[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 17:54:33



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เผยศาลขอให้กรมราชทัณฑ์จัดอาหารฮาลาลให้จำเลยชาวอุยกูร์
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 17:54:33
เผยศาลขอให้กรมราชทัณฑ์จัดอาหารฮาลาลให้จำเลยชาวอุยกูร์
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2024-02-24 17:01</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ทนายความคดีวางระเบิดศาลพระพรหมเอราวัณสี่แยกราชประสงค์ปี 2558 เผยศาลทำหนังสือถึงกรมราชทัณฑ์ให้จัดอาหารฮาลาลให้กับจำเลยทั้งคู่ หลังจากที่จำเลยพยายามเรียกร้องมาร่วม 3 ปีแต่ไม่สำเร็จ ขณะที่ทั้งคู่ปรากฏตัวในศาลในสภาพผ่ายผอมอย่างเห็นได้ชัดและนั่งบนรถเข็น</p>
<p>ช่วงปลายเดือน ก.พ. 2567 เบนาร์นิวส์ (https://www.benarnews.org/thai/news/th-uyghur-cases-02212024144912.html) รายงานว่าชูชาติ กันภัย ทนายความของคดีวางระเบิดศาลพระพรหมเอราวัณ สี่แยกราชประสงค์ ปี 2558 เชื่อว่า คดีนี้จะสามารถมีคำพิพากษาได้ภายในปี 2568 ขณะที่ ศาลได้ทำหนังสือถึงกรมราชทัณฑ์ให้จัดอาหารฮาลาลให้กับจำเลยทั้งคู่ หลังจากที่จำเลยพยายามเรียกร้องมาร่วม 3 ปี แต่ไม่สำเร็จ ขณะที่ทั้งคู่ปรากฏตัวในศาลในสภาพผ่ายผอมอย่างเห็นได้ชัดและนั่งบนรถเข็น</p>
<p>อาเด็ม คาราดัก และไมไรลี ยูซุฟู สองจำเลยถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อเหตุระเบิดที่ศาลพระพรหมเอราวัณ ใจกลางกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2558 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 20 รายและบาดเจ็บกว่า 120 ราย เพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากที่ทางการไทยใช้กำลังส่งชาวมุสลิมอุยกูร์เกือบ 100 คนไปยังประเทศจีน ทั้งสองถูกจับกุมภายในสองสัปดาห์หลังเกิดเหตุระเบิด</p>
<p>ถึงปัจจุบัน เป็นเวลาร่วม 9 ปี ที่อาเด็ม และยูซุฟู จำเลยที่ 1 และ 2 ของคดีวางระเบิดศาลพระพรหมเอราวัณ สี่แยกราชประสงค์ ยังคงถูกควบคุมตัวอย่างโดดเดี่ยวในเรือนจำชั่วคราว หลักสี่ ด้วยสุขภาพที่ทรุดโทรม</p>
<p>ทั้งสองถูกนำตัวมายังศาลอาญากรุงเทพใต้เมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2567 เพื่อฟังการสืบพยานโจทก์ ทั้งคู่มีรูปร่างผอมลงมากจาก 9 ปีก่อน และต้องนั่งรถเข็นเนื่องจากสุขภาพอ่อนแอเกินกว่าจะยืนหรือเดินด้วยตัวเองไหว</p>
<p>“อาเด็ม เพิ่งถูกถอนฟันไป 7 ซี่ ต้องใส่ฟันปลอม เดินไม่ได้มา 6 เดือนกว่าแล้ว เพราะขาไม่มีแรง เดินแล้วหน้ามืด ส่วนผมต้องนั่งรถเข็น เพราะไปผ่าตัดไส้เลื่อนมาเมื่อสัปดาห์ก่อน ผมยังต้องนอนโรงพยาบาลราชทัณฑ์อีก 2 สัปดาห์ หมอถึงจะให้ออก อาเด็มตอนนี้อยู่เรือนจำทหาร (ชั่วคราว หลักสี่) คนเดียว” ไมไรลี กล่าวกับเบนาร์นิวส์เป็นภาษาไทย</p>
