หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เลือกตั้งไต้หวัน: สรุปจุดยืน 3 ตัวเก็งประธานาธิบดี เรื่องเอกราชและความสัมพันธ์ เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 11 มกราคม 2567 19:01:23 เลือกตั้งไต้หวัน: สรุปจุดยืน 3 ตัวเก็งประธานาธิบดี เรื่องเอกราชและความสัมพันธ์กับจีน-สหรัฐฯ
<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2024-01-11 16:08</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>วันเสาร์ที่จะถึงนี้ (13 ม.ค.) จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีใหม่ในไต้หวัน หนึ่งในประเด็นที่น่าจับตามองคือความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไต้หวัน ซึ่งผู้สมัครจากทั้ง 3 พรรคต่างก็เคยแสดงจุดยืนของตัวเองไว้ในการดีเบตทางการเมือง ว่าพวกเขามีมุมมองต่อเรื่องเอกราชของไต้หวันและความสัมพันธ์กับจีน-สหรัฐฯ อย่างไรบ้าง</p> <p>การเลือกตั้งประธานาธิบดีไต้หวันในวันเสาร์ที่จะถึงนี้ (13 ม.ค.) จะเป็นตัวปรับโฉมประเทศ ไม่ว่าจะในเรื่องความสัมพันธ์กับจีนและกับสหรัฐฯ รวมถึงประเด็นภายในประเทศที่กระทบต่อชีวิตของผู้คนบนเกาะไต้หวัน 23 ล้านคนด้วย</p> <p>จากโพลสำรวจความคิดเห็นในช่วงต้นปี 2567 ระบุว่า ผู้สมัคร วิลเลียม ไล ชิง-เต๋อ (William Lai Ching-te) รองหัวหน้าพรรครัฐบาลปัจจุบันคือพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (DPP) ยังคงมีคะแนนนิยมนำคนอื่นๆ ตามมาด้วย โหว โหย่วอี๋ (Hou Yu-ih) จากพรรคฝ่ายค้านพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) ลำดับถัดมาคือ เคอ เหวินเจ๋อ (Ko Wen-je) จากพรรคประชาชนไต้หวัน (TPP)</p> <p>ใครก็ตามที่ชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้จะได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสืบทอดจาก ไช่อิงเหวิน ประธานาธิบดีคนปัจจุบันจากพรรค DPP ผู้ที่ได้เป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของไต้หวันในปี 2559 และชนะการเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2563 แต่ในรัฐธรรมนูญไต้หวันระบุห้ามไม่ให้ประธานาธิบดีคนเดิมดำรงตำแหน่งต่ออีกเป็นสมัยที่ 3</p> <p>ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจะต้องตัดสินใจเลือกผู้แทน 113 ที่นั่งเข้าสู่สภา ผลโพลล่าสุดแสดงให้เห็นว่าจะไม่มีพรรคการเมืองพรรคใดที่ชนะคะแนนเสียงข้างมากในสภานี้ ซึ่งในสมัยปัจจุบันพรรคที่ได้ที่นั่งเสียงข้างมากคือ DPP</p> <p>ถ้าหาก Lai ชนะในวันที่ 13 ม.ค. ที่จะถึงนี้ มันจะนับเป็นประวัติศาสตร์ครั้งแรกที่พรรค DPP หรือที่เรียกว่า "เต็นท์เขียว" สามารถครองตำแหน่งผู้นำได้เป็นสมัยที่สามติดต่อกันนับตั้งแต่ที่มีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยในปี 2539 เป็นต้นมา จากที่ก่อนหน้านี้ตำแหน่งประธานาธิบดีในไต้หวันมีการผลัดเปลี่ยนกันไปมาระหว่างพรรค KMT ที่เรียกว่า "เต็นท์น้ำเงิน" กับพรรค DPP</p> <p>ในการจัดโต้วาทีทางโทรทัศน์ของผู้สมัครทั้ง 3 พรรคเมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2566 มีการเชือดเฉือนกันในประเด็นความสัมพันธ์กับจีน สำหรับทางการจีนนั้นพวกเขาไม่ได้มองว่าไต้หวันเป็นประเทศ แต่มองว่าเป็นมณฑลที่แยกตัวออกมาจากจีนและควรจะต้องถูกผนวกกลับไปเป็นส่วนหนึ่งของจีนและถ้าจำเป็นก็อาจจะมีการใช้กำลัง</p> <p>ทั้ง Hou และ Ko ต่างก็ท้าทาย Lai ในเรื่องนโยบายของ DPP ต่อจีน ซึ่งพวกเขาบอกว่าเป็นการทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคาบสมุทรไต้หวันแย่ลงและเป็นภัยต่อสันติภาพ โดยที่ Lai ได้โต้กลับข้อกล่าวหานี้และบอกว่าวิธีการแบบพรรคคู่แข่งจะทำให้ไต้หวันล้มเหลวในการปกป้องประชาธิปไตย</p> <p><span style="color:#d35400;"><strong>วิลเลียม ไล ชิง-เต๋อ จากพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า<strong> </strong>(DPP)</strong></span></p> <p>Lai เป็นผู้สมัครตัวเต็งในคราวนี้ ในปัจจุบันเขายังคงดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดีภายใต้รัฐบาลไช่อิงเหวิน ย้อนไปเมื่อ 4 ปีที่แล้ว เขาเคยท้าชิงตำแหน่งผู้แทนพรรค DPP กับไช่อิงเหวินในการลงเลือกตั้งประธานาธิบดีแต่ก็ไม่ชนะ ทำให้เขากลายมาเป็นคู่หูของไช่ในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในรอบถัดมา ซึ่งไช่และ Lai สามารถเอาชนะคู่แข่งคือ Han Kuo-yu ที่เป็นสายสนับสนุนจีนได้ในที่สุดด้วยคะแนนโหวตที่มากเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 8.17 ล้านเสียงนับเป็นร้อยละ 57.1</p> <p>ในการเลือกตั้งครั้งนี้ Lai ได้แต่งตั้ง Hsiao Bi-khim ให้เป็นคู่หูลงเลือกตั้งร่วมกับเขา โดยที่ Hsiao Bi-khim เคยเป็นเอกอัครราชทูตไต้หวันประจำสหรัฐฯ ในทางพฤตินัย มาจนถึงเมื่อเดือน พ.ย. 2566</p> <p>ในการโต้วาทีเมื่อช่วงปลายปี 2566 ที่ผ่านมา Lai กล่าวย้ำว่าเขาจะดำเนินตามแนวทางของไช่ในเรื่องความสัมพันธ์กับจีนโดยจะยังคงสภาพที่เป็นอยู่ ทำการปกป้องไต้หวันและรักษาสันติภาพในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก</p> <p>"โลกกำลังจับตามองทางเลือกของชาวไต้หวันระหว่างประชาธิปไตยกับเผด็จการ ประชาคมโลกรู้ดีว่ามีแค่ Lai Ching-te และ Hsiao Bi-khim เท่าน้ันที่จะสามารถยืนเคียงบ่าเคียงไหล่และเดินไปพร้อมกับมวลมิตรประเทศประชาธิปไตยได้" Lai กล่าว</p> <p>Lai เป็นผู้ที่เริ่มต้นอาชีพการเมืองของตัวเองจากการเป็น ส.ส. และต่อมาก็ได้เป็นนายกเทศมนตรีของเมืองไถหนานทางตอนใต้ของประเทศ ในตอนที่ Lai ทำงานให้กับไช่อิงเหวินโดยรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 2560-2562 เขาได้นิยามตัวเองว่าเป็น "คนทำงานแบบเน้นการปฏิบัติได้จริงเพื่อนำมาซึ่งเอกราชของไต้หวัน" Lai บอกอีกว่า "ไต้หวันเป็นประเทศที่มีเอกราชเป็นของตัวเองอยู่แล้วในชื่อว่าสาธารณรัฐจีน... ดังนั้นแล้วจึงไม่จำเป็นต้องประกาศเอกราชให้กับไต้หวันไปมากกว่านี้"</p> <p>จุดยืนของ Lai เรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากทั้งจีนและพรรคฝ่ายค้าน ในเดือน พ.