หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ใต้แผลกดทับ : ชวนขุดคุ้ยร่องรอยความบาดเจ็บจากแผลกดทับที่เพื่อนคนพิการเจอ เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 24 มกราคม 2567 18:26:54 ใต้แผลกดทับ : ชวนขุดคุ้ยร่องรอยความบาดเจ็บจากแผลกดทับที่เพื่อนคนพิการเจอ
<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-01-24 17:29</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>นลัทพร ไกรฤกษ์ : รายงาน คชรักษ์ แก้วสุราช : ภาพ</p> </div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ทุกแผลก็เริ่มจากแผลถลอกเล็กๆ ลุกลาม กัดกินและเกิดขึ้นเป็นวงโพรงใต้ผิวหนัง จนกระทั่งแผลเหล่านั้นเผยตัวออกมาและเราเรียกมันว่า แผลกดทับ</p> <p>แผลกดทับหรือ Pressure Sore เป็นแผลชนิดที่คนทั่วไปอาจจะยังไม่ค่อยรู้จัก เพราะโดยปกติแล้วเมื่อเราเป็นแผล ทำแผล ใส่ยา ดูแลความสะอาด ไม่นานแผลก็หาย แม้อาจจะทิ้งรอยแผลไว้บ้าง แต่สุดท้ายแผลก็จะแห้งสนิทหายดี แต่แผลกดทับนั้นตรงกันข้าม เมื่อมีรอยถลอกเล็กๆ ที่ถูกทับซ้ำ บางทีก็อับชื้น บางครั้งก็อยู่ในบริเวณที่โดนฉี่หรืออึ แผลเล็กๆ ก็ยิ่งลุกลามรุนแรง บางคนต้องตัดอวัยวะทิ้ง หรือบางคนก็เสียชีวิตจากการติดเชื้อ</p> <p>ในงานชิ้นนี้จะชวนผู้อ่านมารู้จักกับแผลกดทับที่เกิดขึ้นกับเพื่อนคนพิการ ทำไมแผลกดทับจึงรุนแรงจนเป็นสิ่งที่เพื่อนคนพิการโดยเฉพาะคนพิการบาดเจ็บไขสันหลังแทบทุกคนต้องเจอแล้วขวัญผวา แผลกดทับเกิดขึ้นได้อย่างไร อะไรทำให้เมื่อมีแผลแล้วส่วนใหญ่ลุกลามใหญ่โตจนแทบเป็นคำพูดติดปากว่า ‘ใหญ่ขนาดเอากำปั้นเข้าไปได้’ </p> <h2><span style="color:#2980b9;">รู้จักวันแรกแห่งความพิการ</span></h2> <p>แม้จุดร่วมหนึ่งของเรื่องนี้คือแผลกดทับ แต่จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง เราเดินทางลงภาคใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ห่างไกลจากความคุ้นเคยในการทำงาน แม้เราจะพอรู้บ้างว่าเพื่อนคนพิการไขสันหลังบาดเจ็บในกรุงเทพฯ ก็เผชิญกับแผลกดทับกันไม่น้อย และหลายคนก็เจอกับปัญหาเรื้อรังของแผลกดทับ แต่บริบทของคนพิการในภาคใต้ ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและสุราษฏร์ธานีจะแตกต่างออกไปอย่างไร</p> <h2><span style="color:#2980b9;">สุราษฎร์ธานี</span></h2> <p>ณัฐพร เป็นชาวสวนกระบองเพชรหลังจากเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ชนกัน ตัวเขากระเด้งชนกับหลังคารถ และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องทั้งหมด</p> <p>“เราคิดว่าไม่ได้เป็นอะไร จึงเปิดประตูจะออกไปแต่ก็ร่วงเลย คนข้างๆ ที่นั่งมาด้วยกันก็เปิดประตูไม่ได้ดูหน้าดูหลังจึงถูกรถมาเฉี่ยวซ้ำจนเสียชีวิต เราเองตื่นอีกทีที่โรงพยาบาล โดนดึงคอเพราะคอหัก ขานี่ไม่รู้สึกแล้ว”</p> <p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53482123368_9ffd6010a0_b.jpg" /></p> <p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ณัฐพร</span></p> <p>เช่นเดียวกับสิทธิชัย ที่ทํางานเป็นจิตอาสาอยู่ที่มูลนิธิกู้ภัยในตัวเมืองสุราษฎร์ เขาก็พิการจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเข้าปีที่ 21 แล้ว ปัจจุบันเขาไว้ผมยาวและใช้วีลแชร์ที่มีหัวลากในการเดินทางไปไหนมาไหน</p> <p>“ตอนนั้นถนนเป็นโค้งหักศอก ผมสวนกับรถกระบะที่เปิดไฟสูง ตามันมืดก็เลยล้มลงจนมอเตอร์ไซคค์ทับหลัง และสลบไม่รู้สึกตัว พอเพื่อนเรียกได้สักพักหนึ่งก็รู้สึกตัวแต่ลุกไม่ได้ ขาไม่มีแรง เขาเลยจับผมยกซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์วิ่งผ่านทางลูกรัง