[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 01 มีนาคม 2567 03:30:35



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เมื่อโรงงานคือท้องถนน: อำนาจต่อรองของไรเดอร์
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 01 มีนาคม 2567 03:30:35
เมื่อโรงงานคือท้องถนน: อำนาจต่อรองของไรเดอร์
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-03-01 00:08</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>พฤกษ์ เถาถวิล
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี</p>
<p> </p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>พ้นปีใหม่ไม่ถึง 2 เดือน การลดค่ารอบอย่างไม่เกรงใจใครของบริษัท ทำให้การประท้วงของไรเดอร์เกิดขึ้นในหลายจังหวัด การประท้วงไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น Rocket Media Lab รวบรวมข้อมูลการประท้วงของไรเดอร์ระหว่างปี 2562 – 2566 พบว่าในช่วง 5 ปี มีการประท้วงเกิดขึ้นรวม 113 ครั้ง เฉลี่ยปีละ 23 ครั้ง ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด สาเหตุเกิดจากความคับข้องใจต่อการลดค่ารอบ และสาเหตุอื่นๆ เช่น ระบบรับงานจ่ายงาน สวัสดิการและการคุ้มครองแรงงาน<a href="#_edn1" name="_ednref1" title="" id="_ednref1">[1][/url]</p>
<p>คลื่นการประท้วง ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการลุกฮือของไรเดอร์ ทำให้บริษัทฟังเสียงไรเดอร์อยู่บ้าง เช่น บริษัทชะลอการลดค่ารอบ ปรับกลยุทธ์การตลาดเพื่อจูงใจไรเดอร์หรือลูกค้า แต่สิ่งที่บริษัทแสดงออกอย่างชัดเจนคือ การไม่ยอมพบ ไม่เจรจา ไม่ร่วมเวทีพูดคุย และหาจังหวะลดค่ารอบอย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดแสดงถึงความมั่นใจในอำนาจเหนือกว่าของบริษัท ในสนามที่ดุลกำลังแตกต่างกันเช่นนี้ ไรเดอร์จะรับมือกับสถานการณ์อย่างไร ?  </p>
<p>บทความนี้เสนอแนวคิดเชิงยุทธศาสตร์ ในการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน และกำหนดแนวทางต่อสู้ระยะยาว โดยนำเสนอสาระสำคัญของเครื่องมือช่วยคิด ซึ่งเป็นที่รู้จักในขบวนการแรงงานนานาชาติ เพื่อปรับใช้กับกรณีของไทย</p>
<p><strong>“ทรัพยากรอำนาจ” (power resources approach) </strong>เป็นแนวการวิเคราะห์ที่ก่อตัวขึ้นปลายทศวรรษ 1960 ท่ามกลางสถานการณ์ที่สหภาพแรงงาน ซึ่งเป็นฐานกำลังของขบวนการแรงงานอ่อนแรง และฝ่ายทุนปรับตัวไปสู่ยุทธศาสตร์การจ้างงานแบบยืดหยุ่น ซึ่งเป็นการจ้างงานที่ให้ประโยชน์กับทุน และช่วยอำพรางความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้าง-ลูกจ้าง แนววิเคราะห์ทรัพยากรอำนาจ ได้ก่อตัวขึ้น โดยมีคำถามสำคัญว่า ท่ามกลางดุลอำนาจที่ไม่เท่าเทียมระหว่างทุนกับแรงงาน แรงงานมีแนวทางสร้างและทำให้อำนาจต่อรองเพิ่มขึ้นได้อย่างไร<a href="#_edn2" name="_ednref2" title="" id="_ednref2">[2][/url]</p>
<p>รากของแนววิเคราะห์ทรัพยากรอำนาจ มาจากสองทาง ทางหนึ่งมาจาก <strong>แนววิเคราะห์ชนชั้น </strong>ของนักคิดฝ่ายซ้าย ที่เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างทุนกับแรงงาน เป็นความสัมพันธ์เชิงปฏิปักษ์ ผลประโยชน์ของแรงงานจะได้มาก็ด้วยอำนาจต่อรองที่เข้มแข็ง อีกทางหนึ่ง มาจากบทเรียนของสหภาพแรงงาน ที่พบว่าการออกจากรั้วโรงงานและประเด็นเศรษฐกิจของแรงงาน ไปเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม คือแนวทางคงความสำคัญของสหภาพแรงงาน แนวทางนี้ต่อมาถูกเรียกว่า <strong>สหภาพแรงงานที่เป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม (social movement unionism)</strong><a href="#_edn3" name="_ednref3" title="" id="_ednref3">[3][/url]         </p>
