[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 09 กุมภาพันธ์ 2567 17:02:19



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เปิดคำกล่าว BRN บนโต๊ะพูดคุยสันติภาพ เจรจารัฐประชาธิปไตยต้อง 'ถอยคนละก้าว' แล
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 09 กุมภาพันธ์ 2567 17:02:19
เปิดคำกล่าว BRN บนโต๊ะพูดคุยสันติภาพ เจรจารัฐประชาธิปไตยต้อง 'ถอยคนละก้าว' แล้วมุ่งแก้ที่รากเหง้า
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-02-09 14:35</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>มูฮำหมัด ดือราแม : รายงาน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ฮาร่า ชินทาโร่ ‘ผู้เชี่ยวชาญภาษามลายู’ แปลเอกสาร BRN ระบุ การเจรจายุคใหม่กับไทยภายใต้รัฐบาลประชาธิปไตย จำเป็นต้อง “ถอยหลังคนละก้าว” เพื่อทบทวนการเจรจาสันติภาพที่ผ่านมา แม้จริงจัง แต่อุปสรรคยังมากมายและถูกมองข้ามตลอด รัฐบาลประชาธิปไตยเป็นพลวัตสำคัญ แต่ยังหวั่นบางหน่วยงานรัฐ ดำเนินคดีนักกิจกรรมทำลายบรรยากาศพูดคุย ทั้งที่การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นปัจจัยความสำเร็จ ขอ 3 ข้อ เปิดทางสันติภาพปาตานี ‘ออกกฎหมายรองรับกระบวนการสันติภาพ - ตั้งคณะ กมธ.ถาวร – พร้อมพูดคุยที่ปัญหารากเหง้า’</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ต้อง “ถอยหลังคนละก้าว” เพื่อทบทวนกระบวนการที่ผ่านมา</span></h2>
<p>ฮาร่า ชินทาโร่ นักวิชาการอิสระ และผู้เชี่ยวชาญด้านภาษามลายู ได้โพสต์ข้อความผ่านเพจส่วนตัว ระบุว่า ฝ่ายคณะพูดคุยของ BRN ติดต่อและส่งคำกล่าวเปิดการพูดคุยครั้งที่ 7 (วันที่ 6 – 7 กุมภาพันธ์ 2567) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นภาษามลายูมาให้ จึงได้ทำการแปลเอกสารดังกล่าว เนื่องจากเชื่อว่าเป็นข้อมูลชิ้นสำคัญที่แสดงถึงจุดยืนของคณะพูดคุยฝ่าย BRN ต่อกระบวนการสันติภาพ สภาพปัญหา และแนวทางแก้ไข</p>
<p>เอกสารดังกล่าวระบุว่า “กระผม อนัส อับดุลเราะห์มาน หัวหน้าคณะพูดคุยเจรจาสันติภาพของแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี (BRN) ก่อนริเริ่มการเจรจาในยุคใหม่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลไทยชุดใหม่ที่เกิดจากการเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตย พวกเราจำเป็นต้องถอยหลังคนละก้าวเพื่อพิจารณาและทบทวนการเจรจาสันติภาพที่ดำเนินมาก่อนหน้านี้</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>ไทย- BRN เห็นชอบ 3 หลักร่วมเพื่อสันติสุข มุ่งลดความรุนแรง ปรึกษาหารือประชาชน แสวงหาทางออกทางการเมือง (https://prachatai.com/journal/2024/02/107972)</li>
<li>ติดตามเจรจาสันติภาพไทย-BRN จับตาข้อตกลงร่วม JCPP แนะให้ภาคประชาสังคมคุมกระบวนการปรึกษาหารือประชาชน (https://prachatai.com/journal/2024/02/107953)</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">แม้จริงจัง แต่อุปสรรคยังมากมายและถูกมองข้ามตลอด</span></h2>
<p>พวกเราได้เห็นพองต้องกันว่า การเจรจาสันติภาพเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดและถูกต้องเพื่อแสวงหาแนวทางแก้ไขเพื่อนำไปสู่สันติภาพอันแท้จริงและยั่งยืน ความพยายามเพื่อสร้างสันติภาพที่ปาตานีได้ดำเนินมาเป็นเวลากว่าหนึ่งทศวรรษ โดยเฉพาะระหว่าง BRN กับคณะพูดคุยของรัฐบาลไทย อย่างไรก็ตาม กระบวนการสันติภาพมักจะพบกับทางตันที่เกิดจากปัจจัยบางอย่างที่เป็นอุปสรรคสำหรับความคืบหน้าในกระบวนการเจรจา เช่น</p>
<p>1. ยังไม่มีจุดร่วมที่มีนัยสำคัญระหว่าง BRN กับคณะพูดคุยของรัฐบาลไทย</p>