ขาด้านขวาที่ไม่รู้สึกแล้วก็ห้อยตกพื้นลากบนทางลูกรังกว่าจะไปถึงบ้านเพื่อนก็เหลือแต่กระดูก แต่เราไม่รู้ตัวเลยเพราะชาไปแล้ว”</p> <p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53481982746_8a7e71039d_b.jpg" /> <span style="color:#e67e22;">สิทธิชัย</span></p> <p>ประสบการณ์ของณัฐพรและสิทธิชัย นั้นคล้ายกับพิไลวรรณที่พวกเขาต่างตื่นมาและพบว่าขานั่นสูญเสียความรู้สึกไปแล้ว พิไลวรรณเป็นสมาชิกของมูลนิธิเมาไม่ขับของธนาคารไทยพาณิชย์ วันหนึ่งเธอขี่มอเตอร์ไซค์ไปทํางานปกติแต่มีรถสิบล้อพุ่งมาชนจากอีกฝั่ง</p> <p>“เราพยายามจะลุกแต่ลุกไม่ได้เพราะรถทับจนสลบไปมาตื่นทีที่โรงพยาบาล มีสายอะไรต่ออะไรไม่รู้เต็มไปหมด เรายกขาซ้ายไม่ได้ แต่ก็ไม่มีใครบอกว่าเป็นอะไร จนหมอมาบอกว่าอาจจะเดินไม่ได้ตลอดชีวิตเพราะเส้นเอ็นร้อยหวายฉีก แม้เขาต่อเข้าหากันแล้ว แต่ขาก็สั้นยาวไม่เท่ากัน เวลาจะยกก็ต้องใช้มือช่วยตลอด” </p> <h2><span style="color:#2980b9;">นครศรีธรรมราช</span></h2> <p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53482392975_398976849c_b.jpg" /></p> <p>ไกรศร เป็นประธานศูนย์ IL หรือศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ นครศรีธรรมราช ตัวเขาเองทำงานรณรงค์เรื่องเมาไม่ขับ เขาพิการตอนเรียนอยู่ปี 3 และค่ำคืนนั้นก็เปลี่ยนชีวิตและนำมาสู่ชีวิตอีกแบบหนึ่งที่พ่วงมากับแผลกดทับขนาดใหญ่เท่ากำปั้น</p> <p>“คืนหนึ่งผมดื่มเหล้ากับเพื่อน แล้วก็เมาขับรถกลับบ้าน ขับไปชนจนสลบ มาฟื้นอีกครั้งที่โรงพยาบาลมหาราช พอตื่นขึ้นมาก็ตกใจว่าทำไมท่อนล่างไม่มีความรู้สึก ก็ผงกหัวขึ้นมาดูยังเห็นขาครบ แต่หมอบอกว่าต่อจากนี้จะไม่สามารถลุกขึ้นนั่งได้เพราะไขสันหลังขาด แต่เราไม่เข้าใจว่าขาดคืออะไร จนกลับมาอยู่บ้านเกือบ 2 เดือนก็ยังนั่งไม่ได้ ต้องนอนตลอดเวลา”</p> <p>ไกรศรอยู่แบบนั้นเป็นเวลาปีกว่าโดยไม่ได้ฟื้นฟู เขามีอารมณ์หงุดหงิด ซึมเศร้า บุคลิกเปลี่ยนไปเป็นคนละคน จากคนสุขุม สุภาพ เรียบร้อย ไม่ต้องพึ่งพาใครก็กลายเป็นคนที่ต้องพึ่งพาคนอื่นตลอดเวลา จนทำให้จากความอยากทำโน่นทำนี่กลายเป็นความไม่พอใจเมื่อทำไม่ได้แม้แต่ลุกขึ้นนั่ง</p> <p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53482286909_89433eae4f_b.jpg" /></p> <p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ไกรศร</span></p> <p>เช่นเดียวกับสมชาย หนุ่มวัยรุ่นที่พิการด้วยอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์เมื่อ 5 ปีที่แล้ว เขากลายเป็นคนที่อยู่แต่บ้านทั้งที่เมื่อก่อนก็ไปเรียนและรับจ้างทำงานทั่วไป แม้ช่วงแรกที่พิการยังมีความหวังว่าจะกลับมาเดินได้ แต่หนึ่งปีผ่านไปเขาก็เริ่มยอมรับว่าตัวเองจะไม่หาย และต้องให้คนอื่นทำให้ทุกอย่าง และแทบไม่ต่างจากจักรพงศ์ นักศึกษาปีสอง เทอมหนึ่ง ที่โดนยิงและปัจจุบันมีชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในบ้านที่นครศรีธรรมราช</p> <p>“ตอนโดนยิงผมล้มลงไป พยายามพลิกตัวให้ลุกขึ้นนั่งได้ แต่ขาขยับไม่ได้ ตอนนั้นก็ไม่ได้คิดว่าจะพิการ คิดว่าคงไม่เป็นอะไรมาก 3-4 ชั่วโมงต่อมาก็มีคนมาเจอผมและถูกส่งไปโรงพยาบาล อยู่โรงพยาบาล 3 เดือนต้องผ่าตัดผ่านหน้าอกไปถึงกระดูกสันหลัง นอกจากนี้ต้องเจาะลมในปอด มันทรมานมากตอนที่หายใจไม่ได้” </p> <p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53482392420_7e059dd426_b.jpg" /></p> <p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">จักรพงศ์</span></p> <p>แตกต่างจากเรื่องราวของอุทัยวรรณ ที่เธออาศัยอยู่ในบ้านสวน