หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ชวนฟังเพลย์ลิสต์ 9 บทเพลงแห่งการประท้วงและการปฏิวัติเมียนมา เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 07 กุมภาพันธ์ 2567 23:12:29 ชวนฟังเพลย์ลิสต์ 9 บทเพลงแห่งการประท้วงและการปฏิวัติเมียนมา
<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-02-07 21:25</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: กิตติยา อรอินทร์</p> <p>แก้ไขภาพปก เมื่อ 7 ก.พ. 2567 เวลา 10.35 น.</p> </div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>คุยกับชาวไทยและชาวเมียนมาขอให้แนะนำเพลงที่ใช้ร้องในการประท้วง และฟังในการต่อสู้เพื่อการปฏิวัติ หลังกองทัพพม่าทำรัฐประหารเมื่อปี 2564 โดยมีทั้งเพลงที่แต่งขึ้นตั้งแต่การปฏิวัติ 8888 เพลงที่แต่งขึ้นใหม่หลังรัฐประหาร ไปจนถึงเพลงที่มาจากการทำงานร่วมกันระหว่างศิลปินไทย-เมียนมา</p> <p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53513936002_d4c7a45f6b_b.jpg" /></p> <h2><span style="color:#2980b9;">'ตเว่ติ๊ดส่า' หรือ 'อะเหย่จีปยี'</span></h2> <p>เริ่มต้นด้วยเพลงชาติของการประท้วงของชาวเมียนมา เพราะทุกครั้งที่มีชุมนุมของชาวพม่าในกรุงเทพฯ จะได้ยินเพลงนี้อยู่เสมอ 'ตเว่ติ๊ดส่า' หรือ 'คำสัญญาด้วยเลือด' และเพลงนี้ยังมีอีกชื่อคือ 'อะเหย่จีปยี' หรือ 'สิ่งสำคัญ' ประพันธ์เนื้อร้องและทำนองโดย 'ทูเอ่งติ่น' (Htoo Eain Tin) อดีตนักกิจกรรมนักศึกษาช่วงการปฏิวัติ 8888</p> <p>ชาวพม่า เล่าให้ฟังว่า 'ตเว่ติ๊ดส่า' เป็นเพลงปลุกใจในการประท้วงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1988 หรือ พ.ศ. 2531 จนถึงการทำรัฐประหารครั้งล่าสุด บทเพลงโดยคร่าวๆ มีความหมายถึงประชาชนอาจต้องยอมเสียสละชีวิตและเลือดเนื้อของตนเอง เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยในเมียนมา</p> <p>'นี่เป็นช่วงเวลาที่สำคัญมาก/เราต้องสามัคคีและเดินขบวนไปด้วยกัน/เพื่อเขียนประวัติศาสตร์บทใหม่ด้วยเลือดของเรา/เราจะรักษาคำสาบานด้วยเลือดของเรา/เราจะสละชีวิตเพื่อประเทศของเรา/เราจะเดินหน้าตามรอยทางเลือดของนกยูง' </p> <p>ก่อนหน้านี้เคยมีข้อสงสัยคำว่า 'นกยูง' ในเนื้อเพลง ต้องการสื่อสารความหมายถึงพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD ของอองซานซูจี หรือไม่ เนื่องจากสัญลักษณ์ของ ‘NLD’ เป็นนกยูงที่กำลังทำท่าต่อสู้เหมือนกัน แต่ฮีทเทอร์ แมคคลาแลน (https://journals.publishing.umich.edu/mp/article/id/3853/) นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเดย์ตัน และผู้ทำวิจัยเรื่องเพลงของประท้วงของชาวเมียนมา วิเคราะห์ว่า ในบริบทนี้ที่เพลงนี้ถูกแต่งขึ้นอาจหมายถึงการต่อต้านเผด็จการ และสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย ไม่น่าจะสื่อความหมายถึงพรรค NLD เนื่องจากสัญลักษณ์ 'นกยูง' ถูกนำมาใช้เป็นโลโกของ NLD ในช่วงการเลือกตั้งทั่วไปของเมียนมาเมื่อปี 2558 หรือในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2015</p> <p>ขณะที่บทความของ ข่าวสด อิงลิช (https://www.khaosodenglish.com/opinion/2021/03/01/do-you-hear-the-people-sing-a-guide-to-myanmar-protest-music/) ระบุทำนองเดียวกันว่า คำว่า ‘นกยูง’ ในเนื้อเพลง น่าจะสื่อความหมายถึงขบวนการนักศึกษาที่ลุกขึ้นมาต่อต้านเผด็จการทหาร </p> <p>สำหรับสัญลักษณ์นกยูงตั้งท่าต่อสู้ เคยใช้ในกลุ่มแนวร่วมนักศึกษาพม่าทั้งมวลเพื่อประชาธิปไตย (ABSDF) เมื่อทศวรรษ 1930s ในการต่อสู้เพื่อปลดแอกตัวเองจากจักรวรรดินิยมอังกฤษ</p> <p>youtube: https://www.youtube.com/watch?v=0EwZJhymCpQ (https://www.youtube.com/watch?v=0EwZJhymCpQ)</p> <p style="text-align: center;"> <iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/0EwZJhymCpQ?si=IMI4uKyXzAVrzzjn" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p> <h2><span style="color:#2980b9;">Revolution Means </span></h2> <p>"Revolution Means" ร้องโดย "โนเวม ทู" (Novem Htoo) นักร้องชื่อดัง แชมป์รายการประกวดร้องเพลง "The Voice" ประเทศเมียนมา เมื่อปี 2562 หรือ ค.ศ. 2019 ซึ่งหลังรัฐประหารล่าสุด โนเวม ทู เป็นหนึ่งในศิลปินที่มาร่วมต่อต้านเผด็จการร่วมกับประชาชนชาวเมียนมา</p> <p>ชาวพม่าแนะนำเพลงนี้ พร้อมระบุว่าเพลงของโนเวม ทู ทรงพลัง และสามารถยึดกุมแก่นสำคัญของแนวคิดการปฏิวัติเมียนมา หรือที่เรียกว่า 'การปฏิวัติผลิบาน' (Spring Revolution) อีกทั้ง บอกเล่าเรื่องการเดินทางสู่การสร้างระบอบสหพันธรัฐประชาธิปไตย และเพลงนี้สำหรับพวกเขาเหมือนทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการพูดถึงเรื่องการฟื้นฟูประชาธิปไตยในเมียนมา และการรวมพลังใจของผู้คน</p> <p>youtube: https://www.youtube.com/watch?v=14fuJ8wd-uo (https://www.youtube.com/watch?v=14fuJ8wd-uo)</p> <p style="text-align: center;"> <iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/14fuJ8wd-uo?si=OKbYlByLsPLhrFA4" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p> <h2><span style="color:#2980b9;">Break it Down</span></h2> <p>เพลงฮิปฮอป "Break it Down" เผยแพร่เมื่อปี 2566 เป็นการร่วมกันขับร้องเพลงระหว่างศิลปินแร็ปเปอร์ไทย 3Bone และวงศิลปินฮิปฮอปเมียนมา "The Synks"</p> <p>'เดฟ' 3Bone หนึ่งในศิลปินที่ได้ร่วมโปรเจกต์ "Break it Down" ให้สัมภาษณ์ถึงแนวคิดเพลงว่า ศิลปินพม่าเขาอยากทำเพลงเพื่อ '<strong>ล้มใครสักคน</strong>' คุณอยากเขียนเพลงนี้เพื่อล้มใคร หรือล้มล้างอะไร ก็เลยเป็นชื่อเพลง "Break It Down" ตรงตัวเลย จากนั้น ก็ให้ศิลปินแต่ละคนแยกย้ายไปแต่งเนื้อร้องให้ตรงกับธีม และมาอัดเพลงถ่ายมิวสิกวิดีโอร่วมกัน ตั้งแต่คุยจนจบกระบวนการทำเพลงทั้งหมดใช้เวลาราว 2-3 เดือน</p> <p>สำหรับเนื้อเพลง ท่อนของเดฟ ต้องการบอกเล่าถึงความเป็น 'สหาย' หรือเพื่อน ระหว่างคนไทยและเมียนมา แม้ว่าประวัติศาสตร์เมื่อก่อนทั้งสองชนชาติจะเคยทำสงคราม แต่ตอนนี้ประชาชนทั้ง 2 ประเทศเผชิญปัญหาเดียวกันคือ 'ระบอบเผด็จการทหาร' และเราจะไม่มีวันยอมรับรัฐบาลที่ไม่มีความชอบธรรม จุดเด่นอีกอย่างของเนื้อเพลงของศิลปินไทยคือการนำเอาเรื่องผู้ลี้ภัยมาบอกเล่าผ่านเพลงอีกด้วย</p> <div class="ืnote-box"> <div