[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2567 14:50:55



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 5-11 ก.พ. 2567
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2567 14:50:55
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 5-11 ก.พ. 2567
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2024-02-11 14:16</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p><strong>งานวิจัยจุฬาฯ ชี้ แรงงานอาชีวะไทยฝีมือโดดเด่น เป็นที่ต้องการของตลาดในและต่างประเทศ</strong></p>
<p>11 ก.พ. 2567 นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้ความสำคัญกับแนวนโยบายในการยกระดับระบบอาชีวศึกษาไทย โดยเฉพาะการเสริมทักษะขั้นสูงและเฉพาะทาง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และตรงกับความต้องการในตลาดแรงงานโลก ซึ่งจากผลการวิจัยเกี่ยวกับแรงงานอาชีวศึกษาไทยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระบุว่าแรงงานอาชีวะไทยมีฝีมือโดดเด่น หากได้รับการฝึกฝนพัฒนาอย่างจริงจัง จะเป็นกำลังสำคัญผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ</p>
<p>โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยข้อมูลการศึกษาวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพและเอกลักษณ์แรงงานอาชีวศึกษาไทย ซึ่งระบุว่า แรงงานอาชีวะไทยมีเอกลักษณ์อันเป็นที่ยอมรับและต้องการในตลาดแรงงานทั้งภายในและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมที่ต้องใช้ทักษะฝีมือและความชำนาญสูง นอกจากนี้ แรงงานอาชีวะไทยยังมีความแตกต่างจากแรงงานอาชีวะประเทศอื่น โดยแรงงานอาชีวะไทยมีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีสัมมาคารวะ เป็นมิตร กินอยู่ง่าย และมีน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูล ซึ่งทำให้นายจ้างเกิดความประทับใจ อย่างไรก็ดี หากนักศึกษาและแรงงานอาชีวะไทยได้รับการสนับสนุนโดยการเพิ่มทักษะความรู้เฉพาะทาง รวมถึงการสื่อสารภาษาต่างประเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ จะทำให้นักเรียนและแรงงานอาชีวะไทยมีความโดดเด่นอย่างก้าวกระโดด ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศและผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจไทย </p>
<p>โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่านายกรัฐมนตรีเห็นถึงความสำคัญของนักเรียนและแรงงานอาชีวศึกษาไทยต่อภาคอุตสาหกรรมและระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยได้สั่งการเดินหน้านโยบายยกระดับระบบอาชีวศึกษาไทยสู่มาตรฐานสากล เสริมทักษะขั้นสูงและเฉพาะทาง รวมถึงทักษะที่มีแนวโน้มจำเป็นในอนาคต เพื่อให้ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ พร้อมแสวงหาความร่วมมือด้านอาชีวศึกษากับประเทศต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ นักเรียนและบุคลากร และแนวปฏิบัติที่ดีระหว่างกัน รวมถึงแก้ปัญหาความขัดแย้ง ส่งเสริมภาพลักษณ์อาชีวศึกษาไทยในเชิงบวก เพื่อสนับสนุนให้มีการเรียนสายอาชีพมากขึ้น แก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานทักษะมีฝีมือจากอาชีวศึกษาในหลายอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ</p>
<p>“นายกรัฐมนตรีกำหนดนโยบายในการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนและแรงงานด้านอาชีวศึกษา โดยเชื่อว่านักเรียนและแรงงานอาชีวะมีคุณค่าต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ มีศักยภาพเป็นที่ต้องการของตลาดโลก โดยรัฐบาลเดินหน้าเสริมจุดแข็งแก่ระบบอาชีวศึกษาไทย ทั้งการ Upskill และ Reskill ส่งเสริมการพัฒนาทักษะใหม่ที่จำเป็น ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงาน พร้อมเพิ่มขีดความสามารถทางการแข็งขันของแรงงานไทยในระดับโลก” นายชัย กล่าว</p>
<p>ที่มา: เว็บไซต์รัฐบาลไทย, 11/2/2567 (https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/78741)</p>
<p><strong>เตือนยื่นต่อใบอนุญาตแรงงานต่างด้าว 4 สัญชาติ</strong></p>
<p>นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2565 เห็นชอบให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อทำงานถึงวันที่ 13 ก.พ. 2566 แล้ว อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานต่อไปได้ ถึงวันที่ 13 ก.พ. 2567 หรือวันที่ 13 ก.พ. 2568 ตามแต่ละกรณีนั้น สำหรับแรงงานต่างด้าวที่ใบอนุญาตทำงานจะหมดอายุในวันที่ 13 ก.พ. 2567 หากประสงค์จะทำงานต่อไปถึง 13 กุมภาพันธ์ 68 สามารถทำได้ โดยต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ที่เว็บไซต์ e-workpermit.doe.go.th พร้อมเอกสารหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ (บต. 50 อ. 5) และชำระค่าธรรมเนียมค่ายื่นคำขอ ฉบับละ 100 บาท และค่าธรรมเนียมต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ฉบับละ 900 บาท ภายในวันที่ 13 ก.พ. 2567</p>
<p>หลังจากดำเนินการครบถ้วนแล้ว ให้ยื่นหลักฐานการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรฯ (Visa) ไม่น้อยกว่าวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 และหลักฐานการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน หรือการทำประกันสุขภาพกับกระทรวงสาธารณสุข แล้วแต่กรณี ต่อกรมการจัดหางาน</p>
<p>กรมการจัดหางาน ยืนยันว่าไม่มีการขยายระยะเวลา หากต้องการให้แรงงานทำงานต่อไปถึงวันที่ 13 ก.พ. 2568 ให้เร่งดำเนินการยื่นเอกสารต่ออายุใบอนุญาตภายในกำหนด มิฉะนั้นการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานจะเป็นอันสิ้นสุดแรงงานต่างด้าวต้องเดินทางกลับประเทศต้นทางและหากประสงค์จะกลับเข้ามาทำงาน ในประเทศไทย ต้องดำเนินการตามกระบวนการนำเข้า MOU</p>
<p>ทั้งนี้ หากติดปัญหาไม่สามารถดำเนินการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเองได้ สามารถติดต่อขอรับบริการจากเจ้าหน้าที่ได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 10 ในท้องที่ซึ่งเป็นที่ตั้งสถานที่ทำงานของคนต่างด้าว หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร. 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. 1694</p>
<p>ที่มา: สำนักข่าวไทย, 10/2/2567 (https://tna.mcot.net/politics-1317744)</p>
<p><strong>"เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน" ยื่นหนังสือถึง "อสส." ให้ยุติการดำเนินคดีการเมือง ม.112-ม.116</strong></p>
<p>ที่สำนักงานอัยการสูงสุด วันที่ 9 ก.พ. กลุ่มเครือข่ายเเรงงานเพื่อสิทธิประชาชน ประมาณ 20 คน ได้เดินทางมายื่นหนังสือถึงอัยการสูงสุด ขอให้ยุติการดำเนินคดีทางการเมือง มาตรา 112 เนื่องจากเห็นว่า การดำเนินคดีไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ</p>