ที่ที่ทุกคนจะต้องปีนขึ้นไปเก็บผลไม้เป็น แต่แล้ววันหนึ่งเมื่อ 27 ปีก่อน เธอผลัดตกต้นมังคุดในขณะที่ลูกเล็กร้องเรียกเธออยู่ใต้ต้นไม้</p> <p>“แถวนี้เป็นบ้านสวน คนก็ต้องปีนไปเก็บ แล้วก็มีคนตกทุกปี เราตกลงมาก้นกระแทก กระดูกสันหลังไปทับเส้นประสาททําให้ท่อนล่างไม่มีความรู้สึก ช่วงแรกๆ ที่หมอบอกว่าอาจจะเดินไม่ได้ ต้องพิการตลอดชีวิต ครอบครัวก็ไม่อยากให้ฟังเพราะกลัวหมดกำลังใจ ผ่าตัดก็ไม่น่าหาย เลยไม่ผ่าเพราะว่าภายนอกเราไม่มีแผลอะไรเลย คิดว่าอยู่ๆ ไปเดี๋ยวก็หายดี หลังออกจากโรงพยาบาลก็ไปหาหมอแผนบ้าน บีบนวดน้ำมัน แต่ก็เดินไม่ได้ ขาไม่รู้สึกเลย”</p> <p>แต่สำหรับชาคริต เขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวเอง คนที่มาช่วยเขาคิดว่าเขาตายแล้วเพราะหัวแตก มีเลือดเต็มหน้า จึงจับมือจับขาแล้วก็ยกใส่ท้ายรถกระบะ อีกทีก็ไปรู้ว่าถูกเย็บหัวที่โรงพยาบาล หลังพักฟื้นอยู่ 20 วันเขาถึงได้รู้ว่าตัวเองกระดูกสันหลังหักสองข้อ 11 กับ 10 เคลื่อนที่ไปคนละทาง จนเส้นประสาทขาดและทําให้ไม่มีแรงขาทั้งสองข้าง</p> <p>“ช่วงแรกๆ ไม่ได้คิดอะไรเพราะมีเพื่อนเยอะ เพื่อนก็มาอยู่ด้วย แต่พอกลับบ้านเราก็นอนอย่างเดียว ไม่ได้ไปไหนเลย นานๆ ทีเพื่อนจะมาพาไปเที่ยว แต่ผมก็ไม่อยากไปเพราะกลัวเป็นภาระ พอคิดย้อนกลับไปภาพของอนาคตที่วางไว้มันหายหมดเลย เราเคยคิดว่าอายุเท่าไหร่จะทำอะไร จะเรียน จะทำงาน จะมีครอบครัว แต่ก็พังหมดเพราะอุบัติเหตุ จนพี่ดิว (ไกรศร) ไปเยี่ยมที่บ้าน แต่ผมก็ไม่ลงมาหรอกเพราะเราไม่อยากเจอใคร จนแกไปครั้งที่สอง เห็นแกขับรถได้ ยังใช้มือทำทุกอย่างได้ก็เลยลองเปิดใจ” </p> <p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53481080412_0e9d81d49d_b.jpg" /> <span style="color:#e67e22;">ชาคริต</span></p> <h2><span style="color:#2980b9;">การเปิดใจให้ความพิการไม่ใช่เรื่องง่าย</span></h2> <p>เมื่อร่างกายเปลี่ยนไปในช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมง ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะยอมรับหรือปรับตัว คนพิการหมาดๆ หลายคนเผชิญกับภาวะทางจิตใจ อารมณ์และความรู้สึกเป็นภาระ และไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถกลับมาสู่สังคมได้อีก ไกรศรนอนอยู่แบบนั้นมาปีกว่าโดยไม่ได้ฟื้นฟูอะไรเลย เขาเปลี่ยนไปทุกอย่างทั้งร่างกาย จิตใจและสังคม</p> <p>“ผมออกจากบ้านแค่ไปหาหมอ ตอนนั้นมีอารมณ์หงุดหงิด ซึมเศร้า ทั้งที่ก่อนหน้านี้ผมเป็นคนสุขุม สุภาพ เรียบร้อย แต่ก็เปลี่ยนไปเป็นคนละคน เพราะจากคนทำอะไรเองได้ วันหนึ่งทำไม่ได้แม้แต่ลุกขึ้นนั่ง ได้แต่กินข้าว นอน ฟังเพลง ผมลองไรท์แผ่นเพลงขาย มีลูกค้ามาเอาที่บ้าน เขาจะโทรมาสั่งว่าเอาเพลงอะไร ตอนนั้นเริ่มมีเงินแต่ก็ยังไม่รู้ว่าต้องดูแลตัวเองยังไง เข้าห้องน้ำ ลงจากเตียง หรือไปไหนมาไหนก็ยังทำไม่เป็นและไม่กล้าออกข้างนอกเพราะกลัวสังคมรังเกียจ</p> <p>“จนวันหนึ่งเจอกับพี่โอ สันติ รุ่งนาสวน (ตอนนั้นเป็นประธานศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการ พุทธมณทล) ผ่านโทรศัพท์ก็รู้สึกสนใจและไม่คิดว่าแกจะลงมาที่นครฯ พอเห็นพี่โอวันแรกแนวคิดเปลี่ยนทุกอย่าง พี่โอขับรถด้วยมือที่อ่อนแรงกว่าผม แกมาอยู่หนึ่งอาทิตย์ก็ให้ผมพาเที่ยวทุกวัน ไปบ้านเพื่อนคนพิการคนอื่นด้วย ตั้งแต่ออกมาวันนั้นก็เลยทำให้กล้าออกจากบ้านจนทุกวันนี้ </p> <p>“หลังจากนั้นผมก็เริ่มฝึก ตั้งแต่ลุกมานั่งวีลแชร์ ขึ้นเตียง ลงเตียง เข้าห้องน้ำ ฝึกไม่นานเพราะจริงๆ เราทำได้แต่ไม่รู้เทคนิคและไม่มีต้นแบบ ไม่เคยเห็นว่าคนพิการทำอะไรได้บ้าง สิ่งนี้ไม่ได้เปลี่ยนแค่ผม