หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ดันฟื้น 'นาร้างชายแดนใต้' ในงบฯ ปี 68 แต่ต้องให้ท้องถิ่นจัดการระบบชลประทานเอง เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 02 มีนาคม 2567 13:49:20 ดันฟื้น 'นาร้างชายแดนใต้' ในงบฯ ปี 68 แต่ต้องให้ท้องถิ่นจัดการระบบชลประทานเอง
<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2024-03-02 13:10</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>อาจารย์ราชภัฏยะลา ชี้ชายแดนใต้สังคมบริโภคมากกว่าผลิต ปลูกข้าวเองแค่ 20% อาหารโปรตีนยิ่งน้อยกว่าแค่ 10% ที่เหลือต้องนำเข้า ส่งผลเด็กตัวแคระถึง 29% ชี้โอกาสจากการฟื้นนาร้างมาสร้างมูลค่าเพิ่ม ใช้หลักตลาดนำการผลิต รัฐสร้างแรงจูงใจ ให้ท้องถิ่นจัดการระบบชลประทาน สถาบันการเงินอิสลามมีบทบาท ด้านที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล เตรียมดันฟื้นนาร้างเข้าแผนงบประมาณปี 2568 ชี้ใช้งบแค่ 400 ล้าน แต่ต้องให้ท้องถิ่นทำ</p> <p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53561555532_958556082c_k_d.jpg" /></p> <p>เครือข่ายขับเคลื่อนความมั่นคงทางอาหารในสามจังหวัดภาคใต้ จัดเวทีเสวนา “นโยบายของรัฐว่าด้วยชาวนาและความมั่นคงทางอาหารในสามจังหวัดภาคใต้” ในงานกินข้าวใหม่สืบสานความมั่นคงทางอาหารของสามจังหวัดภาคใต้” ณ ต.บ้านกลาง อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี วันที่ 29 ก.พ. 2567 พร้อมแจกผลิผลิตข้าวจากโครงการฟื้นฟูนาร้างให้เด็กกำพร้าในพื้นที่ด้วย</p> <p>โดยนายอัลอามีน มะแต อาจารย์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ซึ่งเป็นวิทยากรได้สรุปประเด็นจากวงเสวนาซึ่งโพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า เป็นเวทีแลกเปลี่ยนการพลิกฟื้นนาร้างให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง ภายใต้แบรนด์ “ข้าวนาดี” (Nadi เป็นภาษามลายู หมายถึง ชีพจร) โดยกล่าวถึงโอกาสและความท้าทายของการพลิกฟื้นนาร้าง จะสามารถสร้างความมั่งคงทางอาหารอย่างไร</p> <h2><span style="color:#3498db;">ชายแดนใต้สังคมบริโภคมากกว่าผลิต</span></h2> <p>นายอัลอามีน ยอมรับว่า สภาพเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นลักษณะที่มีการบริโภคมากกว่า ผลิตเองได้ ซึ่งพอเวลาเราไปดูข้อมูลทางวิชาการและสถิติเชิงลึก เรากลับมองเห็นข้อเท็จจริงที่ท้าทายหลายประการ เช่น </p> <p>1. ประชาชนในพื้นที่ มีรายจ่ายด้านอาหาร คิดสัดส่วนมากกว่า 85% ของรายได้ ในขณะเดียวกัน ค่าใช้จ่ายด้านอาหารเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 9.5% ต่อปี ในขณะที่รายได้เฉลี่ยของแรงงาน (ครัวเรือน) เพิ่มขึ้นเพียงแค่ 1.65% ตั้งแต่ ปี 2558 จนถึงปี 2562 (เพราะเรานำเข้าสินค้าจากต่างถิ่น มากกว่าผลิตเองไหม อันนั้นต้องไปดูสถิติเชิงลึก) </p> <h2><span style="color:#3498db;">ผลิตข้าวเองแค่ 20% อาหารโปรตีนยิ่งน้อยกว่าแค่ 10%</span></h2> <p>2. พื้นที่การเกษตร ของจังหวัดชายแดนใต้มีประมาน 3.2 ล้านไร่ แต่เป็นพื้นที่รกร้างและนาร้าง ประมาณ 322,359 ไร่ (คิดเป็นร้อยละ 9.69) และบางรายงานที่มีการสำรวจ พบว่า นาร้างในพื้นที่ มีมากถึง 78,000 ไร่ ทีเดียว </p> <p>3. พื้นที่ 3 จังหวัดมีการบริโภคข้าวสาร เฉลี่ยประมาณ 100 กก./คน/ปี แต่เราผลิตได้เพียง 20.70 กก./คน/ปี หรือ คิดเป็นเพียงร้อยละ 20 ของความต้องการบริโภคทั้งหมด ในขณะเดียวกัน การบริโภคโปรตีน เช่น ไข่/เนื้อสัตว์ เราผลิตได้เพียง ร้อยละ 10 