<p>จากนั้นได้อ่านเเถลงการณ์เป็นเนื้อหาในหนังสือความว่า เรียน อัยการสูงสุด จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่เริ่มการชุมนุมของ "เยาวชนปลดแอก" เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2567 มีประชาชนที่ถูกดำเนินคดีจากสถานการณ์ชุมนุมและการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ไปแล้วอย่างน้อย 1,947 คน ในจำนวน 1,268 คดีในจำนวนนี้ เป็นเด็กและเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี จำนวน 286 ราย ใน 217 คดี สำหรับสถิติการดำเนินคดี แยกตามข้อกล่าวหาสำคัญ ได้แก่</p>
<p>1. ข้อหา "หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย</p>
<p>263 คน ในจำนวน 288 คดี</p>
<p>2. ข้อหา "ยุยงปลุกปั่น" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 147 คน</p>
<p>ในจำนวน 45 คดี</p>
<p>3. ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 1,469 คน ในจำนวน 664 คดี (นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 ที่เริ่มมีการดำเนินคดีข้อหานี้ต่อผู้ชุมนุมและทำกิจกรรมทางการเมือง)</p>
<p>4. ข้อหาตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 179 คน ในจำนวน 91 คดี</p>
<p>5. ข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มีผู้ถูกกล่าวหาอย่างน้อย 197 คน ในจำนวน 215 คดี</p>
<p>6. ข้อหาละเมิดอำนาจศาลอย่างน้อย 43 คน ใน 25 คดี และคดีดูหมิ่นศาลอย่างน้อย 34 คน ใน 10 คดี</p>
<p>จากจำนวนคดี 1,268 คดีดังกล่าว มีจำนวน 494 คดี ที่สิ้นสุดไปแล้ว เท่ากับยังมีคดีอีกกว่า 774 คดีที่ยังดำเนินอยู่ในกระบวนการชั้นต่างๆ ซึ่งอยู่ในกระบวนการทำงานของพนักงานอัยการเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน ซึ่งเป็นการรวมตัวของกลุ่มบุคคลเพื่อรณรงค์สิทธิแรงงานสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย เห็นว่าการดำเนินคดีกว่า 774 คดีซึ่งยังไม่ถึงที่สุดนั้น</p>
<p>ท่านในฐานะพนักงานอัยการมีบทบาทอย่างยิ่งต่อการดำเนินคดีและการรักษาความเป็นธรรม ทั้งนี้เนื่องจาก</p>
<p>1. คดีการเมืองกว่า 774 คดีนั้น ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในสมัยของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งสืบทอดอำนาจมาจากรัฐบาลเผด็จการ และเกิดจากมูลเหตุความเห็นที่แตกต่างทางการเมือง</p>
<p>การแสดงออกทางการเมืองและความขัดแย้งทางการเมือง ไม่ใช่คดีที่เกิดจากความตั้งใจเป็นอาชญากร ต้องการก่อเหตุร้ายหรือความไม่ปลอดภัยขึ้นในสังคม ในขณะที่ปัจจุบันพรรคแกนนำรัฐบาลได้เปลี่ยนผ่านเป็นพรรคของประชาชน คดีความทางการเมืองซึ่งเกิดจากการชุมนุมทางการเมืองหรือการแสดงออกทางการเมือง ที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้น จึงสมควรได้รับการแก้ไขผ่านกระบวนการยุติธรรม</p>
<p>2. คดี 428 คดี จาก 774 คดีนั้นเกิดขึ้นเป็นคดีผ่าฝืนพระราชกำหนดการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ซึ่งในห้วงเวลาดังกล่าวสถานการณ์โรคระบาดที่แพร่หลาย มีประชาชนเสียชีวิตจำนวนมาก การได้รับวัคซีนล่าช้า การควบคุมโรคโดยการปิดสถานที่ต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อการทำมาหากิน เศรษฐกิจและสังคมของประชาชน ทำให้ประชาชนออกมาชุมนุมจำนวนมาก เพราะการชุมนุมเป็นเพียงไม่กี่หนทางที่จะสื่อสารต่อผู้มีอำนาจปกครองบ้านเมือง และเนื่องจากมีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทำให้ประชาชนถูกจำกัดเสรีภาพในการชุมนุม ณ ขณะนั้นและทำให้ถูกดำเนินคดี และถูกสลายการชุมนุม หากสังคมอยู่ในภาวะปกติ คดีดังกล่าวย่อมไม่เกิดขึ้น ในขณะที่ปัจจุบันสถานการณ์โรคระบาดได้ผ่อนคลายลงกลับคืนสู่สถานการณ์ปกติแล้ว แต่ประชาชนที่ออกมาเรียกร้องทางการเมืองกลับต้องแบกรับภาระทางคดีต่อไป ทำให้ต้องเสียทั้งเงินและเวลาในการต่อสู้คดี เช่นเดียวกับหน่วยงานของรัฐ ทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานอัยการ และศาลยุติธรรมที่ต้องเสียเวลาดำเนินคดีนับร้อยคดีโดยไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ</p>