class="note-box"> <p style="text-align: center;">"เสียงใครเคาะประตู เตรียมตัวกระโดดออกทางหน้าต่าง ผู้คนโดนล้อม โดนล็อก บางคนเดินเลาะข้ามไทยมาทางป่า ยินดีต้อนรับ สู่ประเทศไทย Fuck มินอองลายควยคนไทยฝาก กูส่งแร็ปไทยไปประเทศเมียนมาร์ เพื่อเสรีภาพไอ้สัส"</p> <p style="text-align: center;">เนื้อเพลง Break it Down บางส่วน</p> </div> </div> <p>youtube: https://www.youtube.com/watch?v=Hd1YQ7oEzbM&list=RDHd1YQ7oEzbM&start_radio=1 (https://www.youtube.com/watch?v=Hd1YQ7oEzbM&list=RDHd1YQ7oEzbM&start_radio=1)</p> <div class="note-box"> <p>ทั้งนี้ จากการสอบถาม 3Bone ระบุว่า หนึ่งในศิลปินเมียนมาในโปรเจกต์ "Break it down" นามว่า FL3XX เสียชีวิตจากอาการเจ็บป่วย</p> </div> <p style="text-align: center;"> <iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/Hd1YQ7oEzbM?si=JtR_HZQawmYvsfXO" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p> <h2><span style="color:#2980b9;">"Lay down your guns"</span></h2> <p>"Lay Down Your Gun" ประพันธ์โดยนักไวโอลินนามว่า 'โผซาน' เป็นเพลงที่เรียกร้องให้ทหารพม่ายอมวางอาวุธ และยกธงขาวยอมแพ้ต่อกองกำลังปฏิวัติของประชาชน เพลงนี้เป็นเพลงใหม่ถูกแต่งหลังจากปฏิบัติการ 1027</p> <p>สำหรับปฏิบัติการหมายเลข 1027 เป็นปฏิบัติการที่เริ่มขึ้นเมื่อ 27 ต.ค. 2566 โดยกองกำลังพันธมิตรสามสหาย ประกอบด้วย กองกำลังโกก้าง MNDAA, กองกำลังปะหล่อง TNLA และกองกำลังอาระกัน AA ได้โจมตีค่ายทหารพม่าในรัฐฉานเหนือ บริเวณชายแดนติดกับประเทศจีน จนสามารถยึดเมืองสำคัญเอาไว้ได้โดยเฉพาะ 'เมืองเหล่ากาย' และปฏิบัติการดังกล่าวเป็นกำลังใจส่งต่อไปยังกองกำลังฝากประชาชน หรือ PDF ในฝั่งตะวันออกของเมียนมา ในการต่อสู้กับกองทัพพม่า</p> <p>youtube: https://www.youtube.com/watch?v=ZywKiefi2t8 (https://www.youtube.com/watch?v=ZywKiefi2t8)</p> <p style="text-align: center;"> <iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/ZywKiefi2t8?si=kJXLy6OUhtdZCi6-" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p> <h2><span style="color:#2980b9;">'อะโหล่มะชิ'</span></h2> <p>อะโหล่มะชิ เป็นเพลงที่ถูกร้องบ่อยมากในช่วงการประท้วงหลังรัฐประหารครั้งล่าสุด ชาวพม่าไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ประพันธ์ แต่งขึ้นในช่วงหลังการทำรัฐประหารปี 2564 </p> <p>ช่วงต้นของเพลงพูดถึงการต่อสู้ร่วมกันเพื่อเสรีภาพ และเพื่อประชาธิปไตยในพม่า และช่วงท่อนฮุคพูดถึงการ 'ขับไล่เผด็จการทหาร' (เนื้อเพลง แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า 'Let’s kick out the dictatos') และต่อด้วยคำว่า 'อะโหล่มะชิ' แปลว่า 'ปฏิเสธ' หรือสามารถแปลเป็นคำว่า 'ไม่เอาเผด็จการ' ได้เหมือนกัน</p> <p>จุดเด่นของเพลงนี้อีกอย่างคือใช้ทำนองเหมือนการตีหม้อ หรือสิ่งของ ซึ่งช่วงแรกหลังการทำรัฐประหาร เมื่อ 1 ก.