[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 20:30:49



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เครือข่ายรัฐสวัสดิการฯ เร่ง ‘เศรษฐา’ เซ็นรับรอง กม.เพิ่มเงินบำนาญถ้วนหน้าให้ไ
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 20:30:49
เครือข่ายรัฐสวัสดิการฯ เร่ง ‘เศรษฐา’ เซ็นรับรอง กม.เพิ่มเงินบำนาญถ้วนหน้าให้ได้พิจารณาในสภา
 


<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2024-02-27 18:48</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพจาก Mob Data</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการยื่นข้อเรียกร้องให้นายกฯ เศรษฐาเซนรับรองร่างกฎหมายบำนาญถ้วนหน้าของภาคประชาชนเพื่อให้กฎหมายได้ถูกนำเข้าพิจารณาสภาผู้แทนราษฎร</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="429" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/video.php?height=314&amp;href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2FPmove2011%2Fvideos%2F418215853989416%2F&amp;show_text=true&amp;width=560&amp;t=2046" style="border:none;overflow:hidden" width="560"></iframe></p>
<p>27 ก.พ.2567 เวลา 10.48 น. เพจขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมมีถ่ายทอดสดการยื่นหนังสือถึงเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีของเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายสวัสดิการผู้สูงอายุเปลี่ยนเบี้ยยังชีพเป็นบำนาญถ้วนหน้าเพื่อเป็นหลักประกันรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ ท่ามกลางสภาวะสังคมไทยเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุแต่ผู้สูงอายุจำนวนมากขาดรายได้หลังเกษียณ</p>
<p>ตัวแทนของเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการได้อ่านแถลงการณ์ที่เป็นหนังสือยื่นถึงนายกฯ โดยสรุปได้ว่า ในปีนี้ 2567 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุกว่า 13 ล้านคน หรือ 20% ของประชากร ทำให้ไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์แล้วแต่ยังมีผู้สูงอายุจำนวนมากที่หมดวัยทำงานแล้วด้วยสภาพร่างกายพละกำลังหายไปจากการใช้แรงงานหนักในวัยหนุ่มสาวและไม่มีหลักประกันความมั่นคงที่ทำให้มีรายได้หลังเกษียณ หรือไม่มีระบบรองรับการเก็บรายได้ในวัยทำงานพอรองรับในวัยแก่ชรา ที่ผ่านมารัฐบาลมีเพียงการจ่ายเงินให้ผู้สูงอายุเป็นเบี้ยยังชีพอัตรา 600-1000 บาทที่เป็นเกณฑ์จ่ายมาตั้งแต่ 2554 เป็นจำนวนเงินที่ไม่สามารถทำให้วัยเกษียณดำรงชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพได้</p>
<p>ตัวแทนกล่าวต่อไปว่า จนมาถึงการเลือกตั้ง 2566 ที่ผ่านมามีพรรคการเมืองร่วมฝ่ายรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านที่ให้ความสำคัญกับการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ แต่ประชาชนไม่อยากเห็นนโยบายที่แค่แก้ปัญหายอดภูเขาน้ำแข็ง แต่อยากเห็นการสร้างระบบใหม่ที่อยู่บนสิทธิขั้นพื้นฐานและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การปฏิรูปสังคมใหม่ที่เป็นธรรมและเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ</p>
<div class="more-story">
<p>ภาคประชาชนยื่น 43,826 รายชื่อ เสนอร่าง กม. เพิ่มเงินบำนาญถ้วนหน้า เป็น 3 พันบาท (https://prachatai.com/journal/2023/12/107322)</p>
</div>
<p>แถลงการณ์ยังระบุถึงข้อเรียกร้องที่มาครั้งนี้มาเพื่อเสนอกฎหมาย ให้เปลี่ยนเบี้ยยังชีพเป็นบำนาญถ้วนหน้า เพื่อให้ผู้สูงอายุทุกคนมีหลักประกันรายได้ตามแนวทางในร่างกฎหมายของภาคประชาชนที่เสนอต่อรัฐสภา เป็นเจตนารมณ์ของประชาชน 43,826 คน ร่วมกันลงชื่อแล้วแต่ขณะนี้อยู่ระหว่างรอคำรับรองจากนายกรัฐมนตรีแม้ตามรัฐธรรมนูญจะกำหนดให้นายกรัฐมนตรีมีสิทธิ์พิจารณาร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเงินว่าจะเห็นชอบเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาหรือไม่ เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการเห็นว่าการเสนอกฎหมายของประชาชน นายกรัฐมนตรีที่มีฐานะเป็นตัวแทนรัฐบาลและตัวแทนของประชาชน ต้องเปิดโอกาสให้กฎหมายที่มีเจตนารมณ์ของประชาชนเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร จึงเรียกร้องให้รัฐบาลเซนชื่อรับรองกฎหมายฉบับนี้เพื่อให้เป็นไปตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญและให้รัฐบาลได้มีโอกาสพิจารณาสร้างหลักประกันรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุและหวังให้รัฐบาลนี้เปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญครั้งนี้ของประเทศ</p>
<p>หลังจากตัวแทนของเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการอ่านแถลงการณ์จบได้มีการมอบหนังสือให้แก่ มงคลชัย สมอุดร รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐบาลออกมารับข้อเรียกร้องไป จะเร่งดำเนินการนำเรื่องส่งถึงนายกฯ เพื่อพิจารณาหนังสือที่ยื่น</p>
<p>ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่าร่างกฎหมายที่ทางเครือข่ายกล่าวถึงคือ “ร่าง พ.ร.บ.ผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ พ.ศ. …” ที่มีภาคประชาชนหลายกลุ่มยื่นต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้บรรจุเป็นวาระพิจารณาไปตั้งแต่ 21 ธ.ค.2566</p>
<p>สาระสำคัญของร่างกฎหมายนี้จะเป็นการแก้ไขมาตรา 11 (11) จากเดิมที่เขียนว่า ผู้สูงอายุจะได้เงินสงเคราะห์เพียงพอต่อการยังชีพ โดยแก้ไขเป็น “ผู้สูงอายุต้องได้บำนาญถ้วนหน้า 3,000 บาท บนเส้นความยากจนที่เพียงพอ และจะขอให้มีการปรับเรทบำนาญทุกๆ 3 ปี” เพื่อให้เท่ากับเส้นความยากจนที่ปัจจุบันอยู่ที่ 2,997 บาท</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คุณภาพชีวิต[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บำนาญถ้วนหน้า[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สังคมผู้สูงอายุ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รายได้[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สวัสดิการ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">มงคลชัย สมอุดร[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108236