แต่ครอบครัวก็เปลี่ยน จากที่เป็นภาระของแม่ แม่ต้องหยุดงานเพื่อมาดูแล ก็กลับมามีชีวิตของตัวเอง เรารู้สึกว่าชีวิตของแม่มีความสุขขึ้นด้วยหลังจากเรากลับไปใช้ชีวิต”</p> <p>เช่นเดียวกับจักรพงศ์ ที่ช่วงแรกๆ หลังความพิการเขาเองก็มีหวังว่าจะหายดี แต่เมื่อไม่เป็นดั่งหวัง การจะกลับมามีชีวิตเหมือนเดิมอีกครั้งมันก็ยากเสียเหลือเกิน</p> <p>“ตอนหมอบอกเดินไม่ได้ ผมร้องไห้ไปหนึ่งครั้งเพราะไม่คาดคิดว่าจะเดินไม่ได้ ตอนแรกคิดว่าเป็นชั่วคราว ถ้ารักษาไปนานๆ อาจจะดีขึ้น พอไม่ชั่วคราวก็พูดอะไรไม่ถูก หยุดคิดไม่ได้ว่าถ้าออกมาจากโรงพยาบาลชีวิตจะเปลี่ยนไปอย่างไร จะทํายังไงถ้าเดินไม่ได้ ถ้าเดินไม่ได้มาตั้งแต่แรกก็คงไม่ได้คิดอะไรมาก แต่มาเดินไม่ได้ตอนนี้ก็คิดหลายอย่างเลย เพราะทำอะไรก็ช้าไปหมด ถ้าออกไปข้างนอกก็กลัวจะไม่มีห้องน้ำ </p> <p>“ผมเพิ่งได้ออกไปนอกบ้านเมื่อไม่กี่ปีนี้เอง ช่วงแรกไม่ค่อยไปไหนมีแค่โรงพยาบาลหรือบ้านญาติ ส่วนมากจะให้เพื่อนมาที่บ้านเพราะง่ายกว่าและกลัวว่าถ้าเราไปปวดท้องอึบ้านเขาจะเข้าห้องน้ำไม่ได้ เวลาไปบ้านใครก็จะต้องถามก่อนว่าห้องน้ำเป็นยังไง ถ้าเข้าไม่ได้เราจะไม่ไป ช่วงนั้นเกิดความหงุดหงิดที่ทําอะไรก็ไม่ได้ดั่งใจ เมื่อก่อนเราอยากทําอะไรก็ทําได้เลย แต่ตอนนี้ต้องรอคนอื่นทำให้ บางทีเราอยากได้แล้วแต่เขายังไม่ว่างผมก็หงุดหงิด ช่วงหลังเราก็ต้องเริ่มปรับตัว อยากได้อะไรก็ต้องพยายามฝึกทําเอง”</p> <p>ไม่ต่างอะไรกับพิไลวรรณ ที่หลังจากเกิดอุบัติเหตุเธอก็รักษาตัวสักพักแล้วกลับไปอยู่บ้าน แม้ทุกคนจะพยามยามหาวิธีรักษา แต่เธอท้อเพราะจากคนที่เคยทำงานและไปไหนมาไหนได้เอง ตอนนี้จะทำอะไรทีก็ต้องให้พ่อแม่ช่วย เธอเลยคิดที่จะกินยาตายมาสองครั้ง แต่แม่เข้ามาช่วยทัน และนั่นก็เป็นเรื่องราวที่นำมาสู่อุบัติเหตุครั้งที่สอง</p> <p>“วันหนึ่งเราเจอคนพิการที่ใช้รถหัวลากขับวีลแชร์โดยไม่ต้องนั่งรถเก๋ง ก็เกิดความรู้สึกว่าเรายังทำอะไรได้ตั้งเยอะ ยังแข็งแรงกว่าคนที่ติดเตียง ยังมองเห็น ก็เลยพยายามหางานทำ แต่ปรากฎว่าไม่มีใครรับเข้าทำงานเลย บางที่เราเสียเงินค่ารถไปเพราะเขาบอกว่ารับคนพิการ แต่พอไปถึงก็บอกว่าไม่รับ ที่กรมแรงงานแนะนําเราก็ไปแต่ไม่เคยได้สักที่ จึงตัดสินใจออกจากสุราษฎร์ด้วยเงิน 200 บาทนั่งรถไปกรุงเทพฯ หางานที่โรงงาน ตอนแรกเขาก็จะไม่รับเพราะกลัวเป็นภาระกับเพื่อนร่วมงาน จนสุดท้ายก็ได้ทำงานตรวจคุณภาพถุงมือนาน 4 ปีครึ่ง ช่วงหนึ่งเรากลับบ้านแล้วก็เกิดอุบัติเหตุรอบสอง เราเห็นแล้วว่าเขามาเร็ว จึงไปจอดหลบอยู่ที่ไหล่ทาง แต่เขาก็พุ่งเข้ามาหา เสียงดังโครม ตัวเราลอยขึ้น ตกลงมานั่งท่าชันเข่า และขาสองข้างก็ยกไม่ขึ้นเลย หมอที่โรงพยาบาลก็ไม่ได้ทําอะไรให้ เขาบอกว่าขาตึง ให้ยืดบ่อยๆ แต่เรายืดไม่ได้ สุดท้ายได้มอร์ฟีนมาสองขวด กระทั่งไม่หายจึงไปอีกโรงพยาบาลและได้รู้ว่ากระดูกสันหลังร้าวและสะโพกเคลื่อน ให้นอนเฉยๆ 3 เดือนจนเดินไม่เป็น เราเลยตัดสินใจลุก จับขาตัวเองยืดแล้วกด ทำซ้้ำๆ จนขาค่อยๆ ยืด”</p> <p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53482123373_8f93d55054_b.jpg" /> <span style="color:#e67e22;">พิไลวรรณ</span></p> <p>ณัฐพรเองก็เช่นกัน ตั้งแต่เขาพิการ เขาก็ต้องนอนตลอดและแทบไม่ได้ออกไปไหน หนำซ้ำเมียก็ยังพาลูกหายออกไปจากชีวิต</p> <p>“ตอนพิการเมียผมกำลังท้องได้ 9 เดือน สองปีต่อมาครอบครัวกลายเป็นแตกแยก เมียก็หนีไปกับลูก เรารู้สึกว่า เราต้องกลับมาดีกว่าเดิมให้ได้ ช่วยเหลือตัวเอง ดูแลครอบครัว แม้ตอนนี้ลูกเรียนจบทำงานแล้วแต่เราก็ไม่ค่อยสนิทกัน ไม่ได้รู้สึกผูกพันธ์ เป็นเวลากว่า 8 