<p>“ทรัพยากรอำนาจ” พูดอีกอย่างคือ “แหล่งที่มาของอำนาจ” หากทราบลักษณะและแหล่งที่มาของอำนาจ จะช่วยให้แรงงานมีแนวทางสร้างและขยายอำนาจต่อรองให้สูงขึ้น จากแนวคิดที่ก่อตัวขึ้นเบื้องต้น<a href="#_edn4" name="_ednref4" title="" id="_ednref4">[4][/url] ได้เกิดการพัฒนาต่อยอด นำไปสู่การตกผลึกทางความคิด ว่าด้วยทรัพยากรอำนาจ 4 ด้าน<a href="#_edn5" name="_ednref5" title="" id="_ednref5">[5][/url] ได้แก่</p>
<p><strong>อำนาจการรวมตัว (associational power)</strong>  เกิดจากการรวมตัวเป็นองค์กร เช่น กลุ่ม สมาคม สหภาพ  องค์กรยิ่งเข้มแข็ง มีสมาชิกกว้างขวาง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พร้อมขับเคลื่อนภารกิจ ยิ่งมีอำนาจมาก อำนาจจากการรวมตัว อาจเห็นได้จากการทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การนัดหยุดงาน ประท้วง รณรงค์ ความเต็มใจสนับสนุนเงินหรือทำงานให้กับองค์กร</p>
<p><strong>อำนาจเชิงโครงสร้าง (structural power)</strong> เกิดจากตำแหน่งแห่งที่ของแรงงานในระบบเศรษฐกิจ หากเป็นงานในอุตสาหกรรมสำคัญ และแรงงานมีทักษะซึ่งเป็นที่ต้องการของนายจ้าง แรงงานจะมีอำนาจต่อรองสูง เช่น แรงงานในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ มีอำนาจต่อรองสูงกว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอโดยเปรียบเทียบ อำนาจเชิงโครงสร้างยังขึ้นอยู่กับความสามารถทำให้เกิดความปั่นป่วนหรือหยุดชะงัก (disrupt) ของการผลิตและเศรษฐกิจ เช่น แรงงานท่าเรือ ขนส่งมวลชน ขนส่งสินค้า สามารถขัดขวางและหยุดห่วงโซ่การขนส่งทั้งหมดได้ อำนาจเชิงโครงสร้างจึงเป็นอำนาจต่อรองที่เกิดขึ้นทั้งในตลาดแรงงานและในสถานที่ทำงาน</p>
<p><strong>อำนาจเชิงสถาบัน (institutional power)</strong> มาจากกฎหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายแรงงานที่ก้าวหน้า ให้ความคุ้มครองตามมาตรฐาน เกิดจากการมีส่วนร่วมของแรงงาน รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวงแรงงาน ศาลแรงงาน ที่เที่ยงธรรมเป็นที่พึ่งของแรงงาน พรรคการเมืองของชนชั้นแรงงาน หรือพรรคที่มีนโยบายสนับสนุนแรงงาน และครอบคลุมถึงสถาบันของแรงงาน เช่น สภาแรงงาน สมาพันธ์แรงงาน ที่เป็นเอกภาพ และเป็นองค์กรปกป้องผลประโยชน์ของแรงงานอย่างแท้จริง   </p>
<p><strong>อำนาจเชิงสังคม (societal power)</strong> เกิดจากความร่วมมือขององค์กรแรงงาน กับองค์กรทางสังคมอื่นๆ เช่น องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ ภาคประชาสังคม พรรคการเมือง และประชาชนทั่วไป ซึ่งมีเป้าหมายขับเคลื่อนประเด็นที่เป็นประโยชน์ร่วมกันของสังคม ด้านหนึ่ง อำนาจทางสังคมเกิดจากการสร้างความร่วมมือกับองค์กรทางสังคมอื่นๆ อีกด้านหนึ่ง เกิดจากการสื่อสารกับสังคมวงกว้าง ให้สังคมเข้าใจ เห็นใจ และทำให้เรื่องสิทธิแรงงาน เป็นส่วนหนึ่งของวาระทางสังคม</p>
