านี้มีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือประชาชนเต็มศักยภาพในภาวะภัยพิบัติ การที่ฝ่ายความมั่นคงทั้งทหารตำรวจอัยการศาลดำเนินคดีให้นักกิจกรรมเหล่านี้มีภาระทางคดี ทั้งที่พวกเราเป็นนักกิจกรรมที่ทำงานเป็นสะพานเชื่อมระหว่างชาวบ้านกับนโยบาย หน่วยงานและเจ้าหน้าที่รัฐตลอดมา พวกเราเชื่อว่าหน่วยงานความมั่นคงไม่เหตุผลทางกฎหมายของการดำเนินคดีอาญาลักษณะนี้และคดีเหล่านี้ก็ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ รวมทั้งขัดขวางกระบวนการสันติภาพที่กำลังดำเนินทั้งที่เป็นนโยบายของรัฐบาลและเป็นแนวทางของสภาผู้แทนราษฎร</p>
<p>รายชื่อนักกิจกรรมที่ต้องไปรายงานตัววันที่ 9 มกราคม 2567 ที่สภ.สายบุรี ปัตตานี</p>
<p>1. “บง อาลาดี” หรือ มูฮัมหมัดอาลาดี (สงวนนามสกุล) เป็นนักกิจกรรมภาคประชาสังคม พิธีกรรายการวิเคราะห์การเมือง</p>
<p>2. “Budu Little” หรือ ซูกิปลี หรือ ลีบูดู (สงวนนามสกุล) เป็นนักกิจกรรมภาคประชาสังคม ศิลปินขับร้องบทเพลงมลายู</p>
<p>3. สอบูรี (สงวนนามสกุล) เป็นนักกิจกรรมภาคประชาสังคม พิธีกรงานการกุศล</p>
<p>4. มะยุ (สงวนนามสกุล) เป็นผู้อำนวยการสมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพและเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้สภาผู้แทนราษฎร(กมธ.ศึกษากระบวนการสันติภาพ) ทำงานช่วยเหลือสังคมโดยเฉพาะเด็กกำพร้าเด็กด้อยโอกาสในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ / ปาตานี</p>
<p>5. อุสตาส ฮาซัน นักบรรยายประวัติศาสตร์ชื่อดัง</p>
<p>6. มาหมูด (สงวนนามสกุล) เป็นนักกิจกรรมและทำงานช่วยเหลือสังคม</p>
<p>7. ซอลาฮูดิน (สงวนนามสกุล) เป็นนักกิจกรรมและทำงานช่วยเหลือสังคม</p>
<p>8. ซับรี (สงวนนามสกุล) เป็นนักกิจกรรมและทำงานช่วยเหลือสังคม</p>
<p>9. อานัส (สงวนนามสกุล) เป็นนักกิจกรรมและทำงานช่วยเหลือสังคม</p>
<p>นอกจากนี้ ยังมีการออกหมายเรียกผู้ต้องหา นักกิจกรรม องค์กรภาคประชาสังคม “กลุ่มพ่อบ้านใจกล้า” เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.ที่ผ่านมาโดยในหมายเรียกดังกล่าวระบุให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 8 ม.ค. 2567 ที่ศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษชายแดนภาคใต้ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ อ.เมือง จ.ปัตตานีและอีกหลาย ๆ กรณีดังเอกสารแนบท้าย</p>
<p><strong>ข้อเรียกร้องเร่งด่วน</strong></p>
<p>1. ทางเครือข่ายฯ ขอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องยุติการฟ้องการดำเนินคดีในลักษณะปิดปาก (SLAPP) ในการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและการรวมกลุ่ม ซึ่งเป็นสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) และมาตรา 27 ว่าด้วย ประเด็นวัฒนธรรม ศาสนาและภาษา ของชนกลุ่มน้อยในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR)</p>
<p>2. ขอให้เลขาธิการองค์การสหประชาชาติและประเทศสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ ทวงถามความมุ่งมั่นทางการเมืองของรัฐบาลไทย ที่ให้คำมั่นในการลงสมัครรับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนในปีนี้ว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐลักษณะนี้เป็นละเมิดสิทธิมนุษยชนและเป็นการปิดกั้นการรวมกลุ่มของประชาชนหรือไม่</p>