ของความต้องการทั้งหมด ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาความมั่งคงทางอาหารของพื้นที่ </p> <h2><span style="color:#3498db;">ส่งผลเด็กตัวแคระ เตี้ย ผอม จำนวนสูงถึง 29%</span></h2> <p>ทั้งนี้ สถิติทางด้านโภชนาการของเด็กเล็กชี้ให้เห็นว่า เด็ก 3 จังหวัดขาดสารอาหาร ตัวแคระ เตี้ย ผอม ร้อยละ 29 ของประชากรเด็กเล็กอีก (เกือบ 1 ใน 3 ของประชากรเด็ก)</p> <p>4. คนพื้นที่ทิ้งอาชีพทำนา มีปัจจัยหลายอย่าง ก) ไม่คุ้มทุน ผลตอบแทนต่ำ (เป็นเกือบทั้งประเทศ) ข) โครงการรัฐ (การสร้างถนน/ระบบชลประทาน) ที่ไม่ยึดโยงกับวิถีทำนา (ขัดขวางทางน้ำ) ค) น้ำท่วม การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ง) การเปลี่ยนอาชีพ /ขาดแรงงาน (มีแต่คนแก่ทำนา) </p> <h2><span style="color:#3498db;">ชี้โอกาสใช้ประโยชน์จากนาร้าง สร้างมูลค่าเพิ่ม</span></h2> <p>นายอัลอามีน กล่าวต่อไปว่า จากข้อเท็จจริงดังกล่าว ตนมองว่ามีโอกาสที่จะใช้ประโยชน์จากนาร้างดังกล่าวได้ในอนาคต หากกำหนดยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาดี ๆ ซึ่งตนมีเสนอใน 5 ประเด็นหลัก คือ </p> <p>1. ใช้ “ตลาดนำการผลิต” ซึ่งต้องอาศัย Data Set ที่สำคัญสำหรับพื้นที่ เป็นการสำรวจข้อมูลฝั่งเครือข่ายผู้ผลิตและฝ่ายผู้บริโภคว่า ในแต่ละพื้นที่ต้องการข้าวสารเท่าไร และในพื้นที่สามารถผลิตได้เท่าไรต่อปี แล้วต้องใช้วิธีการอย่างไรในการเพิ่มผลผลิต เช่น ใช้กลไกโรงเรียนรัฐ/เอกชน ตาดีกา ศูนย์ศึกษาก่อนวัย ภายใต้ท้องถิ่น หรือ ร้านอาหารที่มีชื่อเสียงในพื้นที่ ให้กลับมาเป็นคู่ค้าหลักในการซื้อข้าวสารจากนาร้าง </p> <h2><span style="color:#3498db;">ใช้ตลาดนำการผลิต-รัฐสร้างแรงจูงใจ</span></h2> <p>“โดยรัฐอาจจะต้องให้แรงจูงใจ incentive ทั้ง 2 ฝ่าย ได้รับประโยชน์ที่ควรได้ เช่น ประกันราคารับซื้อให้กับเกษตรกร และโรงเรียนอาจจะได้รับงบประมาณเพิ่ม หรือ KPI เพิ่ม เมื่อซื้อข้าวสารจากเกษตรในพื้นที่ อีกทั้ง นักเรียนจะได้กินข้าวปลอดสารพิษ ร้านอาหารสามารถโปรโมท ประเด็น SDG ให้กับลูกค้าได้ แถมยังเป็นการรักษาพันธ์ข้าวพื้นเมืองไว้ได้”</p> <p>2. เมื่อเกิดตลาดนำการผลิต ส่งผลให้เกษตรกรได้ผลตอบแทนที่เพิ่มสูงขึ้น อาจจะส่งผลให้เกิดการสร้างห่วงโซ่คุณค่าใหม่ (Value chain) เกิดขึ้น เช่น เกิดโรงสีชุมชน การแปรรูปฝาง เป็นอาหารสัตว์ สามารถลดต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ สร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวเพิ่มขึ้น ลดการเพิ่งพาอาหารสัตว์นอกพื้นที่ เพิ่มจำนวนคนเลี้ยงวัว สร้างหลักประกันความมั่งคงทางอาหารในพื้นที่ต่อไป</p> <h2><span style="color:#3498db;">กระจายอำนาจให้ท้องถิ่นจัดการระบบชลประทาน</span></h2> <p>3. การกระจายอำนาจและงบประมาณ รวมถึงปลดล็อคกฎหมาย หรือ ระเบียบ (การกิโยตินกฎหมาย) ให้ท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการระบบชลประทานเองได้ โดยใช้กลไกการมีส่วนร่วมของชุมชน (สภาองค์กรชุมชน) เข้ามากำหนดแบบแผน เป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการดำเนินโครงการ เพื่อลดปัญหาระบบชลประทานที่ขัดขว้างทางเดินของน้ำ </p> <p>4. กำหนดให้ท้องถิ่น มีส่วนที่จะหนุนเสริม องค์ความรู้ งบลงทุน ปัจจัยทางเกษตร ให้เกษตรกร สอดคล้องบริบทเชิงพื้นที่ว่า แต่ละพื้นที่ควรปลูกข้าวพันธ์อะไร ใช้วิธีการปลูกแบบไหน ช่วงไหนที่เหมาะสม ให้ผลผลิตที่สูง ต้นทุนต่ำ ได้ราคาดี โดยในระยะยาว สามารถจูงใจให้คนกลับมาทำนามากขึ้น เมื่อผลผลิตได้ราคา