ย. 2566 ทางการจีนเรียก Lai และ Hsiao ว่าเป็น "คู่หูหนุนเอกราช" และอ้างว่าสองคนนี้อาจจะเป็นภัยต่อสันติภาพระหว่างประเทศจีนกับไต้หวัน ในการดีเบตที่มีขึ้น Hou และ Ko ต่างก็มุ่งเป้าโจมตีจุดยืนของ Lai ในประเด็นจีน-ไต้หวันเช่นกัน</p> <p>Lai โต้ตอบ Ko โดยกล่าวว่า "อธิปไตยของไต้หวันนั้นเป็นของประชาชนชาวไต้หวัน 23 ล้านคน ไม่ใช่ของจีน ... สาธารณรัฐจีนและสาธารณรัฐประชาชนจีนไม่ได้เป็นบริวารของกันและกัน นั่นคือความหมายของเอกราชของไต้หวัน"</p> <p>นอกจากนี้แล้วนโยบายการเมืองของ Lai ยังมีเรื่องเกี่ยวกับแผนการให้เงินอุดหนุนด้านที่อยู่อาศัยมากขึ้น รวมถึงเรื่องการขึ้นค่าแรงและการลดภาษีด้วย</p> <p><span style="color:#d35400;"><strong>โหว โหย่วอี๋ จากพรรคฝ่ายค้านก๊กมินตั๋ง (KMT)</strong></span></p> <p>Hou เป็นผู้สมัครลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรคฝ่ายค้านพรรคใหญ่อย่างก๊กมินตั๋ง (KMT) เขาเคยเป็นนายกเทศมนตรีของนิวไทเปทางตอนเหนือของประเทศ และยังเคยดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีสำนักงานตำรวจแห่งชาติไต้หวันด้วย Hou ได้รับความสนใจตอนที่เขาได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีอีกครั้งในเมืองที่อยู่รอบเมืองหลวงเมื่อปี 2565 โดยเอาชนะพรรค DPP ได้อย่างท่วมท้น ในปีนั้นการที่พรรค KMT ทำให้พรรค DPP ปราชัยในการเลือกตั้งท้องถิ่นได้ ถึงกับส่งผลให้ไช่ลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรค</p> <p>ในผลโพลล่าสุดคะแนนนิยมของ Hou ก็ตามหลัง Lai มาติดๆ Hou ได้แต่งตั้งให้ Jaw Shaw-kong อดีต ส.ส. KMT และบุคคลในวงการสื่อเป็นคู่หูลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีร่วมกับเขา</p> <p>Hou เข้าร่วมพรรค KMT มาตั้งแต่สมัยที่ประเทศไต้หวันยังอยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการของเจียงไคเช็กเมื่อราว 50 ปีที่แล้ว Hou แสดงออกว่าเขาต่อต้านเอกราชของไต้หวันและต่อต้านแนวทาง "หนึ่งประเทศ สองระบบ" ซึ่งเป็นแนวทางที่จีนนำมาใช้กับฮ่องกงและมาเก๊า รวมถึงเป็นข้อเสนอที่จีนยื่นให้กับไต้หวันถ้าหากจีนสามารถรวมไต้หวันเป็นชาติเดียวกันได้ </p> <p>"ไม่เอาไต้หวันเป็นประเทศเอกราช ไม่เอาหนึ่งระเทศ สองระบบ ... ปกป้องอิสรภาพและระบอบประชาธิปไตยอย่างมั่นคง อนาคตของไต้หวันนั้นกำหนดโดยประชาชนในไต้หวัน 23 ล้านคน" Hou กล่าวในการโต้วาทีผู้สมัครเมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2566</p> <p>แต่คู่แข่งของ Hou ก็ท้าทายเขาในเรื่องที่เขาและพรรค KMT มีจุดยืนที่ยังคงมีความสัมพันธ์ที่ดีกับจีนถึงแม้ว่าจีนจะทำตัวระรานมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ตาม Hou กล่าวปัดคำวิจารณ์โดยเน้นย้ำว่าเขาแค่พยายามจะทำให้จีนกับไต้หวันหันกลับมาเจรจากันเท่านั้น หลังจากที่จีนเลิกเจรจากับไต้หวันนับตั้งแต่ที่ไต้หวันมีรัฐบาลไช่อิงเหวิน</p> <p>Hou ชี้ว่าเขาสนับสนุน "ฉันทามติ 2535" ซึ่งเป็นข้อตกลงเชิงนัยยะระหว่างจีนกับพรรคก๊กมินตั๋งว่าทั้งไต้หวันและจีนแผ่นดินใหญ่ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน แต่ทว่าข้อตกลงดังกล่าวนี้แต่ละคนสามารถตีความไปได้ในแนวทางของตัวเอง</p> <p>ไช่อิงเหวินปฏิเสธแนวคิดฉันทามติ 2535 เธอกล่าวไว้เมื่อปี 2562 ว่า "พวกเราไม่เคยยอมรับฉันทามติ 2535" ซึ่งเป็นการพูดโต้ตอบคำปราศรัยของผู้นำจีนสีจิ้นผิง</p> <p>Hou ยืนยันว่าการสื่อสารกันระหว่างสองระเทศในเรื่องฉันทามติ 2535 นั้นเป็นไปเพื่อลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดสงครามเท่านั้น