<p>การพิจารณาคดีล่าช้า ทำให้ไมไรลีใช้เวลาเรียนรู้ภาษาไทย จนพูดได้คล่องแคล่ว สื่อสารพูดคุยกับทนายความ และหยอกล้อกับเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ได้อย่างสะดวก เขาจึงทำหน้าที่เป็นล่ามภาษาไทยให้ อาเด็ม ที่พูดและฟังภาษาไทยได้น้อยกว่า</p>
<p>ไมไรลี ใช้เวลาช่วงสั้น ๆ ระหว่างรอการพิจารณาเล่าว่า ร่างกายของทั้งตนเองในวัย 35 ปี และอาเด็ม 39 ปี ทรุดโทรมมาก น้ำหนักลดไปกว่า 10 กิโลกรัม ปวดท้อง และท้องอืดเป็นประจำ เพราะสภาพความเป็นอยู่ที่ไม่ดีนัก อาหารการกินไม่สะดวก แม้ทนายความ และมูลนิธิศักยภาพชุมชนจะพยายามส่งอาหารไปให้ แต่หลายครั้งยังไม่เพียงพอ</p>
<p>พวกเขายังคงต้องเผชิญกับปัญหาเดิมที่พบมาตลอดคือ อาหารที่เรือนจำจัดสรรให้ไม่สอดคล้องกับความเชื่อทางศาสนา เพราะเรือนจำชั่วคราว หลักสี่ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ล้อมรอบด้วยเขตทหาร ยังไม่ได้จัดอาหารฮาลาลให้พวกเขาตามหลักศาสนาอิสลาม แม้เรือนจำแห่งนี้จะมีผู้ต้องขังเพียงพวกเขาแค่ 2 คน สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ในบางมื้อ อาเด็ม และไมไรลี ต้องอดอาหาร</p>
<p>“3 ปีแล้ว เขาไม่มีอาหารฮาลาลให้เรา เราบอกเขาว่า เราไม่กินหมู เขาก็ยังเอามาให้เรากิน แล้วบอกว่าไม่มีหมู พอกินไปก็เจอหมูสับ กินไปเจอเลือดไก่ เรากินไม่ได้ อยากให้เขาจัดอาหารให้เราด้วย มีหมูทุกอาทิตย์เลย วันที่ 3 ม.ค. มีหมู วันที่ 4 ม.ค. มีเลือด ผมจำได้” ไมไรลี ลุกขึ้นพูดกับผู้พิพากษาด้วยภาษาไทย</p>
<p>เบนาร์นิวส์เคยรายงานเรื่องนี้ไปแล้วตั้งแต่ปี 2565 แต่เมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2567 นับเป็นครั้งแรกที่ศาลยืนยันเป็นทางการว่าจะแจ้งเรื่องไปยังกรมราชทัณฑ์ </p>
<p>“ศาลจะทำเรื่องไปกรมราชทัณฑ์กำชับว่า มันเป็นสิทธิของผู้ต้องขังที่ต้องจัดอาหารให้ตามหลักศาสนา ศาสนาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน จะบันทึกถึงเรือนจำให้จัดอาหารฮาลาลให้กับจำเลยตามสิทธิที่เขาพึงได้รับ” ผู้พิพากษา ระบุ</p>
<p>ทนายชูชาติ ระบุว่า จำเลยทั้งคู่ต้องการจะย้ายที่คุมขังจากเรือนจำชั่วคราว หลักสี่ ไปอยู่ในเรือนจำพิเศษ กรุงเทพฯ เพราะเชื่อว่าสภาพความเป็นอยู่ และอาหารน่าจะดีกว่า อย่างไรก็ตาม ศาลระบุว่า ความต้องการดังกล่าวไม่อยู่ในอำนาจของศาล</p>
<p>“สืบพยานไปแล้ว 50 ปาก จากบัญชีพยานประมาณ 100 คน เชื่อว่าในปีหน้า (2568) น่าจะอ่านคำพิพากษาได้” ชูชาติ กล่าวในวันที่ 20 ก.พ. 2567</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ความเป็นมา 9 ปี คดีระเบิดราชประสงค์</span></h2>