<p>3. การดำเนินคดีทางการเมืองนั้นละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองข้อ 19 และข้อ 21 และ สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และส่งผลต่อประชาธิปไตย ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อสังคม สังคมไทยจะพัฒนาได้ก็ด้วยการเคารพความเห็นที่แตกต่างและหลากหลาย มิใช่การใช้อำนาจดำเนินคดีต่อประชาชน</p>
<p>4. การดำเนินคดีต่อเยาวชนกว่า 286 คน ที่แสดงออกทางการเมืองนั้นไม่เป็นผลดีต่อเยาวชนและสังคมโดยรวม เพราะเด็กนั้นย่อมมีสิทธิที่จะมีส่วนร่วม สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา และสิทธิที่จะได้รับการปกป้อง</p>
<p>คุ้มครอง การดำเนินคดีต่อเยาวชนเพียงเพราะการแสดงออกทางการเมืองนั้นยังขัดต่อหลักการประโยชน์สูงสุดของเด็กและละเมิดต่ออนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก</p>
<p>5. เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชนเห็นว่าพนักงานอัยการเข้ามามีบทบาทอย่างมีนัยสำคัญในการใช้อำนาจตามมาตรา 21 พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มีคำสั่งไม่ฟ้องคดีฝ่าฝืนพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินกว่า 63 คดี ซึ่งเป็นการใช้อำนาจในเชิงบวกให้ความเป็นธรรมต่อประชาชน และเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชนจึงขอให้ท่านพิจารณาสั่งไม่ฟ้อง ไม่ยื่นคำร้อง ไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกา ถอนฟ้อง ถอนคำร้อง ถอนอุทธรณ์ และถอนฎีกา คดีซึ่งเกิดจากการชุมนุมทางการเมืองหรือการแสดงออกทางการเมือง 774 คดีที่ยังไม่ถึงที่สุด เนื่องจากการดำเนินคดีทางการเมืองต่อไปนั้นไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน ตามมาตรา 21 พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553</p>
<p>ทั้งนี้ นอกจากการไม่ดำเนินคดีทางการเมืองจะทำให้หน่วยงานรัฐมีเวลาดูแลประชาชนได้เพิ่มมากขึ้น ยังมีบทบาทช่วยให้คลี่คลายความขัดแย้งในทางการเมืองซึ่งดำรงอยู่มาอย่างยาวนาน การคืนความปกติให้แก่ประชาชนนั้นเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนอย่างแท้จริงด้วยความเคารพต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน</p>
<p>ลงชื่อเเถลงการณ์โดย ธนพร วิจันทร์ เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน</p>
<p>โดยมีตัวเเทนจากสำนักงานอัยการสูงสุดมารับหนังสือเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป</p>
<p>ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์, 9/2/2567 (https://www.thairath.co.th/news/politic/2762000)</p>
<p><strong>รมว.แรงงานหารือทูตซาอุฯ เตรียมขยายตลาดแรงงานไทย โดยเฉพาะกลุ่มที่มีทักษะฝีมือ</strong></p>
<p>นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับนายอับดุลเราะห์มาน อับดุลอะซีซ อัลซุฮัยบานี (H.E. Mr. Abdulrahman Abdulaziz Alsuhaibanni) เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียประจำประเทศไทย ในโอกาสเข้าพบเพื่อหารือด้านการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานที่มีทักษะฝีมือ โดยมีนายธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสมาสภ์ ปัทมะสุคนธ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงแรงงาน ร่วมให้การต้อนรับ ณ ห้องจัตุมงคล ชั้น 6 อาคารกระทรวงแรงงาน</p>
<p>นายพิพัฒน์ กล่าวว่า ในวันนี้ตนพร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงแรงงานยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสต้อนรับท่านอับดุลเราะห์มาน อับดุลอะซีซ อัลซุฮัยบานี เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียประจำประเทศไทย นับตั้งแต่ไทยและซาอุดีอาระเบียได้ฟื้นฟูความสัมพันธ์เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 ตนมีความยินดีที่ได้เห็นโอกาสเกิดขึ้นมากมายสำหรับนักลงทุนทั้งไทยและซาอุดีอาระเบีย รวมถึงโอกาสให้แรงงานไทยได้เดินทางไปทำงานในซาอุดีอาระเบีย ซึ่งปัจจุบันมีแรงงานไทยยังน้อยที่ทำงานอยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบีย ประมาณ 218 คน และขอให้สถานทูตช่วยประสานรัฐบาลในการดูแล อำนวยความสะดวก สิทธิและสวัสดิการ ความปลอดภัย สำหรับแรงงานทุกกลุ่มที่ประสงค์จะเดินทางไปทำงานทั้งที่อยู่ในซาอุดีอาระเบียตอนนี้และในอนาคต เพื่อดูแล คุ้มครองแรงงานอย่างใกล้ชิด มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี</p>
<p>"จากการหารือในวันนี้ กระทรวงแรงงานพร้อมสนับสนุนให้แรงงานไทยเดินทางไปทำงานในซาอุดีอาระเบียมากขึ้น โดยเฉพาะแรงงานไทยที่มีค่าจ้างสูงตามทักษะฝีมือ รวมถึงการฝึกอบรม ซึ่งกระทรวงแรงงานพร้อมสนับสนุนและประสานงานให้อย่างเต็มที่" นายพิพัฒน์ กล่าว</p>
<p>ด้านนายอับดุลเราะห์มาน อับดุลอะซีซ อัลซุฮัยบานี เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียประจำประเทศไทย กล่าวว่า ในวันนี้ขอขอบคุณท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานของไทยเป็นอย่างยิ่งที่เปิดโอกาสให้เข้าพบและหารือถึงความคืบหน้าการดำเนินการตามความตกลงด้านแรงงาน แรงงานไทยได้รับการยอมรับจากนานาประเทศในด้านทักษะฝีมือและความเชี่ยวชาญในสาขาอาชีพต่างๆ อย่างภาคบริการสายการบิน ช่างฝีมือ พ่อครัว ผู้เชี่ยวชาญด้านป่าไม้และการเกษตร และยินดีสนับสนุนช่วยเหลือเกี่ยวกับกิจการด้านแรงงานเช่นกัน</p>
<p>ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์, 8/2/2567 (https://mgronline.com/south/detail/9670000011584)</p>
<p><strong>แรงงานเก็บเบอร์รี่ป่าสวีเดน-ฟินแลนด์ร้องหยุดค้ามนุษย์</strong></p>
<p>กลุ่มผู้ใช้แรงงานคนไทยที่ไปเก็บเบอร์รี่ป่าในสวีเดนและฟินแลนด์ ปักหมุดจัดกิจกรรมที่หน้าสถานทูตสวีเดน ถนนสุขุมวิท ยื่นข้อเรียกร้องโดยปราศรัยผ่านเครื่องขยายเสียง</p>
<p>สะท้อนข้อเรียกร้องให้หยุดระบอบค้ามนุษย์แรงงานไทยไปเก็บเบอรี่ที่สวีเดนและฟินแลนด์โดยทันที จนกว่าคนงานที่ได้รับความเสียหายจะได้รับการชดเชย และจนกว่าจะมีการเจรจากรอบกฎหมายแรงงานที่คุ้มครองผลประโยชน์ให้คนงานอย่างเต็มที่ ถือเป็น 1 ใน 5 ข้อเรียกร้องของกลุ่มดังกล่าว</p>
<p>การจัดกิจกรรมครั้งนี้ มีการรวมกลุ่มเครือข่ายแรงงานเก็บเบอร์รี่ป่ามากกว่า 50 คน นำป้ายซึ่งมีข้อความเกี่ยวกับข้อเรียกร้อง โดยสาระสำคัญที่ถูกเขียนในป้ายคือการเปิดเผยรูปแบบของขบวนการค้ามนุษย์ และข้อกล่าวหาว่ามีบริษัทจัดหางานทำหน้าที่เป็นนายหน้า มีผลประโยชน์ร่วมกันกับเจ้าหน้าที่รัฐ</p>
