หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 'นิรโทษกรรมประชาชน’เรียกร้อง UN หนุนรัฐบาลแก้คดีการเมืองและนิรโทษกรรม เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 22 มกราคม 2567 14:39:04 'นิรโทษกรรมประชาชน’เรียกร้อง UN หนุนรัฐบาลแก้คดีการเมืองและนิรโทษกรรม
<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-01-22 13:29</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพจาก เครือข่ายยนิรโทษกรรมประชาชน</p> </div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชนเข้าพบสหประชาชาติเพื่อขอให้สนับสนุนรัฐบาลไทยแก้ปัญหาประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิจากการถูกดำเนินคดีทางการเมือง โดยต้องปล่อยตัวนักโทษการเมืองรวมถึงออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ก่อนที่รัฐบาลไทยจะเป็นตัวแทนอาเซียนเข้าร่วมเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ</p> <p>22 ม.ค.2567 ที่อาคารสหประชาชาติ ถ.ราชดำเนินนอก เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน เดินทางไปเพื่อยื่นข้อเรียกร้องต่อสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) เพื่อสนับสนุนรัฐบาลไทยแก้ปัญหาการดำเนินคดีทางการเมืองกับประชาชนก่อนที่จะไทยจะเข้าร่วมรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติจากประเทศสมาชิกนานาประเทศ</p> <p>แถลงการณ์ของเครือข่ายระบุถึงสถานการณ์ที่มีประชาชนและนักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตยและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนกว่า 1,400 คน ถูกดำเนินคดีจากการใช้เสรีภาพการแสดงออกของตน และมีมากกว่า 6,000 คนถ้าหากนับตั้งแต่การรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 เป็นต้นมาโดยคนเหล่านี้รวมถึงผู้เข้าร่วมการชุมนุมทางการเมืองในเหตุการณ์ต่างๆ ด้วย</p> <p>ข้อเรียกร้องที่เครือข่ายยื่นถึง OHCHR ครั้งนี้ได้เรียกร้อง OHCHR เรียกร้องต่อไปถึงรัฐบาลเศรษฐาและสนับสนุนให้รัฐบาลต้องรับประกันสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสันติตามข้อ 19 และข้อ 21 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง </p> <p>นอกจากนั้นรัฐบาลไทยจะต้องระงับการดำเนินคดีต่อผู้ที่มีความเห็นต่างทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชน ที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการแสดงออกทางความคิดและการชุมนุม รวมถึงปล่อยตัวนักโทษในคดีเหล่านี้ด้วย และสนับสนุนให้รัฐบาลผ่านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชนก่อนสิ้นปี 2567</p> <p>อีกทั้งยังเรียกร้องให้รัฐบาลไทยทบทวนและแก้ไขมาตรา 112 (หมิ่นประมาทกษัตริย์) เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล สอดคล้องกับข้อแนะนำภายใต้กระบวนการพิเศษแห่งสหประชาชาติ และคณะทำงานสหประชาชาติว่าด้วยการควบคุมตัวโดยพลการ</p> <p>พูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนกล่าวว่าการมายื่นหนังสือครั้งนี้กับ OHCHR จะมีการพูดคุยถึงสถานการณ์คดีทางการเมืองที่ยังไม่ดีขึ้นแม้ว่าจะมีการเลือกตั้งได้รัฐบาลใหม่มาแล้ว แต่การดำเนินคดีทางการเมืองยังมีอย่างต่อเนื่อง สัปดาหห์ที่ผ่านมายังมีคดี ม.112 ที่ศาลลงโทษจำคุกมากถึง 50 ปี แล้วคดีทางการเมืองส่วนใหญ่เป็นคดีที่ออกไปชุมนุมและใช้เสรีภาพการแสดงออกอย่างสงบที่พวกเขาไม่ควรถูกดำเนินคดีตั้งแต่แรก ซึ่งการนิรโทษกรรมก็เป็นทางหนึ่งในการลดความขัดแย้งด้วย</p> <p>ทนายความกล่าวต่อว่า การที่รัฐบาลไทยจะสมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นนสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในฐานะตัวแทนอาเซียน ที่การเลือกตั้งจะมีขึ้นในเดือนตุลาคม 2567 นี้ ประเทศไทยควรจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกอย่างสง่างาม จึงคิดว่าโอกาสนี้เป็นโอกาสดีที่จะคลี่คลายความขัดแย้งโดยการยุติคดีทางการเมืองแล้วก็นิรโทษกรรมประชาชน </p> <p>พูนสุขกล่าวถึงกิจกรรมของเครือข่ายฯ ที่จะมีต่อจากนี้ว่า ช่วง 1-14 ก.