และคุ้มค่า</p> <h2><span style="color:#3498db;">สถาบันการเงินอิสลามต้องมีบทบาทหลัก</span></h2> <p>5. สหกรณ์อิสลามในพื้นที่ ซึ่งเป็นสถาบันการเงินหลัก ควรมีบทบาทมากขึ้นในการพิจารณารูปแบบการเข้าถึงบริการทางการเงินแบบใหม่ เช่น การให้สินเชื่อ ในหลักการ Salam Financing (สัญญาซื้อขายล่วงหน้า) ให้เกษตรกลสามารถมีเงินทุนหมุนเวียน ในการใช้เป็นปัจจัยการผลิต แล้ว สหกรณ์อิสลาม สามารถเรียกเก็บเงิน จากผู้ซื้อ (คู่ค้า) (ดูข้อ 1) เมื่อผลผลิตออกสู่ตลาดได้ จึงจะเป็นสถาบันการเงินอิสลาม ที่สอดคล้องตามหลักเจตนารมณ์ของระบบการเงินและเศรษฐศาสตร์อิสลาม อย่างแท้จริง</p> <h2><span style="color:#3498db;">ดันฟื้น "นาร้าง” เข้าแผนงบประมาณปี 2568</span></h2> <p>ในขณะที่ เดชรัตน์ สุขกำเนิด อดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์เกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวในเวที ว่าการแก้ปัญหานาที่ถูกทิ้งร้างเกือบ 8 หมื่นไร่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ตนมี 4 ข้อเสนอ ซึ่งตนในฐานะที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านจะขอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผลักดันให้กำหนดในแผนงบประมาณแผ่นดินปี 2568 ต่อไป </p> <h2><span style="color:#3498db;">ใช้งบแค่ 400 ล้าน แต่ต้องให้ท้องถิ่นทำ</span></h2> <p>โดยข้อเสนอทั้ง 4 ข้อดังกล่าว ได้แก่</p> <p>1. จัดการทรัพยากรน้ำและดินให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งใช้งบประมาณไม่เยอะเพื่อฟื้นนาร้างประมาณ 80,000 ไร่ให้สามารถกลับมาทำนาได้ไม่เกิน 400 ล้านบาท แต่ต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นบริหารจัดการ</p> <p>2. รับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศให้ดีขึ้น โดยใช้พันธุ์ข้าวพื้นเมืองเดิมที่ทนต่อสภาพอากาศในพื้นที่ ต้องรวบรวมสายพันธุ์ดั้งเดิมไม่ให้สูญหายไป ขณะเดียวกันนำสายพันธุ์จากที่อื่นที่ทนต่อสภาพอากาศมาทดลองใช้และพัฒนาให้เหมาะสม เช่น พันธุ์หอมสยาม2 ซึ่งทนน้ำท่วมได้ 15 วัน แต่ต้องทดสอบก่อนว่าถูกปากคนในพื้นที่และเหมาะกับสภาพอากาศหรือไม่</p> <p>3. ใช้สายพันธุ์ที่มีอายุสั้นลงจากระยะเวลา 5 เดือนเหลือ 3 เดือน เพราะจะทำให้ลดความเสียงจากภัยธรรมชาติได้</p> <p>4. บริหารจัดการฟางข้าว รวมถึงรำข้าวและปลายข้าวให้ได้เป็นรายได้ โดยเฉพาะสำหรับการใช้เลี้ยงสัตว์ เพื่อให้มีอาหารโปรตีนเพิ่มขึ้น</p> </div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เศรษฐกิจ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สังคม[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คุณภาพชีวิต[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%99-%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">อัลอามีน มะแต[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%AE%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%94-%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">มูฮำหมัด ดือราแม[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ชายแดนใต้[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%8C-%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เดชรัตน์ สุขกำเนิด[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">นาร้างชายแดนใต้[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div> https://prachatai.com/journal/2024/03/108278 |