<p>ค่ำวันที่ 17 ส.ค. 2558 เกิดเหตุระเบิดบริเวณศาลท้าวมหาพรหม โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ สี่แยกราชประสงค์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 20 ราย และบาดเจ็บกว่า 120 ราย วันถัดมาเกิดระเบิดที่ท่าเรือสาทร แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต จากการตรวจสอบภาพจากกล้องวงจรปิดใกล้ที่เกิดเหตุพบ ชายต้องสงสัยในเสื้อสีเหลือง วางกระเป๋าที่เชื่อว่าบรรจุระเบิดทิ้งไว้บนเก้าอี้ และให้หลังไม่กี่นาทีระเบิดถูกจุดชนวนขึ้น</p>
<p>ปลายเดือน ส.ค. 2558 ตำรวจควบคุมตัว อาเด็ม ที่พูนอนันต์อพาร์ทเมนต์ ย่านหนองจอก โดยตำรวจระบุว่า อาเด็มมีอีกชื่อหนึ่งคือ บิลาล โมฮัมเหม็ด และต่อมา ไมไรลี ถูกคุมตัวที่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ทั้งคู่เป็นคนเชื้อสายอุยกูร์ มีภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองอุรุมชี เขตปกครองพิเศษซินเจียง อุยกูร์ ประเทศจีน หลังการจับกุมตำรวจแถลงข่าวว่า อาเด็มสารภาพว่าเป็นคนวางระเบิดในชั้นสอบสวน</p>
<p>คดีถูกส่งฟ้องที่ศาลทหารด้วยข้อหา ร่วมกันมีวัตถุระเบิด, ใช้วัตถุระเบิดฆ่าผู้อื่น, ร่วมกันทำให้เกิดระเบิด, ร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และร่วมกันทำให้เกิดระเบิด จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โทษสูงสุดของข้อหาทั้งหมดคือ ประหารชีวิต 16 ก.พ. 2559 ทั้งคู่เข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีครั้งแรก อาเด็ม และไมไรลี ปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา โดยอาเด็มให้การต่อศาลว่า ตนเองถูกทรมาน จึงรับสารภาพในชั้นสอบสวน และยืนยันที่จะต่อสู้คดี อัยการทหารเรียกพยานกว่า 700 ปาก แต่จำเลยไม่สามารถหาพยานได้ ติดต่อได้แม้กระทั่งคนในครอบครัว การพิจารณาคดีดำเนินไปอย่างล่าช้า ด้วยปัญหาขาดแคลนล่ามภาษาอุยกูร์ และการผิดนัดของพยาน ทั้งคู่ไม่เคยได้รับการประกันตัว </p>
<p>ปี 2562 คดีนี้ถูกโอนย้ายจากศาลทหารสู่ศาลพลเรือน แต่ด้วยการแพร่ระบาดของโควิด-19 และปัญหาขาดแคลนล่ามทำให้คดีความต้องล่าช้าออกไป ก่อนจะสามารถกลับมาพิจารณาได้อีกครั้งในปี 2565 เพื่อความรวดเร็ว ทนายจำเลยพยายามขอตัดพยานให้น้อยลง จำเลยพยายามร้องขอใช้ล่ามจากสภาอุยกูร์โลก แต่ศาลไม่อนุญาติ ก่อนที่จะยินยอมให้ใช้ล่ามที่สถานเอกอัครราชทูตจีนจัดหา ซึ่งสร้างความกังวลใจให้กับจำเลย และองค์กรสิทธิมนุษยชน</p>
<p>ถึงปัจจุบัน มีการสืบพยานไปแล้ว 50 ปาก จากบัญชีพยานร่วม 100 ปาก แม้เข้าสู่ปี 2567 แต่การสืบพยานยังคงดำเนินไปอย่างล่าช้า เพราะ พยานฝ่ายโจทก์บางคนไม่ได้เดินทางมาศาลตามนัด ในการสืบพยาน ทนายความพยายามซักเพื่อชี้ให้เห็นว่า การจับกุมและตรวจค้นของเจ้าหน้าที่มีข้อสงสัย และไม่เป็นไปตามมาตรการปกติหลายประเด็น</p>