พ. 2564 ทุกคืนชาวพม่าจะแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ตามคติพื้นถิ่นของชาวพุทธ โดยการเคาะหม้อ หรืออุปกรณ์เครื่องครัวจนเสียงดังระงม เพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายออกจากประเทศชาติ ซึ่งความหมายของ "สิ่งชั่วร้าย" ในที่นี้คือ "กองทัพพม่า" </p> <p>youtube: https://www.youtube.com/watch?v=3djeNvr4lo0 (https://www.youtube.com/watch?v=3djeNvr4lo0)</p> <p style="text-align: center;"> <iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/3djeNvr4lo0?si=EkplYblnjtKlQvZn" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p> <h2><span style="color:#2980b9;">The Way</span></h2> <p>“The Way” เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์สั้น ประพันธ์โดย ‘ลิน ลิน’ (Lynn Lynn) นักร้องเพลงร็อคเมียนมาชื่อดัง บทเพลงพูดถึงหนทางที่เราเลือกเพื่อการปฏิวัติพม่า และต้องไม่ยอมแพ้ที่จะบรรลุจุดประสงค์นั้นให้ได้</p> <p>youtube: https://youtu.be/WqKKS56G1Wc?si=M3I6ds3Fc_wAVIcr (https://youtu.be/WqKKS56G1Wc?si=M3I6ds3Fc_wAVIcr)</p> <p style="text-align: center;"> <iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/WqKKS56G1Wc?si=_cubYmPHlXwgSWHy" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p> <h2><span style="color:#2980b9;">We are friend </span></h2> <p>“เราคือเพื่อนกัน” เป็นเพลงของวงสามัญชน วงดนตรีประจำการชุมนุมคนรุ่นใหม่ประเทศไทย สำหรับเพลงนี้เมื่อปี 2564 ได้ถูกเอามาแปลเนื้อร้องเป็นภาษาพม่า และใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "We are friend" เพื่อสะท้อนความรู้สึกจากคนไทยที่ต้องการส่งกำลังใจ และแสดงจุดยืนเคียงข้าง 'เพื่อน' ชาวเมียนมาในการต่อสู้เพื่อระบอบสหพันธรัฐประชาธิปไตย </p> <p>youtube: https://www.youtube.com/watch?v=1SiX_6HxFb8 (https://www.youtube.com/watch?v=1SiX_6HxFb8)</p> <p style="text-align: center;"> <iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/1SiX_6HxFb8?si=LvTjcXqw5FoISTOL" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p> <h2><span style="color:#2980b9;">"กะบ่ามะเจ่บู" </span></h2> <p>ข้อมูลจาก ศิรดา เขมานิฏฐาไท นักวิชาการด้านเมียนมา ระบุว่า “กะบ่า มะเจ่ บู” (ကမ္ဘာမကြေဘူး) ซึ่งเป็นเพลงประจำการชุมนุมประท้วงตั้งแต่สมัย 1988 จึงถูกเรียกว่าเป็นเพลงปฏิวัติ เพลงนี้แต่งโดย “หน่ายน์ เมียนมา” ซึ่งยืมทำนองมาจากเพลง "Dust in The Wind" ของวง Kansas</p> <p>ความหมายของชื่อเพลงคือ ‘จะไม่มีวันจำนนจนกว่าโลกสิ้นสลาย’ (Until the End of the World) ซึ่งในที่นี้ก็คือ ‘ไม่จำนนต่อเผด็จการทหาร’ และ ‘ไม่ยอมแพ้ที่จะต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย’ สิ่งที่น่าสนใจของชื่อเพลงอีกประการนั่นคือ ชื่อเพลงในการประท้วงนั้นตั้งให้คล้ายกับเพลงชาติของประเทศเมียนมา "กะบ่า มะเจ่ เหมี่ยน หม่า ปหยี่" </p> <p>จุดเด่นของเนื้อเพลงมุ่งเน้นไปที่ความเสียสละเพื่อประชาธิปไตยของเหล่าวีรชน และมีลักษณะที่ปลุกใจมวลชน เพราะเนื้อเพลงเรียกร้องให้ประชาชนรำลึกถึงวีรชน และอย่านิ่งเฉยขอให้ออกมาต่อสู้เหมือนวีรชนที่สูญเสียเลือดเนื้อในสงคราม เพื่อประชาธิปไตย </p> <p>นอกจากนี้ ในเนื้อเพลงยังอ้างอิงถึงบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ชาตินิยมพม่าสองคน นั่นคือ "โก่ด่อมาย (https://www.matichon.co.th/article/news_866669)" และ "นายพลอองซาน" </p> <div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53515144560_97cac8a1d6_w.jpg" /></div> <p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">โก่ด่อมาย</span> (https://www.matichon.co.th/article/news_866669)</p> <p>สำหรับอองซาน หลายคนที่ติดตามประวัติศาสตร์น่าจะคุ้นเคย เพราะเขาถูกขนานนามว่าเป็นบิดาของประเทศพม่า พาประเทศพม่าปลดแอกจากจักรวรรดินิยมอังกฤษหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ขณะที่ “โก่ด่อมาย” คือนักชาตินิยมในยุคอาณานิคมที่ปลุกระดมให้คนพม่าออกมาต่อสู้เพื่อเอกราช เขาใช้วรรณกรรมเป็นเครื่องมือหลักในการสื่อสารกับมวลชน เนื้อเพลงของกะบ่า มะเจ่ บู พยายามบอกว่า ประวัติศาสตร์ที่ ‘โก่ด่อมาย’ เคยสร้างไว้ มาตอนนี้ถูกทำลายโดยระบอบเผด็จการทหารแล้ว</p> <p>youtube: https://www.youtube.com/watch?v=MRqPofsJwrE (https://www.youtube.com/watch?v=MRqPofsJwrE)</p> <p style="text-align: center;"> <iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/MRqPofsJwrE?si=CyV6qRYtMBP3qg7M" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p> <div class="more-story"> <p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p> <ul> <li>เสียงตะโกนและเสียงร้องในหมู่ผู้ชุมนุมประท้วงที่เมียนมา (https://prachatai.com/journal/2021/02/91632)</li> </ul> </div> <h2><span style="color:#2980b9;">Revolution</span></h2> <p>สำหรับเพลง Revolution หรือการปฏิวัติ ของ "Generation Z" หนึ่งในเพลงที่ชาวพม่าร้องระหว่างประท้วงบนท้องถนน เพื่อต่อต้านกองทัพพม่า เพลงมีจังหวะที่ช้า และเนื้อเพลงคร่าวๆ สื่อถึงการปลุกใจประชาชนให้ต่อสู้กับเผด็จการทหารพม่าแม้ต้องเสียสละเลือดและเนื้อ อย่าให้ความกลัวมาหยุดเรา และเราต้องกล้าหาญ และสู้จนกว่าจะสามารถล้มระบอบเผด็จการทหารให้จงได้</p> <p>youtube: https://www.youtube.com/watch?si=J_oh5SDIQismvavO&v=ew2v3DtJo7E&feature=youtu.be (https://www.youtube.com/watch?si=J_oh5SDIQismvavO&v=ew2v3DtJo7E&feature=youtu.be)</p> <p style="text-align: center;"> <iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/ew2v3DtJo7E?si=utfVOnNQwf53VP-N" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p> </div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">วัฒนธรรม[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ต่างประเทศ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เมียนมา[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พม่า[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เพลง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ศิลปะแห่งการต่อต้าน[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div> https://prachatai.com/journal/2024/02/107968 |