<p><strong>รายชื่อองค์กรร่วมลงนาม</strong></p>
<p>1. สมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ (CIVIL SOCIETY ASSEMBLY FOR PEACE) หรือ CAP</p>
<p>2. สมาคมร่วมสร้างชุมชนศรัทธา กัมปงตักวา</p>
<p>3. มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม-MAC</p>
<p>4. เครือข่ายผู้ช่วยทนายความมุสลิม - SPAN</p>
<p>5. องค์กรเครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี - HAP</p>
<p>6. กลุ่มด้วยใจ</p>
<p>7. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม</p>
<p>8. เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษ- JASAD</p>
<p>9. สมาคมสตรีจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสันติภาพ PERWANI</p>
<p>10. มูลนิธินูซันตาราเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา</p>
<p>11. กลุ่มนักสาธารณสุขเพื่อสังคม</p>
<p>12. เครือข่ายผดุงธรรมเพื่อสันติ</p>
<p>13. สำนักสีลัตฮารีเมาปาตานี เพื่อสุขภาวะชุมชน</p>
<p>14. เครือข่ายสตรีปกป้องสิทธิมนุษยชนปาตานี</p>
<p>15. เครือข่ายเยาวชนพิทักษ์สิทธิเพื่อการพัฒนา</p>
<p>16. สถาบันครูเพื่อการวิจัยระบบการศึกษานูซันตรอ</p>
<p>17. เครือข่ายนักธุรกิจเพื่อสังคม</p>
<p>18. องค์กรจิตอาสาเพื่อส่งเสริมและพัฒนาสังคม</p>
<p>19. เครือข่ายเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิต</p>
<p>20. อัดดีนการแพทย์และสาธารณสุข – AD-DIN</p>
<p>21. เครือข่ายคนหนุ่มสาวเพื่อการเปลี่ยนแปลง YouthNet</p>
<p>22. เครือข่ายเยาวชนลุ่มน้ำสายบุรี</p>
<p>23. เครือข่ายส่งเสริมจริยธรรมอิสลาม</p>
<p>24. Jaringan Guru Sekolah Melayu/Tadika</p>
<p>25. Pencinta Sejarah Patani</p>
<p>26. เครือข่ายปัญญาชนปาตานี - INSOUTH</p>
<p>27. ศูนย์บูรณาการคนหนุ่มสาวเพื่อศักยภาพชุมชน YICE</p>
<p>28. ศูนย์วัฒนธรรมอิสลามเพื่อการพัฒนา – PUKIS</p>
<p>29. ชมรมอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรม PICSEB</p>
<p>30. ศูนย์วัฒนธรรมมลายูปาตานี BUMI</p>
<p>31. กลุ่มบุหงารายาเพื่อการศึกษา</p>
<p>32. The Patani</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เอกสารแนบ รายชื่อนักกิจกรรมและนักศึกษาที่ถูกใช้กฎหมายปิดปากหรือSLAPP</span></h2>
<p>1 ) คดีความ​ที่มีการฟ้องร้องและสิ้นสุด​แล้ว​</p>
<p><strong>ปี 61 :</strong> ผู้ต้องหาคดีชุมนุม​คนอยากเลือกตั้ง​ปี 61</p>
<p>นาย ยามารุดดีน ทรงสิริ​</p>
<p>ความคืบหน้า​คดีความ : โดนปรับความผิดการใช้เครื่องเสียงเกินขนาด 200 บาท</p>
<p><strong>ปี 62 :</strong> ผู้ต้องหาความผิด มาตรา 116,209,215 กรณีชุมนุมครบรอบสองปีรัฐประหารในกรุงเทพฯ​ เมื่อปี 2558 แต่เจ้าหน้าที่​สั่งฟ้องเมื่อปี</p>
<p>นายสุไฮมี ดุละสะ</p>
<p>ความคืบหน้า​คดี : ศาลชั้นต้น นัดตัดสินคดีในวันนี้ (18 ธ.ค. 66) โดยให้เหตุผล​ประกอบ​การตัดสินคดีว่า</p>
<p>1.การจัดกิจกรรม​ชุมนุม​ เป็นการใช้สิทธิ​เสรีภาพ​ตามรัฐธรรมนูญ​</p>