<p>ในวันอังคารนี้ พ.ต.อ. ธนาพันธ์ ผดุงการ อดีต รอง ผกก.สน. มีนบุรี ในฐานะพยานฝ่ายโจทก์ให้การต่อศาลว่า เป็นผู้รับผิดชอบการตรวจค้นห้องพักที่เชื่อว่า จำเลยเคยอยู่อาศัย และพบวัตถุที่เชื่อว่าสามารถใช้ประกอบระเบิดได้ ขณะที่ ทนายจำเลยพยายามถามค้านว่า หลักฐานการรับรองพยานคลาดเคลื่อน</p>
<p>ทนายความได้นำภาพจากหนังสือเดินทางที่ตำรวจใช้เป็นหลักฐานหนึ่งในการจับกุมอาเด็ม มาให้ พ.ต.อ. ธนาพันธ์ ดูและเปรียบเทียบกับอาเด็มตัวจริงที่มาฟังการสืบพยาน ซึ่ง พ.ต.อ. ธนาพันธ์ ยอมรับว่า มีลักษณะแตกต่างกัน และมีข้อมูลบางอย่างที่ พ.ต.อ. ธนาพันธ์ จำคลาดเคลื่อน</p>
<p>นางชลิดา ทาเจริญศักดิ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศักยภาพชุมชน ซึ่งติดตามการสืบพยานในคดีตลอดหลายปีที่ผ่านมา ระบุว่า บรรยากาศการต่อสู้คดีของ อาเด็ม และไมไรลี มีแนวโน้มดีขึ้น</p>
<p>“คดีมีความก้าวหน้า และเห็นว่าศาลมีเจตนาดีที่พยายามให้คดีจบโดยเร็ว มีการสั่งให้อัยการกับทนายตัดพยานที่ไม่จำเป็นออก ในเรื่องคดีการซักของทนายที่พยายามยืนยันเรื่องกายภาพจริง กับพาสปอร์ตต่างกันก็ทำให้เห็นว่า จำเลยทั้งสองคนมีความหวัง ว่าทั้งคู่อาจรอด แต่ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการพิจารณาของศาล” นางชลิดา กล่าว</p>
<p>“สิ่งที่อยากให้ภาคประชาสังคม และนานาชาติให้ความสำคัญคือ ถ้าทั้งคู่พ้นคดี จะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเขา เพราะถ้าได้รับการปล่อยตัว จีนขอตัวเขากลับประเทศก็จะเป็นเรื่อง เพราะเขาต้องต่อสู้มาเป็น 10 ปี เราต้องร่วมกันหาวิธีว่าจะรับมือยังไง หรือมีประเทศอื่นไหมที่พร้อมรับทั้งคู่ไปลี้ภัย ซึ่งก็น่าจะทำให้เขาปลอดภัยกว่า” นางชลิดา กล่าวเพิ่มเติม</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">กรมราชทัณฑ์[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%A1-%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%81" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">อาเด็ม คาราดัก[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B5-%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B8%8B%E0%B8%B8%E0%B8%9F%E0%B8%B9" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ไมไรลี ยูซุฟู[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เบนาร์นิวส์[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%B5-2558" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คดีวางระเบิดศาลพระพรหมเอราวัณสี่แยกราชประสงค์ปี 2558[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">กระบวนการยุติธรรม[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AE%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A5" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">อาหารฮาลาล[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108205