<p>ในความเป็นจริง อำนาจทั้ง 4 ด้านเหลื่อมซ้อน สนับสนุนกัน ไม่หยุดนิ่ง ผันแปรไปตามสถานการณ์ เพราะฝ่ายรัฐและทุนต่างเป็นผู้เล่นในสมการอำนาจ และไม่มีสูตรสำเร็จการสร้างอำนาจต่อรอง หากขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจการเมือง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53559900498_c5e692fb97_c_d.jpg" style="width: 640px; height: 360px;" /></p>
<p>เมื่อทดลองนำแนววิเคราะห์ทรัพยากรอำนาจ มาทาบวัดขบวนการไรเดอร์ไทย โดยประเมินจากข้อมูลที่ผู้เขียนมีอยู่ ซึ่งยังขาดความสมบูรณ์ ทำให้ได้ข้อสรุปเบื้องต้น ซึ่งเป็นตัวอย่างเพื่อการถกเถียง หรือพัฒนาให้ชัดเจนขึ้น อำนาจต่อรองของไรเดอร์พิจารณาจากทรัพยากรอำนาจ 4 ด้านเป็นดังนี้<a href="#_edn6" name="_ednref6" title="" id="_ednref6">[6][/url]</p>
<p>อำนาจการรวมตัว  ในทำนองเดียวกับต่างประเทศ อำนาจการรวมตัวเป็นจุดแข็งของไรเดอร์ไทย เห็นได้จากการประท้วงบ่อยครั้ง การประท้วงมีพื้นฐานจากกลุ่มธรรมชาติ ที่กระจายตัวตามย่านเมือง ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด  กลุ่มสื่อสารกันโดยพบหน้าในที่ทำงาน และโซเชียลมีเดีย กลุ่มมีพัฒนาการเชิงองค์กรต่างกัน บางส่วนเริ่มจัดองค์กรเป็นทางการ บางส่วนจดทะเบียนเป็นสมาคม ไรเดอร์สานตัวเป็นเครือข่ายความร่วมมือแนวระนาบ ผ่านโซเชียมีเดีย มีเพจเฟสบุ๊คที่มีบทบาทสูงจำนวนหนึ่ง เป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น ให้กำลังใจ รณรงค์ และระดมสรรพกำลังประท้วงในบางโอกาส</p>
<p>อำนาจเชิงโครงสร้าง ด้วยเหตุที่งานของไรเดอร์ สมัครงานง่าย ในตลาดแรงงานมีคนพร้อมทำงานจำนวนมาก และเป็นงานทักษะไม่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับงานอื่นๆ ทำให้ไรเดอร์มีอำนาจเชิงโครงสร้างต่ำ ขณะที่บริษัทมีอำนาจเชิงโครงสร้างสูง จึงไม่น่าประหลาดใจที่บริษัทไม่อ่อนข้อ และเดินหน้านโยบายตามความต้องการของบริษัท อย่างไรก็ตาม ไรเดอร์มีอำนาจสร้างความปั่นป่วนให้กับบริษัท คือการนัดหยุดงาน หรือ “ปิดแอป” การปิดแอปใช้ได้ผลหลายครั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด การปิดแอปเป็นเครื่องมือต่อรองที่ไรเดอร์มีเหนือกว่าแรงงานกลุ่มอื่นเป็นพิเศษ แต่การแสดงพลังนี้ได้ก็มีข้อจำกัดหลายประการ</p>
<p>อำนาจเชิงสถาบัน เป็นจุดอ่อนที่สุด เพราะไทยไม่มีกฎหมายคุ้มครองแรงงานแพลตฟอร์ม ในขณะที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานที่มีอยู่ ตามไม่ทันความเปลี่ยนแปลงของการจ้างงานแบบใหม่ แพลตฟอร์มจึงใช้ช่องว่างทางกฎหมายในการหาประโยชน์ อีกทั้งกฎหมายจัดตั้งสหภาพ และเสรีภาพในการรวมตัว สกัดกั้น หรือไม่เอื้อต่อการรวมตัวสร้างอำนาจต่อรองของไรเดอร์ รวมไปถึงบรรดาหน่วยราชการ พรรคการเมือง สถาบันแรงงานส่วนใหญ่ ซึ่งไม่สามารถเป็นที่พึ่งของแรงงานได้</p>
<p>อำนาจเชิงสังคม  ค่อนข้างมีภาษี เห็นได้จากการให้ความสนใจขององค์กรทางสังคมต่อไรเดอร์ เช่น ภาควิชาการ แหล่งทุนวิจัย องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคประชาสังคม สื่อมวลชน ด้านหนึ่งความสนใจมาจากองค์กรทางสังคมที่เห็นว่าไรเดอร์เป็นแรงงานกลุ่มใหม่ในสังคมไทย อีกด้านหนึ่งมาจากกลุ่มไรเดอร์ ที่ตระหนักถึงการสร้างภาพลักษณ์ในสังคม ผ่านสื่อและกิจกรรมต่างๆ และไรเดอร์จำนวนหนึ่งออกไปร่วมงาน ประสานงาน จัดทำโครงการต่างๆ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ และผลักดันให้ประเด็นปัญหาของไรเดอร์เป็นที่รับรู้ของสังคมวงกว้าง</p>
