หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ครม.รับทราบข้อเสนอของ กสม.ถอนข้อสงวนเรื่องผู้ลี้ภัยเด็กในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธ เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 09 มกราคม 2567 17:42:58 ครม.รับทราบข้อเสนอของ กสม.ถอนข้อสงวนเรื่องผู้ลี้ภัยเด็กในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2024-01-09 17:11</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพผู้ลี้ภัยจากรัฐกะเหรี่ยง ที่มาภาพ Metta Charity</p> </div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ครม.รับทราบข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีการถอนข้อสงวนข้อ 22 ว่าด้วยสถานะของผู้ลี้ภัยเด็กในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เพื่อยืนยันความมุ่งมั่นว่าไทยจะคุ้มครองสิทธิของผู้ลี้ภัยเด็กโดยไม่เลือกปฏิบัติและคำนึงถึงประโยชน์ของเด็กตามอนุสัญญา</p> <p>9 ม.ค. 2567 เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล (https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/77174)รายงานถึงมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ว่า ครม.มีมติรับทราบข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเรื่องถอนข้อสงวนข้อที่ 22 ว่าด้วยสถานะของเด็กผู้ลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่พักพิง ในอนุสัญญาว่าสิทธิเด็ก ที่ไทยเคยตั้งเป็นข้อสงวนไว้เพื่อยกเว้นการดำเนินการตามบทบัญญัติในอนุสัญญาดังกล่าวในตอนที่เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กเมื่อปี พ.ศ. 2535</p> <p>รายงานระบุว่า คารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม. มีมติรับทราบข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีการถอนข้อสงวนข้อ 22 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เสนอ โดยมอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นหน่วยงานหลักในการพิจารณาร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์สรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการในภาพรวม ส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักกเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป</p> <p>คารม กล่าวว่า กสม. ได้ติดตามความก้าวหน้าเกี่ยวกับการถอนข้อสงวนข้อ 22 เกี่ยวกับเรื่องสถานะของเด็ก ผู้ลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่พักพิงของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กเพื่อส่งเสริมการดำเนินการของประเทศไทยให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน โดยประเทศไทยได้เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กโดยการภาคยานุวัติเมื่อปี พ.ศ.2535 และได้ตั้งข้อสงวนไว้ 3 ข้อ เพื่อยกเว้นการดำเนินการตามบทบัญญัติของอนุสัญญาในข้อนั้น ได้แก่ 1) ข้อ 7 ว่าด้วยสถานะบุคคล 2) ข้อ 22 ว่าด้วยสถานะของเด็กผู้ลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่พักพิง และ 3) ข้อ 29 ว่าด้วยการจัดการศึกษา ต่อมาประเทศไทยได้ถอนข้อสงวนข้อ 29 เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2540 และข้อ 7 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2553 ปัจจุบันคงเหลือเพียงข้อสงวนข้อ 22 และถือเป็นรัฐภาคีประเทศสุดท้ายที่ยังคงข้อสงวนข้อนี้</p> <p>“การที่ประเทศไทยยังคงข้อสงวนข้อ 22 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กไว้ จะทำให้ถูกมองว่าประเทศไทยไม่มีนโยบายดูแลเด็กผู้ลี้ภัยหรือเด็กที่อยู่ในสถานการณ์เฉกเช่นเดียวกับผู้ลี้ภัยที่อยู่ในเขตอำนาจของไทย ทำให้เด็กกลุ่มดังกล่าวไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานเช่นเด็กกลุ่มอื่นในประเทศ อันไม่สอดคล้องกับหลักการไม่เลือกปฏิบัติ ประเทศไทยควรถอนข้อสงวนข้อ 22 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กโดยเร็ว เพื่อสะท้อนเจตนารมณ์และยืนยันความมุ่งมั่นของประเทศไทยที่จะคุ้มครองเด็กผู้ลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่พักพิงตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนที่มีอยู่ โดยเฉพาะหลักการไม่เลือกปฏิบัติและการคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก รวมถึงหลักการไม่ผลักดันบุคคลกลับไปสู่อันตราย” คารม ย้ำ</p> </div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ผู้ลี้ภัย[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เด็ก[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1-%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ประชุม ครม.[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คารม พลพรกลาง[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div> https://prachatai.com/journal/2024/01/107568 |