ปีเลยที่ผมไม่เคยออกจากบ้าน ไม่มีวีลแชร์ก็นั่งหน้าบ้าน จนเจออาจารย์ท่านหนึ่งชวนเราไปเป็นอาสาซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าของเทศบาล เราก็บอกว่าไม่มีคนพาไป แกก็มารับ มาส่งทุกวัน ครั้งนั้นเป็นครั้งแรกเลยที่ได้ออกจากบ้าน ทุกอย่างเปลี่ยนไปหมดเลย จากตรงนี้ที่เคยเป็นป่าก็กลายเป็นตึกเราไม่รู้เลยว่า 8 ปีที่ผ่านมาข้างนอกเจริญยังไง หลังจากออกมาครั้งแรกผมก็กล้าออกจากบ้านมากขึ้นเรื่อยๆ</p> <p>“ช่วงอยู่โรงพยาบาลได้สักพักเราก็เป็นแผลกดทับเพราะนอนเยอะ ไม่ค่อยได้พลิกตัว ตอนออกจากโรงพยาบาลก็มีแผลตรงก้นกบลึกเท่ากำปั้น เกิดขึ้นเพราะเราต้องถัดตัวกับพื้นเพื่อไปอาบน้ำ แรกๆ ก็ถลอกเลือดออก สักพักก็เริ่มลึก โรงพยาบาลก็ให้ยา ฉีดยาฆ่าเชื้อต่างๆ แต่ก็ไม่หายและแย่ลงเรื่อยๆ จนสุดท้ายเราก็ขอออกจากโรงพยาบาลมาตายที่บ้าน แม่จึงเอาไปรักษาที่วัด ขนาดหลวงพ่อยังบอกเลยว่าให้ทำใจว่าคงอยู่ได้ไม่เกิน 7 วัน แต่ตอนนี้ก็อยู่มา 20 กว่าปีแล้ว”</p> <h2><span style="color:#2980b9;">จุดเริ่มต้นของแผลกดทับ ที่ขัดขวางการฟื้นฟูความพิการ</span></h2> <p>ในขณะที่ณัฐพรเจอกับการเกิดขึ้นของแผลกดทับยาวนานตั้งแต่ช่วงเริ่มพิการ จนวันนี้ก็ 28 ปีแล้ว เชื่อไหมว่า ในขณะเดียวกันเพื่อนคนพิการคนอื่นๆ ก็เผชิญกับเรื่องราวที่ใกล้เคียงกัน</p> <p>พิไลวรรณเล่าว่า เริ่มแรกแผลกดทับของเธอเริ่มจากรอยถลอกเล็กๆ เหมือนกับผิวหนังถูเสื้อผ้า เมื่อเป็นต่อเนื่องรอยถลอกก็เริ่มเปื่อยและแตกออกจนเลือดไหล โชคดีที่เธอเคยเป็นผู้ช่วยคนพิการที่เคยทำแผลกดทับมาก่อนจึงดูแลตัวเองได้ แต่นั่นก็ทำให้เธอรู้ว่าแผลกดทับนั้นน่ากลัวขนาดไหน</p> <p>“ตอนแรกที่ทำให้แผลเขายังไม่ใหญ่ แต่ด้านในมันกัดกินเข้าไปเรื่อยๆ ยิ่งถ้านั่งนานก็ยิ่งหนัก สุดท้ายแผลใหญ่จนใส่กำปั้นเข้าไปได้เลย วิธีการทำแผลก็จะต้องใช้ผ้าก๊อซอันใหญ่ ม้วนกว้านแผลให้เนื้อส่วนที่ตายสีขาวลอกออกให้หมด แล้วใช้น้ำเกลือบีบเข้าไปล้างแล้วซับเพื่อขับน้ำเหลืองออกมาและใช้เบตาดีนทารอบแผลพร้อมอุดปิดผ้าก็อซ</p> <p>“แผลของตัวเราเองไม่ใหญ่แต่ก็ใช้ชีวิตยากขึ้นมาก เวลากลางคืนมันเจ็บจริงๆ จนเลือดไหล ต้องดูแลตัวเองมากขึิ้น แผลเรานั้นยุบเข้าไปตามบริเวณที่นั่งกดกับพื้น ทุกวันนี้ยังไม่ได้หาย ก็ต้องดูแลตัวเอง กินของดีๆ ไม่กินของสแลง ถ้านั่งนานๆ ก็ต้องมีเบาะนั่ง แต่ถ้าเริ่มมีเหงื่อหรืออับชื้นก็ควรต้องนอนพัก ตะแคงตัวให้แผลสัมผัสพื้นน้อยที่สุด เปิดพัดลมจ่อเพื่อให้แผลแห้ง ประสบการณ์ต่างๆ เหล่านี้เราก็เรียนรู้เองจากการช่วยเพื่อนคนพิการคนอื่น โรงพยาบาลไม่ได้สอน”</p> <p>สิ่งที่เพื่อนคนพิการหลายคนพูดตรงกันคือ พวกเขาเริ่มมีแผลกดทับตั้งแต่อยู่ที่โรงพยาบาล ปัญหาสำคัญสองสามอย่าง ก็คือแม้จะมีข้อควรปฏิบัติต่างๆ เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันแผลกดทับ เช่นการเปลี่ยนแพมเพิร์สทุก 3 ชั่วโมง การพลิกตัวคนไข้ทุก 2 ชั่วโมง หรือการนอนบนที่นอนลม แต่อย่างไรก็ดีในทางปฏิบัติจริงแล้วเป็นไปได้จริงยากมาก</p> <p>นักกายภาพบำบัดในชุมชนจากโรงพยาบาลมหาราชระบุว่า แผลกดทับนั้นเกิดขึ้นจากบริบทของนครศรีธรรมราชที่มีคนไข้นอนติดเตียงซึ่งมีกิจกรรมในชีวิตประจำวันค่อยข้างน้อย หลายครั้งครอบครัวไม่อยากให้คนป่วยทําอะไร เพราะเชื่อว่านอนเฉยๆ ดีกว่า หรือหากยิ่งลุกมาทำอะไรเยอะๆ ก็ยิ่งเป็นภาระในการดูแล จะลุกไปไหนเดี๋ยวเกิดอุบัติเหตุ นอกจากนี้สถานะทางเศรษฐกิจก็เกี่ยวข้อง ถ้าคนมีฐานะต่ำจนถึงปานกลางก็มีแนวโน้มจะเป็นแผลกดทับเยอะกว่า และคนที่มีแผลกดทับจะเป็นคนที่มีความพิการครึ่งท่อนล่างมากกว่าคนที่พิการครึ่งซีก