<p>การวิเคราะห์ที่ผ่านมา ทำให้เห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของไรเดอร์ ด้านที่เป็นจุดแข็งคือ อำนาจการรวมตัวซึ่งมีพื้นฐานที่ดี ขั้นต่อไปคือการสร้างความเข้มแข็งขององค์กร ซึ่งไม่จำกัดว่าต้องเป็นสหภาพแรงงานแบบดั้งเดิม แต่อาจมีรูปแบบแตกต่างออกไป ที่ผ่านมามีการริเริ่มสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มหรือองค์กรในแนวระนาบ ทั้งระหว่างกลุ่มไรเดอร์เอง ไรเดอร์กับสหภาพแรงงาน และองค์กรทางสังคมอื่นๆ ซึ่งอาจนำไปสู่รูปแบบใหม่ๆของขบวนการแรงงานไทย</p>
<p>จุดแข็งอีกด้านคืออำนาจเชิงสังคม ไรเดอร์ประสบความสำเร็จในการใช้โซเชียลมีเดียสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดตั้งทางความคิด และอัตลักษณ์ทางสังคม ไรเดอร์ยังมีส่วนช่วยผลักดันวาระทางสังคม เช่น ความไม่มั่นคงของแรงงานกลุ่มใหม่ อุบัติเหตุและสุขภาพจากการทำงาน มลภาวะทางอากาศ สิทธิของแรงงานหญิง ดังเห็นได้จากหลายองค์กรเข้ามารับลูกผลักดันประเด็นดังกล่าว ในขั้นต่อไปของอำนาจเชิงสังคมคือการขยายเครือข่ายความร่วมมือ และผลักดันวาระทางสังคมของแรงงาน ให้กว้างขวางมากขึ้น</p>
<p>ส่วนด้านจุดอ่อนคือ อำนาจเชิงโครงสร้าง การที่บริษัทมีอำนาจด้านนี้เหนือกว่าไรเดอร์มาก ทำให้เห็นว่าเป็นเรื่องยากที่จะกดดันให้บริษัทยอมรับข้อเรียกร้อง และไรเดอร์ต้องสร้างอำนาจจากแหล่งอื่นมาถ่วงดุล แต่ในจุดอ่อนก็มีจุดแข็ง คืออำนาจสร้างความปั่นป่วนจากการนัดปิดแอป ซึ่งหากเข้าใจธรรมชาติของอำนาจด้านนี้ จะทำให้สามารถออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสม และสามารถสร้างความเสียหายให้บริษัทมากกว่าที่คาดคิด</p>
<p>และอีกด้านที่อาจกล่าวว่าเป็นจุดอ่อนที่สุด คืออำนาจเชิงสถาบัน กฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ตามไม่ทันสถานการณ์ ทำให้บริษัทสามารถฉกฉวยโอกาสจากช่องว่างทางกฎหมาย แต่หากสามารถอุดช่องว่างนั้นได้ จะเป็นการพลิกสถานการณ์ให้มาอยู่ข้างไรเดอร์ การต่อสู้เรื่องกฎหมาย อาจถูกมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่เมื่อมองทรัพยากรอำนาจที่สัมพันธ์กันทั้ง 4 ด้านแล้ว จะเข้าใจว่า การต่อสู้ผลักดันกฎหมายที่ก้าวหน้าสำหรับแรงงานทุกคน เป็นสมรภูมิที่ละเลยไม่ได้   </p>
<p><strong>การที่บริษัทลดค่ารอบอย่างไม่ฟังเสียง มาจากการประเมินว่าบริษัทมีอำนาจเหนือไรเดอร์ในทุกด้าน บริษัทคาดว่าการลดค่ารอบ จะบีบให้ไรเดอร์ส่วนหนึ่งลาออก เหลือคนที่ยอมรับค่าตอบแทนในระดับต่ำสุดตามที่บริษัทต้องการ แต่การสู้ไม่หยุด และการเกิดรูปแบบใหม่ๆของการสร้างอำนาจต่อรองของไรเดอร์ แสดงให้เห็นว่าแรงงานไทยกลุ่มใหม่ มาไกลเกินกว่าจะถอย.  </strong>  <span style="font-size:11pt"><span style="text-justify:inter-cluster"><span style="line-height:normal"><span style="font-family:Calibri,sans-serif"><span lang="TH" style="font-size:16.0pt" xml:lang="TH"><span style="font-family:&quot;TH SarabunPSK&quot;,sans-serif">    </span></span></span></span></span></span></p>
<div> 

<div id="edn1">
<p> </p>
<p><strong>อ้างอิง</strong></p>