พ.2567 จะมีแคมเปญเข้าชื่อเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมประชาชน มาร่วมกันแสดงเจตจำนงเพื่อผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรมประชาชนเข้าสู่สภาต่อไป </p> <p>ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมาผู้รายงานพิเศษและคณะทำงานแห่งสหประชาชาติทั้งในประเด็นสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและคณะทำงานว่าด้วยการควบคุมตัวโดยพลการ ซึ่งเป็นกลไกพิเศษภายใต้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council) มีความเห็นต่อการใช้มาตรา 112 ของไทยมาแล้วหลายครั้ง เช่น กรณี ศศิพิมล (สงวนนามสกุล), เธียรสุธรรม (สงวนนามสกุล) หรือ “ใหญ่ แดงเดือด” (https://tlhr2014.com/archives/5483), สิรภพ หรือ ‘รุ่งศิลา’ (https://tlhr2014.com/archives/12695),พงษ์ศักดิ์ ศรีบุญเพ็ง (https://prachatai.com/journal/2017/01/69773) และอัญชัญ ปรีเลิศ </p> <div class="more-story"> <p>สนง.ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่ง UN ห่วงการใช้ ม.112 แนะทบทวนยกเลิก หลังทุบสถิติจำคุก 87 ปี (https://prachatai.com/journal/2021/02/91586)</p> </div> <p>ความเห็นของคณะทำงานทั้งสองคณะดังกล่าวเป็นประเด็นเดียวกันคือเรื่องการใช้กฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์กับการแสดงความคิดเห็นและประเด็นการลงโทษจำคุกที่สูงเช่นในกรณีของอัญชัญที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกสูงถึง 87 ปี </p> <p>“เรายังคงเน้นย้ำอย่างต่อเนื่องว่าการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์เพื่อเอาผิดประชาชนต้องไม่เกิดขึ้นในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นล้วนส่งผลกระทบต่อในทางลบต่อเสรีภาพด้านการแสดงออก จำกัดพื้นที่ของพลเมือง และลดทอนสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนในประเทศไทย” เป็นข้อความที่ผู้รายงานพิเศษในประเด็นสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นระบุถึงคดีของอัญชัญในแถลงการณ์เมื่อ 8 ก.พ. 2564</p> <div class="note-box"> <p style="text-align: center;"><strong>แถลงการณ์เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน</strong></p> <p style="text-align: center;"><strong>เรียกร้องให้สหประชาชาติสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออกประชาชน โดยการสนับสนุนให้รัฐบาลผ่านร่างกฎหมายนิรโทษกรรมประชาชนก่อนสมัครเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติก่อนการเลือกตั้งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567</strong></p> <p>เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชนเกิดขึ้นจากความร่วมมือขององค์กรทางกฎหมาย นักวิชากร องค์กรภาคประชาสังคม และ นักกิจกรรมทางสังคมกว่า 23 องค์กร เพื่อเสนอร่างกฎหมายนิรโทษกรรมประชาชน ต่อรัฐบาลไทยในการคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งในทางการเมือง พวกเรากังวลอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับการดำเนินคดีที่กำลังเกิดขึ้นกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตย และประชาชน จำนวนมากกว่า 1,400 ราย สืบเนื่องจากการออกมาใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกและชุมนุมโดยสันติ</p> <p>อย่างไรก็ตาม จำนวนตัวเลขนี้นับว่าเป็นสัดส่วนที่น้อย เมื่อเทียบกับภาพรวมที่ประชาชนกว่า 6,000 ราย ที่ถูกดำเนินคดีทางการเมืองนับตั้งแต่การรัฐประหารรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (เสื้อแดง) หลังจากรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 การชุมนุมประท้วงของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) การทำรัฐประหาร พ.ศ. 2557 และการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อประชาธิปไตยที่นำโดยเยาวชน ประชาชนทั่วไป และคณะราษฎร เพื่อประท้วง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้ก่อการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2557 และนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2557 จนถึงก่อนการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2566</p> <p>ตลอดภาพประวัติศาสตร์ทางการเมืองนี้ มีประชาชนไม่ต่ำกว่า 6,000 คนที่ถูกดำเนินคดีอันเนื่องมาจากการทำกิจกรรมทางการเมือง อีกทั้งภายหลังการทำรัฐประหารในปีพ.