<p>2. รัฐบาลทหารไทยก่อนหน้านี้พยายามจะหลีกเลี่ยงการพูดคุยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับรากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งที่แท้จริง ทั้ง ๆ ที่ BRN ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความจริงจังมาหลาย ๆ ครั้งในรูปแบบการหยุดยิงหลาย ๆ ครั้งก็ตาม เช่นการหยุดยิงฝ่ายเดียวในเดือนเมษายน 2560 เพื่อแสดงถึงความจริงจังในการสร้างสันติภาพให้แก่ประชาชนปาตานีและสังคมนานาชาติ และการหยุดยิ่งฝ่ายเดียวในช่วงโรคระบาด Covid-19 ถึงแม้ว่าฝ่ายความมั่นคงของรัฐบาลทหารในขณะนั้นฉวยโอกาสหลายครั้งเพื่อโจมตีนักต่อสู้ปาตานี จนหลายสิบคนเสียชีวิตเป็นชะฮีด แต่ BRN ใช้ความอดทนเพื่อแสดงถึงความจริงจัง</p>
<p>3. ข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางแก้ไขความขัดแย้งจากฝ่ายนักต่อสู้ปาตานีถูกมองข้ามตลอด และไม่เคยได้รับความสนใจอย่างจริงจัง</p>
<p>4. จุดอ่อนหลายอย่างที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ในการเจรจาควรได้รับการแก้ไข เช่นวิธีการดำเนินการเจรจา กลไกการนำปฏิบัติข้อตกลงและความสอดคล้องกับมาตรฐานการเจรจาสากลที่ถูกนำมาใช้อยู่ในสังคมนานาชาติ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">รัฐบาลประชาธิปไตย พลวัตสำคัญในการสร้างสันติภาพ แต่ยังหวั่นบางหน่วยงานรัฐ</span></h2>
<p>ประเด็นเหล่านี้ควรเป็นบทเรียนสำหรับทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อขับเคลื่อนการเจรจาให้มีความคืบหน้าต่อไป และการจัดตั้งรัฐบาลผ่านวิธีการประชาธิปไตยหลังการเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้ว ถือเป็นพลวัตสำคัญในการสร้างสันติภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาคมปาตานีทั้งปวงรอคอยและคาดหวังมานาน และ สังคมนานาชาติก็อยากเห็นว่า สันติภาพอันแท้จริง หรือสันติภาพเชิงบวก (positive peace) เกิดขึ้นที่ปาตานี</p>
<p>อย่างไรก็ตาม ยังมีอุปสรรคจากบางฝ่าย โดยเฉพาะยังมีหน่วยงานของรัฐบาลไทยเองที่สร้างบรรยากาศที่คุกคาม และขีดกั้นกระบวนการสันติภาพ และอาจจะทำลายความน่าเชื่อถือของโต๊ะเจรจาที่กำลังเกิดขึ้นได้ด้วย</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ดำเนินคดีนักกิจกรรม ทำลายบรรยากาศพูดคุย</span></h2>
<p>ตัวอย่างเช่น ณ ตอนนี้ก็มีการกดขี่ การคุกคามและการข่มขู่นักกิจกรรมภาคประชาสังคมที่ปาตานีโดยใช้วิธีการที่เรียกว่า “การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจการสาธารณะ (Strategic Lawsuit Against Public Participation, SLAPP)” ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ขัดกับหลักประชาธิปไตย ที่กดดันและยังขัดขวางการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมการปรึกษาหารือกับประชาชน ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นสารัตถะที่ได้รับการบันทึกไว้ในหลักการทั่วไปก่อนหน้านี้ และยังบังคับใช้กฎหมายที่ไม่สมควรเพื่อข่มขู่ ควบคุม ปิดปากและจำกัดพื้นที่ทางการเมืองสำหรับนักกิจกรรมภาคประชาสังคมที่ปาตานี</p>
<p>การกระทำเช่นนี้จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเจรจาสันติภาพที่กำลังเกิดขึ้น และอาจจะทำให้ประชาชนปาตานีไม่มั่นใจและไม่เชื่อมั่นในการสร้างสันติภาพที่ดำเนินโดยรัฐบาลไทย</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นปัจจัยความสำเร็จ</span></h2>
<p>... การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการเจรจาสันติภาพเป็นปัจจัยสำคัญและยังเป็นตัวกำหนดความสำเร็จของกระบวนการสันติภาพ จึงต้องได้รับความเคารพและการพิจารณา</p>
<p>รัฐบาลประชาธิปไตยที่นำโดยนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน และข้าราชการในรัฐบาลไทยทั้งหลายในยุคประชาธิปไตยนี้ ควรสร้างความมั่นใจในหมู่ประชาชนปาตานี ประชาชนไทยและสังคมนานชาติว่า การแก้ไขความขัดแย้งที่ปาตานีด้วยแนวทางทางการเมือง เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดเพื่อยุติความขัดแย้งในพื้นที่นั้นอย่างมีศักดิ์ศรี ยั่งยืนและอย่างแท้จริง</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ขอ 3 ข้อ เปิดทางสันติภาพปาตานี ‘กฎหมายรองรับ-กมธ.ถาวร-พูดคุยรากเหง้า’</span></h2>