<p><a id="1" name="1">[1][/url] Rocket Media Lab, 22 มกราคม 2557. 5 ปีไรเดอร์ไทย ต้องต่อสู้กับแพลตฟอร์มเรื่องใดบ้าง, https://rocketmedialab.co/rider-protest/ (https://rocketmedialab.co/rider-protest/)</p>
</div>
<div id="edn2">
<p><a href="#_ednref2" name="_edn2" title="" id="_edn2">[2][/url] Schmalz S., Ludwig C. and Webster E. (2018). The Power Resources Approach: Developments and Challenges. Global Labour Journal, 9(2), pp. 113–134.</p>
</div>
<div id="edn3">
<p><a href="#_ednref3" name="_edn3" title="" id="_edn3">[3][/url]แนววิเคราะห์ชนชั้นดูตัวอย่างจาก Wright, E. O. (2000). Working-Class Power, Capitalist-Class Interests, and Class Compromise American Journal of Sociology. Vol. 105, No. 4 , pp. 957-1002.; สหภาพแรงงานที่เป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมดู Waterman, P. (1993). "Social-Movement Unionism: A New Union Model for a New World Order". Review (Fernand Braudel Center). Fernand Braudel Center. 16 (3): 245–278.; ภาษาไทยดู นภาพร อติวานิชยพงศ์ (2561). สหภาพแรงงานไทยที่เป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิฟรีดริด เอแบร์ท</p>
</div>
<div id="edn4">
<p><a href="#_ednref4" name="_edn4" title="" id="_edn4">[4][/url] Wright, E. O. (2000). Working-Class Power, Capitalist-Class Interests, and Class Compromise American Journal of Sociology. Vol. 105, No. 4 , pp. 957-1002. และ Silver, B. (2003). Forces of Labor: Workers’ Movements and Globalization since 1870. New York: Cambridge University Press.</p>
</div>
<div id="edn5">
<p><a href="#_ednref5" name="_edn5" title="" id="_edn5">[5][/url] Schmalz S., Ludwig C. and Webster E. (2018). The Power Resources Approach: Developments and Challenges. Global Labour Journal, 9(2), pp. 113–134.</p>
</div>
<div id="edn6">
<p><a href="#_ednref6" name="_edn6" title="" id="_edn6">[6][/url] ข้อมูลในส่วนนี้มาจากงานของผู้เขียน พฤกษ์ เถาถวิล และวรดุลย์ ตุลารักษ์. (2566). อุบัติเหตุและสุขภาพของคนขับรถจักรยานยนต์ส่งอาหารภายใต้การควบคุมของแพลตฟอร์ม. รายงานการวิจัย โครงการพัฒนาความรู้และความเข้มแข็งกลุ่มแรงงานนอกระบบเพื่อสุขภาวะ มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา. เข้าดูได้จาก https://shorturl.asia/vIga6 (https://shorturl.asia/vIga6)  และข้อมูลอีกส่วนหนึ่งมาจากการสำรวจภาคสนามในการวิจัยของผู้เขียน ระหว่างกลางปี 2566 ถึงต้นปี 2567 รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์จะเผยแพร่ประมาณกลางปี 2567 </p>
</div>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทความ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">แรงงาน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ไรเดอร์[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C-%E0%B9%80%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A5" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พฤกษ์ เถาถวิล[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108256