ศ. 2557 ยังมีบุคคลกว่า 2,400 รายที่ถูกดำเนินคดีในศาลทหาร ยิ่งไปกว่านั้นแล้วภายหลังการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อประชาธิปไตยที่นำโดยเยาวชน และประชาชนโดยทั่วไป นับตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2563 จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2566 มีผู้ถูกดำเนินคดีผ่านการบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ อย่างน้อย 1,938 คน ซึ่งเป็นเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่น้อยกว่า 286 คน รวมกว่า 1,264 คดี</p> <p>อย่างไรก็ดี ภายใต้รัฐบาลผสมชุดใหม่ที่มี นายเศรษฐา ทวีสิน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 นั้นยังปรากฏการดำเนินคดีทางการเมืองต่อนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่องระหว่างเดือนกันยายนและธันวาคม พ.ศ. 2566 ศาลได้มีคำพิพากษาในคดีหมิ่นประมาทกษัตริย์ หรือ คดีมาตรา 112 ในทั้งหมด 31 คดี โดยคดีที่ศาลลงโทษจำคุกทั้งหมด 28 คดี หรือคิดเป็น 90% ของช่วงเวลาดังกล่าว และมีคดีมาตรา 112 ที่จำคุกมากที่สุดถึง 50 ปี</p> <p>พวกเราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าหากไม่มีการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบของประชาชนจากทุกฝักฝ่ายทางการเมืองในทุกมิติอย่างจริงจัง จะส่งผลเป็นอุปสรรคที่ขัดขวางการสร้างความปรองดองทางการเมือง พวกเราจึงมีความประสงค์ให้สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเรียกร้องให้รัฐบาลไทย ภายใต้การนำของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แสดงความจริงใจต่อการสร้างความปรองดองทางการเมืองและความมุ่งมั่นต่อสิทธิมนุษยชน ด้วยการผ่านการสนับสนุนร่างกฎหมายนิรโทษกรรมที่ครอบคลุมไปถึงมาตรา 112 (หมิ่นประมาทกษัตริย์) แห่งประมวลกฎหมายอาญา สำหรับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ประเทศไทยรณรงค์หาเสียงเพื่อเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติก่อนการเลือกตั้งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 และ ขอเรียกร้องให้สหประชาชาติ</p> <ul> <li>สนับสนุนให้รัฐบาลไทยรับประกันสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสันติตามข้อ 19 และข้อ 21 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง</li> <li>สนับสนุนให้รัฐบาลไทยระงับไว้ซึ่งการดำเนินคดีต่อผู้ที่มีความเห็นต่างทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชน ที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการแสดงออกทางความคิดและการชุมนุม</li> <li>สนับสนุนให้รัฐบาลไทยปล่อยตัวนักโทษทางความคิด โดยรวมไปถึงเยาวชนที่ถูกคุมขังสืบเนื่องมาจากการแสดงออกทางการเมือง</li> <li>สนับสนุนให้รัฐบาลไทยทบทวนและแก้ไขมาตรา 112 (หมิ่นประมาทกษัตริย์) แห่งประมวลกฎหมายอาญา เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ซึ่งข้อเรียกร้องดังกล่าวสอดคล้องกับข้อแนะนำภายใต้กระบวนการพิเศษแห่งสหประชาชาติ และคณะทำงานสหประชาชาติว่าด้วยการควบคุมตัวโดยพลการ </li> <li>สนับสนุนให้มีการผ่านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมประชาชน ก่อนสิ้นปี พ.ศ. 2567</li> </ul> <p> </p> <p>ด้วยความเคารพต่อสิทธิเสรีภาพ</p> <p>เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน</p> </div> <p> </p> </div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A9%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A9%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">นิรโทษกรรม[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คดีการเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2-112" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">มาตรา 112[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/ohchr" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">OHCHR[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/unhrc" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">UNHRC[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div> https://prachatai.com/journal/2024/01/107738 |