<p>2. ประเด็น​การแบ่งแยกดินแดน ศาลไม่เชื่อว่าหลักฐาน​บ่งชี้ว่าการจัดกิจกรรม​ ปราศรัย​ นำไปสู่ประเด็น​การแบ่งแยก​ดินแดน​</p>
<p><strong>ปี 63 :</strong> ผู้ต้องหาฝ่าฝืน​ พรก.ฉุกเฉิน​ ฯ ปี 63</p>
<p>นาย ยามารุดดีน ทรงสิริ​</p>
<p>ความคืบหน้า​คดีความ : ข้อหา​กีดขวาง​การจราจร​ ปรับ 500 บาท​</p>
<p><strong>ปี 64 :</strong> ผู้ต้องหาคดีคาร์ม็อบ ยะลา #1 (ฝ่าฝืน​ พรก.ฉุกเฉิน​ฯ โรคระบาด​โควิด19 )</p>
<p>นาย อารีฟีน โสะ</p>
<p>นาย ประเสริฐ​ ราชนิยม</p>
<p>นางสาว อามานียะห์ ดอเล๊าะ</p>
<p>นาย อับดุลซาตาร์ บาโล</p>
<p>นาย ฟิตราน การาวัล</p>
<p>นาย นูรฟา การาวัล</p>
<p>ความคืบหน้า​คดีความ : ศาลชั้นต้นความผิดฐานฝ่าฝืน พรก.ฉุกเฉิน</p>
<p>ตัดสินมีความผิดคดีลงโทษ ฐานใช้เครื่องขยายเสียงในที่สาธารณะ ความผิดทางจราจร ปรับคนละ 4,000 บาท​ ศาลอุทธรณ์​ตัดสิน​เช่นเดียวกับ​ศาลชั้นต้น และกำลังส่งเรื่องยื่นศาลฎีกา​</p>
<p><strong>ปี 64 :</strong> ผู้ต้องหาคดีคาร์ม็อบ ยะลา #2 (ฝ่าฝืน​ พรก.ฉุกเฉิน​ฯ โรคระบาด​โควิด19 )​</p>
<p>นาย สารีฟุดดีน สาเมาะ</p>
<p>นาย อับดุลสาตาร์ บาโล</p>
<p>นาย ฟิตรี มามะเเตฮะ</p>
<p>นาย มะสอดี ดือรากี</p>
<p>นาย อารอฟัต อาบู</p>
<p>ความคืบหน้า​คดีความ : คำตัดสินศาลชั้นต้น</p>
<p>ยกฟ้อง ความผิดฐานฝ่าฝืน พรก.ฉุกเฉิน</p>
<p>ตัดสินมีความผิดคดีลงโทษ ฐานใช้เครื่องขยายเสียงในที่สาธารณะ ความผิดทางจราจร ปรับคนละ 4,000 บาท​</p>
<p><strong>ปี 64 :</strong> ผู้ต้องหา​คดีชุมนุมคาร์ม็อบ ปัตตานี 2 คดี จำเลยคนเดียวกัน กรณีฝ่าฝืน​ พรก.ฉุกเฉิน​ฯ โรคระบาด​โควิด19 )</p>
<p>นาย ซูกรีฟฟี ลาเตะ</p>
<p>นาย อารีฟีน โสะ</p>
<p>นาย ​สูฮัยมี ลือแบสา</p>
<p>ความคืบหน้า​คดี : ศาลชั้นต้นตัดสิน​ให้ซูกรีฟฟี มีความผิดในฐานะผู้จัดกิจกรรม​ฝ่าฝืน​ พรก.ฉุกเฉิน​โรคระบาด​โควิด19 สั่งปรับ คดีละ 20,000 บาท จำคุก 4 เดือน รอลงอาญา​ 2 ปี และยกฟ้องจำเลยที่เหลือ</p>
<p>ศาลอุทธรณ์​ยืนยัน​เช่นเดียวกันศาลชั้นต้นและกำลังส่งเรื่องให้ศาลฎีกา​พิจารณา​คดี</p>
<p><strong>ปี 66 :</strong> ผู้ต้องหาคดีขัดขวางการปฏิบัติการเจ้าหน้า 138 กรณีขุดศพ ในยัฮรี ดือเลาะ</p>
<p>นาย อารฟาน วัฒนะ</p>
<p>ความคืบหน้า​คดี : สำนวน​คดีอยู่ในชั้นอัยการพิจารณา​สั่งฟ้อง​</p>
<p><strong>ปี 66 :</strong> ต้องหาต่อสู้​ คดีขีดขวางการปฎิบัติ​งานของเจ้าหน้าที่​ แย่งศพนักรบ กรณีปะทะที่ศรีสาคร</p>
<p>นาย ไฟซู ดาหง</p>
<p>ความคืบหน้า​คดีความ​ : อยู่​ในชั้นอัยการพิจารณา​​​</p>
<p><strong>ปี 66 :</strong> ผู้ต้องหา​ข่มขืนใจเจ้าพนักงานและขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่ กรณีปะทะที่ธารโต​ กรณีไลฟสดติดตามสถานการณ์​ (กลุ่มสื่อ Wartani​)</p>
<p>นาย มูฮัมมัดฮาฟีซี สาและ</p>
<p>นาย มะนาวาวี ยะโกะ</p>
<p>ความคืบหน้า​คดีความ​ : อยู่​ในชั้นอัยการพิจารณา​</p>
<p><strong>ปี 66 :</strong> ผู้ต้องหา​คดีให้ที่พัก​พิง​ผู้ถูกหมายเรียกคดีความมั่นคง</p>
<p>นาย ฮาซัน ยามาดีบุ</p>
<p>ความคืบหน้า​คดีความ​ : อยู่​ในชั้นอัยการ​พิจารณา​​</p>