<p>หนึ่งในแรงงานเก็บเบอร์รี่ในสวีเดน เล่าว่า บริษัทนายหน้าใช้ประโยชน์จากการที่รัฐให้โควตาประชาชนไปทำงานเก็บเบอร์ที่สวีเดนและฟินแลนด์ โดยอ้างว่าจะได้รับเงินแสนภายใน 2 เดือน แต่ในความเป็นจริงแรงงานต้องออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด ติดหนี้สิน และเมื่อไปถึงกลับได้รับการดูแลไม่เป็นไปตามที่สัญญา เช่น บังคับซื้อขายเบอร์รี่กับกลุ่มนายหน้าที่จัดหาไว้ให้ ซึ่งถูกกดราคา และแรงงานไม่สามารถขายผลเบอร์รี่ให้พ่อค้ารายอื่นได้</p>
<p>กลุ่มผู้ใช้แรงงานเก็บเบอร์รี่ในฟินแลนด์และสวีเดน ยังเรียกร้องให้ทางการสวีเดนและฟินแลนด์สร้างความมั่นใจว่าจะมีมาตรการเร่งรัดสอบสวนดำเนินคดีกับทุกคน และทุกฝ่ายที่ร่วมกันก่ออาชญากรรมค้ามนุษย์ ทั้งในประเทศไทย สวีเดนและฟินแลนด์ เพื่อคืนความยุติธรรมและชดเชยให้คนงานที่เสียหาย และเพื่อดำเนินคดีกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมการค้ามนุษย์ นอกจากนี้จะต้องช่วยเหลือทางกฎหมายและทางการเงินแก่แรงงานเก็บเบอร์รี่ชาวไทย ที่คดีการค้ามนุษย์ของพวกเขาอยู่ระหว่างการสอบสวนโดยทางการ</p>
<p>สำหรับกิจกรรมของแรงงานกลุ่มนี้ เดินไปยังสำนักงานคณะตัวแทนสหภาพยุโรป และสถานทูตฟินแลนด์ ถนนวิทยุ ลุมพีนี เพื่อยื่นจดหมายข้อเรียกร้อง จากนั้นจะเดินไปยังอาคารสหประชาชาติ ที่ถนนราชดำเนินนอก และเดินไปทำเนียบรัฐบาล ยื่นหนังสือและเจรจาหาทางเยียวยาผู้เสียหายและหยุดปัญหาค้ามนุษย์กับ รมว.ยุติธรรม, รมว.แรงงาน และ รมว.พัฒนาสัง มั่นคงของมนุษย์ โดยจะค้างคืนบริเวณทำเนียบฯ เพื่อปราศรัยปัญหาการค้ามนุษของย์แรงงานไทยไปเก็บเบอร์ปาที่สวีเดนและฟินแลนด์</p>
<p>ที่มา: Thai PBS, 7/2/2567 (https://www.thaipbs.or.th/news/content/336774)</p>
<p><strong>คาดอีก 5 ปี ไทยเข้าสังคมสูงวัยขั้นสุดยอด ภาคธุรกิจยังขาดแผนรับมือ</strong></p>
<p>ศูนย์วิจัยกสิกร ชี้ ไทยกำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างประชากร โดยมีการคาดการณ์ว่า ราวปี 2572 ไทยจะกลายเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรกในเอเชียที่เปลี่ยนผ่านจากสังคมสูงวัยขั้นสมบูรณ์ (Aged society) ไปสู่สังคมสูงวัยขั้นสุดยอด (Super-aged society) โดยการเปลี่ยนผ่านของไทยใช้เวลาเพียงแค่ 8 ปีเท่านั้น ซึ่งใกล้เคียงกับประเทศพัฒนาแล้ว ขณะที่ ไทยอาจยังไม่ได้มีความพร้อมรับมือกับสังคมสูงวัยเทียบเท่าประเทศเหล่านี้</p>
<p>สาเหตุการเข้าสู่สังคมสูงวัยขั้นสุดยอดของไทยเป็นมาจาก 2 ปัจจัยหลัก</p>
<p>1) นโยบายคุมกำเนิด และค่านิยมที่คนต้องการมีบุตรน้อยลง ส่งผลให้อัตราการเจริญพันธุ์ของไทยลดลงต่อเนื่อง และอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก</p>
<p>2) จำนวนเด็กเกิดใหม่น้อยกว่าจำนวนคนเสียชีวิต ส่งผลให้ฐานประชากรสูงวัยเพิ่มมากกว่าฐานประชากรโดยรวม</p>
<p>โครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไป ทำให้ภาคธุรกิจมีแนวโน้มยิ่งเผชิญความท้าทายจากการขาดแคลนกำลังแรงงาน โดยอีกไม่ถึง 30 ปีข้างหน้า คาดว่าสัดส่วนกำลังแรงงานของไทย (อายุ 15-59 ปี) ต่อประชากรทั้งหมดจะลดลงจาก 62% ในปี 2566 เหลือเพียงราว 50% ในปี 2593</p>
<p>อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาโครงสร้างตลาดแรงงานไทยพบว่าประกอบไปด้วย แรงงานทักษะต่ำ 82% (แรงงานภาคเกษตร แรงงานก่อสร้าง แรงงานในโรงงาน) แรงงานทักษะปานกลางราว 16.5% (แรงงานในภาคบริการ พนักงานขายสินค้า) และแรงงานทักษะสูงราว 1.5% (วิศวกร แพทย์ อาจารย์ วิชาชีพต่างๆ)</p>