แต่ทางไต้หวันเองก็ต้องเพิ่มสมรรถภาพความเข้มแข็งให้กับกองทัพของตัวเองด้วยเพื่อต้านทานการรุกรานของจีนที่เป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น</p> <p>ในแง่นโยบายภายในประเทศแล้ว Hou เสนอให้มีการเพิ่มเงินอุดหนุนจากภาครัฐสำหรับเยาวชนในด้านอุดมศึกษาและที่อยู่อาศัย</p> <p><span style="color:#d35400;"><strong>เคอ เหวินเจ๋อ จากพรรคประชาชนไต้หวัน (TPP)</strong></span></p> <p>Ko ในอดีตเคยดำรงตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีไทเป เขาก่อตั้งพรรคประชาชนไต้หวัน (TPP) เมื่อปี 2562 และจัดภาพลักษณ์ของตัวเองให้เป็น "พลังที่สาม" โดยดึงดูดผู้ลงคะแนนเสียงที่ไม่ชอบทั้ง DPP และ KMT เขาลงชิงชัยพร้อมคู่หูคือ Cynthis Wu Hsin-ying ส.ส. พรรค TPP ผู้เป็นลูกสาวของมหาเศรษฐีไต้หวัน</p> <p>ก่อนหน้าที่ Ko จะมาเป็นนายกเทศมนตรีเขาเคยทำงานเป็นศัลยแพทย์มาก่อนเป็นเวลาประมาณ 30 ปี จากนั้นถึงดำรงตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีไทเประหว่างปี 2557-2565 ถึงแม้ว่า Ko จะเคยสนับสนุนการรณรงค์หาเสียงประธานาธิบดีพรรค DPP มาก่อน รวมถึงในสมัยของไช่อิงเหวินด้วย แต่เขาก็แยกตัวออกจากพรรครัฐบาลในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยกล่่าวหาว่าพรรคเพิ่มความตึงเครียดให้กับความสัมพันธ์จีน-ไต้หวันและไม่สามารถแก้ไขปัญหาพื้นๆ ทั่วไปในประเทศได้</p> <p>Ko กล่าวในช่วงโต้วาทีว่า การที่พรรค DPP กับ KMT มีอำนาจครอบงำในการเมืองไต้หวันในระยะยาวจะสั่งสมปัญหาจนเกิด "ความแตกแยกทางเชื้อชาติ ชุมชน และประเทศชาติ" Ko สัญญาว่าจะนำมาซึ่ง "ความสามัคคีในสังคม, ความปรองดองทางการเมือง และสันติภาพระหว่างคาบสมุทรไต้หวัน (หมายถึงระหว่างจีนกับไต้หวัน)"</p> <p>อย่างไรก็ตาม Ko ก็เผชิญกับการโจมตี ซึ่งโดยหลักๆ แล้วผู้ที่โจมตีคือ Lai ในเรื่องที่ Ko อ้างว่า "ทั้งสองฟากฝั่งคาบสมุทรไต้หวันเป็นครอบครัวเดียวกัน" ซึ่ง Ko กล่าวปกป้องตัวเองว่าที่เขาพูดเช่นนั้นเป็นแค่ "การแสดงออกอย่างเป็นมิตร" เท่านั้น และบอกอีกว่าการปฏิสัมพันธ์กับจีนจะต้องตั้งอยู่บนฐานที่ว่า "ระบอบประชาธิปไตยและวิถีชีวิตของไต้หวันจะได้รับการคุ้มครอง"</p> <p>Ko บอกอีกว่าไม่มีทางเลือกอื่นให้กับไต้หวันนอกจากการ "คงไว้ซึ่งสภาพเดิม" ไต้หวันจะต้องแสวงหาจุดยืนของตัวเองและจะต้องไปตกเป็นเบี้ยของการช่วงชิงกันระหว่างสหรัฐฯ กับจีน</p> <p>ในเดือน พ.ย. 2566 ที่ผ่านมา ผู้สมัครฝ่ายค้านพยายามจะร่วมกันจัดตั้งพันธมิตรขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสในการเอาชนะ Lai แต่การเจรจาหารือก็ล่มไปกลางไลฟ์สดช่องโทรทัศน์เนื่องจาก Hou และ Ko ไม่สามารถตกลงกันได้ว่าใครควรจะเป็นผู้นำ</p> <p>ในการหาเสียงนั้น Ko เน้นพูดถึงนโยบายเรื่องสวัสดิการสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาราคาที่อยู่อาศัยสูง ค่าแรงต่ำ และการดูแลผู้สูงอายุจากภาวะประชากรสูงวัย ถึงแม้ว่า Ko จะตามหลังในผลโพลคะแนนนิยม แต่ Ko ก็ประสบความสำเร็จในการดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้เข้าร่วมขบวนหาเสียงของเขาและได้รับการติดตามจำนวนมากในบัญชีโซเชียลมีเดีย</p> <p><span style="color:#d35400;"><strong>ระบบสภาไต้หวัน</strong></span></p> <p>ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในไต้หวันจะต้องลงคะแนนเลือก ส.