<p><strong>ปี 66 :</strong> ผู้ต้องหาคดีขัดขวางการปฏิบัติ​การของเจ้าหน้าที่ กรณี ติดตามทำสื่อ ประชาชนแย่งศพนักรบ ที่โรงพยาบาลปัตตานี</p>
<p>นาย อัสมาดี บือเฮง</p>
<p>ความคืบหน้า​คดี : เจ้าหน้าที่​ตำรวจออกหมายเรียกผู้ต้องหา</p>
<p><strong>ปี 66 :</strong> ผู้ต้องหาคดีผิดอาญา 116 กรณีเวทีวิชาการ​และกิจกรรม​ประชามติ ( จำลอง ) เอกราช ของ Pelajar​ Bangsa​</p>
<p>นาย อิรฟาน อูมา</p>
<p>นาย อาเต็ฟ โซะโก</p>
<p>นาย ฮูเซ็น บือแน</p>
<p>นาย สารีฟ​ สะแลมัน</p>
<p>นาย ฮากิม พงตีกอ</p>
<p>ความคืบหน้า​คดีความ : เจ้าหน้าที่​ตำรวจ​ส่งสำนวนคดีให้อัยการ</p>
<p><strong>ปี 66 :</strong> กิจกรรม​ชุมนุม​ชุดรายอเมื่อปี 65 ผู้​ที่ถูก​ออกหมายเรียก</p>
<p>- นาย มูฮัมหมัด​อาลาดี เด็งนิ​</p>
<p>- ซูกิฟฟลี Budu Littel​</p>
<p>- นาย สอบูรี</p>
<p>- นาย อัยยุบ เจะนะ</p>
<p>- นาย ฮาซัน ยามาดีบุ</p>
<p>- นาย มาหมูด</p>
<p>- นาย ซอลาฮูดดิน</p>
<p>- นาย ซับรี ตาลี</p>
<p>- นาย อนัส ดือเระ</p>
<p>ความคืบหน้า​คดีความ​ : ตำรวจออกหมายเรียกผู้ต้องหา​แล้ว เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2566​</p>
<p>ผู้ที่คาดว่าจะถูกหมายเรียก​</p>
<p>นาย อานัส พงประเสริฐ​</p>
<p>นาย ชารีฟ สะอิ</p>
<p>และคาดว่ามีรายชื่ออื่น ที่ขึ้นปราศรัย​ในวันจัดกิจกรรม​อีกประมาณ​ 11 คน</p>
<p><strong>ปี 66 :</strong> หมายเรียกผู้ต้องหาในข้อหานำข้อมูล​ที่เป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์​ กรณีเปดเพจช่วยเหลือ​ด้านมนุษยธรรม​ ชื่อเพจพ่อบ้านใจกล้า</p>
<p>นาย ซาฮารี เจ๊ะหลง</p>
<p>ความคืบหน้า​คดีความ : ตำรวจออกหมายเรียกผู้ต้องหา​แล้ว เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2566</p>
<p>หมายเรียกพยานในข้อหานำข้อมูล​ที่เป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์​ กรณีเปดเพจช่วยเหลือ​ด้านมนุษยธรรม​ ชื่อเพจพ่อบ้านใจกล้า​</p>
<p>นาย มูฮัมหมัด​อาลาดี เด็งนิ</p>
<p>นาย บัล​ยาน​ แวมะนอ</p>
<p>นาย มะยุ เจะนะ</p>
<p>นาย อับดุลเลาะ​ อาแว</p>
<p>นาย ชารีฟ สะอิ</p>
<p>นาย มูฮัมหมัด​กัสดาฟี กูนะ</p>
<p>นาย มูฮัมหมัด​ สาซู</p>
<p>นาย อัสมาดี บือเฮง</p>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ความมั่นคง[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ชาวมลายูมุสลิม[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/un" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">UN[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">องค์การสหประชาติ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิในการรวมกลุ่ม[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/slapp" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">SLAPP[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%81" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ฟ้องปิดปาก[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ชายแดนใต้[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ปาตานี[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/01/107551