<p>ความท้าทายด้านปริมาณจากการขาดแคลนกำลังแรงงานคงกระทบกับการจัดหาแรงงานทักษะต่ำ ซึ่งบางธุรกิจ เช่น ธุรกิจก่อสร้าง และธุรกิจบริการต่างๆ อาจรับมือการขาดแคลนแรงงานด้วยการพึ่งพิงแรงงานต่างด้าวจากประเทศในกลุ่ม กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา สะท้อนจากจำนวนแรงงานจากทั้ง 3 ประเทศที่อยู่ในไทยเติบโตจากปี 2556 ที่ราว 1.0 ล้านคน ไปเป็น 2.3 ล้านคนในปี 2566 หรือโตเฉลี่ยต่อปีราว 8%</p>
<p>ตลาดแรงงานไทยยังมีความท้าทายด้านคุณภาพจากแรงงานส่วนใหญ่ยังมีทักษะไม่ตรงความต้องการของตลาด (Skills gap) รวมถึงจำนวนแรงงานทักษะสูงยังมีไม่เพียงพอ และยังมีสัดส่วนแรงงานที่มีทักษะด้านดิจิทัลต่ำกว่าอีกหลายประเทศ ส่งผลให้บางธุรกิจ เช่น ธุรกิจไฮเทคต่างๆ ต้องมีการนำเข้าแรงงานกลุ่มนี้ สอดคล้องกับจำนวนการนำเข้าแรงงานข้ามชาติทักษะสูงเฉลี่ย 10 ปีย้อนหลัง (ปี 2556-2566) ที่ยังขยายตัวเฉลี่ยต่อปีราว 3% และคาดว่าความต้องการจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกตามการเร่งผลักดันอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพใหม่</p>
<p>การดึงดูดแรงงานข้ามชาติทักษะสูงคงขึ้นอยู่กับว่าไทยจะสามารถจูงใจการลงทุนต่างประเทศและมีนโยบายสนับสนุนการเข้ามาทำงานของชาวต่างชาติในไทยที่แข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้เพียงใด เช่น สิงคโปร์มีการให้สิทธิการเป็นพลเมืองแก่แรงงานทักษะสูง และส่วนลด/ผลประโยชน์ด้านภาษีให้ต่างชาติมาลงทุนได้ จีนมีภาษีอัตราพิเศษให้แรงงานทักษะสูง และโครงการดึงดูด Talent จากทั่วโลก เป็นต้น</p>
<p>ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การขาดแคลนแรงงานจะยิ่งรุนแรงขึ้นในช่วงข้างหน้า และจะกระทบต่อธุรกิจที่มีสัดส่วนการใช้แรงงานต่อจำนวนกำลังแรงงานทั้งหมดสูง โดยเฉพาะในภาคเกษตร (31%) และภาคบริการต่างๆ เช่น ธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร (9%) และธุรกิจก่อสร้าง (6%) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรจากการเป็นสังคมสูงวัยคงทำให้ธุรกิจเหล่านี้อาจต้องหันไปพึ่งพิงแรงงานต่างด้าวทักษะต่ำจากประเทศเพื่อนบ้านในสัดส่วนที่มากขึ้น ขณะที่ บางธุรกิจ เช่น ธุรกิจค้าปลีก/ค้าส่ง (17%) และธุรกิจการผลิต (16%) ที่สามารถแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีได้อาจต้องพิจารณาถึงโอกาสในการนำหุ่นยนต์/นวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการยกระดับผลิตภาพ/ทักษะแรงงานไทยให้เท่าทันเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง</p>
<p>ที่มา: โพสต์ทูเดย์, 6/2/2567 (https://www.posttoday.com/smart-life/705315)</p>
<p><strong>ค่าจ้างแรงงานไทยแย่ลง แม้คนไทยเรียนสูงขึ้น</strong></p>
<p>ศูนย์วิจัย SCB EIC ระบุว่าภาพรวมตลาดแรงงานไทยฟื้นตัวได้เร็วจากวิกฤตโควิด สามารถรองรับการโยกย้ายแรงงานภายในสาขาการผลิตต่าง ๆ ในช่วงวิกฤตได้ดี แรงงานที่ได้รับผลกระทบต้องออกจากงานสามารถหางานใหม่ได้ อัตราการว่างงานของไทยช่วงโควิดจึงไม่ได้สูงมากและลดลงเร็ว โดยอัตราการว่างงานของไทยสูงขึ้นเกือบเท่าตัวช่วงโควิด มีค่าเฉลี่ยราว 1.9% ในปี 2021 ก่อนลดลงมาแตะระดับก่อนโควิดหรือ 1% ได้ตั้งแต่ต้นปี 2023 ต่างจากประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศที่อัตราการว่างงานสูงเกิน 10% ในช่วงโควิด หากดูอัตราการว่างงานแฝง1 ก็ปรับลดลงมาต่ำกว่าช่วงก่อนโควิดแล้ว เหลือเพียง 0.5% ในช่วงปี 2023 จากที่เคยสูงสุด 1.5% ในปี 2021 สำหรับจำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม มาตรา 33 ก็เพิ่มขึ้นมาใกล้ระดับก่อนโควิดที่ 11.6 ล้านคน จากระดับต่ำสุด 11.1 ล้านคนในช่วงปี 2021</p>