ส. ที่ดำรงตำแหน่งในสภา 113 ที่นั่ง ตามกฎการเลือกตั้งไต้หวันนั้นระบุว่า ส.ส. 73 รายจะ "มีที่มาจากเขต" ด้วยระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุดโดยแบ่งตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์</p> <p>อีก 34 ที่นั่งที่เหลือจะมาจากการเลือกโดยระบบบัญชีรายชื่อหรือที่เรียกว่า "ปาร์ตีลิสต์" ในบัตรเลือกตั้งที่ 2 ซึ่งจะเป็นการกำหนดว่าแต่ละพรรคจะได้ที่นั่งที่เหลือมากน้อยแค่ไหนตามระบบผู้แทนสัดส่วนที่มาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ ในกฎหมายเลือกตั้งของไต้หวันยังระบุอีกว่าทุกพรรคจะต้องมี ส.ส. อย่างน้อยครึ่งหนึ่งเป็นผู้หญิงในการเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อ</p> <p>ที่เหลืออีก 6 ที่นั่งจะมาจากการเลือกโดยกลุ่มชนพื้นเมืองซึ่งคิดเป็นประชากรร้อยละ 2.5 ในไต้หวัน</p> <p>ข้อมูลจากกกต.ไต้หวันระบุว่า มีผู้สมัครรับเลือกตั้งร้อยละ 34.5 เป็นผู้หญิงสำหรับที่นั่งในสภาแบบ "แบ่งเขต" และแบบคัดเลือกโดยชนพื้นเมือง ซึ่งนับว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่ที่มีระบบการเลือกตั้งแบบนี้ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา</p> <p>ผลโพลแสดงให้เห็นว่าจะไม่มีพรรคใดพรรคหนึ่งที่ได้รับเสียงข้างมากในสภา ถ้าเป็นเช่นนี้จริงก็จะส่งผลให้ใครก็ตามที่ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีจะยังคงต้องหาแนวร่วมทางการเมืองเพื่อจัดตั้งรัฐสภาให้ได้</p> <p><span style="color:#d35400;"><strong>เรียบเรียงจาก</strong></span></p> <ul> <li>Taiwan election 2024: The 3 presidential candidates and what they say about relations with China, HKFP, 06-01-2024</li> <li>https://hongkongfp.com/2024/01/06/taiwan-election-2024-the-3-presidential-candidates-and-what-they-say-about-relations-with-china/ (https://hongkongfp.com/2024/01/06/taiwan-election-2024-the-3-presidential-candidates-and-what-they-say-about-relations-with-china/)</li> </ul> <p> </p> </div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ต่างประเทศ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเลือกตั้ง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99-2567" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเลือกตั้งไต้หวัน 2567[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ไต้หวัน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ความขัดแย้งคาบสมุทรไต้หวัน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">จีน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%8B%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พรรคก๊กมินตั๋ง[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พรรคประชาชนไต้หวัน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การดีเบต[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div> https://prachatai.com/journal/2024/01/107589 |