<p>ทั้งนี้ เพื่อแสดงความจริงจัง BRN ขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยดำเนินการประเด็นต่อไปนี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ทุกฝ่าย ได้แก่</p>
<p>1. รัฐบาลไทยต้องบัญญัติกฎหมายฉบับหนึ่งเพื่อรองรับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสันติภาพปาตานีทุกประเด็น</p>
<p>2. รัฐสภาไทยจำเป็นต้องจัดตั้งคณะกรรมาธิการถาวรชุดหนึ่งตามกลไกรัฐสภา ที่รับผิดชอบโดยตรงต่อกระบวนการสันติภาพปาตานี</p>
<p>3. เพื่อแก้ไขความขัดแย้งที่ปาตานีอย่างยั่งยืนและมีศักดิ์ศรี รัฐบาลไทยต้องพร้อมที่จะพูดคุยในประเด็นรากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งที่ยืดเยื้อนี้ และแสวงหาแนวทางแก้ไขที่ตรงจุดและสอดคล้องกับความใฝ่ฝันและความต้องการของประชาชนปาตานีในประชาคมปาตานี </p>
<p>ดังนั้น พวกเราคาดหวังว่า ในการประชุมครั้งนี้ ทั้ง 2 ฝ่ายจะสามารถพูดคุยประเด็นเกี่ยวกับทิศทางของกระบวนการเจรจาสันติภาพได้ ซึ่งเป็นการต่อยอดจากการพูดคุยรอบก่อนหน้านี้ เป็นก้าวไปข้างหน้า และประสิทธิภาพกับประสิทธิผลในการแลกเปลี่ยนประเด็นสำคัญเกี่ยวกับวิธีการดำเนินการพูดคุย กลไกในการนำมาปฏิบัติข้อตกลง และรายละเอียดของหลักการทั่วไปและแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อสร้างสันติสุขแบบองค์รวม”</p>
<div class="ืnote-box">
<div class="note-box">
<p><strong>อ่านต้นฉบับภาษามลายู : Link (https://www.facebook.com/shintaro.hara.75/posts/pfbid0L8fDaGrK3NqZ1575VaDA63VMKonKEb5v9CDuyQ8nGeH8rXdVBRYQ3M6tbNQCW5p5l)</strong></p>
<p>เอกสารแปลฉบับนี้ ยังได้ระบุรายชื่อผู้เข้าร่วมการพูดคุยครั้งนี้ ประกอบด้วย</p>
<p>ตัน ศรี ดาโต๊ะ ศรี พล.อ. ฮัจญี ซุลกิฟลี บิน ฮัจญี ไซนัล อาบีดิน หัวหน้าผู้อำนวยความสะดวกในกระบวนการพูดคุย ฝ่ายมาเลเซีย</p>
<p>นายฮาฟีซู อิสลาอีล หัวหน้ากองเลขาธิการการเจรจาสันติภาพ</p>
<p>นายฉัตรชัย บางชวด หัวหน้าคณะพูดคุยฝ่ายไทย (PEDP/RTG)</p>
<p>ส่วนคณะพูดคุยฝ่าย BRN ได้แก่</p>
<ol>
<li>นายอนัส อับดุลเราะห์มาน หัวหน้าคณะพูดคุยฝ่าย BRN</li>
<li>นายคาลิล บิน อับดุลเลาะห์ (E.Khalil Bin Abdullah)</li>
<li>นาย มูฮัมหมัด ซัมซูล บิน ซัมซุดิน (En. Muhammad Samsul Bin Samsudin)</li>
<li>นาย มะมุน อับดุลการิม (En. Makmun Abdulkarim)</li>
<li>นาย นิมะตุลลา บิน ซือรี (En. Nikmatullah Bin Seri)</li>
<li>นาย อาหมัด นูร อับดุลเลาะห์ (En. Ahmad Nur Abdullah)</li>
<li>นาย มูฮัมหมัด ฮานิฟ อับดุลมาญิด (En. Muhamad Hanif Abdulmajid)</li>
</ol>
<p>รวมทั้ง นาง Siri Skare และ รศ. ดร. มารค ตามไท ในฐานะผู้เชี่ยวชาญนานาชาติ</p>
</div>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ความมั่นคง[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การสร้างสันติภาพ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รัฐบาลประชาธิปไตย[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สันติภาพปาตานี[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AE%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B9%88" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ฮาร่า ชินทาโร่[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ชายแดนใต้[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/brn" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">BRN[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/107985