ถึงแม้เดินไม่ได้เหมือนกัน แต่พิการครึ่งซีกยังขยับตัวหรือพลิกตัวง่ายกว่า </p> <p>“แผลกดทับเกิดทั้งในบ้านและโรงพยาบาล ช่วงหลังพบในโรงพยาบาลน้อยลงเนื่องจากมีแผนการดูแลเรื่องแผลกดทับมากขึ้น นอกจากนี้ส่วนใหญ่แล้วหมอจะไม่ให้นอนโรงพยาบาลนานๆ เนื่องจากกังวลเรื่องการติดเชื้อ และมีจำนวนเตียงที่จำกัดที่ต้องให้กับคนที่จําเป็น จึงทำให้ถ้านอนโรงพยาบาล ผู้ช่วยพยาบาลและพยาบาลอาจดูแลไม่ทั่วถึง หลายครั้งจึงฝากคนป่วยไว้กับญาติเพื่อให้ช่วยพลิกตัว แต่พอเอาเข้าจริงแล้วญาติก็อาจไม่ได้ปฏิบัติอย่างเคร่ดครัดนัก</p> <p>“ข้อจํากัดคือการดูแลตัวเองที่บ้านที่ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ดูแลและทีมสุขภาพที่อยู่ในชุมชน ซึ่งโดยส่วนมากสถานพยาบาลมีหลายหน้างานจึงอาจละเลยเรื่องนี้ ไม่นึกว่าจะเกิดแผล เพราะงานหลักเขาไม่ได้ดูแลแผลผู้ป่วยแต่คืองานคัดกรองผู้ป่วย นอกจากนี้ตัวคนพิการเองก็อาจขาดความเข้าใจ โดยเฉพาะคนพิการบาดเจ็บไขสันหลังที่ไม่รู้เจ็บ ไม่รู้สึกเมื่อย เขาก็ไม่รู้จะพลิกตัวทำไมเพราะไม่ได้เจ็บ สามารถนอนนานๆ ได้ จนเจออีกทีแผลเป็นโพรงอยู่ข้างในแล้ว คนไข้ส่วนมากมาโรงพยาบาลตอนไข้ขึ้นซึ่งก็คือติดเชื้อแล้ว บางทีมีแผลเล็กๆ แต่ปล่อยไว้นาน เช่น อับชื้นอยู่ในแพมเพิร์สทั้งวันก็ทำให้แผลลุกลาม ยิ่งถ้ามีปัสสาวะ อุจจาระอยู่ด้วยแล้วเข้าไปในแผลก็ยิ่งไปกันใหญ่”</p> <p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53481080437_6bf3d2f9ee_b.jpg" /></p> <p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">สยาม นักกายภาพบำบัดชุมชน</span></p> <p>ความไม่รู้นี้เองที่ทำให้ชาคริตผู้ซึ่งออกไปใช้ชีวิตได้แผลกดทับมาโดยไม่รู้ตัว เขาเริ่มตั้งหลักตัวเองได้ มีงานทำและชีวิตที่ดีขึ้นเรื่อยๆ เหมือนโลกนี้กำลังเป็นโลกใบใหม่ที่มีชีวิตเพื่อรอไปเที่ยวกับเพื่อน</p> <p>“ตอนนั้นผมไม่คิดเรื่องแผลกดทับเลย มองว่าถ้าเป็นแผลเดี๋ยวก็คงหาย แต่ปรากฎว่าแผลที่หลังใหญ่ขึ้น จนต้องผ่าตัดและนอนอยู่กับที่ประมาณหนึ่งอาทิตย์ ต้องใส่สายสวนปัสสาวะจนเกิดการเสียดสีเป็นตุ่มเล็กๆ และเกิดแผลใหม่ แม่ก็ทําแผลให้ทุกเช้าเย็น แผลที่เป็นมันหายยากมาก เคยติดเชื้อเนื่องจากต้องนั่งประชุมนานจนกลายเป็นแผลเรื้อรังและต้องกลับมานอนเยอะกว่านั่ง เพื่อนบางคนแผลใหญ่มาก ตอนเห็นแผลเพื่อนผมนอนไม่หลับเลย บางคนไม่กล้าออกจากบ้านเพราะกลัวแผลจะเลือดออก กลัวจะทำแผลไม่ได้ บางคนนั่งนาน อับชื้น ร้อนจนทำให้เกิดหลายแผลใกล้ๆ กันแต่ด้านในเป็นรูต่อกันเป็นแผลใหญ่”</p> <p>เช่นเดียวกับอุทัยวรรณ ที่หลังจากเกิดอุบัติเหตุประมาณ 7 เดือน เธอก็เริ่มเป็นแผลกดทับเพราะไม่รู้จักเบาะลม และไม่ใช่วีลแชร์เพราะหวังว่าจะเดินได้ เขาเอาวีลแชร์มาให้ก็ไม่นั่งใช้วิธีกระเถิบตัวกับพื้น</p> <p>“วันหนึ่งหมอจากโรงพยาบาลมหาราชมาเยี่ยมพร้อมเบาะลม ถึงได้ลองนั่ง คิดว่าถ้าดูแลตัวเองตั้งแต่ตอนนั้นก็คงไม่เป็นแผลเยอะ ตั้งแต่พิการมาแทบจะเป็นแผลกดทับตลอดเลย พออันหนึ่งหายก็เป็นที่อื่นต่อ มีติดเชื้อบ้าง พอเป็นจุดนี้แล้วน้ำเหลืองแตกออกก็กลายเป็นรูใหม่ วิธีรักษาคือต้องผ่าตัดศัลยกรรม เพราะหากปล่อยให้ติดเชื้อก็จะทรมานมาก แผลจะบวมแข็ง แดง นั่งทับไม่ได้เลยเพราะปวด ต้องนอนคว่ำอย่างเดียว นอกจากนี้ก็จะมีไข้ ห่มผ้าหลายผืนก็ไม่หายหนาวเพราะเย็นจากข้างใน ต้องไปหาหมอเพื่อฉีดยาเข้าเส้น</p> <p>“ตลอดเวลาที่พิการแผลแทบไม่เคยหายเลย หากเรานอนพลิกตัวไปมาแผลก็ไม่น่าเกิด แต่เพราะชีวิตประจำวันที่ยังต้องออกมาใช้ชีวิตก็ทำให้เกิดการเสียดสี กดทับบริเวณต่างๆ เราจึงต้องเรียนรู้การดูแลตัวเอง รู้จักเปลี่ยนแพมเพิร์สบ่อยๆ อย่าให้แผลเปียก นั่งนานๆ ก็ต้องยกก้นบ้าง”</p> <p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53481982146_4a2ef44bf1_b.jpg" /> <span style="color:#e67e22;">อุทัยวรรณ</span></p> <p>ประสบการณ์ของเพื่อนคนพิการนั้นตรงกับที่แพทย์หัวหน้าเวชศาสตร์ฟื้นฟูโรงพยาบาลมหาราชกล่าวคือ เมื่อมีแผลกดทับการฟื้นฟูจะยากขึ้นอีก ประเด็นที่กังวลก็คือ พอมีแผลติดเชื้ออาจทำให้เสียชีวิตได้ ผู้สูงอายุบางคนก็เสียชีวิตเพราะเรื่องนี้</p> <p>“มีน้องคนหนึ่งเป็นแผลกินเข้าสะโพก แล้วก็ต้องโดนตัดสะโพก เพราะเอาไม่อยู่แล้ว การตัดสะโพกก็ลดความสามารถที่จะฟื้นฟูของคนไข้ไปอีก หรือบางทีตอนรักษาแผลก็ต้องนอนคว่ำเฉยๆ ไม่มีกิจกรรมอื่น พัฒนาการก็ถอยลง ส่วนมากแผลกดทับจะเริ่มจากแผลถลอกก่อน แล้วก็ลึกลงไปเรื่อยๆ ถึงกล้ามเนื้อเลยก็มี หากดูแนวโน้มว่าแผลไม่ดีขึ้นก็ต้องปรึกษาหมอผ่าตัดเพื่อเอากล้ามเนื้อส่วนอื่นมาแปะ บางคนแผลดีขึ้นแล้วแต่ก็ยังเป็นโพรง ก็ต้องทําแผลเรื่อยๆ แม้ไม่หายขาดแต่ถ้าไม่ได้สร้างปัญหาและไม่ติดเชื้อก็โอเค”</p> <p>เมื่อการเป็นแผลกดทับทำให้ความสามารถที่จะฟื้นฟูหรือใช้ชีวิตนั้นน้อยลง คนพิการหลายคนที่หลังพิการก็ต้องพึ่งพิงอยู่แล้ว ยิ่งต้องพึ่งพิงหรือเป็นภาระของคนรอบข้างไปกันใหญ่ เหมือนที่นักกายภาพบำบัด โรงพยาบาลมหาราชระบุว่า แผลกดทับทำให้การฟื้นฟูนั้นยากขึ้น เช่น คนไข้อาจจะนั่งนานไม่ได้หรือว่าถ้านั่งแล้วต้องขยับตัวบ่อยๆ เพราะเจ็บแผลที่ก้นหรือสะโพกจนทำให้ไม่สามารถฝึกได้ตามโปรแกรม ถ้าเป็นเรื้อยังยาวนานก็จะต้องรักษาแผลให้หายก่อนผ่านการค้นหาว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคืออะไร ไม่ว่าจะเป็นจากที่บ้าน โภชนาการ การดูแลรักษาแผล หรือโรคแทรกซ้อนอย่างเบาหวานหรือไม่ บางคนก็เข้าใจผิดว่าพอได้ที่นอนลมก็ไม่จําเป็นต้องพลิกตัว ทั้งที่จริงแล้วก็ยังต้องพลิก ที่นอนลมเป็นเพียงตัวช่วยแต่หากไม่พลิกนานๆ ก็ยังคงเกิดความร้อนและแผลได้อยู่</p> <p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53482393100_511db35bfd_b.jpg" /></p> <p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ทีมเวชศาสตร์ฟื้นฟูโรงพยาบาลมหาราช</span></p> <p>ในกรณีของไกรศร ซึ่งทำงานกับเพื่อนคนพิการหลายคน เขาพบว่าคนพิการบางคนฟื้นฟูจนดีขึ้นแต่ก็มาจบลงเมื่อเป็นแผลกดทับ บางคนเป็นแผลกดทับจนท้อและตัดสินใจเลิกฟื้นฟู ตัวเขาเองก็เป็นแผลกดทับ หาย แล้วก็เป็นใหม่ บางรอบใหญ่ขนาดสามารถกำหมัดแล้วยัดเข้าไปได้ ซึ่งถือว่าใหญ่มากเมื่อกับตัวผอมๆ ของเขา</p> <p>“แผลอยู่บริเวณก้นกบแต่เราไม่รู้สึก นอนทับก็ไม่เจ็บ มารู้ว่าเป็นเพราะมือไปโดน แต่เผลอแป๊บเดียวก็ขนาดใหญ่ขึ้นมาก ตอนนั้นไม่รู้ว่าต้องจัดการยังไงจึงไปหาหมอ หมอก็สอนวิธีการล้างแผลแต่ก็เป็นนานถึง 10 ปี หลังจากเป็นรอบแรกก็ดูแลตัวเองด้วยการเปลี่ยนท่านอนบ่อยๆ นอนตะแคงบ้าง หงายบ้าง ทำให้แผลเดิมหายสนิทแต่ก็มีแผลอื่นขึ้นมาใหม่</p> <p>“ช่วงที่มีแผลกดทับใช้ชีวิตลำบากขึ้นมาก กังวลไปหมดไม่ว่าจะเข้าห้องน้ำ ทำแผล เราจะนั่งนานก็ไม่ได้ ต้องหาเวลานอนพัก ถ้าอยู่ข้างนอกก็ต้องทำแผลในรถยนต์ซึ่งบางทีก็ไม่สะอาด โชคดีที่ยังไม่เคยติดเชื้อเข้าโรงพยาบาล แม้รู้ว่าต้องขยับตัวบ่อยๆ แต่ข้อเสียของเราก็คือนั่งแล้วไม่ค่อยยกตัวเอง บางทีพอยกแล้วกระดูกไม่ลงล็อค ก็ปวดทับเส้นประสาทจนนั่งไม่ไหวเลยทำให้ไม่อยากขยับ แต่พอไม่ขยับก็เป็นแผลอีก นอกจากแผลจะรุนแรงทางกายภาพแล้วยังส่งผลต่อสภาพจิตใจด้วย อย่างทำให้กลายเป็นคนวิตกกังวล กลัวว่าเลือดจะไหล น้ำเหลืองจะไหล หรือจะติดเชื้อ คนพิการบางคนมีงานหรือเรียนอยู่แต่พอเป็นแผลก็ต้องทิ้งไปหมดเลย”</p> <p>คำพูดของไกรศรเห็นได้ชัดในเคสของจักรพงศ์ เขาพิการขณะเรียนปีสอง แม้จะฟื้นฟูความพิการได้แต่สิ่งที่ไม่เคยหายไปเลยคือแผลกดทับ ที่รั้งเขาเอาไว้ที่บ้าน ช่วงแรกๆหลังจากกลับจากโรงพยาบาล เขาต้องให้แม่ช่วยทำทุกอย่างอยู่หลายปี จะเข้าห้องน้ำก็เข้าไม่ได้เพราะบ้านยังไม่ได้ปรับให้อํานวยความสะดวก อะไรๆ ก็วางไว้ต่ำเกินกว่าที่คนนั่งวีลแชร์จะเอื้อมถึง ผ่านไป 2 ปีก็เริ่มปรับพื้นห้องน้ำ แม้แรกๆ จะรู้สึกเป็นภาระบ้าง แต่ที่บ้านก็ช่วยเหลือทุกอย่างจนไม่ได้รู้สึกกดดัน ระหว่างนั้นก็เกิดแผลกดทับใหม่อยู่เรื่อยๆ กระทั่งติดเชื้อและต้องคว้านเนื้อออก</p> <p>“อาการของแผลกดทับที่ติดเชื้อสังเกตง่ายๆ คือตอนเย็นจะมีอาการหนาวๆ ร้อนๆ ถึงแม้อากาศจะร้อนแต่ความรู้สึกเราหนาวมาก อีกอย่างคือสังเกตแผลคือ เวลาเรานั่งถ้าไม่ติดเชื้อแผลจะไม่ส่งกลิ่น แต่บางทีตอนเราขยับตัวมีกลิ่นออกมาเหมือนกลิ่นเน่า หากเป็นแบบนี้เชื้อจะลุกลามเร็วมาก ใช้เวลาแค่ประมาณ 3 วัน แผลก็กินลึก </p> <p>จนต้องรักษาด้วยการคว้านเนื้อสีดําหรือม่วงออกไปจนเห็นเป็นเนื้อสีแดงเท่านั้นเพราะหากเหลือเนื้อตาย เนื้อตายก็จะลามจนอาจต้องตัดทิ้งทั้งหมด เช่น หากเป็นแผลกว้าง 2 เซนติเมตร ก็จะตัดกว้าง 3 เซนติเมตร เพื่อกันการลุกลาม</p> <p>“หลังจากครั้งที่นอนโรงพยาบาลหลายวันแล้วกลับมาบ้าน ผมก็ยังใช้ชีวิตเหมือนเดิมจนแผลฉีกขาดและไม่ยอมหาย จากวันนั้นก็ 4 ปีแล้วที่มีแผลที่สะโพกย้อยด้านซ้าย คิดว่าแผลนี้เกิดจากความไม่สะอาด ช่วงนั้นต้องนั่งปลูกต้นไม้นานๆ บางทีก็มีน้ำกระเด็นเปียกโดยไม่รู้ตัว นั่งกดทับนานๆ ก็อาจจะทําให้เกิดแผลและการมีแผลกดทับก็กระทบชีวิตประจำวันมากกว่าไม่มีแผลหลายเท่าเพราะต้องระวังเยอะ นั่งเยอะก็ไม่ได้ ต้องนอนบ่อยๆ เปลี่ยนท่าไปมา ไม่อย่างนั้นแผลก็จะมีเลือด แต่เลือดไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวที่สุดเพราะสิ่งที่น่ากลัวคือบางครั้งเราใส่แพมเพิร์ส แล้วมีอุจจาระออกมา หากเราไม่ได้เปลี่ยนทันทีอุจจาระก็จะเข้าไปในแผล สุดท้ายก็ติดเชื้ออีก บางทีนั่งนานๆ แล้วร้อนหรือนอนหงาย 2-3 ชั่วโมงแผลก็กว้างขึ้นแล้วจากความร้อนแต่เราไม่รู้เพราะไม่มีความรู้สึกเจ็บ จะรู้สึกซ่าเหมือนคนเป็นเหน็บชา ครั้นจะผ่าตัดรักษาโดยการเอาเนื้อส่วนอื่นมาแปะก็ยากอีกเพราะผมเป็นคนผอม แผลก็เลยไม่ยอมหายสักที </p> <p>“ถ้าคนไม่เคยเห็นแผลกดทับก็อาจจะนึกไม่ออกว่าหน้าตาเป็นยังไง แผลของผมไม่ใหญ่ มองจากข้างนอกแล้วก็ดูไม่ลึก แต่จริงๆ แล้วแผลปริแตกที่เห็นลึกเข้าไปถึง 6 เซนติเมตร ข้างในก็เป็นแผลแดงสด ซึ่งถือว่าเป็นสีที่ดี ทุกๆ วันจะทำแผล 3 ครั้ง ถ้าแม่ไม่ว่างทำก็จะทำเองโดยใช้กระจกส่อง ซึ่งอาจจะไม่สะอาดเท่ามีคนทำให้ ช่วงหนึ่งผมเคยได้ยามาทา เขาบอกว่า 2-3 เดือนจะดีขึ้น ผมเองก็เหมือนจะดีขึ้นแต่ใช้ไปๆมาๆ แผลก็แย่ลงเหมือนดื้อยา จนผมต้องเปลี่ยนยาไปเรื่อยๆ จากแผลเล็กก็กลายเป็นแผลใหญ่ รักษามาใกล้จะหายพอติดเชื้อก็เกมส์เลย แผลใหญ่กว่าเดิมเพราะลามถึงกระดูก เคยทำแผลแล้วได้เศษกระดูกออกมาเลย”</p> <h2><span style="color:#2980b9;">ไม่ได้เจ็บแค่ร่างกาย แต่จิตใจก็เจ็บไม่แพ้กัน</span></h2> <p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53482122658_d9c8ab3f0e_b.jpg" /></p> <p>บาดแผลในร่างกายที่เกิดจากแผลกดทับเมื่อถึงระยะหนึ่งเราก็คงสังเกตได้ แต่บาดแผลที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ในจิตใจกลับยากที่จะสังเกต ดังเช่นที่อุทัยวรรณเจอครั้งที่เธอเป็นแผลหนักๆ เธอกลัว เครียดและรู้สึกว่าแผลจะไม่มีวันหาย กว่า 6 เดือนที่ต้องนอนโรงพยาบาลแบบไม่รู้ |