<p>อย่างไรก็ตาม หากลอง X-ray ตลาดแรงงานไทยให้ลึกลงไป จะพบความอ่อนแอเชิงโครงสร้างซ่อนอยู่ ส่วนหนึ่งสะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างของตลาดแรงงานไทยที่มีอยู่เดิม แต่วิกฤตโควิดยังมาฝากแผลเป็นเพิ่มไว้อีก ทำให้ประสิทธิภาพการจัดสรรแรงงานไทยลดลง เห็นได้จากโครงสร้างการจ้างงาน คุณภาพแรงงาน และค่าจ้างแรงงานไทยที่ไม่ค่อยดีนัก ในอย่างน้อย 3 มิติ ดังนี้</p>
<p>1) โครงสร้างการจ้างแรงงานไทยมีสัดส่วนใหญ่ขึ้นในสาขาการผลิตที่มูลค่าเพิ่มไม่สูง แรงงานไทยอยู่นอกระบบมากกว่าครึ่งหนึ่งและมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้น ในช่วงโควิดแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบต้องออกจากงานในภาคการผลิตอุตสาหกรรม โรงแรมและร้านอาหาร ส่วนหนึ่งย้ายไปทำงานภาคเกษตร (สัดส่วนเพิ่มจาก 31.4% ของผู้มีงานทำในปี 2019 เป็น 31.9% ในปี 2021 และลดเหลือ 30% ในปี 2023 ตามเทรนด์ปกติที่สัดส่วนแรงงานในภาคเกษตรจะทยอยลดลง) น่าสังเกตว่าแม้โควิดจะคลี่คลายแล้ว แต่สัดส่วนแรงงานภาคอุตสาหกรรมยังลดลงต่อ (ลดจาก 16.3% ของผู้มีงานทำในปี 2019 เหลือไม่ถึง 16% ในปี 2023) แรงงานไทยหันไปทำงานในธุรกิจบริการอื่น ๆ ในสัดส่วนที่มากขึ้น เช่น ร้านอาหาร บริการสุขภาพและสังคมสงเคราะห์ ขายส่งขายปลีก ขนส่ง ส่วนหนึ่งเป็นการทำงานนอกระบบไม่มีกลไกระบบประกันสังคมคุ้มครอง</p>
<p>2) ผลิตภาพแรงงานไทยฟื้นตัวช้า เมื่อวัดจากมูลค่าผลผลิตต่อหน่วยแรงงาน และยังต่ำกว่าระดับก่อนโควิดถึง -4.8% โดยเฉพาะแรงงานนอกภาคเกษตร สะท้อนว่าคุณภาพแรงงานไทยยังไม่กลับไปเช่นเดิมและต้องใช้เวลา เพราะผลิตภาพแรงงานไทยเติบโตแค่ราว 1% ในปี 2023 เทียบกับช่วง 5 ปีก่อนโควิดที่โตเฉลี่ยปีละ 4% สาเหตุหลักเพราะแรงงานไทยในภาพรวมยังไม่สามารถกลับเข้าทำงานในภาคการผลิตอุตสาหกรรมได้มากเช่นเดิม วิกฤตโควิดได้สร้างแผลเป็นต่อค่าจ้างและผลิตภาพแรงงานที่ส่งผลระยะยาว ส่วนหนึ่งเพราะแรงงานที่ย้ายสาขาการผลิตไม่สามารถปรับทักษะใหม่ให้กลับไปทำงานเดิมได้ หรือแรงงานบางส่วนได้งานใหม่แต่กลับใช้ทักษะต่ำลง</p>
<p>3) ค่าจ้างแรงงานไทยแย่ลง แม้คนไทยเรียนสูงขึ้น ดัชนีค่าจ้างแรงงานไทยมีทิศทางลดลงเฉลี่ย -1% ต่อปีในช่วง 5 ปีก่อนโควิด แล้วยิ่งลดลงแรงขึ้นเป็นเฉลี่ย -2.5% ต่อปีตั้งแต่เกิดโควิด สะท้อนว่าแรงงานไทยโดยรวมเรียนสูงขึ้นแต่ได้ค่าจ้างเฉลี่ยต่อคนต่ำลง โดยเฉพาะค่าจ้างแรงงานในภาคบริการที่มีมูลค่าผลผลิตต่อคนไม่สูงนัก ขณะที่ดัชนีค่าจ้างแรงงานปรับสูงขึ้นในกลุ่มธุรกิจบริการที่มูลค่าผลผลิตต่อคนสูง เช่น การเงินและประกัน สาธารณูปโภค ศิลปะบันเทิงและนันทนาการ ส่วนหนึ่งเพราะเป็นสาขาการผลิตที่ใช้แรงงานไม่มาก และเน้นทำงานกับเทคโนโลยีและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือใช้ความคิดสร้างสรรค์</p>
<p>ที่มา: SCB EIC, 5/2/2567 (https://www.scbeic.com/th/detail/product/labor-market-050224)</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เศรษฐกิจ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สังคม[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">แรงงาน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คุณภาพชีวิต[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%9B%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108019